ไฟเตือนสิ่งกีดขวาง

จาก วิกิตำรา

ในด้านการเดินอากาศแล้ว นักบินจำเป็นต้องเห็นสิ่งวัตถุใดๆ ที่สูงเหนือระดับสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบๆสถานที่ๆปฏิบัติการบินอยู่ ทั้งเมื่ออากาศดีท้องฟ้าแจ่มใสและเมื่อเกิดสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง มีเมฆ หมอก ยากต่อการมองเห็น วัตถุหรือสิ่งปลูกสร้าง ทั้งตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ควรทำให้นักบินสังเกตุเห็นได้ชัด เพื่อที่จะควบคงอากาศยาน ไม่ให้เข้าใกล้หรือเฉี่ยวชน

กฎเกณฑ์การทาสีทำเครื่องหมายและ/หรือติดไฟแสดงสิ่งกีดขวางสำหรับสังเกตสิ่งกีดขวาง

บททั่วไป

คำว่า สิ่งกีดขวาง มีความหมายตามที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้ดังนี้ สิ่ง หมายความว่า ของต่างๆ อย่าง อัน เป็นคำใช้แทนนามทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต กีด หมายความว่า กั้น ขวาง หรือ เกะกะ ขวาง หมายความว่า กีดกั้น หรือ สกัด เมื่อรวมกันแล้ว หมายความว่า ของต่างๆ ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ที่กั้น หรือ เกะกะ หรือสกัดกั้นสิ่งอื่นที่เคลื่อนที่ผ่านของต่างๆ นั้น สิ่งกีดขวางตาม Annex 14 หมายถึง “ วัตถุที่อยู่กับที่และวัตถุที่เคลื่อนที่ทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นชั่วคราวหรือถาวรหรือส่วนหนึ่งของมัน ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ต้องการใช้เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวทางการบินหรือที่สูงทะลุพื้นผิวที่ต้องการปกป้องเครื่องบินที่ทำการบิน

วัตถุที่เป็นสิ่งกีดขวาง พิจารณาจาก

1. วัตถุที่อยู่สูงจากพื้นภายใน strip ของทางวิ่ง 2. วัตถุที่อยู่สูงเกินพื้นผิว approach surface, transitional surfaces, inner horizontal surface, conical surface 3. อยู่ภายในเขตประกาศปลอดภัยในการเดินอากาศ ตามกฎหมายการเดินอากาศ เขตปลอดสิ่งกีดขวาง( Obstacle Free Zone) = NFZ หมายถึง ห้วงอากาศเหนือ the inner approach surface, inner transitional surfaces, balked landing surface และส่วนของ strip ที่ล้อมรอบโดยพื้นที่เหล่านี้ ซึ่งไม่ถูกแทงทะลุโดยสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ใดๆนอกจากวัตถุเล็กๆและสิ่งที่แตกหักได้ง่ายที่จำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์การเดินอากาศ inner approach surface

หมายถึง inner transitional surface

หมายถึง balked landing surface

หมายถึง strip

ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มสูง ชนิด A หมายถึง ไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีขาวกระพริบ 40-60 ครั้งต่อนาที ความเข้มแสง 2 แสนแรงเทียน +/- 25 % ทำมุมในแนวตั้ง 3-7 องศา มีความเข้มแสงไม่เกิน 3 % ที่มุม -10 องศา และ 50-75 % ที่ -1 องศา และ 100 % ที่มุม 0 องศา ในตอนกลางวัน และ 2 หมื่นแรงเทียน ในตอนใกล้ค่ำ และความเข้มแสงในตอนกลางคืนไม่ต่ำกว่า 2 พันแรงเทียน +/- 25% ตามตารางที่ 6-3

ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มสูง ชนิด B หมายถึง ไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีขาวกระพริบ 40-60 ครั้งต่อนาที ความเข้มแสง 1 แสนแรงเทียน +/- 25 % ทำมุมในแนวตั้ง 3-7 องศา มีความเข้มแสงไม่เกิน 3 % ที่มุม -10 องศา และ 50-75 % ที่ -1 องศา และ 100 % ที่มุม 0 องศา ในตอนกลางวัน และ 2 หมื่นแรงเทียน ในตอนใกล้ค่ำ และความเข้มแสงในตอนกลางคืนไม่ต่ำกว่า 2 พันแรงเทียน +/- 25% ตามตารางที่ 6-3

ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มปานกลาง ชนิด A หมายถึง ไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีขาวกระพริบ 20-60 ครั้งต่อนาที ความเข้มแสง 2 หมื่นแรงเทียน +/- 25 % ทำมุมในแนวตั้ง 3 องศา มีความเข้มแสงไม่เกิน 3 % ที่มุม -10 องศา และ 50-75 % ที่มุม -1 องศา และ 100% ที่มุม 0 องศา ในตอนกลางวัน และความเข้มแสงในตอนกลางคืนไม่ต่ำกว่า 2 พันแรงเทียน +/- 25 % ใช้กับสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ ตามตารางที่ 6-3

ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มปานกลาง ชนิด B หมายถึง ไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีแดงกระพริบ 20-60 ครั้งต่อนาที ความเข้มแสง 2 พันแรงเทียน +/- 25 % ทำมุมในแนวตั้ง 3 องศา มีความเข้มแสง 50-75 % ที่มุม -1 องศา และ 100 % ที่มุม 0 องศา ใช้กับสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ ตามตารางที่ 6-3 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มปานกลาง ชนิด C หมายถึง ไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีแดงคงที่ ความเข้มแสง 2 พันแรงเทียน +/- 25 % ทำมุมในแนวตั้ง 3 องศา มีความเข้มแสง 50-75 % ที่มุม -1 องศา และ 100 % ที่มุม 0 องศา ใช้กับสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ ตามตารางที่ 6-3

ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มต่ำ ชนิด A หมายถึง ไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีแดงคงที่ ความเข้มแสงไม่ต่ำกว่า 10 แรงเทียน ทำมุมในแนวตั้ง 10 องศา มีความเข้มแสง 100 % ที่มุม +6 และ +10 องศา ใช้กับสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ ตามตารางที่ 6-3 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มต่ำ ชนิด B หมายถึง ไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีแดงคงที่ ความเข้มแสงไม่ต่ำกว่า 32 แรงเทียน ทำมุมในแนวตั้ง 10 องศา มีความเข้มแสง 100 % ที่มุม +6 และ +10 องศา ใช้กับสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ ตามตารางที่ 6-3

ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มต่ำ ชนิด C หมายถึง ไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีเหลือง หรือสีน้ำเงินกระพริบ 60-90 ครั้ง/นาที ความเข้มแสงไม่ต่ำกว่า 40-400 แรงเทียน ไม่จำกัดมุมกระจายแสง ใช้กับสิ่งกีดขวางที่เคลื่อนที่ ตามตารางที่ 6-3 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มต่ำ ชนิด D หมายถึง ไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีเหลือง กระพริบ 60-90 ครั้ง/นาที ความเข้มแสงไม่ต่ำกว่า 200-400 แรงเทียน ไม่จำกัดมุมกระจายแสง ใช้กับสิ่งกีดขวางที่เป็นรถยนต์ Follow-me ตามตารางที่ 6-3

จุดประสงค์ การทาสีการทำเครื่องหมายและ/หรือติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง (Obstruction Lights) เพื่อที่จะลดอันตรายต่อเครื่องบิน โดยแสดงตำแหน่งของสิ่งกีดขวาง และไม่จำเป็นต้องลดข้อจำกัดในการทำงานซึ่งอาจจะรบกวนโดยสิ่งกีดขวางนั้น 1. วัตถุกีดขวางที่จะต้องทาสีทำเครื่องหมาย และ/หรือติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง 1.1 คำแนะนำ สิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ซึ่งล้ำ พื้นผิวบินขึ้น (take-off climb surface) ภายในระยะ 3000 เมตร จะต้องทาสีทำเครื่องหมาย และถ้าทางวิ่งใช้ในเวลากลางคืนจะต้องติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง

ยกเว้น ก) การทาสีทำเครื่องหมายและติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ได้รับการยกเว้นเมื่อสิ่งกีดขวางนั้นอยู่ต่ำกว่าสิ่งกีดขวางอื่น ๆ โดยรอบ

ข) การทาสีทำเครื่องหมายได้รับการยกเว้น เมื่อสิ่งกีดขวางนั้นติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มขนาดกลาง ชนิด A ในตอนกลางวัน (เป็นไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีขาวกระพริบ 20-60 ครั้งต่อนาที ความเข้มแสงไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นแรงเทียน +/- 25% ทำมุมในแนวตั้ง 3 องศา มีความเข้มแสงไม่เกิน 3% ที่มุม -10 องศา และ 50-75% ที่มุม -1 องศา และ 100% ที่มุม 0 องศา ในตอนกลางวัน และความเข้มแสงในตอนกลางคืนไม่ต่ำกว่า 2 พันแรงเทียน +/- 25 % ตามตารางที่ 6-3 )ความสูงไม่เกิน 150 เมตร เหนือสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

ค) การทาสีทำเครื่องหมายได้รับการยกเว้น เมื่อสิ่งกีดขวางนั้นติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มสูงในตอนกลางวัน (เป็นไฟแสดงสิ่งกีดขวางสีขาวกระพริบ 40-60 ครั้งต่อนาที ความเข้มแสงไม่ต่ำกว่า 1-2 แสนแรงเทียน +/- 25% ทำมุมในแนวตั้ง 3-7 องศา มีความเข้มแสงไม่เกิน 3% ที่มุม -10 องศา และ 50-75% ที่ -1 องศา และ 100 % ที่มุม 0 องศา ในตอนกลางวัน และ 2 หมื่นแรงเทียน ในตอนใกล้ค่ำ และความเข้มแสงในตอนกลางคืนไม่ต่ำกว่า 2 พันแรงเทียน +/- 25% ตามตารางที่ 6-3)

ง) การติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางได้รับการยกเว้น เมื่อสิ่งกีดขวางนั้นเป็นประภาคารและผลการศึกษาทางการบินชี้ว่ามีแสงสว่างเพียงพอ 1.2 คำแนะนำ วัตถุที่อยู่กับที่ที่ไม่ใช่สิ่งกีดขวาง และอยู่ใกล้กับพื้นผิวบินขึ้น จะต้องทาสีทำเครื่องหมาย และถ้าทางวิ่งใช้ในตอนกลางวันต้องติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง

ถ้าพิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็น เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัย ยกเว้นการทาสีเครื่องหมายอาจไม่ต้องทำเมื่อ ก) วัตถุพื้นติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มแสงขนาดกลางชนิด A ตามตาราง 6-3 ในตอนกลางวัน และวัตถุนั้นมีความสูงไม่เกิน 150 เมตร เหนือวัตถุโดยรอบ

ข) วัตถุนั้นติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มแสงสูงในตอนกลางวัน ตามตาราง 6-3 1.3 สิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ที่มีความสูงเกินพื้นผิวร่อนลง (approach or transitional surface) ภายในระยะ 3 กิโลเมตร ภายในขอบของพื้นผิวร่อนลงจะต้องทาสีเครื่องหมาย

และถ้าทางวิ่งใช้ในเวลากลางคืน จะต้องติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางด้วยยกเว้น

ก) การทาสีทำเครื่องหมายและติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางได้รับการยกเว้นเมื่อสิ่งกีดขวางนั้นอยู่ต่ำกว่าสิ่งกีดขวางอื่น ๆ โดยรอบ

ข) การทาสีทำเครื่องหมายได้รับการยกเว้น เมื่อสิ่งกีดขวางนั้นติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มขนาดกลาง ชนิด A ในตอนกลางวัน และมีความสูงจากพื้นดินไม่เกิน 150 เมตร

ค) การทาสีทำเครื่องหมายได้รับการยกเว้น เมื่อสิ่งกีดขวางนั้นติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงในตอนกลางวัน

ง) การติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางอาจได้รับการยกเว้น เมื่อสิ่งกีดขวางนั้นเป็นประภาคารและผลการศึกษาทางการบินชี้ว่ามีแสงสว่างเพียงพอ

1.4 คำแนะนำ สิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่ อยู่ในบริเวณ รอบสนามบิน(horizontal surface) ภายในรัศมี 2 กม.(code 1) , 2.5 กม.( code 2) และ 4 กม.( code 3 และ 4) รอบสนามบินมีความสูงเกิน 45 เมตร จะต้องทาสีทำเครื่องหมายและติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ยกเว้น

ก)การทาสีทำเครื่องหมายและติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางอาจจะได้รับการยกเว้นเมื่อ 1) สิ่งกีดขวางนั้น ถูกปกคลุมโดยสิ่งกีดขวางที่อยู่กับที่อื่นโดยรอบ

2) สำหรับวงจรการบินที่ถูกกีดขวางโดยวัตถุหรือสิ่งแวดล้อมที่มีขนาดใหญ่และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ จะต้องมีมาตราการเพื่อให้แน่ใจในระยะสูงที่ปลอดภัย ของแนวการบินนั้น

3) ในการศึกษาทางการบินแสดงว่าสิ่งกีดขวางนั้นไม่สำคัญต่อขั้นตอนการบิน

 ข) การทาสีทำเครื่องหมายอาจจะได้รับการยกเว้น เมื่อสิ่งกีดขวางนั้นติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มขนาดกลาง ชนิด A ในตอนกลางวัน และมีความสูงไม่เกิน 150 เมตร เหนือสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

ค) การทาสีทำเครื่องหมายอาจจะได้รับการยกเว้น เมื่อสิ่งกีดขวางนั้นติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงในตอนกลางวัน

ง) การติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางอาจจะได้รับการยกเว้น เมื่อสิ่งกีดขวางนั้นเป็นประภาคารและผลการศึกษาทางการบินชี้ว่ามีแสงสว่างเพียงพอ


1.5 วัตถุที่อยู่กับที่และอยู่สูงกว่าพื้นผิวจำกัดความสูง (obstacle protection surface ) จะต้องทาสีทำเครื่องหมาย ถ้าใช้ทางวิ่งในเวลากลางคืนจะต้องติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ข้อสังเกต ให้เป็นไปตาม obstacle protection surface ของ PAPI คือที่จุดก่อนถึงหัวทางวิ่ง 60 ม. ทำมุมเงย A-0.57 องศา (A = มุมร่อนลง)(=1.93 องศา ในกรณีมุมร่อนลงจอด = 3 องศา) ตามแนว strip ( 75 หรือ150 ม. จากจุดกลางทางวิ่งออกไปทั้งสองข้าง) และเบนออกไป ด้านข้างๆละ 10 % ถ้าเป็นทางวิ่งแบบ non-instrument หรือ ข้างละ15 % ถ้าเป็นทางวิ่งแบบ instrument R/W

1.6 รถยนต์หรือวัตถุเคลื่อนที่อื่น ๆ ยกเว้น เครื่องบินที่อยู่ในเขตเคลื่อนไหวทางการบิน ถือว่าเป็นสิ่งกีดขวาง และถ้ารถยนต์และสนามบินใช้ในเวลากลางคืนหรือในกรณีที่ทัศนวิสัยต่ำ จะต้องติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ยกเว้น อุปกรณ์บริการเครื่องบินและรถยนต์ที่ใช้ภายในลานจอดที่มีแสงสว่างเพียงพอ

