การคูณและการหารเลขฐาน
หน้าที่คุณเห็นนี้ต้องการ "การปรับปรุงเนื้อหา การแก้ไขรูปแบบ การเรียบเรียงภาษาที่ใช้ใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด" ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือในหลายส่วนด้วยกัน เพื่อให้ได้ถูกต้องตามมาตรฐานและนโยบายของวิกิตำรา คุณสามารถช่วยตรวจสอบ และแก้ไขบทความนี้ได้ด้วยการกดปุ่ม แก้ไข ด้านบน เมื่อทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อยดีแล้ว คุณสามารถนำป้ายนี้ออกได้ทันที |
การคูณและการหารเลขฐาน
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]1. การคูณ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]1.1 การคูณเลขฐานสอง
ระบบเลขฐานสองมีตัวเลขเพียงสองตัวคือ 0 กับ 1
การคูณในระบบเลขฐานสอง เราสามารถกระทำได้ในลักษณะเช่นเดียวกับการคูณเลขฐานสิบ
ซึ่งก็คือ ทำการตั้งหลักของการคูณให้ตรงกัน โดยเริ่มจากบิท หรือหลักตัวเลขทางขวามือสุดก่อน
เมื่อได้ทำการคูณ ตัวตั้งด้วยตัวคูณทุกตำแหน่งแล้ว ก็ให้ทำการบวกโดยใช้กฎการบวกเลขฐานสองตามปกติทุกประการ
การคูณจึงมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1 × 1 = 1
1 × 0 = 0
0 × 1 = 0
0 × 0 = 0
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.2 การคูณเลขฐานแปด
ระบบเลขฐานแปดมีตัวเลขที่ใช้เพียงแปดตัวคือ 0 1 2 3 4 5 6 และ 7
การคูณในระบบเลขฐานแปด เราสามารถกระทำได้ในลักษณะเช่นเดียวกับการคูณเลขฐานสิบ
ซึ่งก็คือ ทำการตั้งหลักของการคูณให้ตรงกัน โดยเริ่มจากบิท หรือหลักตัวเลขทางขวามือสุดก่อน
แต่การคูณเลขฐานแปดนั้นมีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ ถ้าผลลัพธ์ของการคูณเลขแต่ละบิทมีค่าเกิน 7
ให้นำ 8 ไปหารค่านั้น โดยนำผลลัพธ์ของการหารไปเป็นตัวทดในบิทถัดไป
และเศษของการหารใส่เป็นผลลัพธ์ในหลักที่ทำการคูณกันนั้น เมื่อได้ทำการคูณตัวตั้งด้วยตัวคูณทุกตำแหน่งแล้ว
ก็ให้ทำการบวกโดยใช้กฎการบวกเลขฐานแปดตามปกติทุกประการ
เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นศึกษาจากตัวอย่างดังต่อไปนี้
1.3 การคูณเลขฐานสิบหก
ระบบเลขฐานสิบหกมีตัวเลขที่ใช้ 16 ตัวคือ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E และ F
การคูณในระบบเลขฐานสิบหก เราสามารถกระทำได้ในลักษณะเช่นเดียวกับการคูณเลขฐานสิบ
ซึ่งก็คือ ทำการตั้งหลักของการคูณให้ตรงกัน โดยเริ่มจากบิท หรือหลักตัวเลขทางขวามือสุดก่อน
แต่การคูณเลขฐานสิบหกนั้นมีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ ถ้าผลลัพธ์ของการคูณเลขแต่ละบิทเมื่อคูณกันแล้วมีค่าเกิน 15 หรือค่า F
ให้นำ 16 ไปหารค่านั้น โดยนำผลลัพธ์ของการหารไปเป็นตัวทดในบิทถัดไป
และเศษของการหารใส่เป็นผลลัพธ์ในหลักที่ทำการคูณกันนั้น เมื่อได้ทำการคูณตัวตั้งด้วยตัวคูณทุกตำแหน่งแล้ว
ก็ให้ทำการบวกโดยใช้กฎการบวกเลขฐานสิบหกตามปกติทุกประการ
เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นศึกษาจากตัวอย่างดังต่อไปนี้
2. การหาร
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]2.1 การหารเลขฐานสอง
การหารในระบบเลขฐานสอง ก็จะทำเช่นเดียวกันกับการหารเลขฐานสิบ โดยใช้วิธีการหารแบบตั้งหารยาว
เกณฑ์การหารเลขฐานสองสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
0 / 1 = 0
1 / 1 = 1
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
2.2 การหารเลขฐานแปด
การหารเลขฐานแปดก็มีวิธีเช่นเดียวกับการหารเลขฐานสิบ คือมีหลักการคูณด้วย และทำโดยใช้วิธีตั้งหารยาว
เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นศึกษาจากตัวอย่างดังต่อไปนี้
2.3 การหารเลขฐานสิบหก
การหารเลขฐานสิบหกก็มีวิธีเช่นเดียวกับการหารเลขฐานสิบ คือมีหลักการคูณด้วย และทำโดยใช้วิธีตั้งหารยาว
เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นศึกษาจากตัวอย่างดังต่อไปนี้