ข้ามไปเนื้อหา

ตำราอาหาร:น้ำตาลโตนด

จาก วิกิตำรา

น้ำตาลโตนด การทำน้ำตาลโตนดนั้น จริงแล้วมีในสมัยโบราณแต่ทำเพื่อบริโภคในครัวเรือน และแบ่งปันให้เพื่อนบ้านหรือแจกจ่ายให้กับญาติพี่น้อง ไม่ใช่ทำเพื่อจำหน่ายอย่างในยุคปัจจุบัน และในปัจจุบันนั้นมีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลโตนด ผลิตเพื่อส่งออก ทั้งภายในประเทศ และนอกประเทศ มีทั้งน้ำตาลปึก และน้ำตาลปีบ

น้ำตาลโตนดนั้นจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับต้นตาลด้วย ว่าอายุได้ที่หรือยังเพราะตาลส่วนใหญ่ที่ใช้ในการทำน้ำตาลโตนด ต้องมีอายุ 10 ปีขึ้นไป ซึ่งจะอยู่ในระยะแทงช่อดอกใหม่ๆ ซึ่งมีวิธีในการทำคล้ายกัน ทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่จะแตกต่างตรงที่วิธีการใช้ไม้ที่ใช้นวดจั่น หรือว่า งวง ซึ่งภาษาชาวบ้าน เรียกว่าไม้คาบ

อุปกรณ์ในการทำน้ำตาล

  1. มีดตาล
  2. เชือกหรือเข็มขัดหนังสำหรับเหน็บมีด
  3. กระบอกใส่น้ำตาล
  4. พะอง
  5. ไม้คาบตัวผู้ ไม้คาบตัวเมีย

ขั้นตอนในการทำน้ำตาลโตนด มีดังนี้

  1. นำน้ำตาลที่ได้จากการปาดตาลมากรองให้สะอาดโดยผ่านผ้าขาวบาง
  2. นำน้ำตาลที่รับการกรองจากผ้าขาวบางแล้วไปต้มด้วยไฟแรงๆ
  3. เมื่อเคี่ยวน้ำตาลจนเดือดแล้วเราก็จะได้น้ำตาลสด ซึ่งสามารถนำมารับประทานได้ โดยใส่น้ำแข็ง หรือว่าไม่ใส่ก็ได้ และมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป
  4. ถ้าเราไม่นำมารับประทานหรือนำน้ำตาลสดไปจำหน่าย ก็สามารถเคี่ยวน้ำตาลต่อไปได้เลย จนกว่าน้ำตาลจะเหนียวจับตัวกันเป็นก้อน
  5. เมื่อน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวได้ที่แล้ว นำไปเทลงบนแบบพิมพ์ในการทำน้ำตาล
  6. เมื่อเทน้ำตาลลงบนแบบพิมพ์แล้วก็รอจนกว่าน้ำตาลที่เทจะจับตัวกัน เมื่อน้ำตาลจับตัวกันแล้ว ก็สามารถนำน้ำตาลโตนดออกจากแม่พิมพ์ได้เลย แล้วนำมาบรรจุเพื่อส่งขาย หรือนำมาปรุงอาหารหรือรับประทาน
  7. น้ำตาลโตนดแท้ในปัจจุบันนั้น สามารถหาได้ยาก เนื่องจากผู้ที่ทำน้ำตาลโตนดส่วนใหญ่จะผสมกับน้ำตาลทราย ซึ่งจะทำให้สีและรสชาติของน้ำตาลเปลี่ยนไป

วิธีสังเกตน้ำตาลโตนดแท้ หรือเทียม

  1. หากเป็นน้ำตาลโตนดแท้สีจะออกแดง แต่ถ้าหากน้ำตาลโตนดเทียมสีจะออกขาว
  2. หากเป็นน้ำตาลโตนดแท้จะมีรสหวานนุ่ม แต่ถ้าหากน้ำตาลโตนดเทียมจะมีรสหวานแบบเลี่ยน ๆ
  3. หากเป็นน้ำตาลโตนดแท้จะมีเนื้อน้ำตาลที่ละเอียด แต่ถ้าหากน้ำตาลโตนดเทียมเนื้อจะหยาบๆ
  4. หากเป็นน้ำตาลโตนดแท้เมื่อถูกอากาศจะเหลว แต่ถ้าหากน้ำตาลโตนดเทียมจะแข็งและอยู่ได้นาน

ต้มยำแซบ ระดับการพัฒนา: 100% (ณ วันที่ 10 ก.ย. 2548) พะแนงไก่ ระดับการพัฒนา: 100% (ณ วันที่ 6 ต.ค. 2548) หมี่กรอบสูตรคุณยายเกื้อ ระดับการพัฒนา: 100% (ณ วันที่ 17 พ.ค. 2549)