วงดนตรี/วงดนตรีไทย/วงมโหรี
วงมโหรี เป็นวงดนตรีไทยที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน จัดเป็นการ ประสมวงที่มีความสมบูรณ์ในด้านเสียงสูงสุด กล่าวคือ เป็นการรวมเอาเครื่อง ดนตรีทำทำนองของวงปี่พาทย์ที่มีเครื่องตี คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอก เหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ร่วมกับเครื่องดนตรีในวง เครื่องสายที่มีเครื่องดีด คือ จะเข้ เครื่องสี คือ ซอด้วง และซออู้ และเครื่องเป่า คือ ขลุ่ย เอาไว้ด้วยกัน การนำเอาวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายมารวมกันนี้ ทำให้ วงมโหรีเป็นการรวมกันของเครื่องดนตรีทุกตระกูล คือ ดีด สี ตี และเป่า มา รวมอยู่ในวงเดียวกันได้อย่างลงตัว ละเอียดอ่อน และละเมียดละไม มีแนวทาง การบรรเลงที่นุ่มนวล ไพเราะ นิยมใช้บรรเลงในพิธีการที่ศักดิ์สิทธิและเป็น มงคลต่างๆ
วงมโหรี อาจารย์ณรงค์ เขียนทองกุล กล่าวถึงวงมโหรีไว้ใน “เกร็ดความรู้ว่า ด้วยเรื่องมโหรี” ว่า “...มโหรีสงสัยว่าเป็นศัพท์คำเดียวกับคำว่ามโหระทึก…”
ครูมนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของวงมโหรีไว้ใน “หนังสือ ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ” ว่า “...เครื่องดีดสีของไทยโบราณมีอยู่ ๒ อย่าง คือ “บรรเลงพิณ” อย่างหนึ่ง กับ “ขับไม้” อย่างหนึ่ง “การบรรเลงพิณ” นั้นใช้แต่พิณน้ำเต้า (สายเดียว) สิ่งหนึ่ง ผู้ที่ดีดพิณเป็นผู้ขับร้องเอง (การบรรเลง พิณนี้ตามหลักการประสมวงไม่ถือว่าเป็นวงดนตรี แต่อนุโลมว่าเป็นการบรรเลง แบบโบราณที่เป็นต้นแบบการบรรเลงในรูปแบบอื่นๆในเวลาต่อมา) ส่วน “ขับ ไม้” นั้นมีคนขับลำ นำ ๑ คน สีซอสามสาย ๑ คน กับไกวบัณเฑาะว์อีกคน ๑ (การขับไม้ใช้บรรเลงประกอบ พิธีสำคัญเช่นพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตร หรือพระราชพิธีสมโภชช้างเผือก เป็นต้น)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เอาบรรเลงพิณกับขับไม้นี้มารวมกันและเปลี่ยนแปลงขยายวง ขึ้นเรียกว่า “มโหรี” โดยมีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน คือ คนขับร้องลำนำและตีกรับพวงให้ จังหวะเอง ๑ สีซอสามสาย ๑ ดีดกระจับปี่ (แทนพิณน้ำเต้า) ๑ กับตีทับประกอบจังหวะ ๑ และสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีนี่เอง ก็ได้เพิ่ม “ขลุ่ย” สำหรับเป่าลำนำ กับรำมะนา ประกอบจังหวะเป็นคู่กับ “ทับ” ขึ้นอีก ต่อมาในปลายสมัยอยุธยาได้เพิ่ม “ฉิ่ง” เข้าอีก อย่างหนึ่ง (เข้าใจว่าให้คนขับร้องลำนำตี และเลิกกรับพวง เพราะในสมัยกรุงธนบุรีก็ ปรากฏว่ามโหรีมี ๖ คน)...”
บทความของครูมนตรี ตราโมท ที่อ้างอิงไว้ข้างต้นนี้ ทำให้เราได้รู้ว่าวิวัฒนาการของวง มโหรีว่ามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นการรวมเอาวงบรรเลงพิณและขับไม้เข้า ด้วยกันก่อนในเบื้องต้น แล้วจึงมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีกในยุค ต่อๆมา จนเกิดเป็นวงมโหรีที่มีระเบียบแบบแผนที่แน่นอนในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของวงมโหรี วิวัฒนาการของวงมโหรีสามารถสรุปได้คร่าวๆ ว่า เริ่มจากการรวมเอาวง บรรเลงพิณและวงขับไม้เข้าด้วยกัน เกิดเป็นวงมโหรีเครื่องสี่ แล้วพัฒนา เพิ่มเติมขึ้นเป็นวงมโหรีเครื่องห้า เครื่องหก ตามลำดับ วงมโหรีนั้นเดิมคงเป็น ของผู้ชายเล่น แต่ต่อมาคนทั่วไปเกิดชอบฟังกันแพร่หลายทั่วไป ผู้มีบรรดาศักดิ์ ซึ่งมีบริวารมากจึงหัดให้ผู้หญิงเล่นมโหรีบ้าง หลังจากนั้นมโหรีก็ กลายเป็นของ ผู้หญิงเล่นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี (สมเด็จฯกรมพระยา ดำรง ราชานุภาพ : ตำนานเครื่องมโหรี) ดังจะพบได้ตามงานจิตรกรรม ประติมากรรม ใน ศิลปะสมัยอยุธยามักเขียนหรือแกะสลักเป็นภาพสตรีกำลังบรรเลงเครื่อง ดนตรีที่น่าจะ เป็นวงมโหรี
๑. วงมโหรีเครื่องสี่ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๒. วงมโหรีเครื่องห้า (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๓. วงมโหรีเครื่องหก (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๔. วงมโหรีเครื่องสิบ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๕. วงมโหรีสมัยกรุงธนบุรี
