ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 2

จาก วิกิตำรา

คำศัพท์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

บทที่ 2 ศัพท์ใหม่แบ่งเป็นคำนาม 16 คำและคำกริยา 10 คำ

คำศัพท์ ความหมาย
อักษรไทย อักษรละติน
คำนาม
(เพศชาย ลงท้ายด้วยเสียง อะ)
กุกฺกุร, สุนข, โสณ kukkura, sunakha, soṇa หมา, สุนัข
คาม gāma หมู่บ้าน
จนฺท canda ดวงจันทร์
ธมฺม dhamma ธรรม (คำสอน), ความจริง
ปตฺต patta ถ้วย, ชาม, บาตร
ปพฺพต pabbata ภูเขา, บรรพต
ภตฺต bhatta ข้าว
ยาจก yācaka ขอทาน, ยาจก
รุกฺข rukkha ต้นไม้
วิหาร vihāra วิหาร, โบสถ์
สิคาล sigāla แจ็กคัล (หมาจิ้งจอกทอง)
สุริย suriya ดวงอาทิตย์, สุริยะ
อาวาฏ āvāṭa หลุม, บ่อ
โอทน odana ข้าวสวย
คำกริยา
(ผันตามกาลปัจจุบัน บุรุษที่สาม เอกพจน์)
ขณติ khaṇati ขุด
ปหรติ paharati ทุบ, ตี, ทำร้าย, โจมตี
ยาจติ yācati ขอ
รกฺขติ rakkhati ปกป้อง
วนฺทติ vandati บูชา, ไหว้, กราบ, ทำความเคารพ
วิชฺฌติ vijjhati ยิง
หรติ harati ถือ, นำไป, หยิบไป, พาไป
อารุหติ āruhati ขึ้น, ปีนขึ้น
อาหรติ āharati นำมา, พามา
โอรุหติ oruhati ลง

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงหรือผู้ถูกทำหรือสิ่งถูกทำของประโยค เรียกว่า กรรมการก (accusative case) ในภาษาบาลีเรียกว่า ทุติยา หรือการผันคำนามลำดับที่สอง ประโยค ฉันกินข้าว คำว่าข้าวทำหน้าที่เป็นกรรมตรง ส่วนประโยค แม่ให้ขนมแก่น้อง คำว่าขนมทำหน้าที่เป็นกรรมตรง ส่วน "น้อง" ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง ซึ่งจะมีในบทถัดไป

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ (-a) ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง มีหลักการผันดังนี้

  1. รูปเอกพจน์ในการกนี้ให้เติมนิคหิต ◌ํ (-ṃ) ท้ายต้นเค้าคำนาม (ออกเสียงเป็น ◌ัง)
  2. รูปพหูพจน์ในการกนี้ให้เติม เ– (-e) ท้ายต้นเค้าคำนาม

เมื่อแปลจะมีความหมายว่า "ซึ่ง..." (หรือ "สู่...", "ยัง..." เมื่อแสดงจุดหมายปลายทาง) ซึ่งบางครั้งสามารถละไว้ไม่เขียนได้โดยที่ยังเข้าใจความหมายอยู่

ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน กรรมตรง เอกพจน์
นร + ◌ํ
(nara + -ṃ)
นรํ
(naraṃ)
ซึ่งคน, ซึ่งผู้ชาย
มาตุล + ◌ํ
(mātula + -ṃ)
มาตุลํ
(mātulaṃ)
ซึ่งลุง
กสฺสก + ◌ํ
(kassaka + -ṃ)
กสฺสกํ
(kassakaṃ)
ซึ่งชาวนา
ต้นเค้าคำนาม + รูปผัน กรรมตรง พหูพจน์
นร + เ-
(nara + -e)
นเร
(nare)
ซึ่งคนทั้งหลาย, ซึ่งเหล่าผู้ชาย
มาตุล + เ-
(mātula + -e)
มาตุเล
(mātule)
ซึ่งลุงทั้งหลาย
กสฺสก + เ-
(kassaka + -e)
กสฺสเก
(kassake)
ซึ่งเหล่าชาวนา

นอกจากนี้คำนามที่ทำหน้าที่ในประโยคเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางหรือการเคลื่อนที่ ยังผันในรูปกรรมตรงอีกด้วย ส่วนใหญ่เป็นคำนามสถานที่ เช่น

คาม + ◌ํ คามํ สู่หมู่บ้าน, ยังหมู่บ้าน
ปพฺพต + ◌ํ ปพฺพตํ สู่ภูเขา, ยังภูเขา
คาม + เ- คาเม สู่หมู่บ้านทั้งหลาย

