โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก/การพิมพ์ข้อความเบื้องต้น

จาก วิกิตำรา

จุดแทรกข้อความ | (Insertion Point) หรือเรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า เคอร์เซอร์ (Cursor) คือ สัญลักษณ์แสดงตำแหน่งแทรกข้อความที่เราพิมพ์ เราสามารถเลื่อนเคอร์เซอร์ไป ณ ตำแหน่งใดๆ ในเอกสารได้โดยคลิกเมาส์เลือกตำแหน่งที่ต้องการ นอกจากการใช้เมาส์แล้ว เรายังสามารถใช้คีย์บอร์ดในการเลื่อนเคอร์เซอร์ ดังนี้

  • กดปุ่ม Enter เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งลงทีละบรรทัด (ควรใช้วิธีนี้กับบรรทัดสุดท้ายของเอกสารเท่านั้น)
  • เลื่อนเมาส์ไปคลิก ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ปรากฏตัวชี้ตำแหน่งกระพริบ ณ ตำแหน่งนั้น
  • เลื่อนแถบเลื่อนจอภาพ (Scroll Bar) แล้วคลิกเมาส์ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ ปรากฏตัวชี้ตำแหน่งกระพริบ ณ ตำแหน่งนั้น
  • กดปุ่มลูกศรซ้ายหรือขวา เลื่อนตำแหน่งตัวชี้ตำแหน่งตามทิศทาง 1 ตัวอักษร (เลื่อนหลายตำแหน่ง ให้กดปุ่มลูกศรค้างไว้)
  • กดปุ่มลูกศรขึ้นหรือลง เลื่อนตำแหน่งตัวชี้ตำแหน่งตามทิศทาง 1 บรรทัด (เลื่อนหลายบรรทัด ให้กดปุ่มลูกศรค้างไว้)
  • กดปุ่ม PageUp หรือ PageDown เลื่อนตำแหน่งตัวชี้ตำแหน่งตามทิศทาง 1 จอภาพ
  • กดปุ่ม Ctrl พร้อมกับปุ่มลูกศร เลื่อนตำแหน่งตัวชี้ตำแหน่งตามทิศทาง 1 คำ
  • กดปุ่ม Home เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งมาอยู่หน้าบรรทัด
  • กดปุ่ม End เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปอยู่ท้ายบรรทัด
  • กดปุ่ม Ctrl+Home เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปต้นเอกสาร (ต้นแฟ้มเอกสาร)
  • กดปุ่ม Ctrl+End เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปท้ายแฟ้มเอกสาร
  • กดปุ่ม Ctrl+PageUp หรือ Ctrl+PageDown เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งไปส่วนหัวกระดาษ/ท้ายกระดาษ

Note Navigator ตัวช่วยในการเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่งตัวชี้ตำแหน่งโดยการใช้ปุ่มลูกศรตามที่กล่าวไปแล้ว จะไม่สะดวกหากเอกสารมีปริมาณมาก ดังนั้นควรใช้คำสั่ง Edit, Navigator มาช่วยเหลือ หรือกดปุ่มฟังก์ชัน F5 เพื่อเปิดหน้าต่าง “Navigator”

การพิมพ์ข้อความเบื้องต้น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • การขึ้นย่อหน้าใหม่ให้กดคีย์ Enter
    • ข้อความที่พิมพ์ที่มีลักษณะเป็นพารากราฟ (Paragraph) หลายๆ บรรทัด เมื่อพิมพ์มาถึงระยะกั้นขวา (สุดขอบขวา) ให้พิมพ์ต่อไปเรื่อยๆ โปรแกรมจะตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่อัตโนมัติ โดยไม่ต้องกดปุ่ม Enter ทั้งนี้จะกดปุ่ม Enter เมื่อสิ้นสุดการพิมพ์ (จบพารากราฟ) เท่านั้น
    • ข้อความที่ต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ ก่อนจบพารากราฟ หรือข้อความที่พบว่าโปรแกรมตัดคำไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ผู้ใช้สามารถตัดคำได้เอง โดยการนำเมาส์มาคลิกหน้าข้อความที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Shift+Enter
  • ข้อความที่มีลักษณะเป็นหัวเรื่อง เมื่อจบรายการ ให้กดปุ่ม Enter เพื่อขึ้นบรรทัดใหม่
  • การเว้นบรรทัดว่าง ให้กดปุ่ม Enter
  • เมื่อพิมพ์ผิด ลบตัวอักษรที่ผิดได้โดยการกดปุ่ม Backspace หรือปุ่ม Del
  • การย่อหน้าให้กดปุ่ม Tab โดย ตัวชี้ตำแหน่งจะเลื่อนไปยังตำแหน่งแท็บโดยอัตโนมัติ
  • เมื่อต้องการขึ้นหน้ากระดาษใหม่ ก่อนจบหน้านั้นๆ ให้กดปุ่ม Ctrl + Enter หรือเลือกคำสั่ง Insert, Manual Break, Page Break

Note การพิมพ์ช่องว่างให้กับคำที่จำเป็นต้องย้ายตำแหน่งไปพร้อมๆ กันเช่น Mr. Boonlert หากคำๆ นี้ไปอยู่ท้ายบรรทัดโปรแกรมอาจจะตัดคำผิดพลาด โดยแยกคำว่า Mr. กับคำว่า Boonlert ออกจากกัน ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยกำหนดให้ช่องว่างระหว่างคำเป็น Non-breaking spaces โดยให้กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ขณะที่เคาะแป้นช่องว่าง (Space bar)

Dummy Text[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

Dummy Text เป็นคำสั่งช่วยพิมพ์ข้อความอัตโนมัติ มักใช้ในการทดสอบการพิมพ์/การใช้คำสั่งจัดแต่งรูปแบบข้อความ/พารากราฟ หรือประกอบการสอนการบรรยาย โดยพิมพ์ dt แล้วกดปุ่ม F3

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]