ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาบาลี/นามนาม"

จาก วิกิตำรา
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khun panya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัดที่ 1,514: บรรทัดที่ 1,514:
</table>
</table>
<p>สังเกตด้วยว่าคำว่า โค นี้ จะไม่สนใจเพศในการแจกวิภัตติ </p>
<p>สังเกตด้วยว่าคำว่า โค นี้ จะไม่สนใจเพศในการแจกวิภัตติ </p>

[[หมวดหมู่:ภาษาบาลี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:02, 21 กรกฎาคม 2550

คำนาม คือคำที่ใช้กล่าวถึงคน สัตว์ สิ่งของทั่วไป ซึ่งอาจนำมาใช้เป็นประธานหรือกรรมในประโยค โดยจะแตกต่างจากกริยา ซึ่งเป็นคำที่บ่งบอกอาการ หรือการกระทำของคน สัตว์ สิ่งของนั้นๆ ในภาษาบาลี แบ่งนามเป็นสามอย่างคือ นามนาม, คุณนาม และสัพพนาม

นามนามคือชื่อเรียกคน สัตว์ สิ่งของทั่วไป แบ่งได้สองประเภทคือ

  1. สาธารณนาม สำหรับเรียกชื่อทั่วไป เช่น นก, ข้าว
  2. อสาธารณนาม สำหรับชื่อเฉพาะ เช่น สาวัตถี, เอราวัณ

การที่จะนำนามมาประกอบใช้ในประโยคนั้น จะต้องเอาคำศัพท์มาแจกวิภัตติ หรือคือการผันนามให้เหมาะสมเสียก่อน โดยการนำฐานศัพท์ (Stem) มาเติมคำต่อท้ายเข้าไปดังรายละเอียดต่อไปนี้

การแจกวิภัตตินามนาม (Noun Declension)

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการแจกวิภัตตินามนามได้แก่

  1. ลิงค์ (Gender) หรือคือเพศของคำนาม แบ่งเป็น
    1. ปุลลิงค์ (Masculine) คือเพศชาย ขอใช้สัญลักษณ์ย่อว่า (m.)
    2. นปุงสกลิงค์ (Neuter) คือไม่มีเพศ ขอใช้สัญลักษณ์ย่อว่า (n.)
    3. อิตถีลิงค์ (Feminine) คือเพศหญิง ขอใช้สัญลักษณ์ย่อว่า (f.)
    บางคำศัพท์เป็นได้เพศเดียว บางคำศัพท์ก็อาจเป็นได้สองหรือสามเพศ การจะรู้ว่าศัพท์ใดเป็นเพศใดบ้างนั้น ต้องอาศัยการจำ
  2. วจนะ (Number) หรือคือพจน์ของคำนาม แบ่งเป็น
    1. เอกวจนะ (Singular) คือของสิ่งเดียว ขอใช้สัญลักษณ์ย่อว่า (Sg.)
    2. พหุวจนะ (Plural) คือของหลายสิ่ง ใช้สัญลักษณ์ย่อว่า (Pl.)
  3. การก (Case) คือหน้าที่ของนามในประโยค
    แบ่งเป็น 8 ประเภท และมีชื่อเรียกวิภัตติสำหรับแต่ละการกดังนี้
    การก หน้าที่ ความหมาย ชื่อวิภัตติ
    (Sg.) (Pl.)
    1. ปฐมา
    ประธาน (Nominative)
    อันว่า...
    สิ
    โย
    2. ทุติยา
    กรรม (Accusative)
    ซึ่ง..., สู่...
    อํ
    โย
    3. ตติยา
    เครื่องมือ (Instrumentive)
    ด้วย..., โดย...
    นา
    หิ
    4. จตุตถี
    กรรมรอง (Dative)
    แก่..., เพื่อ..., ต่อ...
    นํ
    5. ปัญจมี
    แดนเกิด (Ablative)
    แต่..., จาก..., กว่า...
    สฺมา
    หิ
    6. ฉัฏฐี
    เจ้าของ (Genitive)
    แห่ง..., ของ...
    นํ
    7. สัตตมี
    สถานที่ (Locative)
    ที่..., ใน...
    สฺมึ
    สุ
    8. อาลปนะ
    อุทาน (Vocative)
    ดูก่อน...
    -
    -
  4. สระการันต์ (Termination Vowel) คือสระลงท้ายของคำ
    สระลงท้ายที่เป็นไปได้สำหรับคำศัพท์ในเพศต่างๆ เป็นดังนี้
    (m.)
    อะ (-a)
    -
    อิ (-i)
    อี ()
    อุ (-u)
    อู ()
    (n.)
    อะ (-a)
    -
    อิ (-i)
    -
    อุ (-u)
    -
    (f.)
    -
    อา ()
    อิ (-i)
    อี ()
    อุ (-u)
    อู ()


