เว็บ 2.0

จาก วิกิตำรา
(เปลี่ยนทางจาก Web 2.0)

Web 2.0[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เกริ่นนำ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเปลี่ยนไปของวิถีการดำรงชีวิตส่งผลให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของพวกเราสะดวกสบายยิ่งขึ้น จะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นเมื่อโลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอล (digital) หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไปจากระบบอนาลอก (analog) แบบเก่าๆ มาเป็นระบบดิจิตอล ตัวอย่างง่ายๆ คือ พฤติกรรมการฟังเพลง จากในอดีตยุคคุณปู่คุณย่าเราฟังแผ่นเสียง (ผมเกิดไม่ทันยุคนั้นหรอกนะครับ ได้ยินจากคุณปู่คุณย่ามาอีกที) มายุคคุณพ่อคุณแม่เราฟังเทปคาสเซท (cassette tape) ยุคของคุณอาคุณน้าเราฟังซีดี (compact disc) จนมาถึงยุคปัจจุบันที่พวกเราฟังเพลงจากเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา (portable music player) จำพวก Apple iPod [1] , Microsoft Zune [2] หรือเครื่องเล่น mp3 ทั่วไปสารพัดยี่ห้อ จะเห็นได้ว่าการก้าวจากยุคของแผ่นเสียงหรือเทปมาเป็นซีดีนั้น เป็นการเปลี่ยนจากยุคอนาลอกมาสู่ยุคดิจิตอลที่น่าตื่นเต้น แต่การก้าวเข้ามาสู่ยุคปัจจุบันที่น่าตื่นเต้นระทึกใจยิ่งกว่านั้นก็นับเป็นยุคดิจิตอลเหมือนกันแต่เป็นดิจิตอลที่เหนือกว่าดิจิตอลแบบเก่า

เฉกเช่นเดียวกับ การเปลี่ยนแปลงจากการดูวีดีโอ (video) มาดูเลเซอร์ดิสค์ (laser disc) จนเข้ามาสู่ยุคปัจจุบันคือ ดีวีดี (DVD: digital video disc) ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคของดิจิตอลอย่างสมบูรณ์แบบ แต่เรากำลังจะเข้าสู่ยุคที่เหนือกว่าดิจิตอลคือ การมาของ HD (high definition) ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันนั้นไม่ว่าอะไรก็จะต้องมีคำว่า HD อยู่ด้วยทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ เครื่องเล่น DVD หรือแม้กระทั่งรายการโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดออกอากาศ (ซึ่งในขณะนี้เมืองไทยเรายังไม่มีสถานีใดออกอากาศเป็น HD)

จากตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนั้นผมอยากชี้ให้เห็นถึงยุคที่เราเรียกว่า เหนือกว่าดิจิตอลแบบเดิม หรือ ผมขอเรียกว่า Digital 2.0 ให้เข้าใจง่ายๆ ซึ่งที่มาของ Web 2.0 นั้น ก็มีที่มาในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เริ่มจากยุคสมัยแรกๆ ของอินเทอร์เน็ต (internet) ที่มีแต่ตัวอักษร หลังจากนั้นก็มีรูปภาพขึ้นมา แล้วได้มีการสร้างมาตรฐานจนเป็น HTML (hyper text markup language) ซึ่งในยุคนี้เราจะเรียกว่า static web ต่อมาเว็บไซต์ (website) ก็ีมีความสามารถมากขึ้นในการแสดงผลคือสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลและทำธุรกรรมต่างๆ ได้ซึ่งเราเรียกว่า dynamic web ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการแสดงผลเช่น PHP, ASP , CFM หรือ JSP จนมาถึงยุคปัจจุบันที่เว็บไซต์ต่างๆนั้น นอกจากจะเป็น dynamic แล้วยังต้องสามารถสื่อสารกับผู้ใช้ (interactive) ได้ในแบบเสมือนจริง (real time) อีกด้วย โดยผู้ใช้งานจะมีความรู้สึกเหมือนใช้งานโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป (personal computer) ซึ่งจุดนี้เองเป็นที่มาของคำว่า Web 2.0 โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้เพิ่มความสามารถของเว็บไซต์ เช่น Ajax, Ruby on Rail หรือ CSS โดยจะกล่าวถึงเทคโนโลยีดังกล่าวโดยละเอียดภายหลัง

Web 2.0 คืออะไร (กันแน่) ?[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

Web 2.0 นั้นเป็นศัพท์ที่บัญญัติมาจากการประชุมระดมสมองระหว่าง O'Reilly และ MediaLive International ซึ่งลงความเห็นว่าในปัจจุบันนั้นเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ตได้ก้าวเข้ามาสู่ในยุคใหม่ จากที่เคยเป็นการให้บริการข้อมูลธรรมดา มาเป็นการให้บริการที่ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการให้บริการด้วย โดยผลจากประชุมในครั้งนั้นสามารถสร้างภาพของ Web 2.0 ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจาก Web 1.0 ในรูปแบบเก่าได้ดังแผนภูมิด้านล่าง


