หนี้/บทที่ 2
ในบทก่อน ได้อธิบายแล้วว่า หนี้มีหัวใจเป็นสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้และหน้าที่ของลูกหนี้ต้องชำระหนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้ว เจ้าหนี้ย่อมอำนาจเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ แต่ในบางกรณี ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ชำระหนี้ไม่ถูกต้อง หรือเพทุบายเพื่อเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็มีอำนาจแก้เล่ห์กลเหล่านั้น บังคับชำระหนี้ หรือเรียกร้องค่าเสียหายตามที่กฎหมายกำหนด นี้คืออำนาจแห่งหนี้ หรือบางตำราเรียก "กำลังบังคับแห่งหนี้"[1]
ในบทนี้ จะได้ศึกษาอำนาจแห่งหนี้ คือ
ส่วนที่ 1 อำนาจของเจ้าหนี้ที่จะเรียกชำระหนี้
ส่วนที่ 2 อำนาจของเจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ และ
ส่วนที่ 3 อำนาจของเจ้าหนี้ที่จะเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้กระทำไว้
ทั้งจะได้ศึกษากรณีโอนหนี้ อันจะเป็นผลให้มีการเปลี่ยนแปลงบางประการเกี่ยวกับอำนาจแห่งหนี้ด้วย คือ
ส่วนที่ 4 การช่วงสิทธิ
ส่วนที่ 5 การช่วงทรัพย์ และ
ส่วนที่ 6 การโอนสิทธิเรียกร้อง
เชิงอรรถ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]- ↑ จิ๊ด เศรษฐบุตร; 2554, กรกฎาคม: 48.
← บทที่ 1 บททั่วไป | ขึ้น | บทที่ 2 • ส่วนที่ 1 การเรียกชำระหนี้ → |
|