ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญาหลังนวยุค"

จาก วิกิตำรา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
คำผิด ม่ง เป็น มุ่ง,ชีปนา เป็น ขีปนา
นักมวยไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
แอบมองเธออยู่นะจ๊ะแต่เธอไม่รู้บ้างเลย
'''กระบวนทรรศน์ที่ 5 กระบวนทรรศน์หลังนวยุคนิยม (Postmodern paradigm)'''

แอบส่งใจให้นิดนิดแต่ดูเธอช่างเฉยเมย

เอาหละเตรียมใจไว้หน่อยมันจะหัวก้อยต้องเสี่ยงกัน

Yeah Yeah Yeah

คนน่ารักก็เยอะนะที่เดินอยู่ทั่วๆไป

คนธรรมดาอย่างฉันนะเธอคงจะไม่สนใจ

เอาหละเตรียมใจไว้เถอะเราเองก็ชักเริ่มไม่แน่ใจ

Yeah Yeah Yeah

เหมือนว่าฉันนั้นเคว้งคว้างลอยไปกับเสียงเพลง

ยังคงบรรเลงไม่มีวันเลือนลาง

เพราะไม่รู้ว่าเค้านั้นในใจแอบคิดอะไร

ยังคงกังวลไม่แน่ใจในคำตอบนั้น

เพราะยังไงก็ต้องเสี่ยงรักไม่รักก็ต้องเสี่ยง

Come on Come on Come on Come on baby

ให้คุกกี้ทำนายกัน

Koisuru Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอความหวังที่ยังรออยู่

Hey Hey Hey

เผื่อจะดีลองวัดกันดู

เสี่ยงแต่คงต้องยิ้มต้องสู้กันไป

Haato no Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอหัวใจของเธอข้างใน

Hey Hey Hey

Hey Hey Hey

รักไม่รักจะรักไม่รักก็ลองเสี่ยงดูอีกสักนิด

ปาฏิหาริย์และดวงชะตาอาจทำให้เราไม่คาดคิด

ฉันมั่นใจว่าเราจะเป็นดั่งฝัน

ในวันแห่งความรักสักวันนึง

อยากบอกเธอว่ารักแต่กลัวเธอนั้นเฉยเมย

อยากบอกเธอให้รู้แต่ใจไม่กล้าซะเลย

เธอจะรักฉันหรือเปล่าไม่อาจเดาได้เลยสักที

Yeah Yeah Yeah

รู้ทั้งรู้ว่าเค้าใช้อะไรตัดสินใจ

ต้องน่ารักใช่มั้ยที่ใครเค้าคิดกัน

ฉันขอแค่ให้เค้าลองมองที่ข้างใน

คงจะดีถ้ามีใจให้กับฉัน

เพราะยังไงก็ต้องเสี่ยงรักไม่รักก็ต้องเสี่ยง

Please Please Please oh baby

เป็นเช่นไรก็เป็นกัน

Koisuru Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอความหวังที่ยังรออยู่

Hey Hey Hey

เผื่อจะดีลองวัดกันดู

เสี่ยงแต่คงต้องลุ้นต้องลองกันบ้าง

Namida no Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิจบสุดท้ายอย่างดีแค่มีน้ำตา

Hey Hey Hey

Hey Hey Hey

คิดแต่เรื่องดีดีก็โลกใบนี้เต็มไปด้วยความรัก

น้ำตาไหลออกมาก็ธรรมดาอย่าไปซีเรียสนัก

สายลมของพรุ่งนี้จะพาให้เรา

ได้เจอกับความรักซักวันนึง

Come on Come on Come on Come on baby

ให้คุ้กกี้ทำนายกัน

Koisuru Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอความหวังที่ยังรออยู่

