ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาไทย/ไวยากรณ์/ชนิดของคำ/คำวิเศษณ์"

จาก วิกิตำรา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขโดย 2405:9800:B910:B29:49BD:AFAD:5C15:CA67 (คุย) ไปยังรุ่นแก้ไขล่าสุดโดย Ts12rAc
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''คำวิเศษณ์''' คือ คำที่บอกลักษณะต่าง ๆของคำนามและคำกริย าให้มีความชัดเจนมากขึ้น คำวิเศษณ์มักจะวางอยู่หลังคำที่ขยาย เพื่อช่วยให้ประโยคมีความหมายชัดเจน
'''คำวิเศษณ์''' คือ คำที่บอกลักษณะต่าง ๆของคำนามและคำกริยาให้มีความชัดเจนมากขึ้น คำวิเศษณ์มักจะวางอยู่หลังคำที่ขยาย เพื่อช่วยให้ประโยคมีความหมายชัดเจน


== หน้าที่ของคำวิเศษณ์ ==
== หน้าที่ของคำวิเศษณ์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:30, 11 กรกฎาคม 2564

คำวิเศษณ์ คือ คำที่บอกลักษณะต่าง ๆของคำนามและคำกริยาให้มีความชัดเจนมากขึ้น คำวิเศษณ์มักจะวางอยู่หลังคำที่ขยาย เพื่อช่วยให้ประโยคมีความหมายชัดเจน

หน้าที่ของคำวิเศษณ์

  • ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น ไข่สดอยู่ในตะกร้าเก่า คนแก่กินหมากแดง รถใหม่ราคาแพง
  • ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น เขานั่นแหละเป็นคนช่วย เราทั้งหมดเป็นคนทำ ท่านทั้งหลายเป็นสมาชิก
  • ทำหน้าที่ขยายคำกริยา เช่น ฉันกินขนมเก่ง รถไฟฟ้่าแล่นเร็ว พ่อตื่นเช้า
  • ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์ เช่น เธอวิ่งเร็วมาก ต้นไม้สูงลิบ เขาพูดดังจริงๆ

ชนิดของคำวิเศษณ์

คำวิเศษณ์มีหลายชนิด ดังนี้ ลักษณะคำวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะ เช่น

    • คำวิเศษณ์บอกชนิด เข่น ชั่ว ดี อ่อน แก่ หนุ่ม เป็นต้น เช่น วรรณาเป็นคนดี
    • คำวิเศษณ์บอกลักษณะที่เป็นขนาด เช่น ใหญ่ โต เล็ก กว้าง ยาว แคบ เป็นต้น เช่น ห้องนี้มีขนาดเล็ก ชามใบใหญ่
    • คำวิเศษณ์บอกลักษณะที่เป็นอาการ เช่น เร็ว ช้า ไว เป็นต้น
    • คำวิเศษณ์บอกลักษณะที่เป็นรส เช่น เปรี้ยว หวาน เค็ม เป็นต้น
    • คำวิเศษณ์บอกลักษณะที่เป็นสี เช่น แดง ดำ คล้ำ เป็นต้น
    • คำวิเศษณ์บอกลักษณะที่เป็นกลิ่น เช่น หอม เหม็น ฉุน เป็นต้น
  • กาลวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกเวลา มักแสดงเวลาเป็นปัจจุบัน อดีต หรืออนาคต เช่น ช้า นาน ก่อน หลัง โบราณ เป็นต้น
  • สถานวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง นอก ห่าง ชิด เป็นต้น
  • ประมาณวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวน เช่น มาก น้อย ทั้งหมด บ้าง ทั้งปวง เป็นต้น
  • อนิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่เจาะจง เช่น ใด ทำไม อย่างไร เหล่าใด เป็นต้น
  • นิยมวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกความแน่นอน เช่น นี่ นั่น โน่น ทีเดียว แท้ เป็นต้น
  • ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่มีลักษณะเป็นคำถาม เช่น ไหน อะไร อย่างไร เหตุไร เป็นต้น
  • ประติชญาวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงการขานรับ เช่น ครับ ขา ค่ะ จ๋า ขอรับ เป็นต้น
  • ปฏิเสธวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ เช่น ไม่ มิได้ หามิได้ ไม่ใช่ เป็นต้น

สารบัญ