ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 1

จาก วิกิตำรา

คำศัพท์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

บทที่ 1 ศัพท์ใหม่แบ่งเป็นคำนาม 16 คำและคำกริยา 10 คำ

คำศัพท์ ความหมาย
อักษรไทย อักษรละติน
คำนาม
(เพศชาย ลงท้ายด้วยเสียง อะ)
กสฺสก kassaka ชาวนา
กุมาร kumāra เด็กชาย, กุมาร
นร, ปุริส nara, purisa คน, ผู้ชาย, บุรุษ
ปุตฺต putta ลูกชาย, บุตร
พฺราหฺมณ brāhmaṇa พราหมณ์
พุทฺธ, ตถาคต, สุคต Buddha, Tathāgata, Sugata พระพุทธเจ้า
ภูปาล bhūpāla กษัตริย์, พระราชา
มนุสฺส manussa มนุษย์
มาตุล mātula ลุง
วาณิช vāṇija พ่อค้า
สหาย, สหายก, มิตฺต sahāya, sahāyaka, mitta เพื่อน, สหาย, มิตร
คำกริยา
(ผันตามกาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์)
กสติ kasati ไถนา
คจฺฉติ gacchati ไป
ฉินฺทติ chindati ตัด
ธาวติ dhāvati วิ่ง
ปจติ pacati ทำอาหาร, หุง (ข้าว)
ปสฺสติ passati เห็น, มอง, ดู
ภาสติ bhāsati พูด
ภุญฺชติ bhuñjati กิน
สยติ sayati นอน, หลับ
อาคจฺฉติ āgacchati มา

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำนามที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำของประโยค เรียกว่า กรรตุการก (nominative case) ในเบื้องต้นให้ผู้ทำคือประธานของประโยค การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) มีหลักการผันดังนี้

  1. รูปเอกพจน์ในการกนี้ให้เติม โ– (-o) ท้ายต้นเค้าคำนาม
  2. รูปพหูพจน์ในการกนี้ให้เติม –า (-ā) ท้ายต้นเค้าคำนาม

เมื่อแปลที่ผันตามการกนี้จะมีความหมายว่า "อันว่า..." ซึ่งปกติเมื่อแปลประโยคจะละไว้ไม่เขียน แต่ให้ทราบว่าเป็นผู้ทำหรือประธานของประโยค

ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน ผู้ทำ เอกพจน์
นร + โ-
(nara + -o)
นโร
(naro)
อันว่าผู้ชาย, อันว่าคน
มาตุล + โ-
(mātula + -o)
มาตุโล
(mātulo)
อันว่าลุง
กสฺสก + โ-
(kassaka + -o)
กสฺสโก
(kassako)
อันว่าชาวนา
ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน ผู้ทำ พหูพจน์
นร + -า
(nara + -ā)
นรา
(narā)
อันว่าพวกผู้ชาย, อันว่าคนทั้งหลาย
มาตุล + -า
(mātula + -ā)
มาตุลา
(mātulā)
อันว่าลุงทั้งหลาย
กสฺสก + -า
(kassaka + -ā)
กสฺสกา
(kassakā)
อันว่าชาวนาทั้งหลาย

การผันคำกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จากตารางคำศัพท์หมวดคำกริยาข้างบนนั้นเป็นรูปผันที่ประกอบจากต้นเค้าคำกริยา (verbal base) ภาส, ปจ, กส เป็นต้น รวมกับท้ายเสียง –ติ (-ti) ซึ่งบอกกาลปัจจุบัน บุรุษที่ 3 เอกพจน์

ส่วนการผันตามกาลปัจจุบัน บุรุษที่ 3 พหูพจน์นั้นให้เปลี่ยนท้ายเสียงจาก –ติ เป็น –นฺติ (-nti)

รูปผันดังกล่าวเมื่อแปลแล้วจะมีความหมายว่า "...อยู่", "ย่อม...", "จะ..." (หรือ "กำลัง..." หรือแปลเฉพาะคำกริยา)

