ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์/รูปแบบการปกครอง
1. การปกครองแบบคนเดียว เป็นการปกครองที่คน ๆ เดียวมีอำนาจสูงสุด เช่น กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
2. การปกครองแบบคนกลุ่มน้อย เป็นการปกครองที่ประกอบด้วยคนกลุ่มเดียวที่ได้อำนาจมาด้วยการปฏิวัติรัฐประหาร และทำหน้าที่เป็นรัฐบาล ผูกขาดอำนาจแต่เพียงคนกลุ่มเดียว เช่น การปกครองแบบคณาธิปไตย อภิชนาธิปไตย คอมมิวนิสต์
3. การปกครองแบบกลุ่มคนจำนวนมาก เป็นการปกครองที่คนกลุ่มใหญ่มีส่วนร่วมในทางการเมือง เช่น การปกครองในระบบประชาธิปไตย
การปกครองในระบอบเผด็จการ
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม คือ การปกครองแบบเผด็จการที่ยึดหลักว่าอำนาจทั้งหลายทั้งปวงในรัฐจะต้องรวมอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยหรือคนกลุ่มเดียวซึ่งมีการรวมอำนาจ เช่น การรวมอำนาจด้วยวิธีการปฏิวัติรัฐประหาร ผู้ที่ยึดอำนาจรัฐได้จะเป็นรัฐบาลโดยที่รัฐบาลไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ใดโดยเฉพาะไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน เพราะเป็นฐานอำนาจมิได้มาจากประชาชน
การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม ได้แก่
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]อัตตาธิปไตย (Authocracy) หรือการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการปกครองโดยไม่มีขอบเขตจำกัด เช่น จักรพรรดิซีซาร์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นต้น
คณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองแบบเผด็จการที่ประกอบด้วยคนกลุ่มเดียว (ไม่ใช่ระบบเผด็จการโดยคน ๆ เดียว) คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการปกครองประเทศอย่างแท้จริง อำนาจการปกครองถูกผูกขาดโดยคนกลุ่มเดียว เช่น คณะปฏิวัติ
อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) เป็นการปกครองโดยชนกลุ่มน้อย ซึ่งตามปกติมักจะเป็นผู้มีตำแหน่งสูงในทางราชการ เช่น พวกขุนนาง หรือมิฉะนั้นก็เป็นผู้มีอำนาจในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในอดีตบางประเทศ กลุ่มขุนนาง หรือกลุ่มอภิสิทธิ์ชน มีอำนาจเหล่านี้ จะเข้าปกครองประเทศซึ่งผลที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดรูปรัฐบาลเผด็จการ
การปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ เป็นระบบเผด็จการที่มีการรวมอำนาจ เช่น การปฏิวัติรัฐประหาร ผู้ยึดอำนาจได้จะเป็นรัฐบาล และไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน โดยถือว่ากิจการทุกอย่างของประชาชน รวมทั้งวิถีดำรงชีวิตทั้งปวงของประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง จะต้องตกอยู่ในอำนาจของรัฐบาลแต่ผู้เดียว
การปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ได้แก่
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ฟาสซิส (Fascism) เป็นการปกครองแบบเผด็จการที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิและถูกบังคับ โดยมีความเชื่อว่า คนเกิดมาเพื่อรัฐ และจะต้องรับใช้รัฐตลอดไป รัฐที่เข้มแข็งกว่าย่อมได้สิทธิในการปกครองผู้ที่อ่อนแอกว่าต้องสละสิทธิดังกล่าว การปกครองโดยคนกลุ่มน้อย หรือคน ๆ เดียวเป็นการปกครองที่ดีที่สุด เพราะมีประสิทธิภาพช่วยช่วยให้ประเทศชาติเจริญอย่างรวดเร็ว และถือว่ารัฐเป็นเสมือนสิ่งที่มีชีวิต ย่อมต้องเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา เหมือนรัฐจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งมีการขยายดินแดน เพราะฉะนั้น สงครามจึงเป็นสิ่งที่ชอบธรรม เช่น รัฐบาลภายใต้พรรคฟาสซิสของมุสโสลินี
ปัจจุบันผู้ที่นิยม ทหารนิยม ชาตินิยม เชื้อชาตินิยม หรือจักรวรรดินิยม ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นพวกฟาสซิส
ฉะนั้นพวกนาซีและฟาสซิสจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะขยายดินแดน ขยายการควบคุมเข้าไปในส่วนต่าง ๆ ในโลก เพราะถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ของชาติตน โดยถือว่าการครอบครองชาติอื่นเป็นคุณธรรม เพราะยิ่งครอบครองชาติอื่นได้มากขึ้นเท่าใด ชาติของตนก็จะมีฐานะเด่นมากขึ้นเท่านั้น
