ชีวิตในต่างแดน/ชีวิตในออสเตรเลีย

จาก วิกิตำรา

Headline text[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ตัวหนาการศึกษาระดับต่างๆในประเทศออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลียจะเริ่มปีการศึกษาในเดือนมกราคม และจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคมช่วงก่อนคริสมาส อย่างไรก็ตามการเปิดเรียนเทอมแรกมักจะอยู่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในหนึ่งปีการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 4 เทอม แต่ละเทอมจะเรียนประมาณ สองเดือนครึ่ง แล้วปิดเทอมประมาณ ครึงเดือนหรือ สองอาทิตย์ ยกเว้นในเทอมสุดท้ายของแต่ละปีคือเทอมที่สี่ ซึ่งเป็นช่วงคริสมาสและปีใหม่โรงเรียนจะปิดเป็นเวลานานประมาณ ห้าอาทิตย์ หลังจากนั้นเมื่อเริ่มปีค.ศ.ใหม่เด็กๆก็จะเลื่อนขึ้นชั้นใหม่ ออสเตรเลียแบ่งระดับการศึกษาออกเป็นระดับขั้นคือ

  1. ระดับก่อนประถมศึกษา

-เด็กๆในออสเตรเลียจะเริ่มเข้าสู่ระบบการศึกษาเมื่ออายุ 4 ปี คืออายุ4 ปีเข้าศึกษาในชั้นอนุบาล -ชั้นก่อนประถม เด็กเมื่ออายุ 5 ปีจะเลื่อนไปเรียนชั้นก่อนประถม

  1. ระดับประถมศึกษาตอนต้น ปี1 ถึง 4

เมื่อเด็กอายุ 6 ปีจะเข้าเรียนในชั้นประถม 1 จนอายุ 9-10ปี จะจบ ประถม 4

  1. ระดับประถมตอนกลาง ปีที่ 5 ถึง 6 บางรัฐ ถึงปีที่ 7
  2. ระดับมัธยม เด็กๆ จะเริ่มถือว่าเป็นเด็กมัธยม เมื่ออยู่ปี 7 หรือ 8 ขึ้นไป จนถึงปีที่ 10
  3. ระดับก่อนเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อเด็กจบปีที่10แล้ว จะได้รับประกาศนียบัตร จากนั้นสำหรับเด็กที่จะเรียนเข้ามหาวิทยาลัยจะเรียนต่ออีก2ปี คือปีที่11 และ 12 เมื่อจบปีที่ 12 ก็จะได้รับประกาศนียบัตรอีกหนึ่งใบ

กรณีย์ที่เด็กไม่เรียนต่อ ปีที่11-12 อาจจะหันไปเรียนวิชาชีพเลยก็ได้เมื่อจบปีที่ 10 แล้ว ในอนาคตหากประสงค์จะเรียนในระดับปริญญาก็สามารถนำหลักฐานการจบวิชาชีพไปสมัครเข้ามหาวิทยาลัยต่อไปก็ได้เช่นกัน สำหรับวิชาชีพ จะใช้เวลาเรียนวิชาชีพ 4 ปี บางสาขาก็ไม่ถึง 4 ปี แล้วแต่สาขา วิชาชีพมักเป็นงานช่างต่างๆ เช่นช่างไม้ ช่างก่อสร้าง ช่างวางท่อ ช่างไฟฟ้า บาร์เทนเดอร์ กุ๊ก ช่างทำขนมปัง ช่างตัดผม อื่นๆ วิชาชีพเหล่านี้ เรียนได้ถึงระดับเดียวกับปริญญาตรี เรียกว่า advance diploma ผู้ที่จบงานด้านช่างมา จะเป็นที่ต้องการมาก สำหรับสถาบันการศึกษาก็มีให้เลือกทั้งแบบรัฐบาลและเอกชน การศึกษาในระดับวิชาชีพ คนออสเตรเลียมักเลือกเรียนสถาบันของรัฐบาล เนื่องจากค่าใช้จ่ายถูก คุณภาพการศึกษาสูง แต่สถาบันเอกชนทคุณภาพสูงก็มีมากเพียงแต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก

ในประเทศออสเตรเลีย ผู้ที่จะเรียนด้านวิชาชีพในสถาบันของรัฐบาลซึ่งค่าใช้จ่ายถูกกว่าของเอกชนมาก จะมีข้อกำหนดบางอย่างเช่นผู้ที่จะเรียนเป็นช่าง สาขาต่างๆนั้น เด็กวัยรุ่นเหล่านี้ต้องเข้าสู่อุตสาหกรรมนั้นๆก่อน จึงจะมีสิทธิเรียนได้ เช่น หากประสงค์จะเรียนเป็น กุ๊ก ต้องได้งานที่ร้านอาหาร ร้านใดร้านหนึ่งก่อน และต้องเรียนไปทำงานไป หรือหากอยากเป็นช่างวางท่อ ก็ต้องมีสมัครทำงานวางท่อกับที่ใดที่หนึ่งก่อน จึงจะเรียนได้ เป็นข้อบังคับหากไม่มีงาน ทางวิทยาลัยจะไม่รับให้เรียน การหางานก็ไม่ยากนัก คือจะมีหน่วยงานหลายหน่วยงานหางานให้เด็กๆ และประสานงานกับทางวิทยาลัย ระหว่างเรียน ทางวิทยาลัยจะมีการติดต่อประสานงานกับนายจ้าง และในกรณีย์เด็กหางานได้เอง และจะเรียนไปด้วย ทางวิทยาลัยก็มีเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยติดต่อประสานงานกับนายจ้างให้เด็กได้เข้ามาเรียน ส่วนมากเด็กเหล่านี้จะทำงานตอนกลางวันเรียนตอนค่ำ ในระหว่างทำงานก็จะได้เงินค่าแรงไปด้วย เรียกระบบนี้ว่า Apprenticeship และเมื่อจบการศึกษา นอกจากจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณแล้ว นักศึกษาเหล่านี้ยังได้รับใบผ่านงานไม่ต่ำกว่า 12 เดือนด้วย ซึ่งระบบนี้ได้ศึกษาทั้งทฤษฎี และได้ปฏิบัติในโลกความจริง อีกทั้งยังรู้ และเข้าใจถึงระบบ และชีวิตจริงของการทำงาน ในสาขาที่ตนเรียนอยู่ เด็กหลายๆคนที่เมื่อลองทำงานแล้วปรากฏว่าไม่ชอบงานที่ตนทำอยู่ก็สามารถเปลี่ยน หรือย้ายสาขา ได้ในปีหน้า ไม่ต้องรอจนจบ และออกมาทำงานจริงๆ จึงเพิ่งค้นพบว่าไม่ใช่งานที่ตนอยากทำจริงๆ

แต่สำหรับบางสาขาที่ไม่ต้องการ การฝึกทักษะการปฏิบัติมากนักเช่น งานธุรการ งานขาย การบัญชี การออกแบบแฟชั่น เหล่านี้ก็สามารถสมัครเรียนได้เลยโดยไม่ต้องเรียนไปทำงานไป

  1. ระดับปริญญาตรี ก็เรียนในสาขาต่างๆ เช่น กฏหมาย บริหาร นักวิทยาศาสตร์ วิศวะกรรม
  2. ระดับ graduated certificate, graduated diploma คือเรียนต่ออีก 1-2 ปี แล้วแต่สาขา
  3. ระดับปริญยาโท ต่อจาก graduated diploma อีก 1-2ปี
  4. ระดับปริญญาเอก

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]