ซึ่งคำนามดังกล่าวยังคงทำหน้าที่เป็นกรรมได้อยู่เอง การจะแปล "คามํ" ว่าสู่หมู่บ้าน หรือซึ่งหมู่บ้าน ขึ้นอยู่กับบริบทของประโยคนั้น ๆ

การสร้างประโยค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ประโยคที่จะมีคำนามรูปกรรมตรงได้นั้น คำกริยาหลักของประโยคต้องเป็นกริยาชนิดที่ต้องการกรรม หรือเป็นกริยาแสดงการเคลื่อนที่หรือการเดินทาง

โครงสร้างของประโยคที่มีกรรมตรง จะเรียงลำดับเป็น ผู้ทำ (ประธาน) + ผู้ถูกทำ (กรรมตรง) + กริยา. (เทียบเท่ากับ SOV - Subject Object Verb) จะเห็นว่าคำกริยาตกอยู่ท้ายประโยค และกรรมตรงอยู่หน้าคำกริยา

นโร ปุตฺตํ ปสฺสติ. อันว่าผู้ชาย เห็นอยู่ ซึ่งลูกชาย
วาณิชา คามํ คจฺฉนฺติ. อันว่าเหล่าพ่อค้า กำลังไป สู่หมู่บ้าน
ผู้ทำ
(nom)
ผู้ถูกทำ
(acc)
กริยา

ให้สังเกตว่าคำกริยาจะผันตามคำนามประธานเสมอ ไม่ว่าคำนามกรรมตรงจะเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ไม่มีผลต่อคำกริยานั้น

  1. นโร ปุตฺตํ ปสฺสติ. – ผู้ชายเห็นลูกชาย
  2. นโร ปุตฺเต ปสฺสติ. – ผู้ชายเห็นพวกลูกชาย
  3. นรา ปุตฺตํ ปสฺสนฺติ. – พวกผู้ชายเห็นลูกชาย
  4. นรา ปุตฺเต ปสฺสนฺติ. – พวกผู้ชายเห็นพวกลูกชาย

เนื่องจากกรรมการกในประโยคเป็นได้สองหน้าที่คือเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรงและจุดหมายปลายทาง ทำให้เกิดประโยคที่ประกอบด้วยคำนามกรรมตรงสองคำได้ เช่น

กสฺสกา คามํ ภตฺตํ หรนฺติ. – ชาวนาทั้งหลายนำข้าวไปยังหมู่บ้าน

แบบฝึกหัด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จงผันคำนาม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จงผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ต่อไปนี้ ให้อยู่ในรูปกรรมตรง ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์

  1. ปุริส
  2. พฺราหฺมณ
  3. พุทฺธ, ตถาคต, สุคต
  4. สหาย, สหายก, มิตฺต
  5. กุกฺกุร, สุนข, โสณ
  6. ธมฺม
  7. ปตฺต
  8. รุกฺข
  9. วิหาร
  10. จนฺท, สุริย
  11. อาวาฏ
  12. โอทน
ตัวอย่างเฉลย
ต้นเค้าคำนาม รูปผันกรรมตรง
เอกพจน์ พหูพจน์
ช. –ะ -ํ เ–
ปุริส ปุริสํ ปุริเส
พฺราหฺมณ พฺราหฺมณํ พฺราหฺมเณ
พุทฺธ, ตถาคต, สุคต พุทฺธํ, ตถาคตํ, สุคตํ พุทฺเธ, ตถาคเต, สุคเต
สหาย, สหายก, มิตฺต สหายํ, สหายกํ, มิตฺตํ สหาเย, สหายเก, มิตฺเต
กุกฺกุร, สุนข, โสณ (สุนัข) กุกฺกุรํ, สุนขํ, โสณํ กุกฺกุเร, สุนเข, โสเณ
ธมฺม (ธรรม, คำสอน, ความจริง) ธมฺมํ ธมฺเม
ปตฺต (ถ้วย, ชาม, บาตร) ปตฺตํ ปตฺเต
รุกฺข (ต้นไม้) รุกฺขํ รุกฺเข
วิหาร (วิหาร, โบสถ์) วิหารํ วิหาเร
จนฺท; สุริย (ดวงจันทร์; ดวงอาทิตย์) จนฺทํ; สุริยํ จนเท; สุริเย
อาวาฏ (หลุม, บ่อ) อาวาฏํ อาวาเฏ
โอทน (ข้าวสวย) โอทนํ โอทเน

