กฎหมายเบื้องต้น/บทที่ 1

จาก วิกิตำรา

นิยามคำว่า กฎหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ศาสตราจารย์ประภาศน์  อวยชัย กล่าวว่า “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป เป็นศาสตร์เบื้องต้นในกฎหมาย ซึ่งหมายถึงวิชาที่ว่าด้วยความรู้สึกนึกคิดและหลักเกณฑ์ที่เป็นรากฐานของกฎหมาย ทำให้ศึกษากฎหมายได้ง่ายและสะดวกขึ้น”

กฎหมาย คือ “บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้บังคับความประพฤติทั้งหลายของบุคคลอันเกี่ยวด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องมีความผิดและถูกลงโทษ”

ความแตกต่างระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายจารีตประเพณี[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรกับกฎหมายจารีตประเพณี ทำให้การศึกษาวิชานี้ต้องเพ่งเล็งถึงหลักวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปว่าเป็นระบบใด ส่งผลให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปมีลักษณะและหลักเกณฑ์ต่างกัน แต่ยังมีหลักเกณฑ์บางอย่างเป็นหลักเกณฑ์ของกฎหมายลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งไม่มีทางกำหนดให้เป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปได้

หลักกฎหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

หลักกฎหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

“ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว”

ข้อยกเว้น[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  การอ้างไม่รู้กฎหมายต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ๒ ประการ

  ๑. ศาลเห็นว่า ตามสภาพและพฤติการณ์ ผู้กระทำความผิดอาจจะไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาล

  ๒. ศาลเชื่อว่าผู้กระทำไม่รู้ว่ากฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั้น

ข้อสังเกต[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การอ้างไม่รู้กฎหมาย แม้จะเข้าหลักเกณฑ์ตามเงื่อนไขก็ตาม ผู้กระทำผิดก็ยังต้องรับโทษ แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้  แต่จะไม่ลงโทษไม่ได้