ต้นเค้าคำกริยา + รูปผัน กาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์
ภาส + -ติ
(bhāsa + -ti)
ภาสติ
(bhāsati)
(เขา) พูด, พูดอยู่, ย่อมพูด, จะพูด
ปจ + -ติ
(paca + -ti)
ปจติ
(pacati)
(เขา) ทำอาหารอยู่, ย่อมทำอาหาร, จะทำอาหาร
กส + -ติ
(kasa + -ti)
กสติ
(kasati)
(เขา) ไถนา, ไถนาอยู่, ย่อมไถนา, จะไถนา
ต้นเค้าคำกริยา + รูปผัน กาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม พหูพจน์
ภาส + -นฺติ
(bhāsa + -nti)
ภาสนฺติ
(bhāsanti)
(พวกเขา) พูด, พูดอยู่, ย่อมพูด, จะพูด
ปจ + -นฺติ
(paca + -nti)
ปจนฺติ
(pacanti)
(พวกเขา) ทำอาหารอยู่, ย่อมทำอาหาร ฯลฯ
กส + -นฺติ
(kasa + -nti)
กสนฺติ
(kasanti)
(พวกเขา) ไถนา, ไถนาอยู่ ฯลฯ

การสร้างประโยค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ประโยคในภาษาบาลีจะเรียงเป็น ประธาน + กริยา (SV, Subject Verb) หรืออาจเรียกเป็น ผู้ทำ + กริยา
  • คำกริยามีการผันตามประธานเสมอ นั่นคือ ประธานเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ กริยาก็ต้องผันเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ตามลำดับ
นโร ภาสติ. อันว่าคน พูดอยู่
นรา ภาสนฺติ. อันว่าคนทั้งหลาย พูดอยู่
ผู้ทำ
(nom)
กริยา

แบบฝึกหัด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จงผันคำนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จงผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปผู้ทำ ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ พร้อมแปลเป็นภาษาไทย

  1. กุมาร
  2. ปุริส
  3. ปุตฺต
  4. พฺราหฺมณ
  5. พุทฺธ
  6. ตถาคต
  7. สุคต
  8. ภูปาล
  9. มนุสฺส
  10. วาณิช
  11. สหาย
  12. สหายก
  13. มิตฺต
ตัวอย่างเฉลย
ต้นเค้าคำนาม รูปผันผู้ทำ
เอกพจน์ พหูพจน์
ช. –ะ โ– –า
กุมาร
(เด็กชาย)
กุมาโร
(เด็กชาย)
กุมารา
(เด็กชายทั้งหลาย)
ปุริส
(ผู้ชาย)
ปุริโส
(ผู้ชาย)
ปุริสา
(พวกผู้ชาย)
ปุตฺต
(ลูกชาย)
ปุตฺโต
(ลูกชาย)
ปุตฺตา
(เหล่าลูกชาย)
พฺราหฺมณ
(พราหมณ์)
พฺราหฺมโณ
(พราหมณ์)
พฺราหฺมณา
(พราหมณ์ทั้งหลาย)
พุทฺธ
ตถาคต
สุคต

(พระพุทธเจ้า)
พุทฺโธ
ตถาคโต
สุคโต
(พระพุทธเจ้า)
พุทฺธา
ตถาคตา
สุคตา
(พระพุทธเจ้าทั้งหลาย)*
ภูปาล
(พระราชา)
ภูปาโล
(พระราชา)
ภูปาลา
(พระราชาทั้งหลาย)
มนุสฺส
(มนุษย์)
มนุสฺโส
(มนุษย์)
มนุสฺสา
(มนุษย์ทั้งหลาย)
วาณิช
(พ่อค้า)
วาณิโช
(มนุษย์)
วาณิชา
(เหล่าพ่อค้า)
สหาย
สหายก
มิตฺต

(เพื่อน)
สหาโย
สหายโก
มิตฺโต
(เพื่อน)
สหายา
สหายกา
มิตฺตา
(พวกเพื่อน ๆ)
(*) พุทฺธ, ตถาคต, สุคต หมายถึง พระพุทธเจ้า ซึ่งมีองค์เดียว ปกติจึงใช้เฉพาะรูปเอกพจน์

จงผันคำกริยา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จงผันคำกริยาต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปกาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ พร้อมแปลเป็นภาษาไทย

  1. คจฺฉ
  2. ฉินฺท
  3. ธาว
  4. ปสฺส
  5. ภุญฺช
  6. สย
  7. อาคจฺฉ
ตัวอย่างเฉลย
ต้นเค้าคำกริยา กาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม
เอกพจน์ พหูพจน์
–ติ –นฺติ
คจฺฉ (ไป) คจฺฉติ คจฺฉนฺติ
ฉินฺท (ตัด) ฉินฺทติ ฉินฺทนฺติ
ธาว (วิ่ง) ธาวติ ธาวนฺติ
ปสฺส (เห็น, มอง, ดู) ปสฺสติ ปสฺสนฺติ
ภุญฺช (กิน) ภุญฺชติ ภุญชนฺติ
สย (นอน, หลับ) สยติ สยนฺติ
อาคจฺฉ (มา) อาคจฺฉติ อาคจฺฉนฺติ

