ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิตำรา:อย่าว่าร้ายผู้อื่น"

จาก วิกิตำรา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
วิกิตำรา:อย่าว่าร้ายผู้อื่น ถูกย้ายไปเป็น Wikibooks:อย่าว่าร้ายผู้อื่น แล้ว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 29: บรรทัดที่ 29:
ดูเพิ่มเติมที่ [[วิกิตำรา:มารยาทในวิกิตำรา]]
ดูเพิ่มเติมที่ [[วิกิตำรา:มารยาทในวิกิตำรา]]


[[Category:วิกิตำรา|{{PAGENAME}}]]
[[หมวดหมู่:วิกิตำรา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:37, 6 มีนาคม 2562

อย่าทำ

อย่าว่าร้ายผู้อื่น การใส่ความเห็นในบทความใดๆ ออกความเห็นในส่วนของเนื้อความ อย่าออกความเห็นต่อผู้เขียนบทความ การว่าร้ายผู้อื่นเป็นการทำร้ายชุมชนวิกิตำรา และไล่ชาววิกิตำราโดยทางอ้อม ไม่มีใครต้องการโดนว่า

กระจกสะท้อน

อย่าลืมว่าข้อความที่เขียนไปในวิกิตำรา เป็นข้อความที่เปิด ทุกคนสามารถอ่าน และเห็นได้ การว่าร้ายผู้อื่นก็เหมือนกระจกสะท้อนตัวเรา ว่าเราเป็นคนอย่างไร

ความเห็นไม่ตรงกัน

คนเขียนต่างกัน ย่อมก่อให้เกิดความเห็นที่ไม่ตรงกันได้ง่าย พึงนึกเสมอถึงการเขียนบทความใน มุมมองที่เป็นกลาง และอย่าลืมว่า "พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมวิกิตำราเดียวกัน"

ดังนั้น อย่าทำเด็ดขาด

ไม่มีข้อแก้ตัวในการว่าร้ายผู้อื่น

ตัวอย่าง

ตัวอย่างของการว่าร้ายผู้อื่น ส่วนหนึ่งยกมา

  • ว่าในความคิดของบทความ "เขียนอย่างนี้มันไม่ถูก ต้องเขียนอย่างนี้ตะหาก" "คำศัพท์นี้ไม่มีใครใช้กันแล้ว เชย"
  • ว่าในข้อผิดพลาดคนอื่น "ทำไมถึงชอบใช้คำสั่งผิดอยู่เลย"
  • นอกจากนี้ระวัง บทความที่เกี่ยวกับ การเมือง ศาสนา และมุมมองทางสังคม

พูดกันดีดี ดีกว่าไหม

  • พูดโดยอ้างอิงข้อเท็จจริงเป็นหลัก ไม่ใช่เพียงใช้ข้อคิดเห็นส่วนตัว
  • อย่าบอกว่าความคิดเห็นของผู้อื่นผิด เพียงแค่เห็นว่าเป็นความคิดเห็นของบุคคลที่เราไม่ถูกชะตา
  • ถ้ามีการถกเถียงหรือพูดคุยกันอย่างรุนแรงมากขึ้น อาจจะเปลี่ยนที่พูดคุยไปยังที่ส่วนตัว เช่น ทางอีเมล

ความคิดผิดๆ ที่พบบ่อย: "เอามันเลย เวลามันไม่อยู่"

สปิริตในวิกิตำรา

อย่าลืมว่าเป็นหน้าที่ของพวกเราในการรักษาสปิริตและสิ่งดีดีของชุมชนแห่งนี้เอาไว้ กรุณาไตร่ตรองให้ดีว่าการกระทำแต่ละอย่างของเรา ทำให้ชุมชนแห่งนี้ไม่น่าอยู่หรือไม่

ดูเพิ่มเติมที่ วิกิตำรา:มารยาทในวิกิตำรา