เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น/บทบาทที่สำคัญของรัฐยุคหลังวิกฤตการณ์ซับไพรม์

จาก วิกิตำรา

บทบาทที่สำคัญของรัฐยุคหลังวิกฤตการณ์ซับไพรม์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  ภูมิทัศน์ของเศรษฐกิจโลกยุคหลังวิกฤตการณ์ซับไพรม์ จึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จุดสำคัญคือ รัฐบาล ซึ่งถูกลดบทบาทลงไปมากในยุคเสรีนิยมใหม่ จะกลับมามีบทบาททางเศรษฐกิจโดยเป็นผู้เล่นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกครั้ง ทั้งตามสภาพเศรษฐกิจที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ และตามกระแสเรียกร้องจากสังคมที่ความศรัทธาต่อตลาดลดลง บทบาทที่สำคัญของรัฐในห้วงเวลานี้ ได้แก่

  (1) การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจ แทนที่ความต้องการใช้จ่ายของภาคเอกชน (ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ) ที่อ่อนแรงลง ผลลัพธ์ก็คือ รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล โดยการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐและการลดภาษี

  (2) การช่วยเหลือดูแลด้านสวัสดิการ แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มคนจน และกลุ่มแรงงานรายได้ต่ำ และการปฏิรูประบบสวัสดิการสังคม

  (3) การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงิน และธุรกิจบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ล้มละลาย ในหลายกรณี รัฐบาลเข้าไปเป็นเจ้าของวิสาหกิจเอกชน หรือเข้าไปมีบทบาทในการกำกับควบคุมทิศทางและการทำงานของวิสาหกิจเอกชนในบางระดับ

  (4) การมีบทบาทในการกำกับดูแลในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น เช่น การกำกับดูแลระบบสถาบันการเงิน การกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อสร้างเสถียรภาพ และลดความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจ รวมถึงการกำกับดูแลตลาดเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ

สารบัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]