1.7 ไฟสนามบินชนิดที่ติดตั้งสูงจากผิวพื้นในพื้นที่เคลื่อนไหวทางการบิน จะต้องทาสีทำเครื่องหมายเพื่อให้เกิดความเด่นชัดในตอนกลางวัน ไม่ต้องติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางบนไฟสนามบินหรือป้ายสัญลักษณ์ที่อยู่ในพื้นที่เคลื่อนไหว

1.8 สิ่งกีดขวางทั้งหมดที่อยู่ภายในระยะห่างที่กำหนดในตาราง 3-1 คอลัมน์ที่ 11 หรือ 12 จากจุดกึ่งกลางของทางขับ (Taxi) และทางขับบนลานจอด จะต้องทำเครื่องหมายและถ้าใช้ในเวลากลางคืนจะต้องติดไฟบอกสิ่งกีดขวาง

1.9 คำแนะนำ สิ่งกีดขวางที่อยู่ในข้อ 4.3.2 (ในพื้นที่ที่อยู่นอกพื้นที่จำกัดความสูงบริเวณโดยรอบสนามบิน วัตถุที่สูงเกิน 150 เมตร จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับสิ่งกีดขวาง ยกเว้นได้มีการศึกษาแล้วชี้ว่าไม่เป็นอันตรายต่อการบิน) จะต้องทำเครื่องหมายหรือติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ยกเว้นสิ่งกีดขวางนั้นติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงในตอนกลางวัน

1.10 คำแนะนำ เส้นลวด สายไฟ เคเบิล ที่ติดตั้งข้ามแม่น้ำ หุบเขา หรือทางหลวง จะต้องทำเครื่องหมาย ทั้งสายไฟดังกล่าวพร้อมเสารับสายดังกล่าว และจะต้องติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ถ้าการศึกษาพบว่า สายดังกล่าวจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงกับเครื่องบิน การทำเครื่องหมายเสารับสายจะได้รับการยกเว้นเมื่อมีการติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางที่มีความเข้มสูงในตอนกลางวัน

1.11 คำแนะนำ เมื่อมีการตรวจพบว่า สายที่ขึงไว้สูงนั้น จะต้องทำเครื่องหมายแต่ไม่สามารถทำเครื่องหมายได้ในทางปฏิบัติ จะต้องติดตั้งไฟบอกสิ่งกีดขวางแบบความเข้มสูง ชนิด B ติดตั้งบนเสาที่รับสายไฟนั้น 2 การทาสีทำเครื่องหมายบนวัตถุ

บททั่วไป

2.1 วัตถุที่อยู่กับที่ทุกขนิดที่จำเป็นต้องทาสีทำเครื่องหมายจะต้องทาสีถ้าสามารถทำได้ ถ้าไม่สามารถทาสีได้ จะต้องติดตั้งเครื่องหมายเฉพาะหรือธง บนส่วนยอดของวัตถุนั้น ยกเว้น วัตถุนั้นสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนโดยรูปร่าง ขนาด หรือสี ไม่จำเป็นต้องทำเครื่องหมาย

2.2 วัตถุเคลื่อนที่ทุกชนิดที่จำต้องทำเครื่องหมายจะต้องทาสีให้เด่นชัดหรือแสดงธง การใช้สี

2.3 คำแนะนำ วัตถุจะต้องทาสีเป็นรูปตามหมากรุก ถ้ามันเป็นวัตถุที่ไม่แตกง่าย และมีความสูงหรือความกว้างเกิน 4.5 เมตร รูปแบบจะต้องประกอบด้วย สี่เหลี่ยมกว้างไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร และไม่เกิน 3 เมตร ตามด้านที่มุมจะต้องเป็นสีเข้มสีของรูปแบบจะต้องมีความแตกต่างกันเองโดยชัดเจนและแตกต่างจากสิ่งแวดล้อมด้วย ควรใช้สีส้มกับขาวหรือสีแดงกับขาวสลับกัน ยกเว้น เมื่อสีเหล่านี้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม (ดังรูป 6.1)

2.4 คำแนะนำ วัตถุจะต้องทาสีเป็นแถบสลับกัน ถ้า ก. วัตถุมีผิวที่ทึบและมีความกว้างหรือความสูงมากกว่า 1.5 เมตร และมีด้านอื่นที่เป็นความกว้างหรือความสูงน้อยกว่า 4.5 เมตร หรือ ข. วัตถุมีลักษณะเป็นแบบโครงกระดูก โดยมีความกว้างหรือความสูงเกินกว่า 1.5 เมตร แถบสีจะต้องตั้งฉากกับด้านที่ยาวที่สุด และมีแถบกว้างประมาณ 1/7 ของด้านที่ยาวที่สุดหรือ 3 เมตร แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะน้อยกว่ากันสีของแถบสีจะต้องตัดกับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรจะใช้สีส้มกับขาว ยกเว้น สีดังกล่าวกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อม แถบสีเข้มจะต้องอยู่ปลายสุดทั้งสองด้าน ตามรูป 6.1 หรือ 6.2

