ภาษาบาลีสำหรับผู้เริ่มต้น/บทที่ 5

จาก วิกิตำรา

คำศัพท์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำศัพท์ ความหมาย
อักษรไทย อักษรโรมัน
คำนาม (เพศชาย + ลงท้ายด้วย -a /อะ/)
ตาปส tāpasa ฤๅษี, ดาบส
สีห sīha สิงห์ (พระที่นั่งสีหบัญชร - พระที่นั่งที่มีหน้าต่างเป็นสิงห์)
วานร, มกฺขฎ vānara, makkhaṭa ลิง (วานร)
กุทฺทาล kuddāla จอบ
อาจริย ācariya อาจารย์ (ภาษาสันสกฤต)
ลุทฺทก luddaka นายพราน
ลาภ lābha ลาภ, ผลประโยชน์
เวชฺช vejja หมอ (เวช)
อชา aja แกะ
มญฺจ mañca เตียงนอน
คำกริยา (ผันตามกาลปัจจุบัน + ประธานบุรุษที่สาม + เอกพจน์)
ตรงกับ he/she/it + V.-s/es หรือ is + V.-ing ในภาษาอังกฤษ
โรทติ rodati ร้องไห้
ปวิสติ pavisati เข้าไป
กีฬติ kīḷati เล่น (กีฬา)
ปชหติ pajahati ยกเลิก, ละทิ้ง
หสติ hasati หัวเราะ (หรรษา ในภาษาสันสกฤต)
ททาติ dadāti (พหูพจน์คือ dadanti - ททนฺติ) ให้
นหายติ nahāyati อาบน้ำ
ลภติ labhati ได้รับ, ได้ (ลาภ)
อาททาติ ādadāti (พหูพจน์คือ ādadanti) เอามา
อากฑฺฒติ ākaḍḍhati ลาก

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วย -a ให้ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง มีหลักการดังนี้

กรรมรอง (ที่หมายของกริยา) ในภาษาบาลีเรียกว่า จตุตถี ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า Dative เช่น
ฉันให้ขนมแก่น้อง - น้อง ทำหน้าที่เป็น กรรมรอง โดยมีคำว่า แก่ เป็นตัวบ่ง
ในภาษาบาลี เมื่อแปลนามที่ทำหน้าที่กรรมรองออกมาเป็นภาษาไทย จะให้ความหมายว่า แก่..., เพื่อ... หรือ ต่อ...


1. ถ้าต้องการให้เป็นเอกพจน์ ให้เติม -āya หรือ -ssa ลงที่ท้ายต้นเค้าคำนาม (เติม -อาย, -สฺส)
ที่ต้องมีการผันสองแบบ ก็เพื่อความสะดวกในการลงสัมผัสในบทประพันธ์
เอกพจน์ + ชา่ย + กรรมรอง
นร + อาย/สฺส
(nara + āya/ssa)
= นราย, นสฺส
narāya/nassa
มาตุล + อาย/สฺส
(mātula + āya/ssa)
= มาตุลาย, มาตุลสฺส
mātulāya/mātulassa
กสฺส + อาย/สฺส
(kassaka + āya/ssa)
= กสฺกาย, กสฺกสฺส
kassakāya/kassakassa


2. ถ้าต้องการให้เป็นพหูพจน์ ให้เติม -ānaṃ ลงที่ท้ายต้นเค้าคำนาม (เติม -อานํ)
พหูพจน์ + ชา่ย + กรรมรอง
nara + ānaṃ = narānaṃ (นรานํ)
mātula + ānaṃ = mātulānaṃ (มาตุลานํ)
kassaka + ānaṃ = kassakānaṃ (กสกานํ)

รูปแบบประโยค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ประโยคในภาษาบาลีจะเรียงเป็น ประธาน + กรรมรอง + เครื่องมือ + ที่มา + กรรมตรง + กริยา (S IO Inst Src O V) เช่น

เอกพจน์
Dhīvaro narāya macchaṃ āharati. (ธีวโร นราย มจฺฉํ อาหรติ) = ชาวประมงนำปลามาให้แก่ผู้ชาย
Putto mātulassa odanaṃ dadāti. (ปุตโต มาตุลสฺส โอทนํ ททาติ) = บุตรให้ข้าวสุกแก่ลุง
Vāṇijo kassakassa ajaṃ dadāti. (วาณิโช กสกสฺส อชํ ททาติ) = พ่อค้าให้แพะแก่ชาวนา


