ข้ามไปเนื้อหา

การคำนวณความสมมาตร

จาก วิกิตำรา

การคำนวนความสมมาตร หมายถึง การคำนวนหาความเหมือนกันทุกด้านของวัตถุหรือรูปร่าง เพื่อสรุปว่าวัตถุนั้นมีความสมดุลหรือไม่ โดยใช้ เส้นสมมาตร ในการคำนวณ

เส้นสมมาตร

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ซ้าย แสดงวัตถุที่เป็นสมมาตร (ด้านข้าง) และ ขวา แสดงวัตถุที่ไม่เป็นสมมาตร (ด้านข้าง)
การคำนวณวัตถุที่เป็นทรงกลม ด้วยเส้นสมมาตรรัศมีทรงกลม

เส้นสมมาตรมี 2 ประเภท ดังนี้

  1. สมมาตรด้านข้าง คือเส้นตรงที่ใช้คำนวณความสมมาตรของวัตถุหรือรูปร่างที่ไม่ใช่ทรงกลม เส้นสมมาตรประเภทนี้มีเพียงเส้นเดียว
  2. สมมาตรรัศมี คือเส้นตรงที่ใช้คำนวณความสมมาตรของวัตถุหรือรูปร่างที่เป็นทรงกลม เส้นสมมาตรประเภทนี้มีมากกว่า 1 เส้น

1. สมมาตรด้านข้าง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ลากเส้นตรงเพียงเส้นเดียวผ่านจุดศูนย์กลางของวัตถุหรือรูปร่างนั้นจนสุด เพื่อแบ่งวัตถุออกเป็น 2 ด้าน หากวัตถุมีความเหมือนกันแบบภาพสะท้อนหรือภาพกลับหัวทั้ง 2 ด้านไม่ผิดเพี้ยน แสดงว่าวัตถุนั้นมีความเป็นสมมาตร

2. สมมาตรรัศมี

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ลากเส้นตรงผ่านจุดศูนย์กลางของวัตถุหรือรูปร่างอย่างน้อย 2 เส้น เส้นที่หนึ่งลากผ่านจุดศูนย์กลางในแนวนอน เส้นที่สองลากผ่านจุดศูนย์กลางในแนวตั้ง เพื่อแบ่งวัตถุออกเป็น 4 ส่วน (เป็นอย่างน้อย) หากวัตถุมีความเหมือนกันแบบภาพสะท้อนหรือภาพกลับหัวของทุกส่วน แสดงว่าวัตถุนั้นมีความเป็นสมมาตร

  • Jan Jenner และ Ph.D. สำรวจโลกวิทยาศาสตร์ ชีวิตสัตว์โลก. พิมพ์ครั้งที่ 1 : บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด, 2546

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]