กลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ

จาก วิกิตำรา

ตลาดในระบบเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในบทนี้ จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดในทางเศรษฐศาสตร์

ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้เครื่องมือสื่อสารตกลงกันในการขายของสิ่งต่างๆ

หน้าที่ของการตลาด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การตลาด ซึ่งรวมถึงการรับเสี่ยงภัยและการขนส่ง ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในฐานะเป็นขั้นหนึ่งของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ก็เพราะ การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นถือว่าจะมีผลผลิต ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถึงมือผู้บริโภคแล้ว เท่านั้น จึงพอสรุปหน้าที่ได้ ดังนี้

• แสวงหาอุปสงค์และคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับอุปสงค์

• เสริมสร้างให้เกิดอุปสงค์

• สนองความต้องการอุปสงค์

ประเภทและลักษณะของตลาด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ประเภทของตลาด ลักษณะของตลาด ตัวอย่างสินค้า

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากแต่สินค้าจะมีน้อย โดยที่สินค้าจะมีลักษณะเดียวกัน ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องรู้ถึงสภาวะของตลาด โดยที่จะมีการขนส่งโดยสมบูรณ์ หน่วยธุรกิจสามารถเข้าออกจากธุรกิจโดยเสรี เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวกล้อง

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีอิสระในการเลือกซื้อ แต่ชนิดสินค้าที่ผลิตจะต่างมาตรฐานและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ผู้ขายสามารถกำหนดราคาได้ตามต้องการทั้งๆที่ต้องแข่งขันกับคู่ค้ารายอื่น เช่น ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายรองเท้า ร้านขายสบู่ยาสระผม และร้านขายยาสีฟัน แปรงสีฟัน

ประเภทของตลาด ลักษณะของตลาด ตัวอย่างสินค้า[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ตลาดผู้ขายน้อยราย มีผู้ขายไม่กี่รายแต่จะมีสินค้าจำนวนมาก เมื่อเทียบกับปริมาณทั้งหมดในตลาด หากผู้ขายรายใดเปลี่ยนแปลงราคาหรือนโยบายการขายแล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรายอื่น

น้ำมัน หนังสือพิมพ์ น้ำอัดลม ตลาดแบบผูกขาด มีผู้ขายเพียงรายเดียว ทำให้ผู้ขายมีสิทธิเหนือราคาและปริมาณขายสินค้า โดยจะเพิ่มหรือลดราคาและควบคุมจำนวนขายได้ทั้งหมดไฟฟ้า ประปา รถไฟ โรงงาน ยาสูบ

กลไกราคากับระบบเศรษฐกิจ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. กลไกราคา[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กลไกราคา หมายถึง ภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงในระดับราคาสินค้าและบริการอันเกิดจากแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน เมื่อผู้ผลิตพยายามปรับปรุงการผลิตและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นจะเห็นได้ว่าราคาสินค้าและบริการเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน ตลอดจนเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนราคาให้เข้าสู่จุดดุลยภาพ เช่น เมื่อราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วความต้องการซื้อหรืออุปสงค์ก็จะลดลง แต่อุปทานของสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นกลไกราคาจะพบได้ในทุกตลาด ยกเว้น ตลาดแบบผูกขาด เพราะกลไกราคาจะเกิดได้เฉพาะตลาดที่มีการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะของตลาดเสรีหรือประเทศที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบผสมเท่านั้น โดยระบบเศรษฐกิจเหล่านี้จะมีกลไกราคาเป็นตัวกำหนดว่าจะผลิตสินค้าปริมาณเท่าใดและราคาเท่าใด

2. การกำหนดราคาสินค้าและบริการในทางเศรษฐกิจ กำหนดไว้ 2 วิธี คือ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ให้กลไกราคาเป็นเครื่องมือในการกำหนดราคาสินค้าและบริการ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามแรงผลักดันของอุปสงค์และอุปทาน

2. รัฐบาลกำหนดราคาสินค้าและบริการด้วยการควบคุมและแทรกแซงราคาสินค้าและบริการด้วยวิธีกำหนดราคาเมื่อสินค้าที่จำเป็นขาดตลาด เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค การประกันราคาขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิต การพยุงราคาสินค้าไม่ให้ตกต่ำมากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ให้ขาดทุน