คอมมิวนิสต์ (Communism) เป็นลัทธิการเมืองและเศรษฐกิจ คิดขึ้นโดย คาร์ลมาร์กซ์ และเองเกลส์ ซึ่งต้องการให้มีรัฐบาลกลางภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์มีอำนาจ เพื่อควบคุมการเมืองและเศรษฐกิจของชาติ โดยขจัดพวกที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือการผลิต ต้องการให้มีการปฏิวัติและทำลายล้างระบบการเมืองอื่น ๆ ผู้ปกครองประเทศจะต้องเป็นคอมมิวนิสต์พวกเดียวเท่านั้น ประชาชนอื่นไม่มีสิทธิ พวกคอมมิวนิสต์ถือว่าตนมีอำนาจปกครองเพราะอ้างว่าเป็นตัวแทนของชนชั้นกรรมาชีพ
เปรียบเทียบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]การปกครองแบบรัฐสภา
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
2. ประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกรัฐสภา
3. สภาสามัญเลือกคณะรัฐบาล
4. คณะรัฐบาลมาจากพรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาสามัญ
5. นายกรับมนตรีและรัฐมนตรีส่วนมากต้องมาจากสภาสามัญ
6. คณะรัฐบาลอยู่ในตำแหน่งได้นานตราบเท่าที่สภาสามัญไว้วางใจ
7. พรรคที่มีเสียงข้างมากในสภาสามัญทำหน้าที่เป็นรัฐบาล ส่วนพรรคที่มีเสียงข้างน้อยทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน
8. ทุกครั้งที่มีการประชุมสภาสามัญ คณะรัฐมนตรีต้องไปร่วมประชุมด้วยและมีหน้าที่ตอบกระทู้ถามของสมาชิกสภา
9. ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย คือ สมาชิกสภาสามัญและสมาชิกสภาขุนนางกับคณะรัฐมนตรี
10. คณะรัฐมนตรีมีอำนาจยุบสภาสามัญได้ เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
การปกครองแบบประธานาธิบดี
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]1. อำนาจสูงสุดหรืออำนาจการปกครองเป็นของประชาชน
2. ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรสโดยตรง
3. ประธานาธิบดีและสภาคองเกรสมีระยะเวลาอยู่ในตำแหน่งแน่นอนและมั่นคง ต่างเป็นอิสระต่างหากจากกัน ไม่ขึ้นต่อกันและกัน และถอดถอนกันไม่ได้
4. ประธานาธิบดีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารและเป็นประมุขของรัฐ
5. เมื่อประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรมหรือลาออกหรือไร้สมรรถภาพ รองประธานาธิบดีเข้าดำรงตำแหน่งแทน
6. สมาชิกสภาจะเป็นรัฐมนตรีไม่ได้
7. ประธานาธิบดีจะเข้าร่วมประชุมสภาในสภาหนึ่งหรือประชุมร่วมกันมิได้ สมาชิกจะตั้งกระทู้ถามประธานาธิบดีหรือรัฐมนตรีไม่ได้
8. ประธานาธิบดีไม่มีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย
9. ร่างกฎหมายจะต้องผ่านการพิจารณาของทั้ง 2 สภา
10. ร่างกฎหมายอาจเป็นโมฆะได้ ถ้าขัดกับรัฐธรรมนูญ
11. ประธานาธิบดีและคณะรัฐมนตรีอาจสังกัดพรรคหนึ่งและเสียงข้างมาก ในสภาคองเกรสอาจเป็นของอีกพรรคหนึ่งก็ได้
การปกครองกึ่งผสมแบบรัฐสภากับแบบประธานาธิบดี
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
2. ประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีโดยตรง และเลือกสมาชิกสภาได้โดยตรง
3. ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และเสนอให้สภาให้ความไว้วางใจ
4. ส.ส. เป็นรัฐมนตรีไม่ได้
5. คณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้นานตราบเท่าที่สภาให้ความไว้วางใจ
6. พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาทำหน้าที่สนับสนุนรัฐบาล ส่วนพรรคเสียงข้างน้อยทำหน้าที่ฝ่ายค้าน
7. ทุกครั้งมีสภามีการประชุม คณะรัฐมนตรีต้องไปร่วมประชุมเพื่อตอบกระทู้ถาม
8. คณะรัฐมนตรีกับสมาชิกสภามีสิทธิเสนอร่างกฎหมาย
9. ประธานาธิบดีมีอำนาจพิเศษหรืออำนาจฉุกเฉิน ซึ่งจะทำให้ประธานาธิบดีมีอำนาจ ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ ได้เมื่อมีเหตุการณ์อันกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ
เปรียบเทียบการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์กับประชาธิปไตย
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ป. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
ค. อำนาจอธิปไตยเป็นของชนชั้นกรรมาชีพ
ป. ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุดในการเลือกรัฐบาล
ค. รัฐบาลเลือกมาจากพรรคคอมมิวนิสต์
ป. รัฐบาลโดยเสียงข้างมาก
ค. รัฐบาลโดยพรรค
ป. ประชาชนมีสิทธิขั้นมูลฐาน
ค. ประชาชนต้องปฏิบัติตามแนวของรัฐบาล
ป. คือหลักการแบ่งแยกอำนาจ
ค. คือหลักประชาธิปไตยรวมศูนย์
ป. มีการแข่งขันกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์
ค. แข่งขันกันภายในพรรค
ป. ยึดหลักกฎหมาย
ค. ถือนโยบายของพรรคเป็นสำคัญ