ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญายุคกลาง"

จาก วิกิตำรา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darrine (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pitpisit (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 49: บรรทัดที่ 49:
# กีรติ บุญเจือ, ย้อนอ่านปรัชญาโบราณของมนุษยชาติ ในชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น, กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2546
# กีรติ บุญเจือ, ย้อนอ่านปรัชญาโบราณของมนุษยชาติ ในชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น, กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2546
# เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาปรัชญาศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
# เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาปรัชญาศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

{{แม่แบบ:ปรัชญา}}


[[หมวดหมู่:ปรัชญา]]
[[หมวดหมู่:ปรัชญา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:03, 3 กุมภาพันธ์ 2559

กระบวนทรรศน์ยุคกลาง (Medieval paradigm)

ปรัชญากระบวนทรรศน์ยุคกลาง (Medieval Philosophy) จำแนกตามพื้นฐานความเชื่อเรื่องโลกหน้าอันเป็นคำสอนทางศาสนาของศาสนาที่นับถือพระเจ้า และศาสนาที่เชื่อว่ามีเทวะ การแบ่งขอบเขตยุคจึงยุ่งยากในแต่ละศาสนา แต่หากพิจารณาเป็นกระบวนทรรศน์ก็แบ่งย่อยไปตามศาสนา

  • กระบวนทรรศน์ยุคกลางของตะวันตก นับจากปี ค.ศ.529 ซึ่งศาสนาคริสต์ได้รับการยกเป็นศาสนาประจำอาณาจักรโรมัน และมีการห้ามนับถือศาสนาอื่น ทำให้อิทธิพลของศาสนาคริสต์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางกว่า 1,000 ปี
  • กระบวนทรรศน์ยุคกลางในศาสนาอิสลามนับเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.622 ซึ่งเป็นปีที่ 1 แห่งฮิจเราะห์ศักราช
  • กระบวนทรรศน์ยุคกลางในศาสนาพุทธ นับเริ่มตั้งแต่ปี ก.ค.ศ.543 ซึ่งเป็นปีที่ 1 แห่งพุทธศักราช


การค้นหาความเป็นจริงตามแนวคิดทางอภิปรัชญาที่เกิดขึ้นตามแนวคิดกระบวนทรรศน์ที่ 3 ยุคกลาง กฎหมายโรมันให้อิสระในการนับถือและเผยแผ่ศาสนา เกิดลัทธิเพลโทว์ใหม่ (Neo-Platonism) เพื่อการประนีประนอมระหว่างปรัชญากับศาสนา World of Idea นำไปสู่ Idea of the Good ซึ่งก็คือ God นั่นเอง

  1. Philo of Alexandria (ก.ค.ศ.15-ค.ศ.50) ใช้ปรัชญาอธิบายพระเจ้าในศาสนายูดาห์ว่า God is absolutely transcendent และ his notion is even more abstract 
  2. Plotinus (ค.ศ.205-270) ใช้ปรัชญาอธิบายศาสนา Zoroaster (Zarathustra ก.ค.ศ.1800-600) ผ่าน The One, the Intellect และ The Soul

ในศาสนาอิสลาม นำปรัชญาไปใช้อธิบายศาสนา ดังนี้

  1. Avicenna (Ibn-Sina ค.ศ. 980-1037) ใช้แนวคิดการฟุ้งออก (emanation) จากพระเจ้าตามแนวคิด Neo-Platonism และ การแยกระหว่าง essense กับ existence ตามแนวคิด Aristotelianism
  2. Averroes (Ibn Rushd ค.ศ.1126-1198) ใช้แนวคิดของ Aristotle คัดค้านแนวคิดของ Avicenna และเสนอว่า individual existing substances are primary และ existence and essence are one

ในศาสนายูดาห์ นำปรัชญาไปใช้อธิบายศาสนา ดังนี้

  1. Avicebron (Solomon ibn Gabirol ค.ศ. 1022-1070) ใช้แนวคิด Neo-Platonism เสนอว่า all created being are constituted of form and matter และ มี physical world กับ spiritual world


