ครอสเวิร์ดเกม/กติกาการเล่น

จาก วิกิตำรา

อุปกรณ์การเล่น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ชุดกระดานครอสเวิร์ด (กระดาน + แป้นวางตัวอักษร + ถุงตัวเบี้ย) 1 ชุด

การเล่น Scrabble จะมีอุปกรณ์คือ กระดานต่อศัพท์ขนาด 15 * 15 ช่องที่ระบุตำแหน่งแต้มพิเศษต่าง ๆ และตัวศัพท์อีก 100 ตัว โดยแบ่งเป็นตัวว่างที่สามารถใช้แทนตัวอักษรตัวใดก็ได้ 2 ตัว และตัวอักษรอื่น ๆ อีก 98 ตัว แบ่งจำนวนเป็นดังนี้

ตัวอักษรแต่ละตัวจะมีคะแนนไม่เท่ากัน แบ่งเป็น

  • 0 แต้ม – ตัวว่าง(×2)
  • 1 แต้ม – A(×9), E(×12), I(×9), L(×4), N(×6), O(×8), R(×6), S(×4), T(×6) และ U(×4)
  • 2 แต้ม – D(×4) และ G(×3)
  • 3 แต้ม – B(×2), C(×2), M(×2) และ P(×2)
  • 4 แต้ม – F(×2), H(×2), V(×2), W(×2) และ Y(×2)
  • 5 แต้ม – K(×1)
  • 8 แต้ม – J(×1) และ X(×1).
  • 10 แต้ม – Q(×1) และ Z(×1)

2. พจนานุกรม ครอสเวิร์ด 1 เล่ม (Fourth Edition)

3. นาฬิกาจับเวลา (Chess clock)

เวลาในการแข่งขัน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ให้Chess clock หรือ Stop watch จับเวลาการแข่งขันโดยผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะมีเวลา 1 นาทีต่อ 1 คำ หากเกินจะหมดสิทธิ์ลงตานั้น

2. เมื่อถึงเวลาแข่งขันผู้เข้าแข่งขันมาช้ากว่าเวลาที่กำหนด 15 นาทีถือว่าสละสิทธิ์

การเริ่มต้น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องเตรียมอุปกรณ์การเล่นให้พร้อม ตรวจนับจำนวนอักษรให้ครบ 100 ตัว

2. ผู้เล่นจะต้องจับตัวอักษรในถุงขึ้นมาคนละ 1 ตัว เพื่อดูว่าผู้ใดจะได้เป็นผู้ที่ได้เริ่มเล่นก่อน โดยมีหลัก คือ เรียง ตามตัวอักษร ตั้งแต่ตัวว่าง (Blank) A – Z

3. ผู้เล่นจับตัวอักษรขึ้นมาคนละ 7 ตัว โดยที่ผู้เล่นที่ได้เล่นก่อน จะเป็นฝ่ายจับตัวอักษรก่อน

4. การจับตัวอักษร จะต้องจับให้อยู่ในระดับสายตา และเมื่อจับตัวอักษรขึ้นมาแล้วจะต้องวางไว้บนโต๊ะก่อน เพื่อตรวจดูว่าจับตัวขึ้นมาครบหรือจับเกินหรือไม่ถ้าเกินจะต้องให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจับตัวอักษรที่เกินออก

วิธีการเล่น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ผู้เล่นคนแรกจะต้องผสมตัวอักษรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปให้เป็นคำในภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องปรากฏอยู่ในพจนานุกรมครอสเวิร์ดเกม The Standard Dictionary for Crossword Game Players (Fourth Tournament Edition) ลงบนกระดานในแนวนอนหรือแนวตั้งโดยมีตัวอักษรใดตัวหนึ่งของคาทับอยู่บนดาว กลางกระดานและคาที่ลงในครั้งแรกนี้จะได้คะแนนเป็น 2 เท่า