3. อุปสงค์ (Demand)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่งของผู้บริโภคที่เต็มใจจะซื้อและซื้อหามาได้ ณ ระดับราคาต่างๆที่ตลาดกำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการที่จะซื้อสินค้าและบริการนั้นแล้ว ก็จะสามารถมีกำลังซื้อสินค้านั้นได้ แต่ถ้าผู้บริโภคไม่สามารถที่จะซื้อหรือไม่มีกำลังซื้อ ก็จะไม่ถือว่าเป็นอุปสงค์ตามความหมายในทางเศรษฐศาสตร์

3.1 กฎของอุปสงค์ (Law of Demand) หมายถึง ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าและบริการในราคาต่ำ(ราคาถูก) ในปริมาณมากกว่าซื้อสินค้าในราคาสูง(ราคาแพง)

3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์การที่ผู้บริโภคจะทำการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นจำนวนเท่าใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ราคาสินค้าและบริการ (ตามกฎของอุปสงค์)

2. รายได้ของผู้บริโภค

3. รสนิยมของผู้บริโภค

4. สมัยนิยม

5. การโฆษณาและเทคนิคการตลาด

6. ราคาสินค้าหรือบริการอื่นๆที่ต้องใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้

7. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาของผู้บริโภค

8. พฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ฤดูกาล การศึกษา

9. ภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นๆ

4. อุปทาน (Supply)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อุปทาน หมายถึง ปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ขายหรือผู้ผลิตยินดีขายหรือผลิตให้แก่ผู้ซื้อ ณ ระดับราคาต่างๆตามที่ตลาดกำหนดให้ กล่าวคือ เมื่อราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งเพิ่มสูงขึ้น ผู้ผลิตก็ยินดีที่จะเสนอขายมากขึ้น แต่ถ้าราคาสินค้าชนิดนั้นลดลงปริมาณของอุปทานก็จะลดลงตามไปด้วย

4.1 กฎของอุปทาน (Law of Supply) หมายถึง ผู้ผลิตมีความต้องการเสนอขายสินค้าและบริการในราคาสินค้าและบริการที่สูง(ราคาแพง) ในปริมาณมากกว่าราคาสินค้าและบริการที่ต่ำ(ราคาถูก)

4.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปทานการที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังนี้

1. ราคาสินค้าและบริการในขณะนั้นๆ (กฎของอุปทาน)

2. ต้นทุนการผลิตที่เปลี่ยนแปลง (วัตถุดิบ)

3. เทคโนโลยีการผลิตที่นำมาใช้

4. ฤดูกาล

5. สภาวะของตลาดและภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น

6. การคาดคะเนการขึ้นลงของราคาสินค้าและบริการของผู้ผลิต (การเกิดกำไร)

7. จำนวนผู้ผลิตที่เป็นคู่แข่ง (ราคาสินค้าและบริการชนิดเดียวกันที่มีการแข่งขันกัน)

5. ดุลยภาพ (Equilibrium)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กลไกราคาทำงานโดยได้รับอิทธิพลจากทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ว่า ณเวลาใด เวลาหนึ่ง ถ้าปริมาณความต้องการหรือปริมาณอุปสงค์ต่อสินค้าในตลาดมีมากเกินกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตจะยินดีขายให้ ราคาสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการขาดแคลนของสินค้า แต่ถ้าปริมาณสินค้าที่ผู้ผลิตประสงค์จะขายให้ผู้บริโภค หรือปริมาณอุปทานของสินค้ามีมากกว่าปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคประสงค์จะซื้อ ราคาสินค้านั้นก็จะมีแนวโน้มลดต่ำลง เมื่อปริมาณอุปสงค์และปริมาณอุปทานเท่ากันราคาสินค้าจึงจะอยู่นิ่ง หรือที่เรียกว่า มีเสถียรภาพไม่ปรับขึ้นลงอีก ยกเว้นว่า จะมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ตลาดต้องเปลี่ยนแปลงไป

