ข้ามไปเนื้อหา

ความขัดแย้งและความร่วมมือของโลกในศตวรรษที่ 20/ความขัดแย้งของโลกในศตวรรษที่ 20

จาก วิกิตำรา

การปฏิวัติอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาการของโลกในคริสต์สตวรรษที่ 19 ทำให้โลกก้าวหน้ามากขึ้น มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้และปรับปรุงการคมนาคมที่ อำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม อันมีผลทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติมหาอำนาจ และเริ่มแข่งขันกันแสวงหา อาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเล อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 โดยการ ล้มล้างสถาบันกษัตริย์แล้วตั้งรัฐบาลที่มาจากประชาชน ตลอดจนการปฏิวัติของชาวอเมริกันเพื่อแยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษใน ค.ศ. 1776 รวมทั้งความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ด้าน พาณิชกรรมและลัทธิจักรวรรดินิยมได้มีส่วนกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งที่สำคัญในประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ การเกิดสงครามโลก

ซึ่งผลของสงครามก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ความขัดแย้งระหว่างประเทศ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจและการแย่งชิงทรัพยากรหรือดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุมาจากการแข่งขันทางการ เมืองเพื่อความเป็นใหญ่ในภูมิภาค เช่น นโยบายสร้างฝรั่งเศสในสมัยนโปเลียน นโยบายสร้างเยอรมนีให้ยิ่งใหญ่ เป็นต้น หรืออาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางศาสนา และการเมือง ทางด้านศาสนา เช่น สงครามครูเสดระหว่างศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามใน คริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางด้านการเมือง เช่น ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น ทั้งนี้ความขัดแย้งที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่ เกิดขึ้นจากการยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดสงครามขึ้น ได้แก่สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War : ค.ศ. 1914-1918)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) เป็นสงครามที่เริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 และสิ้นสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งนี้เป็นสงครามที่เกิดจากความ ขัดแย้งของประเทศในทวีปยุโรปและลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ

สร้างความเสียหายให้แก่มนุษยชาติอย่างรุนแรง จึงเรียกสงครามโลกครั้งนี้อีกอย่างหนึ่งว่า มหาสงคราม (Great War)

สงครามโลกครั้งที่ 2 (Second World War : ค.ศ.1939-1945)

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 20 ปีสงครามครั้งนี้ขยายไปทั่วโลก ทั้งยุโรป แอฟริกา และเอเชีย สงครามครั้งนี้มีระยะเวลายาวนานถึง 6 ปี จึงยุติเป็นสงครามที่ทำลายล้างผู้คนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล

ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา แต่ทูตไทยในสหรัฐอเมริกา ที่ นำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไม่ยอมรับทราบในการกระทำของรัฐบาล จึงได้ร่วมมือกันตั้งเสรีไทยขึ้นติดต่อกับ นายปรีดี พนมยงค์ ในเมืองไทย เมื่อสงครามสงบในวันที่ ไทย กับสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางด้านเอเชีย ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ต่อมา วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทหารญี่ปุ่นก็เข้าเมืองไทย ทางสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ และ สมุทรปราการ ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นก็เข้าโจมตีเกาะฮาวาย, ฟิลิปปินส์และส่งทหารขึ้นบกที่มลายูและโจมตีสิงคโปร์ทางเครื่องบิน สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 8 (ขณะนั้นเสด็จประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์) หลวงพิบูลสงคราม(จอมพล ป. พิบูล สงคราม)เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเริ่มสงครามนั้นไท ยประกาศตนเป็นกลาง แต่ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน กลุ่มคนไทยบางส่วนโดยเฉพาะในต่างประเทศไทยได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement) ดำเนินช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร จึงช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการแพ้สงคราม ซึ่งในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยประกาศสงครามเป็นโมฆะ ซึ่งสหรัฐอเมริการับรอง ต่อมาไทยได้เจรจาเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 และกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ความมุ่งหวังที่ญี่ปุ่นจะอาศัยปร ะเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าเพื่อยึดครองอินเดีย ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นเหนือแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเริ่มสร้างทางรถไฟสายมรณะในเดือนกันยายน พ.ศ. 2485 ทั้งคนงานและเชลยศึกจำนวนหมื่นถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร ต้องโหมทำงานตลอดวันตลอดคืน บุกเบิกเข้าไปในป่ากว้างที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและโรคภัย คนงานและเชลยศึกเหล่านั้นมีทั้งพม่า ชวา มลายู อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์ ต้องประสบความทุกข์ทรมาน เจ็บปวดล้มตายเป็นจำนวนมาก ทางรถไฟพังทลายเพราะน้ำเซาะคันดินและสะพานข้ามแม่น้ำแควถูกระเบิดครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ทำพิธีเปิดทางรถไฟสายนี้อย่างเป็นทางการ

สาเหตุที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เหตุเพราะเรามีกำลังน้อยเมื่อญี่ปุ่นบุกจึงไม่สามารถต่อต้านได้ และเพื่อป้องกันมิให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง

ผลของสงครามต่อไทย

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ

2. ได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง

3. เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง

4. ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ

สำหรับประเทศไทยนั้น เราได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเพียงประเทศเดียวในทวีปเอเชียและแปซิฟิกไม่นับรวมญี่ปุ่น ที่เข้าร่วมกับพวกอักษะ สาเหตุการเข้าร่วมนั้น สืบเนื่องมาจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในสมัย รัชกาลที่ 5 ทุกประเทศในฝั่งทะเลแปซิฟิกและทะเลอันดามัน ถูกเป็นเมืองขึ้นกันหมด เหลือแต่ไทยและญี่ปุ่นเท่านั้น และจากการที่สยามโดนยึดดินแดนรอบนอกส่วนต่างๆ (ซึ่งเดิมเป็นของไทย)เช่น เขมร ลาว บางส่วนของพม่า บางส่วนของจีน และส่วนเหนือของมาเลเซีย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของสยาม ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นมา ประกอบกับเผด็จการจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ต้องการนำส่วนที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำให้เราโจมตีอินโดจีนของฝรั่งเศส เราจึงร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น

มุมมองของญี่ปุ่นต่อไทยสมัยนั้น ถือว่าเราเป็นเมืองที่ค่อนข้างเจริญ และไม่เคยถูกชาวต่างชาติครอบงำเหมือนประเทศหลายๆประเทศในแถบนี้ จึงต้องการให้ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เพราะนโยบายของญี่ปุ่นคือ ต่อต้านและขับไล่ชาวตะวันตก ให้ออกไปจากแผ่นดินเอเชียให้หมด ประเทศ

สงครามเย็น

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเมื่อ ค.ศ. 1945 ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างตระหนักถึงภัย พิบัติของสงคราม เพราะการสู้รบใช้เทคโนโลยีและยุทธวิธีทางอากาศที่ก่อความเสียหายอย่าง มากมายในสมรภูมิรบที่กระจายในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทวีปยุโรป ซึ่งเคยเป็น

มหาอำนาจในโลกยุคใหม่เพราะเป็นผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเจ้าแห่งจักรวรรดินิยมได้ สูญเสียอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่เสียหายน้อยมาก ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจได้กลาย เป็นผู้นำโลกเสรี ส่วนสหภาพโซเวียตซึ่งเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมเมื่อ ค.ศ. 1918 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ได้เป็นผู้นำกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและ พยายามที่จะเป็นผู้นำการปฏิวัติโลกตามแนวความคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์