๖. วงมโหรีสมัยรัชกาลที่ ๑ (วงมโหรีเครื่องแปด) ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระราชกำหนดห้ามมิให้ผู้อื่นหัดละครผู้หญิง ยกเว้นละครที่เป็นของหลวงซึ่งรู้จักกันว่าละครใน ดังนั้น บรรดาเจ้านายและขุน นางบางส่วนจึงให้บริวารผู้หญิงฝึกหัดมโหรีและผู้ชายฝึกหัดปี่พาทย์ บางส่วนก็ ฝึกหัดละครชายล้วน ซึ่งรู้จักกันว่าละครนอก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานพระอธิบายว่า “...มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่มเติมเครื่องมโหรี ขึ้นอีกหลายอย่าง เอาเครื่องปี่พาทย์เข้าเพิ่มเป็นพื้น เป็นแต่ทำขนาดย่อมลง ให้ สมกับผู้หญิงเล่น (และทั้งเพื่อลดเสียงเครื่องตีเพื่อมิให้ดังเกินไป เพื่อจะได้ระดับ กลมกลืนกับเครื่องดีด เครื่องสี )…”
วงมโหรีสมัยโบราณ (มโหรีเครื่องสี่)
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]มีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน เท่านั้น คือ คนสีซอสามสาย คนดีดพิณ (กระจับปี่) คนตี ทับ (โทน) และคนร้องซึงตีกรับพวงด้วยเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ดำเนินทำนอง คือ ซอสามสายกับพิณหรือกระจับปี่ ทับ ซึ่งในสมัยปัจจุบัน เรียกว่า โทน ทำ หน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ เพื่อให้รู้ประโยคและทำนองเพลง ส่วนกรับพวงที่ คนร้องตีนั้นกำกับจังหวะย่อย
วงมโหรีเครื่องหก
ต่อมาวงมโหรีได้เพิ่มเติมเครื่องดนตรีขึ้นมาอีก ๒ อย่าง และเปลี่ยนแปลงไป
อย่างหนึ่งเป็นวงมโหรีเครื่องหก เพราะมีผู้บรรเลง ๖ คน คือซอสามสาย พิณหรือ กระจับปี่ ทับหรือโทน รำมะนา (เพิ่มใหม่) ตีสอดสลับกับโทนหรือทับ ขลุ่ย (เพิ่มใหม่) ช่วยดำเนินทำนองเพลง และกรับพวงของเดิมเปลี่ยนมาเป็นฉิ่ง
วงมโหรีวงเล็ก
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]วงมโหรีได้มีวิวัฒนาการ เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ ครั้งแรกได้เพิ่มฆ้อง วงกับระนาดเอก ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย ส่วนพิณหรือกระจับปี่ นั้น เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงเมื่อยล้าเมื่อพบจะเข้ซึ่งเดิมเป็นเครื่องดนตรีของ มอญเป็นเครื่องดนตรีที่วางบนพื้นราบและดีดเป็นเสียงเช่นเดียวกัน ทั้งนมที่ บังคับเสียงเรียงลำดับก็ถี่พอสมควร สะดวกและคล่องแคล่วในการบรรเลงดีกว่า จึงนำจะเข้มาแทนพิณหรือกระจับปี่ ซึ่งนับเป็นวงมโหรีวงเล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนหน้าที่ในการบรรเลงก็เป็นดังนี้ ซอสามสาย บรรเลงเป็นเสียงยาวโหยหวน บ้าง เก็บถี่ ๆบ้างตามทำนองเพลง และเป็นผู้คลอเสียงร้องด้วย
วงมโหรีเครื่องคู่
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กกลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรี ก็เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กบ้าง ทั้งเพิ่มซอด้วง ซออู้ ขึ้นเป็นอย่างละ๒ คัน จะเข้เพิ่มเป็น ๒ ตัว ขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออก็เพิ่ม ขลุ่ยหลิบ (เลาเล็ก) ขึ้น อีก ๑ เลา เหมือนในวงเครื่องสาย ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลิบ (คัน เล็กและเสียงสูงกว่า) อีก ๑ คัน เครื่องประกอบจังหวะคงเดิม เรียกว่า วงมโหรีเครื่องคู่
วงมโหรีเครื่องใหญ่
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ได้เพิ่ม ระนาดทุ้มกับระนาดเอกเหล็กขึ้นอีก ๒ ราง กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มโหรีจึง เลียนแบบ โดยเพิ่มระนาดทุ้มเหล็กขึ้นบ้าง ส่วนระนาดเอกเหล็กนั้นเปลี่ยนเป็นสร้างลูก ระนาดด้วยทองเหลียง เพราะเทียบให้เสียงสูงไพเราะกว่าเหล็ก เรียกว่าระนาดทอง รวมทั้งวงเรียกว่าวงมโหรีเครื่องใหญ่ ซึ่งได้ถือเป็นแบบปฏิบัติใช้บรรเลงมาจนปัจจุบันนี้ บรรดาเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่วงมโหรีได้เลียนแบบมาจากวงปี่พาทย์ คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก (เป็นระนาดทอง) ระนาดทุ้มเหล็ก (บางวงทำด้วยทองเหลือง เรียกว่า ระนาดทุ้มทองก็มี) ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็กนั้น ทุกสิ่งจะต้องย่อขนาดลดลง ให้เล็กเพราะสมัยโบราณผู้บรรเลงมโหรีมีแต่สตรีทั้งนั้น จึงต้องลดขนาดลงให้พอเหมาะ แก่กำลัง อีกประการหนึ่งการลดขนาดเครื่องตีเหล่านี้ลงก็เพื่อให้เสียงดังสมดุลกับเครื่อง ดนตรีประเภทดีดสี มิฉะนั้นเสียงจะกลบพวกเครื่องสายหมด