กระบวนการผลิตอาหารกุ้ง
มีข้อสงสัยว่าตำรานี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มาหรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าตำรานี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าตำรานี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
เนื่องด้วยพฤติกรรมของกุ้งจะกินอาหารส่วนใหญ่จากบริเวณผิวหน้าดิน ดังนั้น อาหารที่ใช้จึงต้องเป็นอาหารชนิดจมน้ำ ซึ่งกระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำโดยทั่วไปที่นิยมกันมีอยู่ 2 แบบ คือ กระบวนการผลิตโดยวิธีเอ็กซ์ทรูชั่น (Extrusion Cooking) และแบบจมน้ำ (Steam Pelleting) วิธีเอกซ์ทรูชั่นส่วนมากใช้ผลิตอาหารเม็ดลอยน้ำให้ปลาที่กินอาหารบริเวณผิวน้ำ เช่น อาหารปลาดุก เป็นต้น แต่การผลิตอาหารแบบจมน้ำสามารถผลิตจากเครื่องคุกเกอร์เอ็กซ์ทรูเดอร์ (Cooker Extruder) ได้เช่นกัน โดยการลดส่วนขยายและแรงดันของเอ็กซ์ทรูเดอร์ในกระบอกอัด แต่อย่างไรก็ตาม อาหารกุ้งที่ผลิตขายทั่วไปในท้องตลาดมาจากกระบวนการผลิตด้วยเครื่องอัดเม็ดแบบจม (Pelleting Machine) เกือบทั้งสิ้น (Lim, 1994: 117) ภรต กุญชร ณ อยุธยา (2532: 32 – 48) กล่าวว่า ในกระบวนการผลิตอาหารกุ้งควรมีความชื้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35.0 อุณหภูมิของอาหารในห้องอัดขณะอัดมีค่า 90.0 – 100 องศาเซลเซียส และความคงทนของอาหารเม็ดมีค่าร้อยละ 97.0 – 99.0 จะสามารถคงทนอยู่ในน้ำได้นาน 1 – 2 ชั่วโมง ขั้นตอนในการดำเนินงานผลิตอาหารกุ้งเริ่มจากการชั่งวัตถุดิบอาหารสัตว์แล้วบดให้ละเอียดก่อนที่จะผสมอาหารให้เป็นเนื้อเดียวกัน และวัตถุดิบเหล่านั้นจะถูกลำเลียงผ่านห้องผสมน้ำหรือไอน้ำ (Steam Condition Chamber) เพิ่มความชื้นขึ้นที่ประมาณร้อยละ 16.0 – 18.0 และปรับอุณหภูมิประมาณ 85.0 – 90.0 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นจึงผสมด้วยไอน้ำเพื่อให้อาหารเปียกนิ่มและจับตัวกันดีขึ้น จากนั้นอาหารจะเคลื่อนที่มายังห้องอัดเม็ด (Pelleter) และเคลื่อนที่มาอยู่ระหว่างลูกกลิ้งและหน้าแว่น ซึ่งหมุนในทิศทางเดียวกัน อาหารจะถูกลูกกลิ้งอัดผ่านรูหน้าแว่นออกมาเป็นแท่งตามขนาดของรูที่หน้าแว่น อาหารจะถูกตัดให้มีขนาดสั้นหรือยาวขึ้นกับระยะห่างระหว่างใบมีดและหน้าแว่น ขนาดของเม็ดอาหารขึ้นกับความต้องการและระยะการเจริญเติบโตของกุ้ง ในขั้นตอนการอัดเม็ดนี้ควรระวังการสูญเสียวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินซี เอ อี และเค อาหารที่ได้จากการอัดเม็ดจะเรียกว่า อาหารเม็ด (Pellet) หลังอัดเป็นเม็ดอาหารแล้วจะมีความชื้นสูงประมาณร้อยละ 10.0 จึงต้องทำให้แห้งโดยอาศัยความเย็นจนอาหารมีอุณหภูมิใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้องจึงบรรจุลงหีบห่อ การผลิตอาหารอัดเม็ดแบบจมควรมีไขมันให้เหมาะสม ถ้ามีน้อยกว่าร้อยละ 3.00 จะทำให้อัดอาหารเป็นเม็ดได้ยาก (วีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย, 2536: 187 – 188)