วิกิเยาวชน:ทวีปอเมริกาเหนือ/ประเทศแคนาดา/ประเทศแคนาดา

จาก วิกิตำรา
สถานที่ตั้งของประเทศแคนาดา
ธงของประเทศแคนาดา
กรุงออตตาวา เมืองหลวงของประเทศแคนาดา

ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่ครอบครองพื้นที่ทางภาคเหนือของทวีปอเมริกามากที่สุด ประเทศนี้เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก โดยมีพรมแดนติดกับสหรัฐอเมริกาทั้งทางทิศใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมีเมืองหลวงคือออตตาวา

ประวัติศาสตร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มีชาวยุโรปคนแรกที่มาถึงเมื่อพวกไวกิ้งตั้งรกรากอยู่ช่วงสั้น ๆ ที่แลนโซเมโดส์ในช่วงประมาณ ค.ศ. 1000 ภายหลังจากการล่มสลายของอาณานิคมดังกล่าว ก็ไม่ได้มีความพยายามในการสำรวจทวีปอเมริกาเหนืออีกจนกระทั่งปี ค.ศ. 1497 เมื่อจอห์น คาบ็อต สำรวจชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของประเทศแคนาดาให้แก่ประเทศอังกฤษ ตามด้วยฌัก กาตีเยร์ ในปี ค.ศ. 1534 ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส

นักสำรวจชาวฝรั่งเศสชื่อซามูเอล เดอ ชอมปลัง มาถึงในปี ค.ศ. 1603 และก่อตั้งการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปถาวรเป็นครั้งแรกที่พอร์ตรอยัลในปี ค.ศ. 1605 และเมืองควิเบกในปี ค.ศ. 1608

ชาวอังกฤษได้จัดตั้งด่านหน้าการประมงในนิวฟันด์แลนด์เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1610 และตั้งอาณานิคมสิบสามอาณานิคมไปยังทิศใต้ จากนั้น ได้เกิดสงครามอาณานิคมปะทุขึ้นสี่ครั้งระหว่างปี ค.ศ. 1689 และ 1763 โนวาสโกเชียภาคพื้นแผ่นดินใหญ่มาอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษกับสนธิสัญญายูเทรกต์ (ค.ศ. 1713) สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1763) ให้แก่ประเทศแคนาดาและพื้นที่ส่วนใหญ่ของนิวฟรานซ์ไปยังประเทศอังกฤษภายหลังจากสงครามเจ็ดปี

ประเทศแคนาดาเป็นแนวรบหลักในสงคราม ค.ศ. 1812 ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งกระทรวงกลาโหมแห่งประเทศแคนาดามีส่วนทำให้เกิดความรู้สึกของความสามัคคีในหมู่ชาวอเมริกาเหนือของอังกฤษ ส่วนการอพยพครั้งใหญ่ไปยังประเทศแคนาดาเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1815 จากสหราชอาณาจักรและไอซ์แลนด์

ภูมิศาสตร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จากพื้นที่โดยรวม ประเทศแคนาดาเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศรัสเซีย นอกจากนี้ ประเทศแคนาดายังมีชายฝั่งทะเลที่ยาวที่สุดในโลกด้วยระยะถึง 243,000 กิโลเมตร (151,000 ไมล์)

ประเทศแคนาดาเป็นสหพันธรัฐที่ประกอบด้วยสิบรัฐและสามดินแดน ในทางกลับกัน ก็อาจจะแบ่งพื้นที่เหล่านี้ออกเป็นภูมิภาค ทางตะวันตกของประเทศแคนาดา ประกอบด้วยสามรัฐในเขตแพรรี อันได้แก่ : รัฐแอลเบอร์ตา, ซัสแคตเชวัน และแมนิโทบา ส่วนตอนกลางของประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐควิเบก และออนแทรีโอ สำหรับฝั่งแอตแลนติกแคนาดาประกอบด้วยสามรัฐในเขตมารีไทม์ อันได้แก่ : รัฐนิวบรันสวิก, ปรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ และโนวาสโกเชีย พร้อมด้วยรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ ส่วนทางตะวันออกของประเทศแคนาดา จะหมายถึงแคนาดากลางและแคนาดาแอตแลนติกเข้าด้วยกัน และสำหรับสามดินแดนนั้น ประกอบด้วยยูคอน, นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศแคนาดา ทั้งนี้ รัฐจะมีอำนาจมากกว่าดินแดน โดยจะมีสัญลักษณ์ประจำแต่ละรัฐหรือดินแดนเป็นของตนเอง

ในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับสถานที่ตั้ง ซึ่งฤดูหนาวมีแนวโน้มที่จะรุนแรงในหลายภูมิภาคของประเทศ อุณหภูมิเฉลี่ยรายวันอยู่ใกล้ -15 องศาเซลเซียส (5 องศาฟาเรนไฮต์) แต่จะลดลงต่ำกว่า -40 องศาเซลเซียส (-40 องศาฟาเรนไฮต์) กับลมหนาวที่รุนแรง ในภูมิภาคที่ไม่ใช่ชายฝั่ง หิมะสามารถครอบคลุมพื้นดินเกือบหกเดือนของแต่ละปี (มากกว่านั้นในภาคเหนือ)

ด้านธรณีวิทยาของประเทศแคนาดา จะมีแผ่นดินไหวและภูเขาไฟที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างภูเขาไฟที่โดดเด่น ได้แก่: ภูเขาเมียเกอร์, ภูเขากาลิบัลดี, ภูเขาเคย์ลี และภูเขาไฟเอ็ดซีซาที่มีความซับซ้อน

ประชาชน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาษาทางราชการของประเทศแคนาดามีสองภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ซึ่งมีชาวแคนาดาถึงเก้าสิบเก้าเปอร์เซ็นต์ที่พูดภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส โดยแบ่งออกเป็นหกสิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์ที่พูดเฉพาะภาษาอังกฤษ สิบสามเปอร์เซ็นต์ที่พูดเฉพาะภาษาฝรั่งเศส และสิบแปดเปอร์เซ็นต์ที่สามารถพูดได้ทั้งสองภาษา ส่วนภาษาอื่น ๆ ที่พูดในประเทศ ได้แก่ ภาษาจีนกลาง, อิตาลี, เยอรมัน และปัญจาบ