การขุดเจาะน้ำบาดาล

จาก วิกิตำรา

การเจาะน้ำบาดาล[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ความหมายของบ่อน้ำบาดาล (Ground water well)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในทางวิชาการ หมายถึง รูหรือปล่องที่ขุดหรือเจาะลงไปถึงชั้นน้ำบาดาล เพื่อต้องการที่จะเอาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ฉะนั้น ในทางวิชาการจึงไม่กำหนดความลึกของบ่อไว้ จึงจะเรียกบ่อน้ำธรรมดา หรือเรียกบ่อบาดาล

การขุดเจาะน้ำบาดาล


การเลือกที่เจาะ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ที่ถูกหลักต้องเลือกในท้องที่ที่ไม่เคยเจาะน้ำบาดาลมาก่อน หรือในท้องที่ที่ชั้นน้ำเป็นหินแข็ง จะต้องใช้ความรู้ทางธรณีวิทยา และอุทกธรณีวิทยาน้ำบาดาลในบริเวณที่จะเจาะ การเจาะบ่อขนาดใหญ่ที่ต้องการน้ำมากๆในบางแห่งยังต้องมีเจาะบ่อทดสอบ(Test hole) ดูก่อน 2-3 บ่อ การเจาะบ่อทดสอบเพื่อที่จะหาความลึกของแหล่งน้ำบาดาล จุดที่ชั้นน้ำบาดาลหนาที่สุด จุดที่น้ำบาดาลมากที่สุด คุณภาพน้ำที่ดีที่สุด ผลจากการทดสอบและรายละเอียดการตรวจสอบอื่นๆ เช่น การตรวจสอบชั้นหิน การตรวจชั้นน้ำด้วยเครื่องมือไฟฟ้า และการทดสอบปริมาณน้ำ เมื่อมาประเมินให้ถูกหลักก็จะกำหนดจุดเจาะให้ได้ผลดีที่สุดได้ แนวทางการเลือกจุดเจาะทั่วไป ควรที่จะเลือกใช้ลักษณะภูมิประเทศของที่นั้นๆมาร่วมพิจารณาด้วย การเจาะบ่อทดสอบจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ถ้าหากต้องการเลือกจุดเจาะที่ดีที่สุดจะต้องทำการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ก่อน ซึ่งวิธีนี้จะใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและระยะเวลาการทำงานน้อย

ชนิดของเครื่องเจาะ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

รถขุดเจาะน้ำบาดาล
ภาพแสดงการขุดเจาะน้ำบาดาล


1 การเจาะแบบหัวตอก (Drived point)

ใช้ตอกได้เฉพาะในกรวดทรายหรือดินเท่านั้น ปริมาณน้ำที่เจาะได้พอเหมาะที่จะใช้เฉพาะในครัวเรือน การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำบาดาล อาจจะกระทบกระเทือนต่อปริมาณน้ำที่สูบได้ เพราะ บางครั้งระดับน้ำอาจจะลดต่ำกว่าระดับตัวหัวตอก

2 เครื่องเจาะแบบใช้น้ำพ่น (Jet Drilling Rig)

เหมาะกับพื้นที่ที่เป็นกรวดทราย หรือแหล่งหินร่วนเท่านั้น หลักการของการเจาะแบบนี้คือการฉีดน้ำตามแนวดิ่งลงไปในดิน แรงดันของน้ำจะดันเอาดินส่วนที่ถูกฉีดให้แตก ไหลปนกับน้ำขึ้นสู่ผิวดิน น้ำที่ว่านี้เป็นน้ำที่ผสม Bentonite เรียกว่าน้ำโคลน ซึ่งจะช่วยนำเอา เศษตะกอนขึ้นมาและเป็นตัวฉาบผนังบ่อเพื่อป้องกันการพังของผนังบ่อ

3 เครื่องเจาะแบบกระแทก (Percussion rig หรือ Cable tool)