ในศาสนาคริตส์ นำปรัชญาไปใช้อธิบายศาสนา ดังนี้

อภิปรัชญาของเซนต์ออเกิสทีน (St. Augustine ค.ศ.345-430) เห็นว่าปรัชญาของเพลโทว์ซึ่งผ่านมาทางโพลทายเนิส อาจจะนำมาใช้อธิบายความเชื่อในคริสต์ศาสนาได้ โดยปรับการล้นขององค์เอกะมาเป็นวิญญาณของมนุษย์แต่ละคนเป็นสิ่งสร้างของพระเจ้า ไม่ใช่ส่วนหนึ่งชองพระเจ้าซึ่งล้นออกมา คำสอนเรื่องพระตรีเอกภาพในคริสต์ศาสนา ซึ่งถือว่าพระเจ้าเดียวมีสามบุคคล (Doctrine of The Trinity) คือ พระบิดา พระบตร และพระจิต (พระวิญญาณบริสุทธ์) อธิบายด้วยปรัชญาของเพลโทว์ได้ คือ พระบุตรเป็นพระปัญญาของพระบิดา และพระจิตเป็นความรักระหว่างพระบิดากับพระบุตร ทั้งสามเป็นพระเจ้าองค์เดียว สิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายที่เป็นหน่วยเฉพาะ ย่อมมีความเป็นจริงแท้อยู่ในที่แห่งเดียวกัน คือ ในพระปัญญา พระเจ้าทรงมีแผนการสร้างไว้เรียบร้อยทุกอย่างแล้ว สิ่งต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นมาตามแผนการนี้ จะออกนอกลู่ทางไปไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีกฎเกณฑ์ประสานกันเรียบร้อยเป็นระบบจักรวาล (Cosmos)

  • ความรู้มีค่าที่สุด หรือความรู้เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าและวิญญาณ ความรู้ประเภทอื่นจะมีค่าก็ต่อเมื่อนำมาสนับสนุนความรู้เกี่ยวกับพระเจ้า เพื่อให้เข้าใจพระเจ้าเท่านั้น
  • เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องเข้าใจสิ่งที่ตนเองเชื่ออย่างแน่วแน่ และพยายามหาพื้นฐานของศรัทธาด้วยเหตุผล การมีศรัทธานั้นก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เชาว์ปัญญาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ จะรู้แจ้งได้ต้องอาศัยรู้ด้วยตนเองหรือมีปัญญาอย่างแท้จริง ดังนั้นปัญญาที่รู้แจ้งเช่นนี้สามารถจะรู้เรื่องพระเจ้าและวิญญาณได้
  • พระเจ้าเป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้า พระองค์เป็นอยู่นิรันดร และตามหลักจริยศาสตร์ของท่านกล่าวว่า เมื่อจิตใจมั่นคงอยู่กับพระเจ้า ก็คือการได้เห็นพระเจ้านั่นเอง ชีวิตในโลกนี้ของคนเราเป็นเพียงทางบำเพ็ญบุญ เพื่อเข้าถึงพระเจ้าเท่านั้น เราจะเข้าถึงพระเจ้าได้เพราะความรัก ความรักจึงเป็นคุณธรรมสูงสุด และความยุติธรรมคือการรับใช้พระเจ้า

อภิปรัชญาของเซนต์ ธามเมิส อไควเนิส (St. Thomas Aquinas ค.ศ. 1225-1274) ได้ศึกษาปรัชญาของแอร์เริสทาทเทิลและยืนยันว่าสามารถช่วยให้เข้าใจความเป็นจริงตามแนวทางศาสนาคริตส์ได้ ใช้ปรัชญาของ Aristotle ว่า God is the maker of heaven and earth, of all that is visible and invisible เน้นว่าความเป็นจริงทั้งหลายนั้นก็คือพระเจ้านั่นเอง พระเป็นเจ้าจึงเป็นกฎเกณฑ์แห่งความจริงทั้งหลาย และทรงเป็นแบบของความจริงทั้งหลาย