ข้อสังเกต

ตารางที่ 6.1 แสดงรูปแบบการหาความกว้างของแถบสี และมีจำนวนคี่เพื่อให้ปลายสุดทั้งด้านบนและล่างเป็นสีทึบแสง

2.5 คำแนะนำ วัตถุจะต้องทาสีเดียว ถ้ามีด้านกว้างและด้านสูงน้อยกว่า 1.5 เมตร ควรจะทาสีส้มหรือแดง ยกเว้นในกรณีสีดังกล่าวกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้น ข้อสังเกต เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องใช้สีที่ไม่ใช่สีส้มหรือแดง เพื่อให้เกิดความแตกต่างอย่างเพียงพอ

2.6 คำแนะนำ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ถูกทาสีเพียงสีเดียว มักจะใช้สีแดงหรือสีเหลืองเขียวสำหรับกรณีฉุกเฉิน และสีเหลืองสำหรับการบริการ ตาราง 6-1. ความกว้างแถบสี ด้านยาวสุดยาวมากกว่า ยาวไม่เกิน จำนวนแถบ 1.5 ม. 210 ม. 1/7 ของด้านยาวสุด 210 ม. 270 ม. 1/9 ของด้านยาวสุด 270 ม. 330 ม. 1/11ของด้านยาวสุด 330 ม. 390 ม. 1/13 ของด้านยาวสุด 390 ม. 450 ม. 1/15 ของด้านยาวสุด 450 ม. 510 ม. 1/17ของด้านยาวสุด 510 ม 570 ม. 1/19ของด้านยาวสุด 570 ม. 630 ม. 1/21ของด้านยาวสุด การใช้เครื่องหมาย (markers)

2.7 เครื่องหมาย ติดตั้งอยู่บนหรือติดใกล้กับวัตถุ จะต้องอยู่บนตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน เพื่อรักษาคุณลักษณะของวัตถุ และจะต้องสามารถมองออกได้จากระยะห่างไม่ต่ำกว่า 1000 เมตร สำหรับวัตถุที่มองจากบนเครื่องบิน และระยะห่างไม่ต่ำกว่า 300 เมตร สำหรับวัตถุที่มองจากพื้นดินในทุกทิศทางที่เครื่องบินเข้าหาวัตถุนั้น ขนาดของเครื่องหมายจะต้องเด่นชัดแตกต่างจากวัตถุโดยรอบ เพื่อให้มั่นใจว่ามันจะไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดสำหรับเครื่องหมายที่สื่อสาร และมันจะต้องไม่ทำให้วัตถุนั้นเพิ่มอันตรายมากขึ้น

2.8 คำแนะนำ

เครื่องหมายที่ติดบนเส้นลวดสายไฟเคเบิล ฯลฯ จะต้องเป็นทรงกลมและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 60 ซม.

2.9 คำแนะนำ ระยะห่างระหว่างเครื่องหมายกันเอง หรือระหว่างเครื่องหมายกับเสาพาดสายจะต้องมีขนาดพอเหมาะกับเส้นผ่าศูนย์กลางของเครื่องหมาย แต่ไม่ว่ากรณีใดๆจะต้องมีระยะห่างเกินกว่า ก) 30 ม. เมื่อเครื่องหมายมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 60 ซม. และเพิ่มขึ้นตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เพิ่มขึ้น ข) 35 ม. เมื่อเครื่องหมายมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 80 ซ.ม. ค) 40 ม. เมื่อเครื่องหมายมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 130 ซม. ถ้ามีเส้นลวด, สายไฟ เคเบิล ฯลฯ หลายเส้นเครื่องหมายจะต้องอยู่ที่เส้นสูงสุด

2.10 คำแนะนำ
เครื่องหมายควรจะมีสีเดียว ถ้าติดตั้งสีขาวสลับแดง หรือขาวสลับส้ม ควรจะสลับสีกันตลอดแนวสีที่เลือกควรจะมีความแตกต่างจากสิ่งแวดล้อมโดยเด่นชัด การใช้ธง (Use of flags)

2.11 ธงที่ใช้กับวัตถุจะต้องติดตั้งบนส่วนบนสุดของวัตถุ เมื่อธงถูกใช้เพื่อแสดงส่วนขยายของวัตถุหรือกลุ่มของวัตถุ จะต้องปักธงทุกระยะห่าง 15 เมตร และธงจะต้องไม่เพิ่มอันตรายให้กับวัตถุที่ติดธงนั้น


2.12 ธงที่ใช้กับวัตถุที่อยู่กับที่จะต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดกว้างด้านละไม่ต่ำกว่า 0.6 ม. และของที่ใช้กับวัตถุที่เคลื่อนที่จะต้องเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีขนาดด้านละไม่ต่ำกว่า 0.9 ม.

