ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ชนิดของคำ/คำอุทาน

จาก วิกิตำรา

คำอุทาน คือ คำทีไม่มีความหมายในตัวเอง เป็นคำที่แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด หรือพูดเพื่อเสริมคำอื่นให้มีความหมายหนักแน่นขึ้น

ชนิดของคำอุทาน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • คำอุทานบอกอาการ เป็นคำบอกอารมณ์หรือบอกความรู้สึกโดยตรง ใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับข้างหลัง เช่น
คำอุทาน ทำหน้าที่บอกความรู้สึกของผู้พูด หรือผู้เขียน เช่น
  1. บอกความรู้สึกตกใจ เช่น ว้าย! อุ๊ย!
  2. บอกความรู้สึกเจ็บ เช่น โอ๊ย!
  3. บอกความรู้สึกดีใจ เช่น เย้! ไชโย! ฮูเร!
  • คำอุทานเสริมบท เป็นคำที่ไม่ได้บอกอารมณ์ และผู้พูดก็ไม่ประสงค์เนื้อความของคำที่เสริมเข้าไป ไม่ใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับ เช่น ไปวัดไปวา โรงเล่าโรงเรียน ลืมหูลืมตา

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]