สามารถเจาะได้ในหินทุกชนิดไม่ว่าแข็งหรืออ่อน แต่มีโอกาสที่บ่อจะเกิดการพังง่าย จึงควรใส่ท่อกันพัง

4 เครื่องเจาะแบบหมุนตรง (Direct Rotary Rig)

หลักการคล้ายกับการเจาะแบบใช้พ่น แต่ใช้เครื่องจักรกลแรงคนและมีขนาดใหญ่มากกว่า

5 เครื่องเจาะหมุนแบบดูดกลับ (Reverse Rotary Rig)

ดัดแปลงมาจากวิธีการของเครื่องเจาะหมุนตรง แต่ในวิธีนี้เราจะปล่อยน้ำไหลลงไปเองทางช่องว่างระหว่างผนังบ่อกับก้านเจาะ แล้วดูดน้ำโคลนพร้อมทั้งเศษหินเล็กๆ ไหลกลับลงไปในบ่อเก็บน้ำ เหมาะที่จะเจาะในชั้นหินร่วนหรือชั้นดินอ่อน สามารถเจาะได้บ่อขนาดใหญ่

6 เครื่องเจาะผสมแบบใช้น้ำและลม (Direct Rotary and Down the Hole Hammer)

เป็นเครื่องเจาะที่สามารถสับเปลี่ยนวิธีการเจาะได้ตามความเหมาะสม ซึ่งการเจาะแบบใช้ลมเหมาะในการเจาะชั้นดินหรือชั้นหินแข็ง และการเจาะแบบใช้น้ำโคลนเหมาะในการเจาะชั้นดินหรือชั้นหินที่อ่อน และสามารถได้ทันทีเมื่อเจาะถึงชั้นที่ให้น้ำ

การพัฒนาบ่อ (Well Development)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เป็นงานขั้นสุดท้ายในกรทำบ่อก่อนที่จะสูบน้ำจากบ่อออกไปใช้ การพัฒนาบ่อมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้บ่อมีน้ำเพิ่มมากขึ้น ป้องกันไม่ให้ทรายเข้าบ่อ และทำให้อายุการใช้งานของบ่อมากขึ้น วิธีการพัฒนาบ่อมีดังนี้

  1. วิธีการตักน้ำ (Bailing) คือการใช้กระบอกตักน้ำหย่อนบงไปตักน้ำถึงก้นบ่อขึ้นมาทิ้ง จะทำให้น้ำกระเพื่อมผ่านรูท่อกรองออกจากบ่อและเข้าบ่ออย่างแรง ทรายเม็ดละเอียดมากๆจะแขวนลอยอยู่ในน้ำ ส่วนเม็ดใหญ่จะตกตะกอนที่ก้นบ่อ ตักขึ้นทิ้งได้ต่อไป
  2. วิธีการสูบน้ำ (Pumping) คือการสูบน้ำด้วยเครื่องสูบ โดยต้องใส่ท่อดูดของเครื่องสูบลงไปประมาณกึ่งกลางของท่อเซาะร่อง และเริ่มสูบน้ำประมาณน้อยๆก่อนจนกว่าน้ำจะใส จึงเพิ่มความเร็วของเครื่องสูบ จนสูบน้ำได้ปริมาณสูงสุดเท่าที่เครื่องสูบจะสูบได้แล้วจึงหยุด ให้ระดับน้ำคืนตัวขึ้นมาอยู่ระดับเดิมแล้วจึงเริ่มสูบใหม่ การทำเช่นนี้จะทำให้เกิดการกวนน้ำในชั้นน้ำ ตะกอนละเอียดจะถูกดูดเข้ามาในบ่อและนำไปทิ้ง
  3. วิธีการกวนน้ำ (Surging) โดยใช้ swab ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับลูกสูบใส่ลงไปในบ่อเหนือระดับท่อกรองแล้วดึงขึ้นลงเร็วๆ จะทำให้ทรายละเอียดไหลเข้าและออกจากบ่อ จากนั้นจึงตักน้ำปนทรายออกด้วยกระบอกตัก ทำไปเรื่อยๆจนกระทั่งไม่มีทรายเข้าบ่ออีก
  4. วิธีการเป่าล้างด้วยลม โดยต่อท่อลม (Air Line) ลงไปในท่อสูบน้ำ (Drop Pipe) จนถึงปลายสุดของท่อกรอง แล้วจึงปล่อยลมซึ่งมีความดันสูงตั้งแต่ 100-125 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ลงไปในบ่อทางท่อลม จะทำให้ตะกอและทรายเม็ดเล็กรอบๆบ่อหลุดเข้ามาในบ่อแล้วจึงถูกดันขั้นข้างบนทางท่อจ่ายน้ำตลอดเวลาที่ลมยังมีแรงดันสูง