2.13 คำแนะนำ ธงที่ใช้ติดตั้งกับวัตถุที่อยู่กับที่ควรจะมีสีส้มหรือเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 สี คือ ส้มกับขาวหรือแดงกับขาว ยกเว้นในกรณีที่สีนั้นกลืนกับสีของสิ่งแวดล้อม ให้ใช้สีอื่นที่ตัดกับสีของสิ่งแวดล้อมแทนได้

2.14 ธงที่ใช้กับวัตถุที่เคลื่อนที่ จะต้องมีรูปแบบตารางหมากรุก แต่ละรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่าด้านละ 0.3 ม. สีของตารางจะต้องมีความแตกต่างกันเองและแตกต่างจากสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน สีส้มกับขาวหรือแดงกับขาวสลับกันตลอด ยกเว้นในกรณีที่สีกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม

3. การติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางให้วัตถุ การใช้ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง 3.1 วัตถุที่จำเป็นต้องติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางตามที่กำหนดในข้อ 6.1 จะต้องเป็นแบบมีความเข้ม น้อย ปานกลาง และความเข้มสูง หรือผสมกัน ข้อสังเกต ไฟแสดงสิ่งกีดขวางที่มีความเข้มสูงใช้ติดตั้งสำหรับตอนกลางวันและกลางคืน จะต้องระวังแสงที่จะเข้าตาทำให้ตาพร่ามัวได้ การติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางที่มีความเข้มสูงนี้ดูจากคู่มือการออกแบบสนามบิน ส่วนที่ 4 (Aerodrome Design Manual Part 4)

3.2 คำแนะนำ ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำชนิด A หรือ B ควรจะใช้กับวัตถุที่มีขนาดไม่กว้างใหญ่ และมันอยู่สูงพื้นดินไม่เกิน 45 ม.

3.3 คำแนะนำ ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำชนิด A หรือ B ถ้าไม่เพียงพอหรือต้องการการเตือนล่วงหน้าที่พิเศษ ควรใช้ไฟที่มีความเข้มปานกลางหรือความเข้มสูงแทน

3.4 ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำชนิด C (ไฟกระพริบ 60-90 ครั้ง/นาที สีเหลือง / น้ำเงิน 40-400 แรงเทียน) จะต้องติดตั้งบนยานยนต์หรือวัตถุที่เคลื่อนไหวอื่น ๆ ยกเว้น เครื่องบิน

3.5 ไฟแสดงสิ่งกีดขวางชนิดความเข้มต่ำชนิด D(ไฟกระพริบ60-90 ครั้ง/นาที สีเหลือง 200-400 แรงเทียน ) จะต้องติดตั้งบนรถนำขบวน (Follow me)

3.6 คำแนะนำ ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำชนิด B (ไฟนิ่งสีแดง ความเข้ม ไม่ต่ำกว่า 32 แรงเทียน) ควรจะใช้ตามลำพังหรือใช้คู่กับชนิด B ความเข้มปานกลาง ในกรณีตามข้อ 6.

3.7 ควรจะใช้ในที่ซึ่งวัตถุซึ่งมีขนาดกว้าง หรือมีความสูงจากพื้นดินเกินกว่า 45 ม. ไฟเข้มปานกลางชนิด A (ไฟกระพริบสีขาว 20-60 ครั้ง/นาที ความเข้ม 20,000แรงเทียน ) และ C (ไฟนิ่งสีแดง ความเข้ม 2000 แรงเทียน ) ควรใช้ชนิดเดียวลำพัง ถ้าเป็นชนิด B ควรใช้ลำพังหรือแบบผสมกับไฟเข้มปนต่ำชนิด B ข้อสังเกต กลุ่มต้นไม้หรืออาคารให้ถือว่าเป็นวัตถุขนาดกว้าง

3.8 คำแนะนำ ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงชนิด A (ไฟกระพริบ 40-60 ครั้ง/นาที สีขาว ความเข้ม 200,000 แรงเทียนขึ้นไป) ควรจะใช้เพื่อแสดงวัตถุที่สูงจากพื้นเกิน 150 ม. และการศึกษาทางการบินชี้ว่าจำเป็นต้องติดเพื่อเตือนวัตถุในตอนกลางวัน

3.9 คำแนะนำ ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงชนิด B (ไฟกระพริบ 40-60 ครั้ง/นาที สีขาว ความเข้ม 100,000 แรงเทียน)ควรจะใช้เพื่อแสดงเสาไฟที่ติดตั้งสายไฟหรือเคเบิล เมื่อ a) การศึกษาทางการบินชี้ว่า มีความจำเป็นต้องติดตั้งเพื่อให้รู้วามีสายไฟหรือเคเบิลพาดผ่าน b) ถ้าไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เครื่องหมายบนสายไฟหรือเคเบิลนั้น

3.10 คำแนะนำ (ภายใต้วัตถุประสงค์ขององค์กรผู้มีอำนาจ) การใช้ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงชนิด A หรือ B หรือไฟความเข้มปานกลางชนิด A ในเวลากลางคืน อาจทำให้นักบินตาพร่ามัวได้ ถ้าอยู่ในบริเวณสนามบิน (รัศมีโดยรอบ 10 กม.) หรือ เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ควรจะใช้ไฟแสดงสิ่งกีดขวางระบบคู่ ระบบนี้ประกอบด้วย ไฟความเข้มสูงชนิด A หรือ B หรือไฟความเข้มปานกลางชนิด A ตามความเหมาะสมในตอนกลางวันหรือตลอดพลบค่ำ ส่วนในตอนกลางคืนใช้ไฟความเข้มปานกลางชนิด B หรือ C ตำแหน่งของไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ข้อสังเกต คำแนะนำที่เกี่ยวกับการติดตั้งรวมกันของไฟความเข้มปานกลางกับความเข้มต่ำ และ/หรือไฟความเข้มสูงให้ดูจากภาคผนวก 6