Hey Hey Hey

เผื่อจะดีลองวัดกันดู

เสี่ยงแต่คงต้องยิ้มต้องสู้กันไป

Haato no Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอหัวใจของเธอข้างใน

Hey Hey Hey

Hey Hey Hey

รักไม่รักจะรักไม่รักก็ลองเสี่ยงดูอีกสักนิด

ปาฏิหาริย์และดวงชะตาอาจทำให้เราไม่คาดคิด

ฉันมั่นใจว่าเราจะเป็นดั่งฝัน

ในวันแห่งความรักสักวันนึง'''กระบวนทรรศน์ที่ 5 กระบวนทรรศน์หลังนวยุคนิยม (Postmodern paradigm)'''


ปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุค (Post-Modern Philosophy) เป็นกระแสที่ไม่มีขอบเขตเริ่มต้นชัดเจน แต่เป็นการปรับท่าทีต่อการใช้ปรัชญาโดยชี้ว่าปัญหาใหญ่ของโลกเช่นสงครามโลกล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่น (attachment) ของผู้ถือปรัชญายุคก่อนหน้าทั้งสิ้น
ปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุค (Post-Modern Philosophy) เป็นกระแสที่ไม่มีขอบเขตเริ่มต้นชัดเจน แต่เป็นการปรับท่าทีต่อการใช้ปรัชญาโดยชี้ว่าปัญหาใหญ่ของโลกเช่นสงครามโลกล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่น (attachment) ของผู้ถือปรัชญายุคก่อนหน้าทั้งสิ้น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:38, 9 ธันวาคม 2560

แอบมองเธออยู่นะจ๊ะแต่เธอไม่รู้บ้างเลย

แอบส่งใจให้นิดนิดแต่ดูเธอช่างเฉยเมย

เอาหละเตรียมใจไว้หน่อยมันจะหัวก้อยต้องเสี่ยงกัน

Yeah Yeah Yeah

คนน่ารักก็เยอะนะที่เดินอยู่ทั่วๆไป

คนธรรมดาอย่างฉันนะเธอคงจะไม่สนใจ

เอาหละเตรียมใจไว้เถอะเราเองก็ชักเริ่มไม่แน่ใจ

Yeah Yeah Yeah

เหมือนว่าฉันนั้นเคว้งคว้างลอยไปกับเสียงเพลง

ยังคงบรรเลงไม่มีวันเลือนลาง

เพราะไม่รู้ว่าเค้านั้นในใจแอบคิดอะไร

ยังคงกังวลไม่แน่ใจในคำตอบนั้น

เพราะยังไงก็ต้องเสี่ยงรักไม่รักก็ต้องเสี่ยง

Come on Come on Come on Come on baby

ให้คุกกี้ทำนายกัน

Koisuru Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอความหวังที่ยังรออยู่

Hey Hey Hey

เผื่อจะดีลองวัดกันดู

เสี่ยงแต่คงต้องยิ้มต้องสู้กันไป

Haato no Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอหัวใจของเธอข้างใน

Hey Hey Hey

Hey Hey Hey

รักไม่รักจะรักไม่รักก็ลองเสี่ยงดูอีกสักนิด

ปาฏิหาริย์และดวงชะตาอาจทำให้เราไม่คาดคิด

ฉันมั่นใจว่าเราจะเป็นดั่งฝัน

ในวันแห่งความรักสักวันนึง

อยากบอกเธอว่ารักแต่กลัวเธอนั้นเฉยเมย

อยากบอกเธอให้รู้แต่ใจไม่กล้าซะเลย

เธอจะรักฉันหรือเปล่าไม่อาจเดาได้เลยสักที

Yeah Yeah Yeah

รู้ทั้งรู้ว่าเค้าใช้อะไรตัดสินใจ

ต้องน่ารักใช่มั้ยที่ใครเค้าคิดกัน

ฉันขอแค่ให้เค้าลองมองที่ข้างใน

คงจะดีถ้ามีใจให้กับฉัน

เพราะยังไงก็ต้องเสี่ยงรักไม่รักก็ต้องเสี่ยง

Please Please Please oh baby

เป็นเช่นไรก็เป็นกัน

Koisuru Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอความหวังที่ยังรออยู่