2. หลังจากที่ผู้เล่นคนแรกได้ลงตัวอักษรไปแล้ว ผู้เล่นต้องหยิบตัวอักษรในถุงขึ้นมาแทนตัวอักษรที่ใช้ไปในจำนวนเท่ากัน โดยต้องวางไว้บนโต๊ะก่อนเช่นกัน จากนั้นผู้เล่นอีกคนสามารถนำเอาคำที่ตัวเองผสมได้ลงเล่นบน กระดาน โดยให้มีตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่ง หรือมากกว่าสัมผัสคำที่มีอยู่ในกระดาน และการเล่นจะดำนินต่อไป เช่นนั้นจนสิ้นสุดเกม

3. การสิ้นสุดเกมในแต่ละครั้งที่ลงบนกระดานจะเกิดขึ้นเมื่อ

1) ผู้เล่นลงคำบนกระดาน

2) ผู้เล่นขานคะแนนของคำที่ลงในรอบนั้น

3) ผู้เล่นกดเวลาเริ่มของคู่แข่งขัน

4) กรรมการจดคะแนนและขานแต้มสะสม

5) คู่แข่งขันยืนยันคะแนน

การคิดคะแนนที่ได้[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. คะแนนที่ได้จะเกิดจากคำที่เกิดขึ้นใหม่ทุกคำในการลงเล่นตานั้น ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนให้เป็นพหูพจน์โดย ใส่ S หรือทำให้เป็นขั้นกว่า หรือคำในรูปของอดีตกาล (Past tense) ย่อมถือเป็นคำเกิดขึ้นใหม่ทั้งนั้น คะแนนแต่ ละครั้งจะเท่ากับค่าตัวอักษรที่เล่นในคำที่สร้างขึ้นใหม่ประกอบกับช่องพิเศษจากตัวอักษรที่เล่นวางทับช่องนั้นๆ

2. จากช่องคะแนนพิเศษ 4 แบบ คือ ช่องสีฟ้า (คูณ 2 เฉพาะตัวอักษร) สีน้ำเงิน (คูณ 3 เฉพาะตัวอักษร) สีชมพู (คูณ 2 ทั้งคำ) สีแดง (คูณ 3 ทั้งคำ) ในกรณีที่ผู้เล่นลงคำซึ่งมีตัวอักษรใหม่ทับช่องพิเศษมากกว่า 1 ช่องแล้ว

คะแนนที่ได้จะนับคะแนนพิเศษให้ตัวอักษรก่อน ค่อยนำมาวางรวมสำหรับคะแนนพิเศษของคำ ตัวอย่างเช่น หากผู้เล่นลงคำว่า “CLAPS” โดยมีตัว C ซึ่งมีค่า 3 แต้ม ทับบนช่องสีน้ำเงิน (คูณ 3 เฉพาะตัวอักษร) และตัว S ซึ่งมีค่า 1 แต้มทับช่องสีชมพู (คูณ 2 ทั้งคำ) คะแนนที่คิดออกมาได้จะเท่ากับ C(3x3) + L(1) + A(1) + P(3) + S(1) = 15x2 = 30 แต้ม

3. ช่องตัวอักษรพิเศษและช่องคำพิเศษนั้น สามารถใช้ได้ในการเล่นทับลงครั้งแรกเท่านั้น ในการเล่นครั้งต่อมาให้ นับเฉพาะค่าของตัวอักษรเท่านั้น

4. เมื่อตัวอักษรนั้นตกลงทับในช่องสีชมพู / แดง ค่าของคำนั้นจะถูกคูณ 2 หรือคูณ 3 ถึงแม้ว่าจะเป็นตัวแบล๊งค์ ซึ่งไม่มีคะแนนก็ตาม

5. เมื่อคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปถูกสร้างในการเล่นครั้งเดียวกัน คำทุกคำที่เกิดขึ้นใหม่นี้จะถูกคิดคะแนนรวมกัน และ หากมีตัวอักษรใดทับช่องคะแนนพิเศษและทำให้เกิดคำใหม่ขึ้นหลายคำพร้อมกัน ตัวอักษรนั้นก็จะถูกคิดคะแนน ด้วยค่าพิเศษสำหรับในแต่ละคำที่เกิดขึ้น