จงแปลเป็นภาษาไทย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. ตถาคโต ธมฺมํ ภาสติ.
    Tathāgato dhammaṃ bhāsati.
  2. พฺราหฺมณา โอทนํ ภุญฺจนฺติ.
    Brāhmaṇā odanaṃ bhuñjanti.
  3. มนุสฺโส สุริยํ ปสฺสติ.
    Manusso suriyaṃ passati.
  4. กุมารา สิคาเล ปหรนฺติ.
    Kumārā sigāle paharanti.
  5. ยาจกา ภตฺตํ ยาจนฺติ.
    Yācakā bhattaṃ yācanti.
  6. กสฺสกา อาวาเฎ ขณนฺติ.
    Kassakā āvāṭe khaṇanti.
  7. มิตฺโต คามํ อาคจฺฉติ.
    Mitto gāmaṃ āgacchati.
  8. ภูปาโล มนุสฺเส รกฺขติ.
    Bhūpālo manusse rakkhati.
  9. ปุตฺตา ปพฺพตํ คจฺฉนฺติ.
    Puttā pabbataṃ gacchanti.
  10. กุมาโร พุทฺธํ วนฺทติ.
    Kumāro Buddhaṃ vandati.
  11. วาณิชา ปตฺเต อาหรนฺติ.
    Vāṇijā patte āharanti.
  12. ปุริโส วิหารํ คจฺฉติ.
    Puriso vihāraṃ gacchati.
  13. กุกฺกุรา ปพฺพตํ ธาวนฺติ.
    Kukkurā pabbataṃ dhāvanti.
  14. สิคาลา คามํ อาคจฺฉนฺติ.
    Sigālā gāmaṃ āgacchanti.
  15. พฺราหฺมณา สหายเก อาหรนฺติ.
    Brāhmaṇā sahāyake āharanti.
  16. ภูปาลา สุคตํ วนฺทนฺติ.
    Bhūpālā sugataṃ vandanti.
  17. ยาจกา สยนฺติ.
    Yācakā sayanti.
  18. มิตฺตา สุนเข หรนฺติ.
    Mittā sunakhe haranti.
  19. ปุตฺโต จนฺทํ ปสฺสติ.
    Putto candaṃ passati.
  20. กสฺสโก คามํ ธาวติ.
    Kassako gāmaṃ dhāvati.
  21. วาณิชา รุกฺเข ฉินฺทนฺติ.
    Vāṇijā rukkhe chindanti.
  22. นโร สิคาลํ วิชฺฌติ.
    Naro sigālaṃ vijjhati.
  23. กุมาโร โอทนํ ภุญชติ.
    Kumāro odanaṃ bhuñjati.
  24. ยาจโก โสณํ ปหรติ.
    Yācako soṇaṃ paharati.
  25. สหายกา ปพฺพเต อารุหนฺติ.
    Sahāyakā pabbate āruhanti.
ตัวอย่างเฉลย
  1. พระพุทธเจ้าเทศนาธรรม
  2. พวกพราหมณ์กินข้าวสวย
  3. มนุษย์มองดูดวงอาทิตย์
  4. พวกเด็กชายทุบตีพวกหมาจิ้งจอกทอง
  5. พวกขอทานขอข้าว
  6. พวกชาวนาขุดหลุมทั้งหลาย
  7. เพื่อนมายังหมู่บ้าน
  8. พระราชาปกป้องมนุษย์
  9. พวกลูกชายไปยังภูเขา
  10. เด็กชายไหว้พระพุทธเจ้า
  11. พวกพ่อค้านำถ้วยมา
  12. ผู้ชายไปยังโบสถ์
  13. เหล่าสุนัขวิ่งไปยังภูเขา
  14. พวกหมาจิ้งจอกทองมายังหมู่บ้าน
  15. พวกพราหมณ์นำเพื่อนทั้งหลายมา
  16. กษัตริย์ทั้งหลายทรงไหว้พระพุทธเจ้า
  17. พวกขอทานนอนอยู่
  18. พวกเพื่อนนำสุนัขทั้งหลายไป
  19. ลูกชายมองดูดวงจันทร์
  20. ชาวนาวิ่งไปยังหมู่บ้าน
  21. พวกพ่อค้าตัดต้นไม้
  22. คนยิงหมาจิ้งจอกทอง
  23. เด็กชายกินข้าวสวย
  24. ขอทานทุบตีหมา
  25. พวกเพื่อนๆ ขึ้นไปยังเทือกเขา