Hey Hey Hey

เผื่อจะดีลองวัดกันดู

เสี่ยงแต่คงต้องลุ้นต้องลองกันบ้าง

Namida no Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิจบสุดท้ายอย่างดีแค่มีน้ำตา

Hey Hey Hey

Hey Hey Hey

คิดแต่เรื่องดีดีก็โลกใบนี้เต็มไปด้วยความรัก

น้ำตาไหลออกมาก็ธรรมดาอย่าไปซีเรียสนัก

สายลมของพรุ่งนี้จะพาให้เรา

ได้เจอกับความรักซักวันนึง

Come on Come on Come on Come on baby

ให้คุ้กกี้ทำนายกัน

Koisuru Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอความหวังที่ยังรออยู่

Hey Hey Hey

เผื่อจะดีลองวัดกันดู

เสี่ยงแต่คงต้องยิ้มต้องสู้กันไป

Haato no Fortune Cookie

มาลุ้นดูสิอาจจะเจอหัวใจของเธอข้างใน

Hey Hey Hey

Hey Hey Hey

รักไม่รักจะรักไม่รักก็ลองเสี่ยงดูอีกสักนิด

ปาฏิหาริย์และดวงชะตาอาจทำให้เราไม่คาดคิด

ฉันมั่นใจว่าเราจะเป็นดั่งฝัน

ในวันแห่งความรักสักวันนึงกระบวนทรรศน์ที่ 5 กระบวนทรรศน์หลังนวยุคนิยม (Postmodern paradigm)

ปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุค (Post-Modern Philosophy) เป็นกระแสที่ไม่มีขอบเขตเริ่มต้นชัดเจน แต่เป็นการปรับท่าทีต่อการใช้ปรัชญาโดยชี้ว่าปัญหาใหญ่ของโลกเช่นสงครามโลกล้วนเกิดจากความยึดมั่นถือมั่น (attachment) ของผู้ถือปรัชญายุคก่อนหน้าทั้งสิ้น จุดสะดุดสำคัญ คือ สงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่าง ค.ศ.1914-1918 ชนวนสำคัญคือนโยบายจักรวรรดินิยมที่แย่งชิงการมีอิทธิพลเหนือผลประโยชน์ในดินแดนต่างๆ จนมีกองกำลังเสียชีวิตรวม 10 ล้านคน บาดเจ็บ 20 ล้านคน สูญหาย 8 ล้านคน และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิเยอรมันต้องล่มสลายลง จุดสะดุดที่เป็นฟางเส้นสุดท้ายบนหลังลาคือ สงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1939-1945 กองกำลังเสียชีวิตรวม 24 ล้านคน พลเรือนเสียชีวิต 49 ล้านคน และจบสงครามด้วยการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ซึ่งเป็นความก้าวหน้าล่าสุดของวิทยาศาสตร์ในขณะนั้น มนุษยชาติจึงพากันตระหนักว่าโลกไม่อาจรองรับสงครามโลกครั้งที่ 3 ได้อย่างแน่นอน

การค้นหาความเป็นจริงตามแนวคิดทางอภิปรัชญาที่เกิดขึ้นตามแนวคิดกระบวนทรรศน์ที่ 5 หลังนวยุค เกิดจากการค้นความเป็นจริงด้วยแนวทางวิทยาศาสตร์ที่ค้านต่อความตายตัวของกฎฟิสิกส์ที่ควบคุมตรงไปตรงมา และกระบวนการทางสังคมที่ต่อต้านนวยุคภาพ รวมถึงวจนศูนย์นิยม ปรัชญามองว่าความรุนแรงของสงครามเกิดจากการพัฒนาวิทยาศาสตร์เข้มข้นตามปรัชญาสมัยใหม่ (modern philosophy) นักอภิปรัชญาในกระบวนทรรศน์หลังนวยุคซึ่งส่วนหนึ่งเป็นนักอภิปรัชญาจากปลายนวยุคเริ่มมองว่าความเป็นจริงที่กล่าวอ้างนั้นเป็นเพียงความเชื่อถือทางภาษาเท่านั้น และไม่เชื่อว่ามนุษย์สามารถรู้ความจริงเชิงวัตถุวิสัยได้และความรู้ที่ได้ก็เป็นเพียงความเชื่อทางภาษาเท่านั้น กระแสหลังนวยุคแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะข้อกังขา ระยะรื้อทิ้ง (deconstructionism) และระยะรื้อสร้างใหม่ (reconstructionism)


