สุนทรีย์ดนตรีไทยประยุกต์/อย่างไรที่จะทำให้ดนตรีไทยวิบัติ

จาก วิกิตำรา

ดังที่กล่าวมาในข้างต้น ดนตรีไทยมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเฉพาะเรื่องของบันไดเสียงไทย แม้จะแตกต่างกันบ้างในแต่ละวงหรือแต่ละท้องถิ่น ซึ่งเมื่อเราได้ฟังแล้วก็จะรู้ทันทีว่านี่เป็นเพลงไทยเดิม เพราะบันไดเสียงต่างจากสากล

๑. สอนดนตรีไทยโดยขาดความรู้ที่แท้จริง ไม่ปลูกฝังการเคารพครูอาจารย์ แต่ทั้งนี้ครูอาจารย์ในปัจจุบันก็ต้องทำตัวให้เป็นที่เคารพด้วย

๒. ไม่ยอมฟังความคิดเห็นผู้อื่นคิดว่า ตนเองนั้นเป็นหนึ่ง ปิดกั้นความคิดของเด็ก ไม่เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่เพื่อเสริมสิ่งเก่า หวงในสิ่งที่ตนเองมีซึ่งคิดว่ามีค่า แต่พอเปิดออกมาก็ไม่มีอะไรในกอไผ่

๓. ขาดการสนับสนุนทดลองในสิ่งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเล่น การสอน การแต่งเพลงใหม่ การคิดเทคนิคใหม่ ที่ส่วนใหญ่คิดว่านอกกรอบ ทำให้ผู้เรียนไม่กล้าจะทำอะไรจนเกิดการเบื่อหน่าย

๔. นำเครื่องดนตรีไทยมาเล่นเพลงสากลโดยไม่ปรับเสียง แน่นอน เพลงนั้นก็จะเพี้ยนจนรับฟังไม่ได้ เพราะเลือกเพลงที่ไม่เหมาะกับเครื่องดนตรี ๕. นำเครื่องดนตรีไทยเดิมมาปรับเสียงเป็นสากลในระดับหนึ่งแล้วเล่นเพลงไทยเดิมก็ทำให้เพี้ยนเสียงไทยเดิม และที่ยิ่งไปกว่านั้น ก็เป็นเครื่องสากลที่ไม่สมบูรณ์ยกตัวอย่างเช่น นำระนาดไทย มาปรับเสียง เป็น บันไดเสียง c ของสากลก็ทำให้ระนาดไทยผืนนั้นไม่ใช่ระนาดอีกต่อไป เพราะขาดวิญญาณแห่งความเป็นระนาดไป

๖. การรวมวงของไทยมีความแตกต่างในเรื่องระดับเสียง บางทีจูนเสียงขิมเป็นสากล แต่มารวมวงกับระนาดที่เป็นเสียงไทย แล้วเล่นทั้งเพลงไทยและสากลทำให้ขาดความชัดเจนของบทเพลงไป คือเสียทั้งไทยเดิม และสากล

หน้า[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]