การสูบทดสอบปริมาณน้ำ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การสูบทดสอบน้ำบาดาล

วัตถุประสงค์ของการสูบทดสอบ คือ การประเมินคุณสมบัติทางชลศาสตร์ของชั้นน้ำบาดาล และประเมินอัตราการสูบน้ำ การเลือกขนาด และชนิดของเครื่องสูบน้ำ การประเมินคุณสมบัติทางชลศาสตร์ ได้แก่ คุณสมบัติการจ่ายน้ำ (Transmissivity), คุณสมบัติในการยอมให้น้ำไหลผ่าน (Hydraulic conductivity) และคุณสมบัติในการกักเก็บ (Storage coefficient)

อ้างอิง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

- บริการขุดเจาะบาดาล ทำน้ำประปาใช้ภายในบ้าน - รับปรึกษางานระบบประปา ของโครงการบ้านจัดสรร โรงแรม รีสอร์ท - บริการขุดเจาะบาดาลสำหรับทำการเกษตร นาข้าว พืชผัก ไร่ผลไม้ สวนยางพารา มันสัปหลัง อื่น - ออกแบบพัฒนาจัดหาแหล่งน้ำให้คุณเพื่ออนาคต - รับปรึกษางานระบบประปา ของโครงการ ปศุสัตว์ ฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ และอื่นๆ - รับสำรวจหาแหล่งน้ำบาดาล ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ให้คำปรึกษาทุกพื้นที่ - ติดตั้งปั้มต่างๆ เป่าบ่อ ล้างบ่อ ซ่อมแซมบ่อ ราคาเป็นกันเอง - ให้คำแนะนำปัญหาจากน้ำบาดาล - บริการทั้งงานเล็ก งานใหญ่ - เจาะบาดาลไม่มีน้ำ ไม่คิดเงิน

รับประมูลงาน เจาะบาดาล สำหรับ หน่วยงานราชการ อบต.เทศบาล โรงเรียน (รับตัวแทนนายหน้า) - รับเหมาโครงการขุดเจาะบ่อบาดาล พร้อมก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน - บริการขุดเจาะบาดาลทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย - รับปรึกษาปัญหาตามที่คุณต้องการโดยวิศวกรมืออาชีพ - บริการเจาะบาดาลทำน้ำประปา ในหมู่บ้าน อบต. โรงพยาบาลชุมชน โรงเรียน วัด หน่วยงานราชการอื่นๆ - ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านการจัดหาแหล่งน้ำบาดาล - ออกแบบพัฒนาจัดหาแหล่งน้ำให้คุณเพื่ออนาคต - รับปรึกษางานระบบประปา ของโครงการต่างๆ - ติดตั้งปั้มต่างๆ - ให้คำแนะนำปัญหาจากน้ำบาดาล


ท่านสามารถไว้วางใจได้ เรามีประสบการณ์มามากกว่า 20 ปี ราคากันเองคุยกันได้ มีรถเจาะประจำอยู่ทุกพื้นที่ รับเจาะบาดาล ติดต่อโจ้บาดาลไทย โทร 092-7469824 Line :927469824


รายละเอียดที่ http://xn--l3cgh8an0fb9l.com/