ข้ามไปเนื้อหา

การประดับธง และความหมายของธง

จาก วิกิตำรา
ธง การประดับธง รูปธง
ธงและความหมายของ ธง ในประเทศไทย
ธง ชาติ การประดับธงชาติ และธงเฉลิมพระเกียรติ

ธงชาติ กำหนดให้ประดับไว้เป็นลำดับแรก คือ ตามลำดับจาก ทางซ้ายไป ขวา เป็นลำดับไป หากจัดธงเป็นจำนวนคี่ให้จัดธงชาติไว้ตรงกลาง (โปรดจำไว้ว่า การประดับธงหลายธง ให้ประดับธงชาติไว้เป็นลำดับแรกเสมอ)
ความหมายของแถบสี (ธงไตรรงค์). สีแดง หมายถึง ชาติ สีขาว หมายถึง พระศาสนา สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
บทบรรยายตามพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ว่า ขอพร่ำรำพันบรรยาย ความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์ หมายพระไตรรัตน์ และธรรมะคุ้มจิตไทย แดงคือโลหิตเราไซร้ ซึ่งยอมสละได้ เพื่อรักษาชาติศาสนา น้ำเงินคือสีโสภา อันจอมประชา ธ โปรดเป็นของส่วนองค์ จัดริ้วเป็นทิวไตรรงค์ จึงเป็นสีธง ที่รักแห่งเราชาวไทยฯ

ธง ธรรมจักร ธงธรรมจักร เป็นธงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวที่ข้องสำคัญในทางพระพุทธศาสนา เป็นกงสัญลักษณ์ที่มีประวัติขุดได้จากแหล่งโบราณคดีอาณาจักรทวาราวดี จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดแสดงไว้โดยกรมศิลปากร และตั้งแสดงให้ประชาชนได้ทราบในฐานที่เป็นวัตถุทางโบราณคดี ต่อมาสัญลักษณ์กงล้อได้ใช้แทนเป็นรูปธรรมจักรในผืนธงพื้นสีผ้าย้อมฝาดแบบจีวร เรียกว่า ธงตราธรรมจักร เมื่อคราวจัดงานขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ซึ่งรับรองร่วมกันโดยองค์กรทางศาสนาในระดับนานาชาติ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ ประเทศไทยจึงประกาศใช้ธงนี้อย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับงานศาสนพิธี และว่าด้วยการประดับธงในศาสนพิธี ว่าเป็นธงพระพุทธศาสนา เดิมเป็นรูปกงล้อธรรมจักร ๘ ซี่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นธรรมจักรแบบ มี ๑๒ ซี่กง ในรูปวงกลมล้อตามแบบที่ใช้อยู่เดิม
ธง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การประดับธงพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ประดับไว้เป็นลำดับที่ ๒ ต่อจากธงชาติ

ธงพระปรมาภิไธยย่อ ภปร
เป็นธงประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นธงพื้นสีวันพระราชสมภพ สีเหลือง ตรงกลางผืนธงเป็นรูปสัญลักษณ์ประจำพระองค์ เรียกชื่อว่า ตราพระปรมภิไธยย่อ อักษรย่อ ภ.ป.ร.
ธงพระปรมาภิไธยย่อ วปร (ธงพระมหากษัตริย์ รัชกาลปัจจุบัน)
เป็นธงประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เป็นธงพื้นสีวันพระราชสมภพ สีเหลือง ตรงกลางผืนธงเป็นรูปสัญลักษณ์ประจำพระองค์ เรียกชื่อว่า ตราพระปรมภิไธยย่อ อักษรย่อ ว.ป.ร.

ธง สมเด็จพระบรมราชินีนาถ วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม มหาราชินี ให้ประดับไว้เป็นที่ ๒ ต่อจากธงชาติ ในงานพระราชพิธีทั่วไปให้ประดับไว้ต่อจากธงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ธงของพระมหากษัตริย์ และของพระบรมวงศานุวงศ์ จัดลำดับการประดับไว้กำหนดให้เป็นไปตามชั้นพระอิสริยยศ)

ธงพระนามาภิไธยย่อ สก
เป็นธงประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เป็นธงพื้นสีวันพระราชสมภพ สีฟ้า ตรงกลางผืนธงเป็นรูปสัญลักษณ์ประจำพระองค์ เรียกชื่อว่า ตราพระนามาภิไธยย่อ อักษรย่อ ส.ก.

การจัดโต๊ะหมู่บูชา ถวายสักการะ

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ตัวอย่าง การจัดโต๊ะบูชาถวายสักการะ แบบ ๗ แท่นรอง

การจัดแท่นหมู่บูชาถวายสักการะ นั้น เมื่อตั้งโต๊ะทั้ง ๗ โต๊ะบนพื้นแท่นหลัก หรือบนผืนพรมแล้ว จากนั้น ให้อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมรูปหล่อ มาประดิษฐาน ณ ตำแหน่งโต๊ะกลางสูงทางด้านหลังในสุด ลำดับที่ ๑ พร้อมด้วยเครื่องประดับแจกันหรือพานพุ่มดอกไม้ และในลำดับต่างๆ นั้น เป็นดังต่อไปนี้

  • โต๊ะตัวลำดับที่ ๒ ตัวสูงกลาง ด้านหน้า ตั้งประดับแจกันดอกไม้ หรือพานพุ่มดอกไม้
  • โต๊ะลำดับตัวที่ ๓ ที่ ๔ ด้านข้างตั้งประดับแจกันดอกไม้ หรือพานพุ่มดอกไม้
  • โต๊ะลำดับที่ ๕ ตัวพื้นฐานด้านล่างตำแหน่งหน้าสุด ให้ตั้งประดับสักการะด้วย พานจัดธูปเทียนแพ และกรวยดอกไม้
  • โต๊ะตัวสูงกลางด้านข้าง ตัวที่ ๖ ที่ ๗ ให้ตั้งประดับด้วยพานพุ่มดอกไม้ สำคัญที่ว่า ตำแหน่งที่ ๓ และที่ ๔ นั้น จะตั้งประดับเป็นพานพุ่มอย่างลำดับที่ ๖ ที่ ๗ ก็ได้

การประดับหรือการประดับแก่อนุสวรีย์หรือพระบรมรูปแบบถาวร นั้น ให้เป็นไปตามประกาศที่เป็นปัจจุบันของทางราชการ หรือสอบถามด้วยกับหน่วยงานของราชการในท้องที่ หรือท้องถิ่นนั้นๆ ถึงการจัดตั้งโต๊ะบูชา และการประดับธงเพื่อการถวายสักการะ และการรักษาประเพณีของท้องถิ่นในแบบต่างๆ