ผังจาก http://www.oreillynet.com/lpt/a/6228

จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงจาก Web 1.0 ไปเป็น Web 2.0 นั้นมีตัวแปรหลายอย่างที่ทำให้ Web 2.0 ได้รับความนิยมมากกว่า Web 1.0 แบบเดิมๆ จนสามารถมาล้มล้างผู้ให้บริการเก่าๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ลองมาไล่ดูจากผังด้านบนกันครับ

ด้านบนสุด DoubleClick กับ Google Adsense[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อก่อนเราอาจจะเคยใช้บริการของ DoubleClick [3]ในการลงโฆษณาและการหารายได้จากการโฆษณา โดยผู้ที่ต้องการจะโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตัวเองนั้นจะไปสมัครขอใช้บริการที่ DoubleClick จากนั้นจะมีผู้ที่ต้องการหารายได้ก็จะนำโฆษณาจาก DoubleClick ไปติดที่เว็บไซต์ของตนเอง เมื่อมีผู้เข้ามาที่เว็บไซต์และคลิ๊กที่ป้ายโฆษณา เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆก็จะไดเงินจากทาง DoubleClick ซึ่งเป็นวิธีการหารายได้ของผู้ที่ทำเว็บไซต์ทั่วไปสมัยก่อน

จนมาถึงยุคของ Google AdSense [4] ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ การโฆษณาแบบเดิมต่างกันตรงที่ AdSense ของ Google นั้นมีความสามารถในการสร้างโฆษณาได้เข้าถึงความต้องการของผู้ใช้ได้มากกว่า โดยโฆษณานั้นจะไม่ตายตัวแต่จะมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นๆ เช่น ผู้ใช้บริการของ Gmail เวลาที่อ่านอีเมล์จะมีโฆษณาขึ้นทางด้านขวาของอีเมล์โดยโฆษณาจะมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาของอีเมล์นั้นๆ ดังตัวอย่างด้านล่างซึ่งเป็นอีเมล์จาก Ebay [5]ซึ่งเป็นเว็บไซต์ประมูลสินค้าทำให้โฆษณาที่ปรากฎขึ้นมาจะเกี่ยวข้องกับการประมูลสินค้าซะเป็นส่วนใหญ่ หรือผู้ที่เขียนบลอก (Blog: Weblog) แล้วนำโฆษณาของ Google AdSense ไปติดที่บลอกนั้น โฆษณาที่ขึ้นมาจะมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาบลอกที่เขียน เช่น เมื่อเขียนถึง iPod ก็จะมีโฆษณาของ iPod ขึ้นมา จะเห็นได้ว่า การที่ Google AdSense สามารถเข้ามาแทน DoubleClick ได้เป็นเพราะการโฆษณาได้เข้าถึงกลุ่มที่ต้องการได้มากกว่า และความง่ายในการใช้งานโดยบลอกที่มีเชื่อเสียงอย่าง Engadget [www.engadget.com] นั้นสร้างรายได้จาก Google AdSense ได้มากว่าเดือนละล้านเหรียฐสหรัฐ


 ภาพแสดงอีเมล์จาก gmail ที่มีโฆษณาขึ้นทางด้านขวามือ

Ofoto VS Flickr , Akamai VS Bittorrent , MP3.com VS Napster , Britannica VS Wikipedia ..etc[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในส่วนตรงนี้ผมได้ตีกรอบจัด Flickr [6], Bittorent [7], Napster [8], Wikipedia [9] และ Upcoming.org [10] ไว้เป็นพวกเดียวกันเพราะเป็น Web 2.0 ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการมีส่วนร่วมมือร่วมใช้ (participation) ของผู้ใช้บริการทั้งหลาย

จะเห็นได้ว่า Bittorent และ Napster นั้นไม่ใช่เว็บไซต์เสียด้วยซ้ำไปแต่เป็นแอพลิเคชั่นที่ประสบความสำเร็จจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้งาน แต่ก็ถูกนับรวมเข้าไปใน Web 2.0 ด้วย เพราะ Web 2.0 นั้นไม่เพียงแต่เป็นแค่เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปของเว็บไซต์เท่านั้นแต่ยังเป็นวิถีแห่งพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้ชีวิตบนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย สิ่งที่ทำให้บริการของ Web 2.0 เป็นที่นิยมได้นั้นคือ “จำนวนผู้ใช้” ซึ่งจะแปรผันโดยตรงกับ “บริการที่ดีขึ้น” กล่าวคือ ยิ่งมีผู้ใช้บริการมากขึ้นเท่าใดบริการนั้นๆก็จะดียิ่งขึ้น จะเห็นได้ชัดจาก Bittorent หรือ Wikipedia ยิ่งถ้ามีผู้มาใช้บริการเท่าไรจำนวนข้อมูลก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น ทำให้บริการนั้นๆ ดีขึ้นและก็มีผู้ใช้บริการมากขึ้นไปอีก จะสังเกตุได้ว่า Web 2.0 ที่ประสบความสำเร็จมีผู้ใช้บริการจำนวนหลายล้านคนนั้นจะมีจุดเริ่มจากการบริการที่ดีแทบทั้งสิ้นทำให้คนอยากใช้บริการและทำให้บริการนั้นดีๆ ยิ่งขึ้นตามลำดับ