3.11 ไฟแสดงสิ่งกีดขวางทุกความเข้มแสง จะต้องติดตั้งใกล้กับส่วนบนสุดของวัตถุเท่าที่จะทำได้ ไฟที่อยู่บนสุดจะต้องจัดให้จุดหรือขอบของวัตถุคำแนะนำสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อม

3.12 คำแนะนำ ในกรณีของปล่องควันไฟหรือโครงสร้างที่คล้ายปล่องควันไฟ ไฟแสดงสิ่งกีดขวางที่อยู่บนสุดควรจะอยู่ต่ำกว่าปลายบนสุดเพื่อป้องกันการทำให้สกปรกโดยควันไฟ (ดูรูป 6.2 และ 6.3)

3.13 ในกรณีหอหรือเสาหรือโครงสร้างสายอากาศที่ถูกติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงในตอนกลางวันที่มีส่วนประกอบเช่น แท่ง หรือสายอากาศสูงกว่า 12 เมตร ที่ซึ่งไม่สามารถที่จะติดตั้งไฟความเข้มสูงบนส่วนยอดได้ กรณีนี้ให้ติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางในจุดสูงสุดเท่าที่จะทำได้ และถ้าปฏิบัติได้ควรติดไฟแสดงสิ่งแสดงกีดขวางความเข้มปานกลางชนิด A บนส่วนยอด

3.14 ในกรณีของวัตถุที่มีขนาดกว้าง หรือกลุ่มของวัตถุที่อยู่ใกล้กัน จะต้องติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางบนจุดหรือขอบที่สูงที่สุด และถ้ามีจุดที่สูงเท่ากันหลายจุดให้ติดตั้งที่ขอบที่อยู่ใกล้บริเวณร่อนลงของเครื่องบิน ถ้าไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำจะต้องใช้ระยะช่องไฟระหว่างโคมกว้างไม่เกิน 45 ม. ถ้าไฟความเข้มปานกลางจะต้องใช้ระยะช่องไฟระหว่างโคมกว้างไม่เกิน 900 ม.

3.15 คำแนะนำ ถ้าเขตจำกัดความสูงเป็นแบบลาดเอียง และจุดของวัตถุที่อยู่สูงเกินเขตจำกัดความสูงแต่ไม่ใช่จุดสูงสุดของวัตถุ ควรจะติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางบนจุดสูงสุดของวัตถุด้วย

3.16 วัตถุที่ติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มปานกลางชนิด A และความสูงของวัตถุเกินกว่า 105 ม. เหนือพื้นดินหรือเหนืออาคารโดยรอบ (ในกรณีที่วัตถุนั้นล้อมรอบโดยอาคาร) จะต้องติดตั้งไฟเพิ่มที่จุดระหว่างกลางจากยอดถึงพื้นหรือถึงยอดตึกที่ล้อมรอบ และระยะห่างระหว่างช่องไฟต้องไม่เกิน 105 ม. (ดูรูป 6.3.7)

3.17 วัตถุที่ติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มปานกลางชนิด B และความสูงของวัตถุเกินกว่า 45 ม. เหนือพื้นดินหรือเหนืออาคารโดยรอบ จะต้องติดตั้งไฟเพิ่มที่จุดระหว่างกลางจากยอดถึงพื้นหรือถึงยอดอาคารโดยรอบ และไฟที่ติดตั้งจะต้องสลับกันระหว่างไฟความเข้มต่ำชนิด B และไฟความเข้มปานกลางชนิด B และมีระยะห่างเท่า ๆ กัน และระยะห่างต้องไม่เกิน 52 ม.

3.18 วัตถุที่ติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มปานกลางชนิด C และส่วนยอดของวัตถุสูงเกิน 45 ม. เหนือพื้นดินหรือเหนืออาคารที่อยู่รอบ จะต้องติดตั้งไฟเพิ่มระหว่างกลาง และระยะห่างจะต้องเท่ากันระหว่างยอดและพื้นหรือยอดอาคารโดยรอบ และระยะห่างต้องไม่เกิน 52 ม. หมายเหตุ จำนวนโคมไฟที่ติดตั้งรอบอาคารหรือปล่องไฟ ขึ้นอยู่กับขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของอาคารหรือปล่องไฟ ตาม Aerodrome Design Manual path 4 ข้อ 14.6.9 ดังนี้ เส้นผ่าศูนย์กลาง จำนวนดวงโคม 6 เมตรหรือน้อยกว่า 3 6 เมตร-30 เมตร 4 30 เมตร- 60 เมตร 6 มากกว่า 60 เมตร 8

3.19 สถานที่ติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงชนิด A จะต้องรักษาระยะห่างเท่ากันไม่เกิน 105 ม. ระหว่างพื้นและยอดตามที่กำหนดข้อ 6.3.11 ยกเว้นที่ ๆ วัตถุล้อมรอบโดยอาคาร ระดับของยอดอาคารที่ล้อมรอบถือเป็นระดับพื้น เมื่อต้องการหาจำนวนของไฟที่ติดตั้ง