พหูพจน์
Dhīvarā narānaṃ macche āharanti. (ธีวรา นรานํ มจฺเฉ อาหรนฺติ) = พวกชาวประมงนำปลาทั้งหลายมาให้แก่ผู้ชายทั้งหลาย
Puttā mātulānaṃ odanaṃ dadanti. (ปุตตา มาตุลานํ โอทนํ ททนฺติ) = พวกบุตรให้ข้าวสุกแก่พวกลุง
Vāṇijā kassakānaṃ aje dadanti. (วาณิชา กสกานํ อเช ททนฺติ) = พวกพ่อค้าให้แพะทั้งหลายแก่พวกชาวนา


วิธีการจดจำลำดับคำของประโยคภาษาบาลี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ลำดับคำหลักของประโยคคือ ประธาน + ส่วนขยายกริยา + กรรมตรง + กริยา (S Adv O V)
  • ลำดับคำของส่วนขยายกริยาจะเป็นแบบถอยหลัง เริ่มจากที่มาของกริยาไว้หลังสุด ตามด้วยเครื่องมือไว้ตรงกลาง แล้วจบด้วยที่หมายของกริยา (กรรมรอง) ไว้หน้าสุด (Adv = IO Inst Src)

แบบฝึกหัด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จงแปลเป็นภาษาไทย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. วาณิโช รชกสฺส สาฏกํ ททาติฯ
  2. เวชฺโช อาจริยสฺส ทีปํ อาหรติฯ
  3. มิคา ปาสาณมฺหา ปพฺพตํ ธาวนฺติฯ
  4. มนุสฺสา พุทฺเธหิ ธมฺมํ ลภนฺติฯ
  5. ปุริโส เวชฺชาย สกฏํ อากฑฺฒติฯ
  6. ทารโก หตฺเถน ยาจกสฺส ภตฺตํ อาหรติฯ
  7. ยาจโก อาจริยาย อาวาฏํ ขณติฯ
  8. รชโก อมจฺจานํ สาฏเก ททาติฯ
  9. พฺราหฺมโณ สาวกานํ มญฺเจ อาหรติฯ
  10. วานโร รุกฺขมฺหา ปตติ, กุกฺกุโร วานรํ ฑสติฯ
  11. ธีวรา ปิฏเกหิ อมจฺจานํ มจฺเฉ อาหรนฺติฯ
  12. กสฺสโก วาณิชาย รุกฺขํ ฉินฺทติฯ
  13. โจโร กุทฺทาเลน อาจริยาย อาวาฏํ ขณติฯ
  14. เวชฺโช ปุตฺตานํ ภตฺตํ ปจติฯ
  15. ตาปโส ลุทฺทเกน สทฺธึ ภาสติฯ
  16. ลุทฺทโก ตาปสสฺส ทีปํ ททาติฯ
  17. สีหา มิเค หนนฺติฯ
  18. มกฺกโฏ ปุตฺเตน สห รุกฺขํ อารุหติฯ
  19. สมณา อุปาสเกหิ โอทนํ ลภนฺติฯ
  20. ทารกา โรทนฺติ, กุมาโร หสติ, มาตุโล กุมารํ ปหรติฯ
  21. วานรา ปพฺพตมฺหา โอรุหนฺติ, รุกฺเข อารุหนฺติฯ
  22. โจรา รถํ ปวิสนฺติ, อมจฺโจ รถํ ปชหติฯ
  23. อาจริโย ทารกาย รุกฺขมฺหา สุกํ อาหรติฯ
  24. ลุทฺทโก ปพฺพตสฺมา อชํ อากฑฺฒติฯ
  25. ตาปโส ปพฺพตมฺหา สีหํ ปสฺสติฯ
  26. วาณิชา กสฺสเกหิ ลาภํ ลภนฺติฯ
  27. ลุทฺทโก วาณิชานํ วราเห หนติฯ
  28. ตาปโส อาจริยมฺหา ปเญฺห ปุจฺฉติฯ
  29. ปุตฺโต มญฺจมฺหา ปตติฯ
  30. กุมารา สหายเกหิ สทฺธึ นหายนฺติฯ

