การเตรียมตัวศึกษาต่อต่างประเทศ/ขั้นตอนการสมัครสอบ

จาก วิกิตำรา

ขั้นตอนการสมัครสอบ

หาข้อมูล[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

หาข้อมูลให้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้

  • หาข้อมูลของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนวิชาที่เราต้องการ
  • หาข้อมูลของเมืองและประเทศ ว่าน่าอยู่เหมาะกับเราหรือเปล่า ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ สภาพความเป็นอยู่ ชอบอยู่ในเมืองหรือชอบชนบท...กรณีต้องการหารายได้เพิ่มช่วยเหลือตัวเองไปด้วยระหว่างศึกษาต่อ แนะนำว่าให้ไปเมืองที่ใหญ่หน่อย และมีร้านอาหารไทยเยอะหน่อย จะช่วยได้เยอะค่ะ

เตรียมการสมัครสอบ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในการสมัครเรียน ทางมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องการดูผลว่าเรามีความสามารถเพียงพอที่จะสามารถไปเรียนได้หรือเปล่า ส่วนใหญ่จะมีสอบ

  1. สอบภาษาอังกฤษ TOEFL สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ และ IELTS สำหรับประเทศอังกฤษและประเทศในเครือจักรภพ
  2. สอบความรู้ด้านอื่น รวมถึงสอบ GMAT สำหรับด้านบริหาร และสอบ GRE สำหรับด้านอื่นๆ บางสาขาไม่จำเป็นต้องสอบ

เตรียมเอกสาร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ควรเตรียมเอกสารตั้งแต่เริ่มคิดที่จะสมัครเรียนต่อ เนื่องจากบางเอกสารอาจจะต้องใช้เวลานาน(ถึงนานมาก ในบางที) ยังไงก็ควรขอเอกสารไว้กับตัวก่อน ไม่จำเป็นต้องคิดว่า สอบTOEFL ผ่านแล้วค่อยขอ หรือว่าหามหาวิทยาลัยที่ต้องการได้แล้วค่อยขอ โดยเอกสารหลักๆที่ต้องมี

  1. ทรานสคริปต์ (transcript) เป็นใบผลการเรียนจากทางมหาวิทยาลัย ฉบับทางการ ใส่ซองมหาวิทยาลัยและปิดผนึกตรามหาวิทยาลัยที่หน้าซอง ขอได้จากสำนักทะเบียน
  2. จดหมายแนะนำ (letters of recommendations) จดหมายแนะนำจากทางอาจารย์หรือหัวหน้างาน อย่างน้อย 3 ฉบับ (บางที่เอา 2) ก่อนจะไปขออาจารย์ ควรจะรู้ให้แน่ก่อนว่าอยากจะเรียนอะไร เวลาอาจารย์ถามจะได้ตอบถูก
  3. เอกสารรับรองทางการเงิน (financial statement) เอกสารรับรองจากทางธนาคารว่าเรามีเงินเพียงพอที่จะเรียนต่อได้
  4. ___ (statement of purpose) เป็นจดหมาย 1 หน้า (หรือมากกว่า แต่ควรเขียนไม่ยาวมาก) เป็นจดหมายที่เราเขียนให้แก่ทางมหาวิทยาลัย เกี่ยวกับเหตุผลที่ว่า ทำไมเราถึงเลือกมาเรียนที่นี่ (เช่นเดียวกับที่ว่า เหตุผลทำไมเค้าถึงรับเรา)
  5. ในสาย MBA มักจะมีคำถาม 2-5 ข้อให้เราเขียนตอบ เกี่ยวกับการสมัครเข้าเรียน
  6. บางสาขาวิชาต้องการให้เราเขียน เรซูเม (resume)
  7. อื่นๆ อาจจะเป็นประกาศนียบัตรต่างๆ ที่เราได้มาและเกี่ยวข้องกับที่เราจะสมัคร