3.20 สถานที่ติดตั้งไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงชนิด B จะต้องติดตั้งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ - ที่ยอดบนสุดของเสาที่แขวนสายไฟ - ที่จุดยอดต่ำสุดของสายไฟหรือเคเบิล - ที่จุดกึ่งกลางระหว่าง 2 ระดับดังกล่าว ข้อสังเกต ในบางกรณี อาจต้องการติดตั้งไฟห่างจากเสาไฟ

3.21 คำแนะนำ การตั้งมุมของแสงของไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงชนิด A และ B ควรจะทำตามตาราง 6-2

3.22 จำนวนและการจัดการของไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูง กลาง หรือ ต่ำ ที่แต่ละระดับ จะต้องติดตั้งโดยรอบวัตถุนั้น เพื่อให้มองเห็นได้ทุกมุมตามแนวระดับ เมื่อแสงไฟถูกบดบังในทิศทางใดก็ตาม โดยส่วนของวัตถุเองหรือวัตถุใกล้เคียง จะต้องติดตั้งไฟเพิ่มเติมที่วัตถุที่บดบังนั้น เพื่อให้มองเห็นได้รอบตัวตามคำจำกัดความ ถ้าแสงที่ถูกบดบังนั้นไม่ทำให้วัตถุมีคุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจยกเว้นได้ ตารางที่ 6-2 การปรับมุมของไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูงในขณะติดตั้ง ความสูงของไฟ มุมของลำแสง จากสิ่งแวดล้อม ที่มีความเข้มสูงสุด เหนือพื้นดิน เหนือระดับแนวนอน มากกว่า > 150 เมตร 0 122-151 เมตร 1 92-122 เมตร 2 ต่ำกว่า 92 เมตร 3 คุณสมบัติของไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำ

3.23 ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำ ติดตั้งบนวัตถุที่อยู่กับที่ชนิด A และ B จะต้องเป็นไฟสีแดง


3.24 ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำชนิด A และ B จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในตารางที่ 6-3

3.25 ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำชนิด C ติดตั้งบนยานพาหนะใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือรักษาความปลอดภัยจะต้องเป็นไฟกระพริบสีน้ำเงินและสำหรับยานพาหนะอื่น ๆ จะต้องติดตั้งไฟกระพริบสีเหลือง

3.26 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มต่ำ ชนิด D ติดตั้งบนรถนำขบวน (Follow me) จะต้องติดตั้งไฟกระพริบสีเหลือง

3.27 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มต่ำ ชนิด C และ D จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในตารางที่ 6-3

3.28 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มต่ำ ที่ติดตั้งอยู่บนวัตถุที่เคลื่อนที่น้อย เช่น สะพานเทียบเครื่องบิน จะต้องติดตั้งไฟแบบไม่กระพริบสีแดง ความเข้มของแสงจะต้องเพียงพอที่จะทำให้เกิดความชัดเจนเมื่อเทียบกับแสงในบริเวณโดยรอบ ข้อสังเกต ให้ดูใน Annex 2 สำหรับแสงที่เกิดจากเครื่องบิน

3.29 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มต่ำ ที่ติดตั้งอยู่บนวัตถุที่เคลื่อนที่ได้จำกัด จะต้องมีความเข้มอย่างน้อยเทียบเท่ากับไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มต่ำชนิด A ในตารางที่ 6-3 คุณสมบัติของไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มปานกลาง

3.30 ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มปานกลาง ชนิด A จะต้องเป็นไฟกระพริบสีขาว ชนิด B จะต้องเป็นไฟกระพริบสีแดง และชนิด C จะต้องเป็นไฟไม่กระพริบสีแดง

3.31 ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มปานกลาง ชนิด A, B และ C จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในตาราง 6-3

3.32 ไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มปานกลาง ชนิด A และ B ที่ติดตั้งบนวัตถุ จะต้องกระพริบอย่างคงที่และต่อเนื่อง คุณสมบัติของไฟแสดงสิ่งกีดขวางความเข้มสูง

3.33 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มสูง ชนิด A และ B จะต้องเป็นไฟกระพริบสีขาว

3.34 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มสูง ชนิด A และ B จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในตารางที่ 6-3

3.35 ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง ความเข้มสูง ชนิด A ที่ติดตั้งบนวัตถุจะต้องกระพริบอย่างคงที่และต่อเนื่อง

3.36 คำแนะนำ ไฟแสดงสิ่งกีดขวาง B แสดงถึงมีเสาพาดสายไฟฟ้าหรือเคเบิล จะต้องกระพริบต่อเนื่องกัน คือ เริ่มด้วยไฟระดับกลาง ตามด้วยไฟระดับบนสุด ตามด้วยไฟระดับต่ำติดหลังสุด ระยะการกระพริบควรจะเป็นไปตามอัตราดังนี้ ช่วงของการกระพริบ อัตราส่วนของรอบระยะเวลา ไฟระดับกลางและไฟระดับบน 1/13 ไฟระดับบนและไฟระดับต่ำ 2/13 ไฟระดับต่ำและไฟระดับกลาง 10/13

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]