  • กระแสข้อกังขา

อภิปรัชญาของฮายเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg ค.ศ.1901-1976) หลักความไม่แน่นอนที่เขาตั้งขึ้นได้สะเทือนถึงหลักค้ำประกันความเป็นจริงของระบบเครือข่ายตามกระบวนทรรศน์นวยุค เพราะเป็นการค้นพบที่นอกเหนือไปกว่ากฎวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบกันอยู่ แต่ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนใดที่จะสรุปเป็นกฎหรือพยากรณ์ได้ผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์ หากแต่เป็นความจริงที่ค้นพบ หลักการความไม่แน่นอนนี้จึงทำให้ทฤษฎีแควนเทิม (Quantum theory) ซึ่งแสดงความตายตัวของอนุภาคซึ่งเป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง กฎฟิสิกส์ที่ควบคุมตรงไปตรงมา และแสดงการพยากรณ์ที่ได้รับการยอมรับในยุคแรกของกระบวนทรรศน์นวยุค เป็นหลักค้ำประกันความจริงบนระบบเครือข่ายที่ใช้วิธีการวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์สิ่งต่างๆ เกิดการสั่นไหวอย่างรุนแรง เพราะความไม่แน่นอนทำให้ไม่อาจพยากรณ์ได้

อภิปรัชญาของแรมซีย์ (Frank Ramsey ค.ศ.1903-1930) ได้แสดงว่าความน่าจะเป็นคือระดับวัดความเชื่อของผู้ใช้เหตุผล แม้ว่าความน่าจะเป็นจะมีค่าสูงเท่าใด และเชื่อว่าใกล้เคียงกับความจริงวัตถุวิสัยที่สุด แต่สำหรับผู้ใช้เหตุผลก็เป็นเพียงระดับความเชื่อถือต่อข้อมูลที่ได้ เพราะการใช้ข้อมูลของบุคคลเป็นเหตุผลทางจิตวิทยา ซึ่งไม่อาจใช้สูตรคำนวณได้ มนุษย์มีสิทธิที่จะทำหรือไม่ทำตามความน่าจะเป็นของข้อมูลที่คำนวณได้ ขึ้นกับระดับความเชื่อต่อข้อมูลในเรื่องนั้นๆ เป็นการใช้ความน่าเชื่อถือตามความรู้สึกของตน โดยไม่ต้องสนใจว่าคนอื่นจะมีความแน่ใจระดับใดในเรื่องเดียวกัน