สรุป การทำงานของกลไกราคาจะทำให้การจัดสรรทรัพยากรสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ตัดสินใจแทนผู้อื่น เพราะการแข่งขันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย จะทำให้สินค้ามีราคาที่สะท้อนความขาดแคลนของสินค้าหรือ ทรัพยากรนั้นๆ ผู้ซื้อย่อมทราบดีถึงความต้องการที่แท้จริงของตน เช่นเดียวกับผู้ผลิตก็ย่อมทราบดีกว่าผู้อื่นว่าต้นทุนการผลิตของตนเองเป็นอย่างไร และสมควรตอบสนองความต้องการสินค้าในท้องตลาดอย่างไร

6. อุปสงค์ส่วนเกินและอุปทานส่วนเกิน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

6.1 ภาวะอุปสงค์ส่วนเกินหรืออุปทานส่วนขาด คือ ถ้าสินค้าใดเป็นที่ต้องการมาก จะทำให้ราคาสินค้าและบริการสูง ส่งผลให้สินค้าและบริการขาดตลาด อุปสงค์ส่วนเกินจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อราคาสินค้าต่ำกว่าจุดดุลยภาพ ซึ่งหมายถึง ความต้องการซื้อมีมากกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตทำการผลิตออกมาขาย

6.2 ภาวะอุปทานส่วนเกินหรืออุปสงค์ส่วนขาด คือ ถ้าสินค้าใดเป็นที่ต้องการน้อยจะทำให้การบริโภคสินค้าและบริการต่ำ ส่งผลให้สินค้าและบริการล้นตลาด อุปทานส่วนเกินจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อราคาสินค้าอยู่เหนือจุดดุลยภาพ ซึ่งหมายถึงความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีน้อยกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่ผู้ผลิตผลิตออกมาขาย

ปัญหาทางเศรษฐกิจ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. เงินเฟ้อ (Inflation)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คือ ภาวะที่ราคาของแพง ค่าของเงินลดลง

ผลกระทบของเงินเฟ้อ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. อำนาจการซื้อลดลง

2. การออมและการลงทุนลดลง (High consumption in the current period)

3. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำมากขึ้น

 บุคคลที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ : เจ้าของกิจการ ผู้ผลิต นักเก็งกำไร ลูกหนี้

 บุคคลที่เสียประโยชน์ : ผู้ที่มีรายได้ประจำ เจ้าหนี้

4. การส่งออกของประเทศลดลง การนำเข้าเพิ่มขึ้น

2. เงินฝืด (Deflation)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คือ ภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำ ราคาสินค้าและบริการทั่วไปลดลงเรื่อยๆ

เนื่องจากอุปสงค์มีน้อยกว่าปริมาณสินค้าทำให้สินค้าเหลือ ราคาสินค้าลดลง การผลิตลดลง การจ้างงาน

ลดลง รายได้ลดลงค่าของเงินสูง

 ผลของเงินฝืด : อำนาจซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น

 ผู้ที่ได้ประโยชน์ : เจ้าหนี้ , ผู้มีรายได้ประจำ

 ผู้ที่เสียประโยชน์ : ผู้ที่มีรายได้จากกำไร , ลูกหนี้

 การแก้ปัญหาเงินฝืด : ใช้นโยบายการเงิน การคลัง เพื่อกระตุ้นให้ อุปสงค์รวมสูงขึ้น

3. การว่างงาน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การว่างงาน คือ ภาวการณ์ที่บุคคลในวัยแรงงาน (ผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป) มีความสามารถที่จะ

ทำงานและสมัครใจที่จะทำงาน แต่ไม่สามารถหางานทำได้ จึงทำให้ไม่มีงานทำ เราถือว่าบุคคลเหล่านี้

ว่างงานโดยไม่สมัครใจ (Involuntary Unemployment)

ประเภทของการว่างงาน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. การว่างงานโดยเปิดเผย (in survey period): temporary, seasonal

2. การว่างงานแอบแฝง หรือ การทำงานต่ำกว่าระดับ

ผลกระทบของการว่างงาน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. การใช้ประโยชน์จากแรงงานไม่เต็มที่

2. การออมและการลงทุนของประเทศลดลง

3. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำมากขึ้น

4. การคลังของรัฐบาลแย่ลง (T ลด, G เพิ่ม)

ผลกระทบของการว่างงาน[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]