ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาญี่ปุ่น"

จาก วิกิตำรา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YiFeiBot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 13 langlinks, now provided by Wikidata on d:q5287
Pitpisit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
{{วิกิพีเดีย}}
{{วิกิพีเดีย}}


== สารบัญ ==
== ตัวอักษร ==
* [[ภาษาญี่ปุ่น/ตัวอักษร|ตัวอักษร]]
ตัวอักษรที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันมี 3 กลุ่มคือ
ตัวอักษรที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันมี 3 กลุ่มคือ
# ฮิระกะนะ (ひらがな)
# ฮิระกะนะ (ひらがな)
# คะตะกะนะ (かたかな)
# คะตะกะนะ (かたかな)
# คันจิ (漢字)
# คันจิ (漢字)
[[ภาษาญี่ปุ่น/ฮิระกะนะ|ฮิระกะนะ (ひらがな)]]


=== ฮิระกะนะ (ひらがな) ===
ใช้เขียนคำของญี่ปุ่นเอง มีทั้งหมดดังต่อไปนี้
ใช้เขียนคำของญี่ปุ่นเอง มีทั้งหมดดังต่อไปนี้


บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 33:
| || わ(วะ) || を(โอะ) || ん(อึน) || ||
| || わ(วะ) || を(โอะ) || ん(อึน) || ||
|}
|}
[[ภาษาญี่ปุ่น/คะตะกะนะ|คะตะกะนะ (かたかな)]]


=== คะตะกะนะ (かたかな) ===
ใช้เขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และ ใช้เมื่อต้องการเน้นคำพูด
ใช้เขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และ ใช้เมื่อต้องการเน้นคำพูด
{|{{ตารางสวย}}
{|{{ตารางสวย}}
บรรทัดที่ 56: บรรทัดที่ 57:
| || ワ(วะ) || ヲ(โอะ) || ン(อึง หรือ อุง) || ||
| || ワ(วะ) || ヲ(โอะ) || ン(อึง หรือ อุง) || ||
|}
|}
[[ภาษาญี่ปุ่น/คันจิ|คันจิ (漢字)]]


=== คันจิ (漢字) ===
เป็นอักษรจีนที่ญี่ปุ่นนำเข้ามาใช้ โดยคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีประมาณ 2,000 คำ
เป็นอักษรจีนที่ญี่ปุ่นนำเข้ามาใช้ โดยคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีประมาณ 2,000 คำ


== การออกเสียง ==
[[ภาษาญี่ปุ่น/การออกเสียง|การออกเสียง]]

การออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นแม้จะมีความหมายและเขียนเหมือนกันแต่การออกเสียงมีลักษณะที่แตกต่างกันออกขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ
การออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นแม้จะมีความหมายและเขียนเหมือนกันแต่การออกเสียงมีลักษณะที่แตกต่างกันออกขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ
; อักษรในกลุ่ม か
; อักษรในกลุ่ม か
ออกเสียงเป็น ค หากตัวอยู่ในพยางค์แรกของประโยค และออกเสียงเป็น ก หากอยู่ในพยางค์หลัง
ออกเสียงเป็น ค หากตัวอยู่ในพยางค์แรกของประโยค และออกเสียงเป็น ก หากอยู่ในพยางค์หลัง
== ไวยากรณ์ ==
ประโยคภาษาญี่ปุ่นจะเรียงลำดับเป็น ประธาน-กรรม-กริยา


[[ภาษาญี่ปุ่น/ไวยากรณ์|ไวยากรณ์]]
== บทเรียน ==ค่ะ

ประโยคภาษาญี่ปุ่นจะเรียงลำดับเป็น ประธาน-กรรม-กริยา


== บทเรียน 1 ==
== บทเรียน 1 ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:18, 3 มกราคม 2559

สารบัญ

ตัวอักษรที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันมี 3 กลุ่มคือ

  1. ฮิระกะนะ (ひらがな)
  2. คะตะกะนะ (かたかな)
  3. คันจิ (漢字)

ฮิระกะนะ (ひらがな)

ใช้เขียนคำของญี่ปุ่นเอง มีทั้งหมดดังต่อไปนี้


วรรค อะ あ(อะ) い(อิ) う(อุ) え(เอะ) お(โอะ)
วรรค คะ か(คะ) き(คิ) く(คุ) け(เคะ) こ(โคะ)
วรรค ซะ さ(ซะ) し(ชิ) す(ซุ) せ(เซะ) そ(โซะ)
วรรค ทะ た(ทะ) ち(จิ) つ(ทซุ) て(เทะ) と(โทะ)
วรรค นะ な(นะ) に(นิ) ぬ(นุ) ね(เนะ) の(โนะ)
วรรค ฮะ は(ฮะ) ひ(ฮิ) ふ(ฟุ) へ(เฮะ) ほ(โฮะ)
วรรค มะ ま(มะ) み(มิ) む(มุ) め(เมะ) も(โมะ)
วรรค ยะ や(ยะ) ゆ(ยุ) よ(โยะ)
วรรค ระ ら(ระ) り(ริ) る(รุ) れ(เระ) ろ(โระ)
わ(วะ) を(โอะ) ん(อึน)