จงแปลเป็นภาษาบาลี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. พวกพ่อค้าให้ม้าทั้งหลายแก่อมาตย์ทั้งหลาย
  2. นายพรานฆ่าแพะให้แก่พ่อค้า
  3. ผู้ชายตัดต้นไม้ทั้งหลายด้วยเลื่อยให้แก่ชาวนา
  4. กวางวิ่ง (หนี) ไปจากสิงโต
  5. พระราชาทรงไหว้พระพุทธเจ้ากับทั้งพระสาวกทั้งหลาย
  6. พวกหัวขโมยวิ่งจากหมู่บ้านทั้งหลายไปยังภูเขาทั้งหลาย
  7. คนซักผ้าล้างเสื้อผ้าทั้งหลายให้แก่พระราชา
  8. ชาวประมงนำปลามาในตะกร้าทั้งหลายให้แก่ชาวนา
  9. อาจารย์เข้าไปในวิหาร (และ) พบกับพระ
  10. งูใหญ่กัดลิง
  11. พวกเด็กผู้ชายลากเตียงไปให้พราหมณ์
  12. พวกขโมยเข้าไปสู่ปราสาทพร้อมกับพวกผู้ชาย
  13. พวกชาวนานำปลามาจากพวกชาวประมง
  14. หมูทั้งหลายไปจากเกาะไปสู่ภูเขา
  15. พระราชาทิ้งปราสาท พระราชบุตรเข้าไปในวิหาร
  16. สิงโตนอนหลับ พวกลิงเล่นกัน
  17. อาจารย์ปกป้องบุตรทั้งหลายจากสุนัข
  18. พวกนายพรานยิงกวางด้วยลูกศรทั้งหลายให้แก่อมาตย์ทั้งหลาย
  19. พวกเด็กๆ ต้องการข้าวจากลุง
  20. หมอให้เสื้อผ้าแก่ฤๅษี
  21. พ่อค้านำแพะมาด้วยเกวียนให้แก่อาจารย์
  22. พวกบุตรมองดูพระจันทร์จากภูเขา
  23. พวกนักปราชญ์ได้ประโยชน์จากพระธรรม
  24. พวกลิงออกจากหมู่บ้าน
  25. บุตรนำนกแก้วมาให้แก่เพื่อนจากภูเขา
  26. หมอเข้าไปในวิหาร
  27. หมาไนวิ่งจากหมู่บ้านไปยังภูเขาด้วยถนน
  28. เกวียนตกจากถนน เด็กร้องไห้
  29. พวกอมาตย์ขึ้นบันได หมอลงมาจากบันได
  30. พวกนักปราชญ์ถามคำถามจากพระพุทธเจ้า

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

บทนำ - การอ่านออกเสียง
บทที่ 1 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันกริยากาลปัจจุบันสำหรับประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 2 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 3 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 4 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิด รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 5 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 6 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 7 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นสถานที่ รูปเอกพจน์และพหูพจน์
บทที่ 8 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ ที่ทำหน้าที่เป็นคำร้องเรียก รูปเอกพจน์และพหูพจน์, การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อะ
บทที่ 9 - การสร้างคำนามจากกริยา
บทที่ 10 - การผันคำกริยาเพื่อไม่ให้ระบุกาล
บทที่ 11 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน, การผันคำนามเพศชายและเพศกลาง
บทที่ 12 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ
บทที่ 13 - การผันคำกริยาในกาลปัจจุบัน และบอกความเป็นผู้กระทำ (ภาคต่อ)
บทที่ 14 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอนาคต
บทที่ 15 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นไปได้และคำแนะนำ
บทที่ 16 - การผันคำกริยาเพื่อบอกคำสั่ง
บทที่ 17 - การผันคำกริยาเพื่อบอกกาลอดีต
บทที่ 18 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อา
บทที่ 19 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น
บทที่ 20 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อี
บทที่ 21 - การผันคำกริยาเพื่อบอกเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน (ภาคต่อ), การผันคำนามเพศหญิง
บทที่ 22 - การผันคำกริยาเพื่อบอกความเป็นผู้ถูกกระทำในกาลอนาคต
บทที่ 23 - การผันคำกริยาเพื่อบอกการไหว้วานหรือการบังคับ
บทที่ 24 - การผันคำนามเพศหญิงที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ
บทที่ 25 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ
บทที่ 26 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อี
บทที่ 27 - การผันคำนามเพศชายที่ลงท้ายด้วยเสียง อุ และ อู
บทที่ 28 - การผันคำนามของผู้กระทำกริยา และคำนามที่บ่งบอกความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
บทที่ 29 - การผันคำนามเพศกลางที่ลงท้ายด้วยเสียง อิ และ อุ
บทที่ 30 - การผันคำคุณศัพท์ที่ลงท้ายด้วย -วนฺตุ และ -มนฺตุ
บทที่ 31 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ
บทที่ 32 - การผันคำสรรพนามบอกบุรุษ สรรพนามบอกความสัมพันธ์ สรรพนามบอกระยะ และสรรพนามบอกคำถาม
ภาคผนวก - รายการคำกริยาในภาษาบาลี, รายการคำที่นอกเหนือจากคำกริยาในภาษาบาลี