ตารางการแจกวิภัตติ (Declension Table)

เมื่อพิจารณาแล้วว่าคำนามนั้นมี เพศ, พจน์, การก และการันต์อะไร เราก็นำมาเทียบในตารางการแจกวิภัตติดูว่าจะต้องใส่วิภัตติอะไรต่อท้ายคำเข้าไป

ตารางวิภัตติสำหรับ อะ การันต์

  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
โอ อา
(n.)
อํ อานิ
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
อํ เอ
(n.)
อํ อานิ
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
เอน (โส) เอหิ, เอภิ
(n.)
เอน (โส) เอหิ, เอภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
อสฺส, อาย, อตฺถํ อานํ
(n.)
อสฺส, อาย, อตฺถํ อานํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
อสฺมา, อมฺหา, อา เอหิ, เอภิ
(n.)
อสฺมา, อมฺหา, อา เอหิ, เอภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
อสฺส อานํ
(n.)
อสฺส อานํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
อสฺมึ, อมฺหิ, เอ เอสุ
(n.)
อสฺมึ, อมฺหิ, เอ เอสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
อะ อา
(n.)
อะ อานิ


ตารางวิภัตติสำหรับ อา การันต์

  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(f.)
อา อาโย, อา
2.ทุติยา (Acc.)
(f.)
อํ อาโย, อา
3.ตติยา (Inst.)
(f.)
อาย อาหิ, อาภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(f.)
อาย อานํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(f.)
อาย อาหิ, อาภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(f.)
อาย อานํ
7.สัตตมี (Loc.)
(f.)
อาย, อายํ อาสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(f.)
เอ อาโย, อา


ตารางวิภัตติสำหรับ อิ การันต์

  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
อิ อโย, อี
(n.)
อิ อีนิ, อี
(f).
อิ อิโย, อี
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
อึ อโย, อี
(n.)
อึ อีนิ, อี
(f).
อึ อิโย, อี
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
อินา อีหิ, อีภิ
(n.)
อินา อีหิ, อีภิ
(f).
อิยา อีหิ, อีภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
อิสฺส, อิโน อีนํ
(n.)
อิสฺส, อิโน อีนํ
(f).
อิยา อีนํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
อิสฺมา, อิมฺหา อีหิ, อีภิ
(n.)
อิสฺมา, อิมฺหา อีหิ, อีภิ
(f).
อิยา, *ยา อีหิ, อีภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
อิสฺส, อิโน อีนํ
(n.)
อิสฺส, อิโน อีนํ
(f).
อิยา อีนํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
อิสฺมึ, อิมฺหิ อีสุ
(n.)
อิสฺมึ, อิมฺหิ อีสุ
(f).
อิยา, อิยํ, *ยํ อีสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
อิ อโย, อี
(n.)
อิ อีนิ, อี
(f).
อิ อิโย, อี


ตารางวิภัตติสำหรับ อี การันต์

  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
อี อิโน, อี
(f.)
อี อิโย, อี
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
อึ, อีนํ อิโน, อี
(f.)
อึ, อิยํ อิโย, อี
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
อินา อีหิ, อีภิ
(f.)
อิยา อีหิ, อีภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
อิสฺส, อิโน อีนํ
(f.)
อิยา อีนํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
อิสฺมา, อิมฺหา อีหิ, อีภิ
(f.)
อิยา อีหิ, อีภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
อิสฺส, อิโน อีนํ
(f.)
อิยา อีนํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
อิสฺมึ, อิมหิ อีสุ
(f.)
อิยา, อิยํ อีสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
อิ อิโน, อี
(f.)
อิ อิโย, อี


ตารางวิภัตติสำหรับ อุ การันต์

  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
อุ อโว, อู
(n.)
อุ อูนิ, อู
(f).
อุ อุโย, อู
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
อุ ํ อโว, อู
(n.)
อุ ํ อูนิ, อู
(f).
อุ ํ อุโย, อู
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
อุนา อูหิ, อูภิ
(n.)
อุนา อูหิ, อูภิ
(f).
อุยา อูหิ, อูภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
อุสฺส, อุโน อูนํ
(n.)
อุสฺส, อุโน อูนํ
(f).
อุยา อูนํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
อุสฺมา, อุมฺหา อูหิ, อูภิ
(n.)
อุสฺมา, อุมฺหา อูหิ, อูภิ
(f).
อุยา อูหิ, อูภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
อุสฺส, อุโน อูนํ
(n.)
อุสฺส, อุโน อูนํ
(f).
อุยา อูนํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
อุสฺมึ, อุมฺหิ อูสุ
(n.)
อุสฺมึ, อุมฺหิ อูสุ
(f).
อุยา, อุยํ อูสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
อุ อเว, อโว
(n.)
อุ อูนิ, อู
(f).
อุ อุโย, อู


ตารางวิภัตติสำหรับ อู การันต์

  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
อู อุโน, อู
(f.)
อู อุโย, อู
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
อุ ํ อุโน, อู
(f.)
อุ ํ อุโย, อู
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
อุนา อูหิ, อูภิ
(f.)
อุยา อูหิ, อูภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
อุสฺส, อุโน อูนํ
(f.)
อุยา อูนํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
อุสฺมา, อุมฺหา อูหิ, อูภิ
(f.)
อุยา อูหิ, อูภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
อุสฺส, อุโน อูนํ
(f.)
อุยา อูนํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
อุสฺมึ, อุมฺหิ อูสุ
(f.)
อุยา, อุยํ อูสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
อุ อุโน, อู
(f.)
อุ อุโย, อู

ตัวอย่าง

นร (nara) แปลว่าคน เป็นคำศัพท์ที่มีสระ อะ เป็นการันต์, มีเพศเป็นชาย
ถ้าในประโยคต้องการเอกพจน์ และนำคำนี้ไปใช้เป็นปฐมา (ประธาน) (Nom) ก็จะต้องผันเป็น โร (naro)
ถ้านำไปใช้เป็นทุติยา (กรรม) (Acc) ก็จะต้องผันเป็น รํ (nar)
หรือถ้านำไปใช้เป็นฉัฏฐี (เจ้าของ) (Gen) ก็จะต้องผันเป็น รสฺส (narassa) เป็นต้น

ขนฺติ (khanti) แปลว่าอดทน เป็นคำศัพท์ที่มีสระ อิ เป็นการันต์, มีเพศเป็นหญิง
ถ้าในประโยคต้องการเอกพจน์ และนำคำนี้ไปใช้เป็นตติยา (เครื่องมือ) (Inst) ก็จะต้องผันเป็น ขนฺติยา (khantiy±)
ถ้านำไปใช้เป็นปัญจมี (แดนเกิด) (Abla) ก็จะต้องผันเป็น ขนฺติยา (khantiy±) หรือ ขนฺตฺยา (khant)

ภิกฺขุ (bhikkhu) เป็นคำศัพท์ที่มีสระ อุ เป็นการันต์, มีเพศเป็นชาย
ถ้าในประโยคต้องการพหูพจน์ และนำไปใช้เป็นจตุตถี (กรรมรอง) (Dat) ก็จะต้องผันเป็น ภิกฺขูนํ (bhikkh³na½)
ถ้านำไปใช้เป็นอาลปนะ (อุทาน) (Voc) ก็จะต้องผันเป็น ภิกฺขเว (bhikkhave) เป็นต้น

การที่จะต้องท่องจำตารางวิภัตติทั้งหมดในตอนนี้อาจจะดูลำบากเกินไป อาจจะใช้วิธีสังเกตเสียงในคำอย่างคร่าวๆ ดังนี้

ปฐมา (Nom) หรือ อาลปนะ (Voc) จะมีรูปที่ปกติที่สุด
เอกพจน์ มักจะเจอคำลงท้ายด้วยเสียง โอ ส่วนพหูพจน์มักจะลงท้ายด้วยเสียง อา, นิ, โย

ทุติยา (Acc) คือเวลานำมาใช้เป็นกรรม
เอกพจน์ มักจะลงท้ายด้วยนิคคหิต ส่วนพหูพจน์มักจะลงท้ายด้วย นิ, โย

ตติยา (Inst) กับ ปัญจมี (Abla) ความหมายจะคล้ายกันคือ "โดย" กับ "จาก" และมีเสียงลงท้ายคล้ายกัน
เอกพจน์ของตติยาจะลงท้ายด้วย นะ, ยะ ของปัญจมีจะลงท้ายด้วย สฺมา, ยะ ส่วนพหูพจน์มักจะลงท้ายด้วย หิ, ภ

จตุตถี (Dat) กับ ฉัฏฐี (Gen) ความหมายอาจจะไม่คล้ายกัน แต่เสียงลงท้ายของสองการกนี้จะเหมือนกัน
เอกพจน์ มักจะลงท้ายด้วย สฺสะ, ยะ ส่วนพหูพจน์มักจะลงท้ายด้วย นัง

สัตตมี (Loc) คือเวลานำไปใช้บอกสถานที่
เอกพจน์ มักจะลงท้ายด้วย สฺมิง, ยะ ส่วนพหูพจน์มักจะลงท้ายด้วย สุ


คำศัพท์ที่มีวิธีการแจกเฉพาะตัว (Irregular Nouns)

ปกติแล้วการแจกวิภัตตินามจะทำได้โดยใช้ตารางจากในหัวข้อที่แล้ว แต่มีคำศัพท์พิเศษบางกลุ่มที่มีวิธีการแจกเฉพาะตัว ไม่เหมือนดังที่ปรากฏในตารางข้างต้น คำศัพท์พิเศษเหล่านี้มักจะเป็นศัพท์ที่มีฐานศัพท์ที่ไม่ได้มีเสียงสระเป็นการันต์ (Vowel terminated) แต่มีเสียงพยัญชนะเป็นการันต์ (Consonant terminated) หรือเป็นคำที่ฐานศัพท์มีสระการันต์เป็นสระประสม (Diphthong) ดังจะพอแบ่งกลุ่มคำเหล่านี้ได้ดังนี้

คำที่ฐานศัพท์มี นฺ เป็นการันต์

คำเหล่านี้เช่น อตฺตา (ฐานศัพท์คือ อตฺตนฺ), พฺรหฺมา (ฐานศัพท์คือ พฺรหฺมนฺ), ราชา (ฐานศัพท์คือ ราชนฺ) , กมฺมํ (ฐานศัพท์คือ กมฺมนฺ) คำศัพท์ในกลุ่มนี้จะมีวิธีแจกวิภัตติใกล้เคียงกัน ดังแสดงในตาราง

ตารางวิภัตติสำหรับ อตฺต (ตน)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
อตฺตา -
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
อตฺตานํ -
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
อตฺตนา -
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
อตฺตโน -
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
อตฺตนา -
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
อตฺตโน -
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
อตฺตานิ -
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
อตฺต -


ตารางวิภัตติสำหรับ พฺรหฺม (พรหม)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
พฺรหฺมา พฺรหฺมาโน
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
พฺรหฺมานํ พฺรหฺมาโน
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
พฺรหฺมุนา พฺรหฺเมหิ, พฺรหฺเมภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
พฺรหฺมุโน พฺรหฺมานิ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
พฺรหฺมุนา พฺรหฺเมหิ, พฺรหฺเมภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
พฺรหฺมุโน พฺรหฺมานํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
พฺรหฺมนิ พฺรหฺเมสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
พฺรหฺเม พฺรหฺมาโน


ตารางวิภัตติสำหรับ ราช (ราชา)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.) (f.)
ราชา ราชาโน
2.ทุติยา (Acc.)
(m.) (f.)
ราชานํ ราชาโน
3.ตติยา (Inst.)
(m.) (f.)
รญฺญา ราชูหิ, ราชูภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.) (f.)
รญฺโญ, ราชิโน รญฺญํ, ราชูนํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.) (f.)
รญฺญา ราชูหิ, ราชูภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.) (f.)
รญฺโญ, ราชิโน รญฺญํ, ราชูนํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.) (f.)
รญฺเญ, ราชินิ ราชูสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.) (f.)
ราช ราชาโน

อย่างไรก็ตาม คำอย่างคำว่า ราชา หากนำไปสมาสกับคำอื่นแล้ว เช่น เป็นคำว่า มหาราชา เวลาที่จะแจกวิภัตติสำหรับการกใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่ปฐมา ให้แจกเหมือนกับเป็นคำศัพท์ที่มีสระ อะ เป็นการันต์ตามปกติ

ตารางวิภัตติสำหรับ กมฺม (กรรม)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(n.)
กมฺมํ กมฺมานิ
2.ทุติยา (Acc.)
(n.)
กมฺมํ กมฺมานิ
3.ตติยา (Inst.)
(n.)
กมฺมุนา กมฺเมหิ, กมฺเมภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(n.)
กมฺมุโน กมฺมานํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(n.)
กมฺมุนา กมฺเมหิ, กมฺเมภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(n.)
กมฺมุโน กมฺมานํ
7.สัตตมี (Loc.)
(n.)
กมฺมนิ กมฺเมสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(n.)
กมฺม กมฺมานิ

 

คำที่ฐานศัพท์มี สฺ เป็นการันต์

คำเหล่านี้เช่น มโน (มนสฺ), อายุ (อายุสฺ)

ตารางวิภัตติสำหรับ มน (ใจ)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.) (n.)
มโน มนา
2.ทุติยา (Acc.)
(m.) (n.)
มนํ, มโน มเน
3.ตติยา (Inst.)
(m.) (n.)
มนสา มเนหิ, มเนภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.) (n.)
มนโส มนานํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.) (n.)
มนสา มเนหิ, มเนภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.) (n.)
มนโส มนานํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.) (n.)
มนสิ มเนสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.) (n.)
มน มนา


คำอื่นๆ ที่แจกเหมือนกับ มน (แต่เป็นเพศชายเท่านั้น) อีกเช่น อย (เหล็ก), อุร (อก), เจต (ใจ), ตป (ความร้อน), ตม (มืด), เตช (เดช), ปย (น้ำนม), ยส (ยศ), วจ (วาจา), วย (วัย), สิร (หัว) ฯลฯ ศัพท์กลุ่มนี้เรียกว่า มโนคณะ เราจะสังเกตได้ว่าศัพท์กลุ่มนี้ เมื่อนำไปสมาสเข้ากับคำใดก็ตาม สระสุดท้ายของมันก็ยังเป็น "โอ" อยู่ได้ เช่น มโนคโณ

ตารางวิภัตติสำหรับ อายุ (อายุ)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(n.)
อายุ, อายุ ํ อายู, อายูนิ
2.ทุติยา (Acc.)
(n.)
อายุ, อายุ ํ อายู, อายูนิ
3.ตติยา (Inst.)
(n.)
อายุนา, อายุสา อายูหิ, อายูภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(n.)
อายุสฺส, อายุโน อายูนํ, อายุสํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(n.)
อายุนา, อายุสา อายูหิ, อายูภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(n.)
อายุสฺส, อายุโน อายูนํ, อายุสํ
7.สัตตมี (Loc.)
(n.)
อายุนิ, อายุสิ อายูสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(n.)
อายุ, อายุ ํ อายู, อายูนิ

 

คำที่ฐานศัพท์มี รฺ เป็นการันต์

คำเหล่านี้เช่น สตฺถา (สตฺถารฺ), ปิตา (ปิตารฺ), มาตา (มาตารฺ)

ตารางวิภัตติสำหรับ สตฺถา, สตฺถุ (ผู้สอน)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
สตฺถา สตฺถาโร
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
สตฺถารํ สตฺถาโร
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
สตฺถารา, สตฺถุรา สตฺถาเรหิ, สตฺถาเรภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
สตฺถุ, สตฺถุโน สตฺถารานํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
สตฺถารา สตฺถาเรหิ, สตฺถาเรภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
สตฺถุ, สตฺถุโน สตฺถารานํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
สตฺถริ สตฺถาเรสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
สตฺถา สตฺถาโร


คำที่แจกเหมือนกับ สตฺถ เช่น กตฺตุ (ผู้ทำ), ญาตุ (ผู้รู้), ทาตุ (ผู้ให้), เนตุ (ผู้นำไป)

ตารางวิภัตติสำหรับ ปีตา, ปิตุ (พ่อ)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
ปิตา ปิตโร
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
ปิตรํ ปิตโร
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
ปิตรา, ปิตุนา ปิตเรหิ, ปิตูหิ, ปิตเรภิ, ปิตูภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
ปิตุ, ปิตุโน ปิตรานํ, ปิตูนํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
ปิตรา ปิตเรหิ, ปิตูหิ, ปิตเรภิ, ปิตูภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
ปิตุ, ปิตุโน ปิตรานํ, ปิตูนํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
ปิตริ ปิตเรสุ, ปิตูสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
ปิตา ปิตโร

คำที่แจกเหมือนกับ ปิตุ เช่น ภาตุ (พี่ชาย), ชามาตุ (ลูกเขย)
 
ตารางวิภัตติสำหรับ มาตา, มาตุ (แม่)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(f.)
มาตา มาตโร
2.ทุติยา (Acc.)
(f.)
มาตรํ มาตโร
3.ตติยา (Inst.)
(f.)
มาตรา, มาตุยา มาตราหิ, มาตูหิ, มาตราภิ, มาตูภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(f.)
มาตุ, มาตุยา มาตรานํ, มาตูนํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(f.)
มาตรา มาตราหิ, มาตูหิ, มาตราภิ, มาตูภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(f.)
มาตุ, มาตุยา มาตรานํ, มาตูนํ
7.สัตตมี (Loc.)
(f.)
มาตริ มาตราสุ, มาตูสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(f.)
มาตา มาตโร

คำที่แจกเหมือนกับ มาตุ เช่น ธีตุ (ลูกสาว)

 

คำที่ฐานศัพท์มี ตฺ หรือ นฺตฺ เป็นการันต์

คำเหล่านี้มักจะเป็นคำประเภทคุณนาม (จะกล่าวถึงรายละเอียดในบทถัดไป) เช่นคำว่า ภวํ (ภวตฺ, ภวนฺตฺ), อรหํ (อรหตฺ, อรหนฺตฺ), ภควา (ภควตฺ, ภควนฺตฺ)

ตารางวิภัตติสำหรับ ภวนฺต (ผู้เจริญ)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.) (f.)
ภวํ ภวนฺตา, ภวนฺโต
2.ทุติยา (Acc.)
(m.) (f.)
ภวนฺตํ ภวนฺเต, ภวนฺโต
3.ตติยา (Inst.)
(m.) (f.)
ภวตา, โภตา ภวนฺเตหิ, ภวนฺเตภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.) (f.)
ภวโต, โภโต ภวตํ, ภวนฺตานํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.) (f.)
ภวตา, โภตา ภวนฺเตหิ, ภวนฺเตภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.) (f.)
ภวโต, โภโต ภวตํ, ภวนฺตานํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.) (f.)
ภวนฺเต ภวนฺเตสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.) (f.)
โภ ภวนฺตา, ภวนฺโต, โภนฺตา, โภนฺโต


ตารางวิภัตติสำหรับ ภควนฺต, ภควนฺตุ (พระผู้มีพระภาค)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
(m.)
ภควา ภควนฺตา, ภควนฺโต
2.ทุติยา (Acc.)
(m.)
ภควนฺตํ ภควนฺเต, ภควนฺโต
3.ตติยา (Inst.)
(m.)
ภควตา ภควนฺเตหิ, ภควนฺเตภิ
4.จตุตถี (Dat.)
(m.)
ภควโต ภควตํ, ภควนฺตานํ
5.ปัญจมี (Abla.)
(m.)
ภควตา ภควนฺเตหิ, ภควนฺเตภิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
(m.)
ภควโต ภควตํ, ภควนฺตานํ
7.สัตตมี (Loc.)
(m.)
ภควติ, ภควนฺเต ภควนฺเตสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
(m.)
ภคว, ภควา ภควนฺตา, ภควนฺโต


คำที่แจกเหมือนกับ ภควนฺตุ เช่น อายสฺมนฺตุ (ผู้มีอายุ), คุณวนฺตุ (ผู้มีคุณ), ธนวนฺตุ (ผู้มีทรัพย์)

 

คำที่สระการันต์เป็นสระประสม

เท่าที่พบจะมีอยู่เพียงคำศัพท์เดียวคือคำว่า โค

ตารางวิภัตติสำหรับ โค (วัว)
  (Sg.) (Pl.)
1.ปฐมา (Nom.)
  โค คาโว
2.ทุติยา (Acc.)
  คาวํ, คาวุ ํ คาโว
3.ตติยา (Inst.)
  คาเวน โคหิ, คาเวหิ
4.จตุตถี (Dat.)
  คาวสฺส คุนนํ, คาวานํ
5.ปัญจมี (Abla.)
  คาวสฺมา โคหิ, คาเวหิ
6.ฉัฏฐี (Gen.)
  คาวสฺส คุนนํ, คาวานํ
7.สัตตมี (Loc.)
  คาวสฺมึ โคสุ, คาเวสุ
8.อาลปนะ (Voc.)
  คาว คาโว

สังเกตด้วยว่าคำว่า โค นี้ จะไม่สนใจเพศในการแจกวิภัตติ