Directories (taxonomy) VS Tagging (folksonomy)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ช่วงนี้คำที่ได้รับความนิยมอย่างสูงและอาจจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ คือ แท็กกิ้ง (tagging) หรือ folksonomy ซึ่งกำลังกลายเป็นคำที่อินเทรนด์เป็นอย่างมากในโลกของ Web 2.0 ซึ่ง Web 2.0 ชั้นนำนั้นที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการนำเอาแท็กกิ้งมาใช้จนเป็นที่นิยมไปทั่วโลกได้แก่ del.icio.us [11] หรือ Flickr [12] ซึ่งการใช้แท็กกิ้งนี้จะต่างจากการจัดทำอินเด็กซ์แบบเดิมๆ ที่ผู้ให้บริการเป็นผู้จัดทำอินเด็กซ์หรือแบ่งหมวดหมู่ต่างๆ ในขณะที่แท็กกิ้งใน Web 2.0 นั้นเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถกำหนดแท็กต่างๆ ได้เอง เช่น เราอาจจะเรียกภาพของเครื่องโน๊ตบุค Macbook ของ บริษัท Apple ว่า apple, mac, notebook, laptop หรือ macbook ก็ได้ หรือ คำว่า Apple อาจจะเป็นผลไม้หรือบริษัทคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ก็ได้ การที่ผู้ใช้สามารถกำหนดแท็กได้เองนั้นเป็นการเพิ่มความสะดวกในการแบ่งประเภทให้แก่ผู้ใช้งานและยังเป็นการเพ่ิมความสามารถในการจัดอินเด็กซ์และการค้นหาอีกด้วย



ผังจาก http://www.oreillynet.com/lpt/a/6228

คราวนี้เรามาลองดูผังที่ได้มากจากการประชุมระดมความคิดจาก FOO Camp ที่ O'Reilly Media กันครับ ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพรวมของ Web 2.0 ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในส่วนของด้านบนที่เป็นผังสีเขียวจะเป็นในส่วนของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ในนิยามของ Web 2.0 ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปภายหลัง รูปสี่เหลี่ยมสีส้มตรงกลางจะเป็นหัวใจของ Web 2.0 และส่วนย่อยที่แยกออกมาบริเวณด้านล่างสีส้มอ่อนเป็นเทคนิคในการออกแบบ Web 2.0

ลองมาเริ่มจากใจกลางจะเห็นคำว่า “The Web as Platform” ซึ่งเป็นการผลักดันของ Netscape [13]ในยุคที่ต้องห้ำหั่นกับ Internet Explorer ของค่ายไมโครซอฟท์และต้องพ่ายยับไปแบบไม่มีชิ้นดี แต่การผลักดันในครั้งนั้นกลับเป็นปรากฏการณ์ที่ดีที่ทำให้ผุ้คนได้เห็นถึงมุมมองใหม่ๆ ทำให้เกิดบริการต่างๆ ขึ้นมากมายบนอินเทอร์เน็ท เช่น เว็บเซอร์วิซ (web service) คำว่า Web as Platform ในวันนั้นกลับกลายมาเป็นคำที่มีความสำคัญในวันนี้หลังจากที่ Google ได้กลายเป็นกลไกที่ยิ่งใหญ่ในการขับเคลื่อนอินเทอร์เน็ท แอพพลิเคชั่นหลายๆ ตัวบนเดสท์ทอป (desktop) ได้แปลงสภาพมาเป็น เว็บแอพพลิเคชั่น (Web application) เราจะเห็นได้ว่า Google ได้ซื้อบริษัท Writely.com และได้กลายมาเป็น Google doc [14] ให้สมาชิกของ Google ได้ใช้งานแอพพลิเคชั่นที่คล้ายกับ Microsoft Word และ Microsoft Excel นอกจากนี้เราจะเห็นได้อีกว่า Google กำลังจะออกระบบปฏิบัติการบนเบราเซอร์ (WebOS) ออกมาอีกทำให้ภาพของ The Web as Platform ชัดเจนยิ่งขึ้น ในอนาคตเครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะไม่ต้องมีส่วนประมวลผล (CPU) อีกต่อไป มีแต่เพียงหน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด และความสามารถในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ทเท่านั้นก็สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถที่เทียบเท่ากับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้


ในขณะที่พวกเรากำลังรอระบบปฏิบัติการบนเบราเซอร์ของ Google กันนั้นได้มาบริษัทหลายแห่งที่ได้ออก beta version มาให้พวกเราได้ใช้งานกันยกตัวอย่าง เช่น Craythur [15] Desktoptwo [16] EyeOS [17] Glide [18] Goowy [19] Orca [20] Purefect [21] SSOE [22] XinDESK [23] YouOS [24]