จงแปลเป็นภาษาบาลี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. พวกผู้ชายไปยังวิหาร
  2. พวกชาวนาปีนขึ้นภูเขาทั้งหลาย
  3. พราหมณ์รับประทานข้าว
  4. พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นเหล่าเด็กชาย
  5. พวกลุงหยิบถ้วยทั้งหลายไป
  6. บุตรปกป้องสุนัข
  7. พระราชาทรงไหว้พระพุทธเจ้า
  8. พ่อค้าพาเด็กชายมา
  9. เหล่าเพื่อนๆ ไหว้พราหมณ์
  10. พวกขอทานขอข้าว
  11. เหล่าพ่อค้ายิงพวกหมาจิ้งจอกทอง
  12. พวกเด็กชายปีนภูเขา
  13. ชาวนาวิ่งไปยังหมู่บ้าน
  14. พ่อค้าหุงข้าว
  15. พวกบุตรไหว้ลุง
  16. เหล่าพระราชาปกป้องคนทั้งหลาย
  17. พระพุทธเจ้าเสด็จมายังวิหาร
  18. พวกผู้ชายลงมา
  19. พวกชาวนาขุดหลุมทั้งหลาย
  20. พ่อค้าวิ่ง
  21. สุนัขเห็นพระจันทร์
  22. พวกเด็กชายปีนต้นไม้ทั้งหลาย
  23. พราหมณ์นำถ้วยมา
  24. ขอทานหลับ
  25. พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้า
ตัวอย่างเฉลย
  1. นรา วิหารํ คจฺฉนฺติ.
    (ประธานพหู. กรรมตรงเอก.)
  2. กสฺสกา ปฺพพเต อารุหนฺติ.
    (ประธานและกรรมตรงพหู.)
  3. พฺราหฺมโณ ภตฺตํ ภุญฺชติ.
    (ประธานและกรรมตรงเอก.)
  4. พุทฺโธ กุมาเร ปสฺสติ.
    (ประธานเอก. กรรมตรงพหู.)
  5. มาตุลา ปตฺเต หรนฺติ.
    (ประธานและกรรมตรงพหู.)
  6. ปุตฺโต กุกฺกุรํ รกฺขติ.
    (ประธานและกรรมตรงเอก.)
  7. ภูปาโล ตถาคตํ วนฺทติ.
    (ประธานและกรรมตรงเอก.)
  8. วาณิโช กุมารํ อาหรติ.
    (ประธานและกรรมตรงเอก.)
  9. มิตฺตา พฺราหฺมณํ วนฺทนฺติ.
    (ประธานพหู. กรรมตรงเอก.)
  10. ยาจกา ภตฺตํ ยาจนฺติ.
    (ประธานพหู. กรรมตรงเอก.)
  11. วาณิชา สิคาเล วิชฺฌนฺติ.
    (ประธานและกรรมตรงพหู.)
  12. กุมารา ปพฺพตํ อารุหนฺติ.
    (ประธานพหู. กรรมตรงเอก.)
  13. กสฺสโก คามํ ธาวติ.
    (ประธานและกรรมตรงเอก.)
  14. วาณิโช ภตฺตํ ปจติ.
    (ประธานและกรรมตรงเอก.)
  15. ปุตฺตา มาตุลํ วนฺทนฺติ.
    (ประธานพหู. กรรมตรงเอก.)
  16. ภูปาลา นเร รกฺขนฺติ.
    (ประธานและกรรมตรงพหู.)
  17. สุคโต วิหารํ อาคจฺฉติ.
    (ประธานและกรรมตรงพหู.)
  18. ปุริสา โอรุหนฺติ.
    (ประธานพหู.)
  19. กสฺสกา อาวาเฏ ขณนฺติ.
    (ประธานและกรรมตรงพหู.)
  20. วาณิโช ธาวติ.
    (ประธานเอก.)
  21. โสโณ จนฺทํ ปสฺสติ.
    (ประธานและกรรมตรงเอก.)
  22. กุมารา รุกฺเข อารุหนฺติ.
    (ประธานและกรรมตรงพหู.)
  23. พฺราหฺมโณ ปตฺตํ อาหรติ.
    (ประธานและกรรมตรงเอก.)
  24. ยาจโก สยติ.
    (ประธานเอก.)
  25. ภูปาโล พุทฺธํ ปสฺสติ.
    (ประธานและกรรมตรงเอก.)

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

บทนำ - การอ่านออกเสียง
บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี