จัดการงานนอกสั่ง/ฎ.
# | เลขที่ | ใจความ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1550/2479 | โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของนางตั้งถ้วย และเป็นผู้พิทักษ์ของนางตั้งถ้วย และโจทก์ยังเป็นมารดาของจำเลย จำเลยนำเงินฝากไว้กับนางตั้งถ้วยผู้เป็นยายหลายคราวรวมสี่พันเก้าร้อยบาท เพื่อให้นางนำไปหาผลประโยชน์ต่าง ๆ นางตั้งถ้วยจึงเอาเงินเหล่านี้ออกให้เขากู้ และใน พ.ศ. 2475 นางตั้งถ้วยก็เอาเงินดังกล่าวไปซื้อที่ดินพิพาทเป็นราคาแปดพันบาท ที่ดินพิพาทนี้ไม่มีหนังสือสำคัญ มีแต่หนังสือสัญญาซื้อขายเท่านั้น หลังซื้อได้ประมาณหนึ่งเดือน จำเลยก็เข้าครอบครองโดยปลูกเรือนลงในที่ดินพิพาท และยังสร้างห้องแถวขึ้นที่หน้าบ้านอีก โจทก์เห็นว่า นางตั้งถ้วยมารดาโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดิน จำเลยเป็นแต่ผู้อาศัย จึงฟ้องขับไล่จำเลย และแม้จะฟังว่า นางตั้งถ้วยเป็นผู้แทนจำเลยในการจัดซื้อที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็ไม่ได้ทำหนังสือตั้งนางตั้งถ้วยเป็นตัวแทนแต่ประการใด
ศาลฎีกาเห็นว่า การที่นางตั้งถ้วยนำเงินของจำเลยไปซื้อที่ดินข้างต้นก็เพื่อประโยชน์ของจำเลย เป็นลักษณะจัดการงานนอกสั่ง ไม่ใช่กรณีตัวการตัวแทนตามสัญญาตั้งแทน จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า การตั้งตัวแทนจะต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่ เมื่อจำเลยรับเอาที่ดินมาครอบครองแล้วฉะนี้ จำเลยจึงเป็นเจ้าของสิทธิครอบครองที่ดิน ไม่ใช่นางตั้งถ้วยอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิจะฟ้องขับไล่จำเลยได้ ให้ยกฟ้องโจทก์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | 1042/2518 | โจทก์ฟ้องว่า โจทก์รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยคันหมายเลขทะเบียน น.ม. 03620 มีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 5 ว่า โจทก์จะใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกรายหนึ่ง ๆ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่เมื่อรวมแล้วไม่เกินห้าหมื่นบาท ระหว่างอายุสัญญาประกันภัย รถยนต์จำเลยชนกับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน น.บ. 04320 ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด โจทก์ได้ซ่อมรถยนต์คันถูกชน สิ้นเงินไปสองหมื่นห้าพันบาท ขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยใช้เงินจำนวนนี้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วมีคำสั่งว่า ป.พ.พ. ม. 887 ว. 2 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนที่บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับจากผู้รับประกันภัยโดยตรง หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำไปตามลำพังเอง จะให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ ให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาปัญหาว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าซ่อมรถยนต์ส่วนที่เกิดจากความรับผิดของตนจากจำเลยหรือไม่นั้น ศาลฎีกาเห็นว่า สำหรับเงินค่าซ่อมรถยนต์จำนวนที่ยังขาด เมื่อมีข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยจำกัดความรับผิดของโจทก์ไว้เพียงหนึ่งหมื่นบาท โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจ่ายเงินค่าซ่อมรถยนต์ให้ผู้ต้องเสียหายเกินกว่าความรับผิดของตน แต่เมื่อจ่ายไปตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จัดการแทนก็ตาม ย่อมเป็นผลทำให้หนี้เงินค่าซ่อมรถยนต์จำนวนที่ยังขาดระงับไป และจำเลยหลุดพ้นความรับผิดต่อผู้ต้องเสียหาย จึงอาจสมประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ เพราะต้องตามประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือต้องตามความประสงค์ตามที่พึงจะสันนิษฐานได้ กรณีตามฟ้องจึงเป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่งซึ่งอาจจะก่อให้เกิดหนี้ เป็นหนี้ที่ผูกพันจำเลยให้ต้องชดใช้เงินจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายเพื่อจัดการงานให้จำเลยไป ตามความใน ป.พ.พ. ม. 401 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย ชอบที่จะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไป พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์ไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | 1041/2523 | การที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยไปนั้น แม้จำเลยจะไม่ได้มอบหมายให้จัดการชำระหนี้แทนก็ตาม แต่ก็เป็นผลทำให้หนี้ของจำเลยระงับไป จำเลยหลุดพ้นความรับผิดต่อบุคคลภายนอก และอาจนำรถเข้าวิ่งร่วมกับบุคคลภายนอกได้ตามข้อตกลงต่อไป เช่นนี้ เป็นการสมประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวการ เพราะต้องตามความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือต้องตามความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ กรณีจึงเป็นเรื่องจัดการงานนอกสั่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้เงินที่ออกทดรองคืนได้ตาม ป.พ.พ. ม. 401 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | 1590/2531 | ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายมูล ดงดอย ผู้ตายมีบุตรห้าคน คือ นางตุ้ย กุยคำ, นางเพ็ญศรี ใจคำ, นางปั๋น แสนคำลือ, นายปัน ดงดอย และจำเลย ส่วนโจทก์เป็นบุตรของนางป้อ เพียรจิต น้องสาวของนายมูลผู้ตาย
เมื่อนายมูลถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งมิใช่ทายาทของผู้ตายได้เข้าเป็นผู้จัดการทำศพ ในการนี้ บุตรทั้งห้าคนของผู้ตายที่ไปในงานศพนี้โดยตลอดมิได้ทักท้วง หลังจากทำศพผู้ตายแล้ว บุตรทั้งห้าคนของผู้ตายปรึกษากันจะชดใช้ค่าทำศพของผู้ตายจำนวนหนึ่งให้แก่โจทก์ ซึ่งน้อยกว่าที่โจทก์เรียกร้อง โจทก์ไม่ยอม ประเด็นที่จะวินิจฉัยมีว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าจัดการทำศพของผู้ตายหรือไม่ ได้ความว่า บุตรทุกคนของผู้ตายไปในงานศพของผู้ตายหลังจากโจทก์เริ่มจัดการทำศพของผู้ตายแล้ว โดยผู้ตายหรือศาลมิได้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทำศพผู้ตาย ทั้งไม่ได้ความว่า บุตรของผู้ตายทั้งห้าคนซึ่งเป็นทายาทได้มอบหมายโดยชัดแจ้งตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการทำศพของผู้ตาย ตามความใน ป.พ.พ. ม. 1649 หากแต่เป็นเรื่องโจทก์ซึ่งมิใช่ทายาทของผู้ตายเข้าไปจัดการทำศพของผู้ตายโดยสมัครใจเอง อันเป็นการกระทำในหน้าที่ทางศีลธรรมและความเป็นญาติ เนื่องจากโจทก์ได้รับที่ดินจากผู้ตายมาหนึ่งแปลง แม้จะได้ความต่อไปอีกว่า ระหว่างทำศพผู้ตาย บุตรผู้ตายซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมิได้ทักท้วงก็ดี และหลังจากทำศพแล้ว บุตรผู้ตายทั้งห้าคนปรึกษาจะจ่ายเงินค่าทำศพให้โจทก์ส่วนหนึ่งก็ดี ก็ไม่พอฟังว่า ทายาทของผู้ตายมอบหมายตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทำศพรายนี้โดยปริยาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าจัดการทำศพที่โจทก์จ่ายไปจากกองมรดกของผู้ตายตามนัย ป.พ.พ. ม. 1649 ที่โจทก์ฎีกาว่า ถึงแม้จะฟังว่าการกระทำของโจทก์เป็นการเข้าทำกิจการแทนผู้อื่นโดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ ก็เป็นการจัดการงานนอกสั่ง ซึ่งสมประโยชน์ของตัวการ โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนตาม ป.พ.พ. ม. 401 นั้น เป็นการนอกประเด็นจากคำฟ้องของโจทก์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์พิพากษาชอบแล้ว ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | 1929/2539 | โจทก์ (กรมตำรวจ) ฟ้องว่า กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ เป็นส่วนราชการของโจทก์ มีจำเลยที่ 1 (พันตำรวจเอก นิภณย์ สันตพงษ์) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการตำรวจในจังหวัดศรีสะเกษ และมีหน้าที่บริหารงบประมาณรายจ่ายที่โจทก์จัดสรรมาให้เพื่อจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นแทนโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่พลาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์รวมทั้งน้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเสนอขอให้จำเลยที่ 1 อนุมัติ และมีหน้าที่ควบคุมให้จำเลยที่ 3 จัดทำบันทึกการเลิกจ่ายน้ำมันหล่อลื่น
