หนี้

จาก วิกิตำรา




หนี้ (obligation) เป็นความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "เจ้าหนี้" มีสิทธิบังคับให้อีกฝ่ายซึ่งเรียก "ลูกหนี้" ทำหรือไม่ทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ได้

กฎหมายเกี่ยวกับหนี้นั้นเรียก กฎหมายลักษณะหนี้ (law of obligations) เนื่องจากหนี้เป็นความสัมพันธ์พื้นฐานอย่างหนึ่งในกฎหมายแพ่ง กฎหมายลักษณะหนี้จึงเป็นกฎหมายหลักกลุ่มหนึ่งในกฎหมายแพ่งด้วย แบ่งศึกษาตามลำดับดังนี้

  บทที่ 1   บททั่วไป: ภาพรวมว่าด้วยหนี้คืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร มีผลอย่างไร และใครคือเจ้าหนี้กับลูกหนี้

  บทที่ 2   อำนาจแห่งหนี้: เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้ว เจ้าหนี้ลูกหนี้มีสิทธิและหน้าที่อย่างไรบ้าง

  บทที่ 3   เจ้าหนี้และลูกหนี้หลายคน: เมื่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง ๆ มีหลายคน คนเหล่านั้นมีความสัมพันธ์ระหว่างกันและความสัมพันธ์กับคู่กรณีอีกฝ่ายเช่นไร

  บทที่ 4   ความระงับแห่งหนี้: หนี้สิ้นสุดลงได้อย่างไร และส่งผลเช่นไร

รายละเอียดของแต่ละบทปรากฏอยู่ในกล่องท้ายหน้านี้แล้ว

ตำรานี้ว่าด้วยหนี้ตามกฎหมายแพ่ง สำหรับหนี้ตามกฎหมายมหาชน ดู หนี้สาธารณะ (government debt) และหนี้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ดู พันธกรณี (obligation)

อนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ตำรานี้ได้แทรกศัพท์กฎหมายที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นไว้ด้วย ศัพท์เหล่านี้อ้างอิงประมวลกฎหมายแพ่งเยอรมัน ญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแม่แบบ ป.พ.พ. เป็นหลัก

ตำรานี้ยังแทรก ฎ. บางฉบับไว้ด้วย แต่พึงทราบว่า ในระบบซีวิลลอว์ (civil law) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยนั้น คำพิพากษาไม่เป็นกฎหมาย เป็นเพียงการปรับใช้กฎหมายเป็นรายกรณีไปเท่านั้น

รายการอ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาไทย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาต่างประเทศ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กฎหมาย
อื่น ๆ



ขึ้น