ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิติเหตุ"

จาก วิกิตำรา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tiemianwusi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
:# บุคคลสถานะ (personal status) เช่น หน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร หรือหน้าที่ของคู่สมรส
:# บุคคลสถานะ (personal status) เช่น หน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร หรือหน้าที่ของคู่สมรส


ในการศึกษานิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทยทั่วไป นิติเหตุเป็นวิชาที่เรียก "ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้" มักเล่าเรียนกันในปีที่สอง ถัดจากวิชา[[ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย]] [[กฎหมายบุคคล]] [[กฎหมายหนี้: หลักทั่วไป]] และ[[กฎหมายนิติกรรมและสัญญา]] ตามลำดับ
นิติเหตุเป็นหลักกฎหมายในระบบซีวิลลอว์<ref>J.A. Crook. (1984). ''Law and Life of Rome, 90 B.c.–a.d. 212.'' Ithaca, New York: Cornell University Press. IBSN: 9780801492730. pp. 236-237.</ref> ตรงกับเรื่อง'''สัญญาเสมือน''' (quasi-contract, implied-in-law contract หรือ constructive contract)<ref>ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติคำ "quasi-contract" ว่า "คล้ายสัญญา" และ "constructive contract" ว่า "สัญญาที่เกิดขึ้นโดยผลแห่งกฎหมาย" [ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). [http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ''ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน.''] [ออนไลน์]. (เข้าถึงเมื่อ: 2556.02.14)].</ref> ในระบบคอมมอนลอว์<ref>W. W. Buckland & Arnold D. McNair. (1952). [http://ebooks.cambridge.org/chapter.jsf?bid=CBO9780511561061&cid=CBO9780511561061A085 ''Roman Law and Common Law.''] London: Cambridge University Press. [Online]. (Accessed: 2013.02.14). p. 111.</ref>

ในการศึกษานิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทย นิติเหตุเป็นวิชาที่เรียก "กฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้" ซึ่งมักเล่าเรียนกันในปีที่สอง ถัดจาก [[ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย]] [[กฎหมายลักษณะบุคคล]] [[กฎหมายลักษณะหนี้: หลักทั่วไป]] และ[[กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา]] ตามลำดับ


== เชิงอรรถ ==
== เชิงอรรถ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:47, 17 มกราคม 2557




ดังที่อาจได้ศึกษามาแล้วว่า หนี้เป็นความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า "เจ้าหนี้" มีสิทธิบังคับให้อีกฝ่ายซึ่งเรียก "ลูกหนี้" ทำหรือไม่ทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของฝ่ายเจ้าหนี้ได้ และหนี้เกิดขึ้นจากสิ่งสองสิ่ง คือ นิติกรรม และนิติเหตุ[1]

นิติกรรม (legal transaction) คือ การที่บุคคลกระทำลงด้วยใจสมัครและโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อก่อความสัมพันธ์ทางกฎหมายขึ้น ส่วนนิติเหตุ (legal cause หรือ proximate cause) นั้นตรงกันข้าม กล่าวคือ เป็นเหตุการณ์ที่ผู้เกี่ยวข้องต้องเกิดมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายกันขึ้น เพราะกฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น ไม่ว่าเขาจะสมัครใจหรือไม่ก็ตาม

นิติเหตุแบ่งเป็นสี่อย่าง คือ[1]

  1. ละเมิด (tort) เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทําต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ
  2. จัดการงานนอกสั่ง (agency without specific authorisation) เป็นการที่บุคคลคนหนึ่งเข้าทำบางสิ่งบางอย่างแทนอีกบุคคลหนึ่งโดยที่เขามิได้มอบหมายเลยก็ดี หรือโดยที่ไม่มีสิทธิทำเช่นนั้นเลยก็ดี
  3. ลาภมิควรได้ (unjust enrichment) เป็นการที่บุคคลได้ทรัพย์สินงอกเงยขึ้นมาจากมูลเหตุที่ไม่มีกฎหมายรองรับ และ
  4. บุคคลสถานะ (personal status) เช่น หน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร หรือหน้าที่ของคู่สมรส

ในการศึกษานิติศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาไทยทั่วไป นิติเหตุเป็นวิชาที่เรียก "ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้" มักเล่าเรียนกันในปีที่สอง ถัดจากวิชาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย กฎหมายบุคคล กฎหมายหนี้: หลักทั่วไป และกฎหมายนิติกรรมและสัญญา ตามลำดับ

เชิงอรรถ

  1. 1.0 1.1 จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2554). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789744665577. หน้า 22.



ขึ้น