เดดไลน์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เดดไลน์ (deadline) ของการสมัครแต่ละมหาวิทยาลัยจะแตกต่างกัน และแต่ละคณะก็จะแตกต่างกัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคือวันไหน และจำไว้ว่า ไม่ควรจะรอถึงวันใกล้เดดไลน์แล้วค่อยส่งเอกสาร เอกสารต่างๆ ควรจะส่งล่วงหน้า

ขั้นตอนการสมัครสอบ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การสมัครสอบก็สมัครได้ทันที ไม่ต้องรอให้สอบภาษาอังกฤษผ่าน เพราะอาจจะทำให้ช้าเกินไป หลังจากเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการสมัครได้ อาจจะเลือก มากกว่า 1 มหาวิทยาลัย และทำการสมัคร

  1. กรอกเอกสารการสมัครของทางมหาวิทยาลัย หลายๆ ที่สามารถกรอกผ่านเว็บไซต์ได้ทันที หรือโหลดไฟล์จากเว็บกรอกและส่งกลับไป
  2. ส่งเอกสารตามไป หลายมหาวิทยาลัยต้องการให้ส่งเอกสารบางส่วนเข้าคณะ และเอกสารบางส่วนไปที่ grad college
  3. พยายามเช็คอีเมลบ่อยๆ หรือเช็คจากเว็บไซต์ว่าเอกสารเราไปถึง ถ้ายังไม่ถึงให้อีเมลไปถามหรือโทรไปถาม
  4. ถ้าทางมหาวิทยาลัยตอบรับ จะส่งอีเมลหรือโทรศัพท์มาบอกก่อน และจะส่งจดหมายตามมา โดยเราควรจะตอบรับหรือตอบปฏิเสธมหาวิทยาลัยนั้นตามมารยาท (และกรณีเดียวกัน ถ้าเราปฏิเสธจะทำให้โอกาสแก่ผู้อื่น)
  5. สำหรับสหรัฐอเมริกา เมื่อทางมหาวิทยาลัยตอบรับ จะส่งเอกสารที่เรียกว่า I-20 (ไอ-ทเวนตี) มาให้สำหรับในการขอวีซา

ขั้นตอนหลังจากได้รับการตอบรับ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ส่วนใหญ่จะเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกเดินทาง

  1. ในสหรัฐอเมริกา เมื่อได้รับจดหมายตอบรับจะได้ I-20 เพื่อนำไปขอวีซ่า ในกรุงเทพ ระยะเวลาในการขอวีซ่าค่อนข้างนาน อาจจะนานถึง 2 เดือนได้ ควรขอแต่เนิ่นๆ ถ้าเป็นในเชียงใหม่ใช้เวลาไม่นานไม่เกิน 1-2 อาทิตย์ แต่ขอได้เฉพาะบุคคลที่มีทะเบียนบ้านในภาคเหนือ
  2. ซื้อตั๋วเครื่องบิน เตรียมตัวว่าจะไปถึงวันไหน อาจจะไปถึงก่อนซัก 1-2 อาทิตย์เพื่อปรับตัวก่อนเริ่มเรียน หรือถ้ากะจะไปเที่ยวก่อนอาจจะไปก่อนหน้านั้นได้
    • ในสหรัฐอเมริกาไม่สามารถเข้าประเทศได้ก่อน 60 วัน (60 วันพอดีไม่ใช่ 2 เดือน) จากวันที่เขียนใน I-20 ถ้าเข้าประเทศก่อนหน้านั้นมีสิทธิโดนส่งกลับสูง
  3. ตรวจสุขภาพ มหาวิทยาลัยหลายที่จะส่งเอกสารให้เราตรวจสุขภาพ ตามใบที่ทางมหาวิทยาลัยส่งมาให้
  4. เตรียมของให้พร้อม ดูที่ สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนไปเมืองนอก
  5. ตัดแว่น ตรวจฟัน ตัดคอนแทค ให้พร้อม
  6. กิน เที่ยว ให้สนุก ในประเทศไทย ...
  7. ...

เว็บลิงก์อื่น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]