อภิปรัชญาของเวสเทอร์มาร์ก (Edvard Westermarck ค.ศ.1862-1939) ได้ชี้ว่าหลักจริยธรรมเป็นสัมพัทธ์ตามวัฒนธรรมของสังคมที่ตนจำกัดอยู่ กฎจริยศาสตร์เป็นอัตวิสัยเกิดจากอาเวค (emotion) ไม่ใช่จากเหตุผล หน้าที่ของจริยศาสตร์จึงไม่ใช่การวางกฎเกณฑ์สำหรับความประพฤติ แต่ต้องค้นคว้าหาข้อมูลของความสำนึกทางศีลธรรม มนุษย์คิดว่ากฎจริยธรรมเป็นหลักตายตัวก็เพราะขีปนา (projection) อาเวคศีลธรรมเป็นวัตถุวิสัย ก็เพราะได้รับการหนุนโดยศาสนา ประเพณี และอุดมคติ วัตถุวิสัยนิยมทางจริยศาสตร์ก็คือการยืนยันว่าหลักเกณฑ์การตัดสินดีชั่วที่สมมติว่ามีอยู่จริงนอกความคิดเห็นของบุคคลแต่ละคน บุคคลแต่ละคนอาจจะเข้าใจผิดหรือไม่ก็ตัดสินไปโดยพละการอย่างผิดๆ ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อความเที่ยงตรงของหลักเกณฑ์ที่สมมติไว้ แต่อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ที่สมมติกันขึ้นมานี้ก็มีต่างๆ กันไปตามแต่พื้นฐานของระบบสังคมนั้นๆ ทำให้มีหลักเกณฑ์หลากหลาย ซึ่งหากมีหลักเกณฑ์ที่หลากหลายเสียแล้วจะถูกไปหมดทุกระบบย่อมเป็นไปไม่ได้ ต่างระบบต่างก็มีเหตุผลและข้อบกพร่องของตน ดังนั้นจริยศาสตร์จึงเป็นเรื่องอัตวิสัย

อภิปรัชญาของวิทเกินชทายน์ (Ludwig Wittgenstein ค.ศ.1889-1951 ) ภาษาพัฒนาไปตามความสำนึก ความสำนึกทั้งหลายของมนุษย์มีหลากหลายแต่แสดงออกผ่านทางภาษา ภาษาที่ใช้กันก็คือภาษาสามัญ ซึ่งเป็นภาษาของสังคมและเพื่อสังคม มนุษย์ไม่สามารถใช้ภาษาส่วนตัวของใครของมันในการสื่อสาร เพราะจะไม่มีทางเข้าใจร่วมได้ การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมต้องการสื่อสารถึงกัน จึงพัฒนาภาษามาเป็นเครื่องมือ ภาษาสามัญเป็นภาษาสังคมและมีความหมายลึกซึ้งอยู่ในตัว ซึ่งภาษาอุดมคติทำได้ในขอบเขตจำกัดมาก ดังนั้นควรหาความหมายจากภาษาสามัญด้วยทฤษฎีภาพ (picture theory) เพราะว่าความหมายของภาษาอาจเป็นไปอย่างแท้จริง หรือหลอกลวงเราไว้แต่แรกก็ได้ เราจึงต้องใช้ประโยคที่มุ่งแสดงความสัมพัทธ์กับโลกแห่งความเป็นจริง

อภิปรัชญาของเฮเกล (Friedrich Hegel ค.ศ.1770-1831 ) มองว่าความรู้ทั้งหลายที่เราคิดว่าเป็นความจริงและความเป็นจริงล้วนแต่ตรงกับระบบเครือข่ายตรรกะ ดังนั้นจึงเป็นระบบเครือข่ายตรรกะนั่นเองที่ขีปนาออกไปภายนอกความคิด แม้แต่จิตของเราก็เป็นเพียงขีปนาการของจิตดวงใหญ่ดวงเดียวกันทั้งสิ้นที่ขีปนาตัวเองออกเพื่อมีการชนะอุปสรรค จะได้ก้าวหน้า ดังนั้นความเป็นจริงมีแต่จิตและขีปนาการของจิต ความจริงคือการสร้างสรรค์ของจิตเท่านั้น


