กระบวนการประมาณราคาในงานก่อสร้าง

จาก วิกิตำรา
มาร่วมกัน เรียนรู้ แบ่งปัน และ ช่วยกันพัฒนาตำราเสรี

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ การแก้ไขหน้า

บทนำ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การประมาณราคาตนทุนงานกอสรางของโครงการใดโครงการหนึ่งเปนเรื่องที่ตองนํามา พิจารณาในแตละระดับนับตั้งแตเจาของโครงการ ผูออกแบบ ผูรับเหมา ซึ่งจะพิจารณาตนทุนงาน กอสรางที่แตกตางกัน นอกจากตนทุนแลว ยังประกอบดวยคาใชจายอื่นๆอีกหลายอยาง ในฐานะผู ประมาณราคาตองพยายามอยางท่สีุดที่จะใหยอดคาใชจายถูกตอง หรือใกลราคาจริงมากที่สุด

ความสำคัญของการประมาณราคา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ความหมายของการประมาณราคา หมายถึง การประมาณหรือการวิเคราะห์หา ปริมาณวัสดุ ค่าแรงและค่าดำเนินการที่ราคาใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายจริงมากที่สุด โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของแต่ละโครงการ ซึ่งในการแยกรายการวัสดุ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายเครื่องมือ เครื่องจักร และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยมีผลกับตัวแปรตามในด้านระยะเวลาของการทำงาน เมื่อทำการแยกงานออกเป็นหมวดหมู่เสร็จแล้ว ก็จะสามารถกำหนดราคาต่อหน่วยของต้นทุนก่อสร้างได้ ดังนั้นการประมาณราคาจึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริง แต่อาจใกล้เคียงกับราคาจริง ซึ่งไม่ควรจะคลาดเคลื่อนไปจากราคาที่แท้จริงเกินกว่า 5 %

โครงสร้างองค์กรในกระบวนการประมาณราคา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • วัสดุ
  • วัสดุธรรมชาติ
  • แหล่งวัสดุ
  • วัสดุจากการผลิต
  • แรงงานในการผลิต
  • เครื่องจักรในการผลิต
  • แรงงานในการลำเลียง
  • ค่าขนส่ง
  • ความสูญเสีย
  • ค่าแรง
  • แรงงานคน
  • เครื่องมือ
  • เครื่องจักร
  • ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Factor F)
  • ค่าดำเนินการ
  • กำไร
  • ภาษี
  • ดอกเบี้ย
  • เวลา
  • ฯลฯ

คุณสมบัติของผู้ประมาณราคา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ผู้ประมาณราคา ต้องมีความรู้ความสามารถในหลายด้านซึ่งต้องใช้ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ รวมทั้งมีเทคนิคเฉพาะตัวอย่างสูง ซึ่งจะได้มาซึ่งราคาที่ใกล้เคียงในการก่อสร้างจริงมากที่สุด ดังนั้นคุณสมบัติของผู้ประมาณราคาควรมีดังนี้

  1. ต้องมีความรู้ทางด้านรูปแบบรายการที่จะแยกวัสดุ
  2. มีความรู้เรื่องวัสดุก่อสร้างเป็นอย่างดี
  3. ต้องมีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์
  4. มีความรู้ความชำนาญในงานที่ประมาณราคาเป็นอย่างดี
  5. มีความรู้ในเรื่องแบบรูปแบบรายการที่ประมาณราคาที่สามารถแยกรายละเอียดของานใหญ่ออกเป็นงานย่อยๆ ได้ละเอียดมากขึ้น
  6. มีความรู้เรื่องวัสดุก่อสร้างที่ใช้ประมาณราคาเป็นอย่างดี
  7. มีความละเอียดรอบคอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบ และมีปฏฺภาณไหวพริบในการประยุกต์โดยการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาใช้ประมาณราคาได้รวดเร็วและถูกต้อง
  8. มีหลักการในการวินิจฉัย ช่างสังเกตที่ดีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในสถานที่ก่อสร้าง
  9. มีความรู้และความเข้าใจที่สามารถศึกษาเอกสาร สัญญา รายการประกอบแบบก่อสร้าง ที่จะมีผลกับรายการก่อสร้างในด้านงานที่จะต้องเสร็จตามกำหนดเวลา ถ้างานไม่สร็จตามกำหนดเวลาจะต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น ค่าปรับ เป็นต้น

ประเภทของการประมาณราคา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

งานอาคารพักอาศัย 3 ชั้น

การวิเคราะห์องค์ประกอบของต้นทุน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

วิธีการประมาณราคา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ภาคผนวก[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อ่านเพิ่มเติม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

วิกิตำราภาษาอังกฤษ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • Chris Hendrickson, Tung Au, Project Management for Construction: Fundamental Concepts for Owners, Engineers, Architects and Builders, Prentice Hall, 1998. ISBN 0-1373-1266-0

[1]

  • Martin Brook, Estimating and Tendering for Construction Work, Elsevier, 2004. ISBN 0-7506-5864-9