จำเลยที่ 1 จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัดวีสมหมายครบถ้วนตามจำนวนเงินงบประมาณประจำปี 2526 แล้ว แต่ยังได้สั่งซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นในนามของโจทก์เพิ่มอีกสองร้อยเก้าสิบแปดครั้ง เป็นเงินหนึ่งล้านเก้าหมื่นแปดพันเก้าร้อยเก้าสิบสามบาท แปดสิบสามสตางค์ โดยไม่ได้รับอนุมัติจากโจทก์ เป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ ขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องชำระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่น พร้อมดอกเบี้ย ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความ รวมเป็นเงินหนึ่งล้านสองแสนสองหมื่นหกพันสี่ร้อยเจ็ดสิบสี่บาท สิบสี่สตางค์ ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดวีสมหมาย โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์จำนวนหนึ่งล้านสองแสนสองหมื่นหกพันสี่ร้อยเจ็ดสิบสี่บาท สิบสี่สตางค์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ 19 มกราคม 2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การว่า น้ำมันเชื้อเพลิงนั้นต้องซื้อเชื่อ เมื่อได้รับเงินจัดสรรมาแล้วค่อยเบิกจ่ายใช้หนี้ให้แก่ผู้ขาย หากได้มาไม่พอจะชำระทุกส่วน ก็ติดค้างชำระส่วนที่เหลือ แล้วขอซื้อเชื่ออีก จนกว่าจะได้รับเงินจัดสรรงวดต่อไป ปฏิบัติเช่นนี้มาโดยตลอดโดยไม่ต้องขออนุมัติจากโจทก์ เพราะจำเลยเป็นตัวแทนโจทก์ในการบริหารงานของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ จำเลยกระทำไปเพื่อมิให้การปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องใช้รถยนต์หยุดชะงัก การที่โจทก์ต้องชำระหนี้ค่าน้ำมันแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดวีสมหมายตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิใช่ความผิดของจำเลยขอให้ยกฟ้อง ในชั้นฎีกา ปัญหาที่ศาลฎีกาวินิจฉัยมีว่า จำเลยจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. ม. 396 หรือไม่ โจทก์ฎีกาในข้อนี้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับเงินงบประมาณมาแล้ว จำเลยที่ 1 จะตั้งกรรมการพิจารณาว่า จะจัดสรรเงินนั้นไปจ่ายในส่วนใดบ้าง แล้วเสนอไปยังกองบังคับการตามขั้นตอนจนถึงโจทก์ เมื่อใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติหมดแล้ว จะไปก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณไม่ได้ หากงบประมาณไม่พอ ต้องทำเรื่องของงบประมาณเพิ่มเติมเสนอผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับขั้น การที่จำเลยที่ 1 ก่อหนี้ผูกพันค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าน้ำมันหล่อลื่นในปีงบประมาณ 2526 จำนวนหนึ่งล้านเก้าหมื่นแปดพันเก้าร้อยเก้าสิบสามบาท แปดสิบสามสตางค์ โดยไม่ได้ของงบประมาณเพิ่มเติมจากโจทก์ก่อน เป็นการเข้าจัดการอันเป็นการขัดความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ หรือขัดกับความประสงค์ตามที่จะพึงสันนิษฐานได้ จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดจากการที่ได้จัดการนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีตาม ป.พ.พ. ม. 396 ต้องเป็นการที่ผู้จัดการได้เข้าจัดการงานอันเป็นการขัดความประสงค์อันแท้จริงของตัวการ หรือขัดกับความประสงค์ที่พึงสันนิษฐานได้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วหรือน่าจะรู้ว่า ตัวการไม่ประสงค์เช่นนั้น แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นที่จำเลยที่ 1 จัดซื้อจากห้างหุ้นส่วนจำกัดวีสมหมายนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ ได้สั่งซื้อไปใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของโจทก์ และทางจังหวัดศรีสะเกษก็เคยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์จัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดวีสมหมาย แต่โจทก์ไม่ได้ดำเนินการใด ๆ อนึ่ง ปรากฏว่า ก่อนหน้านี้ กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษก็เคยเป็นหนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัดวีสมหมายหลายครั้ง เมื่อทางจังหวัดศรีสะเกษรายงานเรื่องไปให้โจทก์ทราบ โจทก์ก็จัดสรรงบประมาณไปชำระหนี้ทุกครั้ง ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นจากห้างหุ้นส่วนจำกัดวีสมหมายหลังจากหมดงบประมาณที่โจทก์จัดสรรมาให้ในปีงบประมาณ 2526 แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการจัดซื้อมาเพื่อใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษตามที่เคยปฏิบัติมา และโจทก์เองก็รับรู้และยอมรับข้อปฏิบัติดังกล่าว กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ทำไปตามอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานของกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษแทนโจทก์ หาใช่ทำไปโดยขัดกับความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยนั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||