Bonus for Bingo[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในกรณีที่ผู้เล่นสามารถลงตัวอักษรที่ตนมีอยู่ทั้งหมด 7 ตัวในครั้งเดียว ผู้เล่นจะได้คะแนนพิเศษอีก 50 คะแนน นอกเหนือจากคะแนนปกติที่ได้จากการลงคำนั้น การขอเปลี่ยนตัวอักษร ในกรณีที่ผู้เล่นไม่ประสงค์จะลงคำ เมื่อถึงรอบของตัวเองก็สามารถบอกผ่านการเล่นของตัวเองได้โดยผู้เล่น สามารถใช้สิทธิ์ขอเปลี่ยนตัว (โดยที่ตัวอักษรในถุงจะต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 ตัว) ตามแต่ที่ตนต้องการคือ ตั้งแต่1 – 7 ถ้าตัวอักษรมีน้อยกว่า 7 ตัว สิทธิ์ขอเปลี่ยนตัวก็จะหมดไป การขอ Challenge การขอชาลเล้นจ์ (Challenge) หากคู่แข่งขันลงคำศัพท์ที่ผู้เล่นไม่แน่ใจว่าจะเป็นคำศัพท์ที่ถูกต้องหรือไม่ผู้เล่น สามารถขอชาลเล้นจ์เพื่อให้กรรมการทำการเปิดพจนานุกรมพิสูจน์ได้ ถ้าหากผลการชาลเล้นจ์ปรากฏว่าคำศัพท์ นั้นมีจริง ผู้ที่ขอชาลเล้นจ์จะเสียตาเล่น 1 ตา แต่หากคำศัพท์นั้นไม่มีอยู่ในพจนานุกรม ผู้ที่ลงคำศัพท์นั้นจะต้อง ยกตัวอักษรที่เป็นคำๆ นั้นออกจากกระดานโดยไม่ได้คะแนนและเสียตาเล่นนั้น แต่ต้องอยู่เวลา 1 นาทีเท่านั้น กรรมการสามารถแจ้งได้ “มี” หรือ “ไม่มี” เท่านั้น

การสิ้นสุดเกม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. เกมจะสิ้นสุดเมื่อผู้เล่นคนใดคนหนึ่งใช้ตัวอักษรของตนที่มีอยู่หมด โดยจะให้แต่ละฝ่ายใช้เวลาเล่นกัน ฝ่ายละ 20 turn เท่านั้น โดยเวลาที่ใช้คิดแต่ละ turn ไม่เกิน turn ละ 1 นาที

2. ในขณะเดียวกัน ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยังมีตัวอักษรเหลืออยู่ให้รวมคะแนนของตัวอักษร แล้วคูณด้วย 2 นำไปบวกให้กับผู้เล่นที่เป็นคนลงตัวอักษรหมดก่อน ยกเว้นตัวว่างจะไม่คิดคะแนนติดลบ

3. ในกรณีที่ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายบอกผ่านครบ 3 ครั้งติดต่อกัน (คะแนนเป็น 0 ฝ่ายละ 3 ครั้งติดต่อกัน) เกมการแข่งขันจะสิ้นสุดลง การนับคะแนนติดลบทำโดยเอาคะแนนของตัวอักษรที่เหลืออยู่ลบออกจากคะแนนของ ตนเองในขณะที่คะแนนของตัวว่างจะไม่นำไปลบคะแนน

หมายเหตุ ในกรณีที่แต้มเท่ากัน ให้แต่ละฝ่ายจับขึ้นมา 7 ตัวและให้ผสมเป็นคำ ถ้าทีมใดผสมเป็นคำได้คะแนนเยอะที่สุดถือเป็นผู้ชนะ