  • Faith and reason complement rather than contradict each other, each giving different views of the same truth
  • ปรัชญาจึงเริ่มจากความจริงไปยังพระเจ้า ส่วนในด้านเทววิทยาจะเริ่มจากพระเจ้าไปหาความจริง ระหว่างเหตุผลกับความเชื่อนั้น
  • ความดีกับความงามเป็นอันเดียวกัน
  • ความรู้จริง คือ ความรู้จากความคิดอย่างลึกซึ้ง ทั้งที่เป็นสากลและเฉพาะ รูปแบบทางปัญญาของท่านนั้นเรียกว่าบ่อเกิดความรู้

นักอภิปรัชญากระบวนทรรศน์ที่ 3 ช่วงหลังไม่ว่าจะนับถือศาสนาคริสต์ อิสลามหรือยูดาห์ ถือเป็นแนวคิดร่วมกันว่าเอาปรัชญาของแอร์เริสทาทเทิลเป็นหลัก แต่ไม่เห็นด้วยว่าความเป็นจริงในเอกภพเกิดจากการผสมของธาตุ 4 จึงแปลงให้เข้ากับความเชื่อเรื่องพระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสิ่งในเอกภพ ในการสร้างพระองค์ทรงมีแผนการสร้างอันมีระเบียบตามพระสัพพัญญู (Providence) สิ่งสร้างทั้งหลายแบ่งออกเป็น 2 ระดับใหญ่ คือ ระดับสสารและระดับจิต โดยมีมนุษย์เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสสารกับจิต สสารเป็นเนื้อเดียว แต่ต่างกันที่รูปแบบซึ่งเรียงลำดับชั้นตามแผนการสร้างของพระองค์คือ วัตถุ พืช สัตว์ มนุษย์และเหนือมนุษย์ขึ้นไปก็มีเทวดาซึ่งมีการลดหลั่นชั้นต่าง ๆ จากต่ำไปหาสูง

ช่วงเปลี่ยนถ่ายความคิดทางปรัชญานี้มีการกระทบกระทั่งกันของนักปรัชญาทั้งสองฝ่าย ต่างฝ่ายต่างนำเสนอเพื่อให้ฝ่ายตนชนะว่าเป็นระบบเครือข่ายที่ตอบสนองต่อแนวทางปกครองโดยศาสนจักร เนื่องจากหลักค้ำประกันความเป็นจริงถูกเสริมความเข้มแข็งด้วยวิวรณ์ทางศาสนา ใครคิดเห็นไม่ตรงกันจึงถูกกล่าวโทษ โดยมีการจัดตั้งศาลศาสนา (inquisition) ระหว่าง ค.ศ. 1231 - 1834 เพื่อไต่สวนลงโทษผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีความคิดเห็นขัดแย้งกับคำสอนในศาสนาคริสต์

คำถามสำคัญแห่งยุค คือ การประนีประนอมปรัชญากับศาสนาทำได้อย่างไร

  • ไม่มีการประนีประนอม ศาสนาประเสริฐกว่าปรัชญา อย่าเสียเวลาสนใจปรัชญา พึงเร่งบำเพ็ญกุศลอย่างเคร่งครัด
  • ประนีประนอมด้วยลัทธิเพลโทว์ใหม่ (Neo-Platonism)
  • ประนีประนอมด้วยลัทธิอย่างอริสโตเติล (Aristotelianism)
  • เกิดแนวคิด Si Vis Pacem, Para Bellum

อ้างอิง

  1. กีรติ บุญเจือ, ย้อนอ่านปรัชญาโบราณของมนุษยชาติ ในชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น, กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2546
  2. เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาปรัชญาศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.