สุนทรีย์ดนตรีไทยประยุกต์

จาก วิกิตำรา

สุนทรีย์ดนตรีไทยประยุกต์ คือการคิดนอกกรอบในรูปแบบที่สร้างสรรค์  ปรับปรุงวิธีการเล่น การรวมวง การผสมวง ในรูปแบบที่แตกต่างกันในปัจจุบันมีวิธีการดังนี้ ๑. นำเครื่องดนตรีไทยมาเล่นกับดนตรีสากลเลยโดยไม่ปรับเสียง ๒. นำเครื่องดนตรีไทยมาเล่นกับดนตรีสากลโดยปรับเสียงเป็นบันไดเสียงหนึ่งถ้าต้องเล่นโน้ตที่ดนตรีไทยไม่มีก็ให้เครื่องดนตรีอื่นเล่นแทน

การที่จะให้ดนตรีไทยเป็นที่ยอมรับของ นานาประเทศ  เรามีดาบเพียงเล่มเดียวไม่เป็นการเพียงพอที่จะเป็นที่ยอมรับเพราะระบบเสียงของไทยเราไม่เหมือนใครในโลกการที่เราจะต้องสื่อสาร กับโลกภายนอกเราจำเป็นจะต้องพูดภาษากลางเป็น   มิเช่นนั้นแล้วก็จะสื่อสารกันไม่รู้เรื่องจึงมีความจำเป็นที่ต้องสร้างเครื่องดนตรีไทยประยุกต์ขึ้นมา ภายใต้แนวคิดที่ว่า “ รักษาของเดิมไว้ให้มากที่สุดบนความแตกต่างที่สุด. ”

ในปัจจุบันนี้ เริ่มมีการนำมาทำเป็นดนตรีร่วมสมัยมากขึ้น อย่างที่เห็นได้กับวงดนตรีต่างๆ ซึ่งการเล่นดนตรีก็แตก ต่างกับเมื่อก่อน จากเครื่องดนตรีและนักดนตรีที่นั่งบรรเลงที่พื้น กลายมาเป็นเครื่องวางบนขาตั้งและนักดนตรีนั่งบนเก้าอี้ ถ้า ถามว่า "ทำไมถึงต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเล่นด้วย ?" ก็เพื่อที่จะทำให้ดูออกมาทันสมัยเหมือนกับดนตรีสากลทั่วไป และถ้า ถามว่า "การบรรเลงดนตรีร่วมสมัยนี้ เล่นกับพื้นไม่ได้หรือ ?" ก็จะบอกว่า เล่นได้ แต่มันคงดูขัดกับแนวเพลงที่บรรเลง และการ นั่งกับพื้นก็ไม่สามารถแสดง อิริยาบท ร่วมได้มากมายนัก และถ้าถามต่อไปอีกว่า "ในสมัยก่อนนั้น การเล่นดนตรีไทย ทำไมจึงต้องเล่นบนพื้น ?" เพราะว่า ในสมัยก่อน การเล่นดนตรีเป็นการบรรเลงเฉพาะพระพักตร์ บรรเลงในวังจึงต้องมีกิริยาสำรวม เรียบร้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเล่นแต่เพลงช้า เพลงหวาน ท่าทางก็เป็นส่วนประกอบที่ทำให้อารมณ์ของเพลงสมบูรณ์ยิ่ง ขึ้น "แล้วสำหรับคนที่มองไม่เห็นล่ะ เค้าจะสัมผัสความรู้สึกหรืออารมณ์ของเพลงได้อย่างไร ?" ก็เสียงเพลงที่นักดนตรี บรรเลงนั่นแหละ ที่จะเข้าไปสู่จิตใจของคนฟังได้ลึกที่สุด

หน้า[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]