คะตะกะนะ (かたかな)

ใช้เขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และ ใช้เมื่อต้องการเน้นคำพูด

วรรค อะ ア(อะ) イ(อิ) ウ(อุ) エ(เอะ) オ(โอะ)
วรรค คะ カ(คะ) キ(คิ) ク(คุ) ケ(เคะ) コ(โคะ)
วรรค ซะ サ(ซะ) シ(ชิ) ス(ซุ) セ(เซะ) ソ(โซะ)
วรรค ตะ タ(ตะ) チ(จิ) ツ(ทซุ) テ(เตะ) ト(โตะ)
วรรค นะ ナ(นะ) ニ(นิ) ヌ(นุ) ネ(เนะ) ノ(โนะ)
วรรค ฮะ ハ(ฮะ) ヒ(ฮิ) フ(ฟุ) ヘ(เฮะ) ホ(โฮะ)
วรรค มะ マ(มะ) ミ(มิ) ム(มุ) メ(เมะ) モ(โมะ)
วรรค ยะ ヤ(ยะ) ユ(ยุ) ヨ(โยะ)
วรรค ระ ラ(ระ) リ(ริ) ル(รุ) レ(เระ) ロ(โระ)
ワ(วะ) ヲ(โอะ) ン(อึง หรือ อุง)

คันจิ (漢字)

เป็นอักษรจีนที่ญี่ปุ่นนำเข้ามาใช้ โดยคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีประมาณ 2,000 คำ

การออกเสียง

การออกเสียงในภาษาญี่ปุ่นแม้จะมีความหมายและเขียนเหมือนกันแต่การออกเสียงมีลักษณะที่แตกต่างกันออกขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ

อักษรในกลุ่ม か

ออกเสียงเป็น ค หากตัวอยู่ในพยางค์แรกของประโยค และออกเสียงเป็น ก หากอยู่ในพยางค์หลัง

ไวยากรณ์

ประโยคภาษาญี่ปุ่นจะเรียงลำดับเป็น ประธาน-กรรม-กริยา

บทเรียน 1

บทเรียนนี้จะเป็นการแนะนำให้เห็นภาพกว้างๆของประโยคในภาษาญี่ปุ่น โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นมาก่อน

ก่อนจะเข้าสู่บทเรียน คุณควรจดจำศัพท์ 3 คำในตารางข้างล่างนี้ ซึ่งคุณจะได้พบเจอบ่อยในบทเรียนต่อๆไป คุณไม่จำเป็นต้องรู้วิธีอ่านอักษรญี่ปุ่นในตอนนี้ แต่ขอให้จดจำ"คำอ่าน"และ"ความหมาย"ให้ขึ้นใจ

ภาษาญี่ปุ่น คำอ่าน ความหมาย
わたし watashi (วะตะชิ) ฉัน
あなた anata (อะนะตะ) คุณ
です desu (เดสึ) ครับ,ค่ะ

ตารางข้างล่างนี้เป็นชื่อคน คุณไม่จำเป็นต้องจำ ขอให้รู้ว่าคำเหล่านี้เป็นเพียงชื่อเท่านั้น ไม่ได้มีความหมายใดๆ

ภาษาญี่ปุ่น คำอ่าน
たなか tanaka (ทะนะกะ)
なかむら nakamura (นะกะมูระ)

โครงประโยคพื้นฐาน

รูปประโยคพื้นฐานในภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วย "ส่วนหัวเรื่อง" และ "ส่วนแสดง"

  • ส่วนหัวเรื่อง จะต้องลงท้ายด้วยคำว่า は (wa อ่านว่า วะ) เสมอ
  • ส่วนแสดง จะต้องวาง คำกริยา ไว้ท้ายประโยค

ตัวอย่าง 1

watashi wa tanaka desu
วะตะชิ วะ ทะนะกะ เดะสึ
=ฉันคือทะนะกะ
  • ส่วนหัวเรื่องของประโยคนี้ก็คือ "ฉัน" ดังนั้น จึงเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า watashi wa (วะตะชิ + วะ)
  • ส่วนแสดงของประโยคนี้ก็คือ "คือ + ทะนะกะ" ดังนั้น จึงเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า tanaka desu (ทะนะกะ + เดะสึ)