  • กระแสรื้อถอน

อภิปรัชญาของนีทเฌอ (Friedrich Nietzsche ค.ศ.1844-1900) แสดงอภิปรัชญาผ่านเรื่อง “พระเจ้าตายแล้ว” และชี้ว่าความเป็นจริงเป็นพลังที่แสวงหาอำนาจอย่างตาบอด ไม่อยู่นิ่งตายตัวและไม่เป็นระบบระเบียบ และอภิปรัชญาที่ว่าความจริงอันติมะ ซึ่งได้แก่เจตจำนงที่เป็นพลังตาบอด ไม่ใช่จิตที่รู้คิดด้วยปัญญาเหตุผล การดิ้นรนของเจตจำนงไม่จำเป็นต้องประสานกันเป็นระบบ เพราะแต่ละอย่างที่เกิดขึ้น ขึ้นกับว่าขณะนั้นพลังดิ้นรนกำลังดิ้นรนไปทางไหนตามยถากรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับอดีตและไม่จำเป็นต้องมีแผนสู่อนาคต ความเป็นสากลเป็นเพียงสถิติบันทึก การเอาจริงเอาจังกับกฎสากลจึงเป็นการหลงใหล การสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นธรรมชาติจึงเป็นการบิดเบือนและหลอกตนเองของมนุษย์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำจัดทิ้งไปเพื่อให้มนุษย์ได้มีความคิดเสรีไร้พันธะ

อภิปรัชญาของซาร์ต (Jean Paul Sartre ค.ศ.1905-1980) เน้นว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตนตามแนวทางอัตถิภาวะนิยม (Existentialism) มีเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน และเสนอแนวทาง 3 กล้า ได้แก่

  1. กล้าเผชิญปัญหา
  2. กล้าประเมินวิธีปฏิบัติ
  3. กล้าลงมือทำด้วยความรับผิดชอบ

อภิปรัชญาของฟูโกลต์ (Michel Foucault ค.ศ.1926-1984) มองว่าจิตขีปนาความเป็นจริงและความจริงให้กับสังคม ซึ่งก็คือความต้องการของผู้มีอำนาจในสังคมที่ขีปนาออกมา ปัญญาชนในแต่ละยุคเป็นผู้กำหนดความคิดของสังคมก็เป็นไปตามความต้องการของผู้มีอำนาจที่สนับสนุนปัญญาชนนั้นๆ อยู่


  • กระแสรื้อสร้างใหม่

อภิปรัชญาของเกิทซ์ (Clifford Geertz) นิยามวัฒนธรรมว่าเป็นชุดหนึ่งของสัญญะที่กำหนดกรอบชีวิต มนุษย์สากลไม่มีจริง สิ่งสากลทางวัฒนธรรมอันได้แก่ความเชื่อร่วมกันของมนุษย์ทุกคนก็ไม่มีจริง เพราะว่าค้นหาไม่พบ สิ่งที่พบก็คือความแตกต่าง มีศาสนาหลายรูปแบบที่ยึดถือความเชื่อแตกต่างกัน ความเชื่อถือและการปฏิบัติก็แตกต่างกัน ยังไม่พบรูปแบบร่วมของการปฏิบัติตนในสังคมจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน นั่นคือไม่พบหนทางที่จะเป็นสังคมสมบูรณ์แบบตามแนวคิดนวยุคนิยม มนุษย์คือที่รวมของความหลากหลาย คือพร้อมที่จะเรียนรู้ และเข้าใจวัฒนธรรมอื่นๆ โดยที่มนุษย์เองยังมีความสามารถในการปรับตัวตามวัฒนธรรมต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาและเห็นว่าดีได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัดใดๆ เจตจำนงเลือกอย่างเสรีเป็นเครื่องมือธรรมชาติที่สำคัญ ร่วมกับความสามารถจำอย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้มนุษย์จำการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมได้ สามารถรวบรวมไว้ปฏิบัติและถ่ายทอดสืบต่อมาด้วยภาษาและการปฏิบัติเป็นตัวอย่าง กลายเป็นประเพณีและวัฒนธรรมประจำสังคมนั้นๆ


