ประวัติศาสตร์ไทย/ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย/ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย

จาก วิกิตำรา

ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คำว่าไทย เป็นชื่อรวมของชนเผ่ามองโกล  ซึ่งแบ่งแยกออกเป็นหลายสาขา เช่น ไทยอาหม ในแคว้นอัสสัม ไทยใหญ่  ไทยน้อย  ไทยโท้ ในแคว้นตั้งเกี๋ย อุปนิสัยปกติมักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักสันติ และความเป็นอิสระ

ความเจริญของชนชาติไทยนี้ สันนิษฐานว่า มีอายุไล่เลี่ยกันมากับความเจริญของ ชาวอียิปต์บาบิโลเนียและอัสสิเรียโบราณ ไทยเป็นชาติที่มีความเจริญมาก่อนจีนและก่อนชาวยุโรป ซึ่งขณะนั้นยังเป็นพวกอนารยชนอยู่ เป็นระยะเวลา ประมาณ ๕,๐๐๐ - ๖,๐๐๐ ปีมาแล้วที่ชนชาติไทยได้เคยมีที่ทำกินเป็นหลักฐาน มีการปกครองเป็นปึกแผ่น และมีระเบียบแบบแผนอยู่ ณ ดินแดนซึ่งเป็นประเทศจีนในปัจจุบัน

เมื่อประมาณ ๓,๕๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช  ชนชาติไทยได้อพยพข้ามเทือกเขาเทียนชาน  เดินทางมาจนถึงที่ราบลุ่มอันอุดมสมบูรณ์ ณ บริเวณต้นแม่น้ำฮวงโห และแม่น้ำแยงซีเกียงและได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บริเวณที่แห่งนั้น  แล้วละเลิกอาชีพเลี้ยงสัตว์แต่เดิม  เปลี่ยนมาเป็นทำการกสิกรรม ความเจริญก็ยิ่งทวีมากขึ้น  มีการปกครองเป็นปึกแผ่น และได้ขยายที่ทำกินออกไปทางทิศตะวันออกตามลำดับ

ในขณะที่ชนชาติไทยมีความเป็นปึกแผ่นอยู่ ณ ดินแดนและมีความเจริญดังกล่าว  ชนชาติจีนยังคงเป็นพวกเลี้ยงสัตว์ ที่เร่ร่อนพเนจรอยู่ตามแถบทะเลสาบแคสเบียน  ต่อมาเมื่อประมาณกว่าหนึ่งพันปีที่ไทยอพยพเข้ามาอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเรียบร้อยแล้วชนชาติจีนจึงได้อพยพเข้ามาอยู่ในลุ่มน้ำดังกล่าวนี้บ้าง  และได้พบว่าชนชาติไทยได้ครอบครองและมีความเจริญอยู่ก่อนแล้ว  ในระหว่างระยะเวลานั้น  เราเรียกตัวเองว่าอ้ายลาว หรือพวกมุง ประกอบกันขึ้นเป็นอาณาจักรใหญ่ ถึงสามอาณาจักร ด้วยกันคือ

อาณาจักรลุง  ตั้งอยู่ทางตอนเหนือบริเวณต้นแม่น้ำเหลือง (หวงโห)

อาณาจักรปา  ตั้งอยู่ทางใต้ลงมาบริเวณพื้นที่ทางเหนือของมณฑลเสฉวน 

อาณาจักรปาจัดว่าเป็นอาณาจักรที่สำคัญกว่าอาณาจักรอื่น

อาณาจักรเงี้ยว  ตั้งอยู่ทางตอนกลางของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง

ทั้งสามอาณาจักรนี้ มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ  ประชากรก็เพิ่มมากขึ้น  จึงได้แผ่ขยายอาณาเขตออกมาทางทิศตะวันออก  โดยมีแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นแกนหลัก จากความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ถิ่นที่อยู่ใหม่ มีอิทธิพลทำให้เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยเดิม ตั้งแต่ครั้งยังทำการเลี้ยงสัตว์ ที่โหดเหี้ยม และชอบรุกราน  มาเป็นชนชาติที่มีใจกว้างขวาง รักสงบพอใจความสันติ อันเป็นอุปนิสัยที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงไทยรุ่นหลังต่อมา

เหตุที่ชนชาติจีนเข้ามารู้จักชนชาติไทยเป็นครั้งแรก เมื่อแหล่งทำมาหากินทางแถบทะเลสาบแคสเบียนเกิดอัตคัตขาดแคลน  ทำให้ชนชาติจีนต้องอพยพเคลื่อนย้ายมาทางทิศตะวันออก เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช

ชนชาติจีนได้อพยพข้ามเทือกเขาเทียนชาน ที่ราบสูงโกบี  จนมาถึงลุ่มแม่น้ำไหว จึงได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ที่นั้น และมีความเจริญขึ้นตามลำดับ  ปรากฎมีปฐมกษัตริย์ของจีนชื่อ ฟูฮี  ได้มีการสืบวงค์กษัตริย์กันต่อมา แต่ขณะนั้นจีนกับไทยยังไม่รู้จักกัน  ล่วงมาจนถึงสมัยพระเจ้ายู้  จีนกับไทยจึงได้รู้จักกันครั้งแรก โดยมีสาเหตุมาจากที่พระเจ้ายู้ ได้มีรับสั่งให้มีการสำรวจ พระราชอาณาเขตขึ้น  ชาวจีนจึงได้มารู้จักชาวไทยได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอ้ายลาว จึงยกย่องนับถือถึงกับให้สมญาอาณาจักรอ้ายลาวว่า อาณาจักรไต๋  ซึ่งมีความหมายว่าอาณาจักรใหญ่  สันนิษฐานว่า เป็นสมัยแรกที่จีนกับไทยได้แลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีต่อกัน

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]