ตัวอย่าง 2

anata wa nakamura desu ka
อะนะตะ วะ นะกะมุระ เดะสึ กะ
=คุณคือนะกะมุระใช่มั๊ย
  • ส่วนหัวเรื่อง คือ "คุณ" เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า anata wa (อะนะตะ + วะ)
  • ส่วนแสดง คือ "คือ + นะกะมุระ" เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า nakamura desu (นะกามูระ + เดสึ)

ตัวอย่าง 3

จำคำศัพท์ต่อไปนี้ก่อนอ่านตัวอย่าง

ภาษาญี่ปุ่น คำอ่าน ความหมาย
きれい kirei (คิเร) สวย
nakamura wa kirei desu
นากามูระ วะ คิเร เดสึ
=นากามูระสวย
  • ส่วนหัวเรื่อง คือ นากามูระ เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า nakamura wa (นากามูระ + วะ)
  • ส่วนแสดง คือ สวย เขียนเป็นภาษาญี่ปุ่นได้ว่า kirei desu (คิเร + เดสึ)

คำช่วย

ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ "คำช่วย" เพื่อบอกหน้าที่ของคำที่นำหน้าคำช่วย

ตัวอย่างเช่น คำว่า は (wa อ่านว่า วะ) ที่เราได้เรียนไปนั้น ถือเป็นคำช่วยที่ใช้บอกหัวเรื่อง ดังนั้น คำใดๆที่อยู่หน้าคำว่า wa จะเป็นหัวเรื่องเสมอ

นอกจากนี้ ภาษาญี่ปุ่นยังมีคำช่วยอื่นๆอีก เช่น を (o อ่านว่า โอะ) เป็นคำช่วยที่ใช้บอกกรรม ดังนั้น คำที่อยู่หน้าคำว่า o จะเป็นกรรมของประโยคเสมอ

คำช่วย คำอ่าน หน้าที่
wa (วะ) บอกหัวเรื่อง
o (โอะ) บอกกรรม

ตัวอย่าง 4

กรุณาจำคำศัพท์ต่อไปนี้ก่อนอ่านตัวอย่าง

ภาษาญี่ปุ่น คำอ่าน ความหมาย
ほん hon (ฮ้ง) หนังสือ
よみます yomimasu (โยมิมัส) อ่าน
"ฉันอ่านหนังสือ"
watashi wa hon o yomu
  • ส่วนหัวเรื่องคือ ฉัน = watashi wa (วะตะชิ วะ).
    • เราใช้คำช่วย "วะ" วางหลังคำว่า "วะตะชิ" เพื่อบอกว่า วะตะชิ เป็นหัวเรื่อง
  • ส่วนแสดงคือ อ่านหนังสือ = hon o yomimasu (ฮง โอะ โยมิมัส)
    • เราใช้คำช่วย "โอะ" วางหลังคำว่า"ฮง" เพื่อบอกว่า ฮง เป็นกรรม

ตัวอย่าง 5

กรุณาจำคำศัพท์ต่อไปนี้ก่อนอ่านตัวอย่าง

ภาษาญี่ปุ่น คำอ่าน ความหมาย
すし sushi (ซูชิ) ข้าวห่อสาหร่าย
たべます tabemasu (ทาเบมัส) กิน
"ทานากะกินข้าวห่อสาหร่าย"
tanaka wa sushi o tabemasu
ทานากะ วะ ซูชิ โอะ ทาเบมัส

ตัวอย่าง 6

มาดูตัวอย่างของคำช่วยอีกคำหนึ่ง

คำช่วย คำอ่าน หน้าที่
e (เอะ) บอกจุดหมายปลายทาง

กรุณาจำคำศัพท์ต่อไปนี้ก่อนอ่านตัวอย่าง

ภาษาญี่ปุ่น คำอ่าน ความหมาย
とうきょう toukyou (โตเกียว) โตเกียว
いきます ikimasu (อิคิมัส) ไป
"ฉันไปโตเกียว"
watashi wa toukyou e ikimasu
วะตะชิ วะ โตเกียว เอะ อิคิมัส
  • เราใช้ คำช่วย"เอะ" วางหลังคำว่า"โตเกียว" เพื่อบอกว่า โตเกียว เป็นจุดหมายปลายทาง

ตัวอย่าง 7

มาดูตัวอย่างของคำช่วยอีกคำหนึ่ง

คำช่วย คำอ่าน หน้าที่
de (เดะ) บอกสถานที่
"ฉันอ่านหนังสือที่โตเกียว"

私は東京で本を読みます

watashi wa toukyou de hon o yomimasu
วะตะชิ วะ โตเกียว เดะ ฮง โอะ โยะมิมะสึ
  • คำช่วย "เดะ" ระบุว่า"โตเกียว" เป็นสถานที่ที่เกิดการกระทำขึ้น (การอ่าน)
  • คำช่วย "โอะ" ระบุว่า"ฮง" เป็นกรรม

ดูเพิ่ม