สรุปได้ว่าแนวความคิดหลักของกระบวนทรรศน์หลังนวยุคเชื่อว่า ความเป็นจริงที่กล่าวอ้างนั้นเป็นเพียงความเชื่อถือทางภาษาเท่านั้น และไม่เชื่อว่ามนุษย์สามารถรู้ความจริงเชิงวัตถุวิสัยได้และความรู้ที่ได้ก็เป็นเพียงความเชื่อทางภาษาเท่านั้น จึงมีทรรศนะต่อระบบความรู้ว่าเป็นเรื่องเล่า (narrative) เรื่องหนึ่งเท่านั้น ซึ่งนิยมแบ่งเรื่องเล่าออกเป็นยุคก่อนนวยุคนิยม(ยุคโบราณ ยุคกลาง) ที่นิยมทำภาษาให้มีความหมายด้วยเรื่องปรัมปรา(myth) และเรื่องเล่า (narrative) โดยเชื่อว่ามีความหมายตรงกับความเป็นจริงอยู่บ้าง แต่ไม่มีความเป็นจริงวัตถุวิสัยอย่างแท้จริง เพราะมีส่วนอัตวิสัยของผู้เล่านำเข้ามาแทรกไว้ ต่อมาเมื่อมาถึงนวยุคนิยมก็พยายามปลดเปลื้องภาษาจากความหมายปรัมปราและเรื่องเล่า เพราะถือว่ามีความหมายไม่ตรงกับความเป็นจริง ตามความเชื่อของนวยุคนิยมที่ว่า มีความจริงวัตถุวิสัยในระบบความรู้ ซึ่งความรู้ที่เชื่อว่าความจริงต้องมีวัตถุวิสัยที่ตรงกัน 3 อย่าง คือ ความเป็นจริง ความคิด และภาษา เป็นระบบเครือข่าย (systematic network) ของนวยุคภาพ และได้สร้างความหมายใหม่ให้กับภาษาด้วยเหตุผล (อุปนัยและนิรนัย) และระบบที่ทำให้ความหมายเก่าที่มีความหมายโฉมหน้าใหม่

นักปรัชญาและชาวหลังนวยุคไม่เชื่อว่ามนุษย์เราสามารถรู้ความจริงวัตถุวิสัย และเชื่อว่าภาษาไม่สามารถสื่อความจริง ดังเช่นนวยุคภาพพยายามวิจารณ์และขจัดเรื่องปรัมปรา และเรื่องเล่าของศาสนาคริสต์ออกจากความรู้ยุคกลาง แต่ก็ทำไม่สำเร็จเพราะในที่สุดชาวนวยุคก็สร้างเรื่องปรัมปราใหม่ขึ้นมาแทน คือสร้างวิธีคิดด้วยระบบเหตุผลขึ้นมา และให้มีอำนาจแทนพระเจ้า ความรู้ที่นวยุคเสนอออกมาด้วยเหตุผลก็เป็นเพียงเรื่องเล่าอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องเล่าประเภทสร้างความเชื่อถือให้กับความรู้ด้วยอำนาจของเหตุผล

กระบวนทรรศน์หลังนวยุคนิยมพยายามปลดเปลื้องความหมายของภาษาให้พ้นไปจากพันธะนี้โดยการรื้อถอนความหมาย และคัดเอาความหมายที่ติดข้องอยู่กับเหตุผลและระบบออกทิ้งไปให้เหลือแต่ความหมายที่มีคุณค่าจริง ๆ ไว้ จากนั้นสร้างความหมายใหม่ให้กับภาษา ด้วยการวางใจเป็นกลางให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยใช้วิธีการย้อนอ่านใหม่ทั้งหมดและแสวงหาความหมายใหม่จากเรื่องปรัมปรา และเรื่องเล่าตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ กระบวนทรรศน์หลังนวยุคมุ่งที่จะแก้จุดบกพร่องของกระบวนทรรศน์ในอดีตให้ได้ จะต้องแก้ไขประเด็นที่เอื้อสงครามและสนับสนุนประเด็นส่งเสริมสันติภาพ ส่งเสริมวิถีทางที่มนุษย์ควรจะดำรงอยู่ในโลกได้อย่างสันติสุข เพราะแนวคิดต่างๆ จากกระบวนทรรศน์ทั้ง 4 กระบวนทรรศน์ก็ยังมีประเด็นที่เอื้อต่อสงครามคือความยึดมั่นถือมั่น (attachment) กล่าวคือ ใครเชื่อปรัชญาระบบใดก็จะคิดตามระบบนั้นระบบเดียวเป็นความจริงถูกต้อง มีประโยชน์ ระบบอื่น ๆ ล้วนแต่เท็จ ผิด หลงประเด็น ให้โทษทั้งนั้น

วิถีทางที่จะทำให้เกิดความสันติสุขได้นั้น จะต้องไม่มีการยึดมั่นถือมั่น ซึ่ง ศ.กีรติ บุญเจือ ได้กล่าวไว้ว่า การยึดมั่นถือมั่นเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งแยก การแบ่งแยกเป็นเหตุให้เกิดการแข่งขัน การแข่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่ไว้ใจกัน ความไม่ไว้ใจกันเป็นเหตุให้เกิดการทำลายกัน แนวทางที่ควรส่งเสริมและสนับสนุนคือ ควรหันหน้ามาปรึกษาหารือกันให้รอบคอบและเปิดโอกาสให้พิจารณารับส่วนดีจากทุกส่วนทุกทางสามารถร่วมมือกันได้โดยไม่ต้องคิดเหมือนกัน สร้างบรรยายกาศเอกภาพในความหลากหลายและช่วยเสริมกันและกัน โดยความไม่ยึดมั่นถือมั่นนำไปสู่การแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ การแบ่งหน้าที่ฯนำไปสู่การส่งเสริมกัน การส่งเสริมกันนำไปสู่ความไว้ใจกัน ความไว้ใจกันนำไปสู่ความร่วมมือกัน ความร่วมมือกันนำไปสู่สันติภาพ แนวทางการสร้างกระบวนทรรศน์ใหม่นี้น่าจะเป็นแนวทางที่ส่งเสริมสันติสุขของโลกได้ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากความรู้ได้อย่างถูกต้องที่สุดในแนวทางของการแสวงหาความรู้ของปรัชญา

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเท่านั้นที่ให้ความเข้าใจและความรู้อย่างถ่องแท้ และทำให้สมรรถภาพคิดเติบใหญ่ขึ้น กระบวนการหาความรู้อย่างหนึ่งที่ใช้อยู่อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อความที่ได้ชี้แนะแนวทางไว้ว่าหากต้องการหาความรู้อย่างถ่องแท้ควรดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถพัฒนาสมรรถภาพการคิดให้กว้างขวางเติบโตมากขึ้นได้ กลุ่มคำกลุ่มนี้เป็นเสมือนญาณปรัชญา


กระแสรื้อสร้างใหม่ด้วยการวิจารณญาณ

  • หลักอยู่ที่การประนีประนอมด้วยแนวคิดที่ว่าย้อนอ่านทั้งหมด ไม่ปฏิเสธสิ่งใด (reread all, reject none)
  • เน้น Critical thinking ตามแนวคิดของ Vienna Circle ได้แก่ analysis, appreciation, application
  • เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิต In postmodern world, we have begun to talk not about life itself, but the quality of life (Ette, E.K. 2009. Annang Wisdom: tools for postmodern living. Xlibris, USA; p.452)
  • การมุ่งความสุขแท้ตามความเป็นจริง Authentic Happiness according to reality (Kirti, B., Fangton, L., Xuanmeng, Y., Wujin, Y. (1999). The bases of values in a time of change: chinese and western. Cutural heritage and contemporary change. Series III, Asia; vol 17; 134)

อ้างอิง

  1. กีรติ บุญเจือ. (2546). ย้อนอ่านปรัชญากังขาของมนุษยชาติ (ช่วงวิจารณ์ระบบเครือข่าย) ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
  2. ----------- . (2546). ปรัชญาอรรถปริวรรตของมนุษยชาติ (ช่วงพหุนิยม) ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
  3. เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2558). เอกสารประกอบการสอนวิชาปรัชญาศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.