จงแปลเป็นภาษาไทย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. ภูปาโล ภุญฺชติ. (Bhūpālo bhuñjati.)
  2. ปุตฺตา สยนฺติ. (Puttā sayanti.)
  3. วาณิชา สยนฺติ. (Vāṇijā sayanti.)
  4. พุทฺโธ ปสฺสติ. (Buddho passati.)
  5. กุมาโร ธาวติ. (Kumāro dhāvati.)
  6. มาตุโล กสติ. (Mātulo kasati.)
  7. พฺราหฺมณา ภาสนฺติ. (Brāhmaṇā bhāsanti.)
  8. มิตฺตา คจฺฉนฺติ. (Mittā gacchanti.)
  9. กสฺสกา ปจนฺติ. (Kassakā pacanti.)
  10. มนุสฺโส ฉินฺทติ. (Manusso chindati.)
  11. ปุริสา ธาวนฺติ. (Purisā dhāvanti.)
  12. สหายโก ภุญฺชติ. (Sahāyako bhuñjati.)
  13. ตถาคโต ภาสติ. (Tathāgato bhāsati.)
  14. นโร ปจติ. (Naro pacati.)
  15. สหายา กสนฺติ. (Sahāyā kasanti.)
  16. สุคโต อาคจฺฉติ. (Sugato āgacchati.)
ตัวอย่างเฉลย
  1. พระราชาเสวยอยู่
  2. พวกลูกชายหลับอยู่
  3. พวกพ่อค้าหลับอยู่
  4. พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรอยู่
  5. เด็กชายกำลังวิ่ง
  6. ลุงไถนาอยู่
  7. พราหมณ์ทั้งหลายกำลังพูด
  8. พวกเพื่อน ๆ กำลังไป
  9. เหล่าชาวนาทำอาหารอยู่
  10. มนุษย์ตัดอยู่
  11. เหล่าผู้ชายกำลังวิ่ง
  12. เพื่อนกำลังกิน
  13. พระพุทธเจ้าตรัสอยู่
  14. คน/ผู้ชายทำอาหารอยู่
  15. เหล่าสหายไถนาอยู่
  16. พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จมา

จงแปลเป็นภาษาบาลี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. พวกบุตรวิ่งอยู่
  2. ลุงเห็น
  3. พ่อค้านอนอยู่
  4. พวกเด็กชายกำลังกิน
  5. พวกพ่อค้ากำลังไป
  6. ผู้ชายนอนหลับ
  7. พระราชาทั้งหลายเสด็จไป
  8. พราหมณ์ตัด
  9. เพื่อน ๆ พูดอยู่
  10. ชาวนากำลังไถนา
  11. พ่อค้ากำลังมา
  12. ลูกชายตัด
  13. พวกลุงพูดอยู่
  14. เด็กชายวิ่ง
  15. เพื่อนพูด
  16. พระพุทธเจ้าทอดพระเนตร
ตัวอย่างเฉลย
  1. ปุตฺตา ธาวนฺติ. (พหู.)
  2. มาตุโล ปสฺสติ. (เอก.)
  3. วาณิโช สยติ. (เอก.)
  4. กุมารา ภุญฺชนฺติ. (พหู.)
  5. วาณิชา คจฺฉนฺติ. (พหู.)
  6. ปุริโส สยติ. (เอก.)
  7. ภูปาลา คจฺฉนฺติ. (พหู.)
  8. พฺราหฺมโณ ฉินฺทติ. (เอก.)
  9. สหายกา ภาสนฺติ. (พหู.)
  10. กสฺสโก กสติ. (เอก.)
  11. วาณิโช อาคจฺฉติ. (เอก.)
  12. ปุตฺโต ฉินฺทติ. (เอก.)
  13. มาตุลา ภาสนฺติ. (พหู.)
  14. กุมาโร ธาวติ. (เอก.)
  15. มิตฺโต ภาสติ. (เอก.)
  16. พุทฺโธ ปสฺสติ. (เอก.)

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

บทนำ - การอ่านออกเสียง
บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี