เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

จาก วิกิตำรา

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

§การลดค่าเงินบาท (Devaluation) เริ่มต้นจากเดิมอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาเปลี่ยนเป็นอัตราแลกเปลี่ยน เท่ากับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

§การเพิ่มค่าเงินบาท (Revaluation) เป็นลักษณะเดิมอัตราแลกเปลี่ยน 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาอัตราแลกเปลี่ยนเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 

  การที่อัตราแลกเปลี่ยนลดลงจากเดิม 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เรียกว่า เงินบาทแข็งค่า (Appreciate)

  การอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นจากเดิม 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาเปลี่ยนเป็นอัตราแลกเปลี่ยน เท่ากับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  เรียกว่า เงินบาทอ่อนค่า (Depreciate)

เงินบาทแข็ง [แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

- ส่งผลดีต่อ การนำเข้าสินค้า ทำให้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ถูกลง

- ส่งผลเสียต่อ การส่งออกสินค้า ทำให้สินค้าไทยที่ส่งออกไปขาย มีราคา แพงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต่างประเทศไปซื้อสินค้าของประเทศอื่นที่ราคาถูกกว่า

เงินบาทอ่อน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

- ส่งผลดีต่อ การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ เพราะส่งออกสินค้าได้ราคา ถูกลง

- ส่งผลเสียต่อ สินค้านำเข้า ทำให้นำเข้าสินค้าได้ราคา แพงขึ้น

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]