ข้ามไปเนื้อหา

ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา

จาก วิกิตำรา
ธง การประดับธง รูปธง
ธง ธรรมจักร ธงธรรมจักร เป็นธงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวที่ข้องสำคัญในทางพระพุทธศาสนา เป็นกงสัญลักษณ์ที่มีประวัติขุดได้จากแหล่งโบราณคดีอาณาจักรทวาราวดี จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดแสดงไว้โดยกรมศิลปากร และตั้งแสดงให้ประชาชนได้ทราบในฐานที่เป็นวัตถุทางโบราณคดี ต่อมาสัญลักษณ์กงล้อได้ใช้แทนเป็นรูปธรรมจักรในผืนธงพื้นสีผ้าย้อมฝาดแบบจีวร เรียกว่า ธงตราธรรมจักร เมื่อคราวจัดงานขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ซึ่งรับรองร่วมกันโดยองค์กรทางศาสนาในระดับนานาชาติ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ ประเทศไทยจึงประกาศใช้ธงนี้อย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับงานศาสนพิธี และว่าด้วยการประดับธงในศาสนพิธี ว่าเป็นธงพระพุทธศาสนา เดิมเป็นรูปกงล้อธรรมจักร ๘ ซี่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นธรรมจักรแบบ มี ๑๒ ซี่กง ในรูปวงกลมล้อตามแบบที่ใช้อยู่เดิม
ธง ฉัพพรรณรังสี ๏ ธงพุทธบูชา ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงฉัพรรณรังสี คือ ธงแถบพระฉัพพรรณรังสี หมายถึง ธงศาสนา ใช้เป็นสื่อแทนกิจกรรม และเทศกาลทางพระพุทธศาสนาทั่วโลก เมื่อแขวน หรือปลดลง ประกอบด้วยพระคาถาด้วยจึงได้เครื่องระลึกทางใจ ที่ว่าในใจนั้น. ว่า ฉพฺพณฺณรํสี ธชาหฏ สาธุํ พุทฺธปูชายิทํ ผลํ (อนึ่ง ผ้าพระฉัพรรณรังสีที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า)
ธง เต่า ๑. ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงเต่า หมายถึง การให้หาเครื่องระลึกไปถึงการประดับ ว่าได้ประดับแจ้งเหตุแก่การทอดกฐิน ก็เมื่อสิ้นสุดจบลงบริบูรณ์แล้ว จะได้ปลดธงลงไว้มอบแก่สถานที่บูชา ในเมื่อวันเพ็ญเดือน ๑๒ มาถึงนี้. แล้วว่า กจฺฉป ธชาหฏ สาธุํ ปูชายิทํ ผลํ (ผ้ารูปเต่าที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว)
ธง เงือก . ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงเงือก หมายถึง เสน่ห์พิธีถวายผ้ากฐิน เป็นตัวแทนเครื่องประดับหญิงสาว และความงาม ให้กำหนดระลึกตามผลาธิกุศลตาม ว่าเมื่อถวายผ้ากฐินแล้วปรารถนาสิ่งงามตา งามใจแล้วย่อมเป็นผล. เมื่อเก็บธง หรือแขวนธงนั้น ให้ว่าดังนี้. มตฺสฺย? ธชาหฏ สาธุํ ปูชายิทํ ผลํ (ผ้ารูปปลาที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว)
ธง จระเข้ ๓. ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงจระเข้ หมายถึง กามคุณของคหบดีทั้งหลาย อันไม่มีที่สุดแก่โลกียวิสัย ดำริติดตามทำบุญนั้น ถึงจนสิ้นขาดใจแต่ก็ยังโลภ ดั่งคำนิทานจระเข้อยากได้บุญจนถึงขาดใจตายนั้น. ว่า ไม่อิ่มพอในโลก (โลภ) แต่พอถึงการณ์แก่พระศาสนาได้มาถึงที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว ก็อยากเฝ้าติดตามและประดับรับใช้จนถึงตัวตาย เมื่อญาติธรรม จะได้แขวนหรือปลดธงจระเข้ ควรได้ตามระลึกมรณานุสสติด้วย ดังนี้. ว่า กุมฺภีโล ธชาหฏ สาธุํ ปูชายิทํ ผลํ (ผ้ารูปจระที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว)
ธง ตะขาบ ๔. ธงประดับเทศกาลต้อนรับ วันออกพรรษา ธงตะขาบ หมายถึง อย่าคาดโทษโกรธเรื่อง ตำหนิในธรรม เมื่อใช้ประดับตามความหมายธงนั้นว่า เป็นที่สาธุการรับตอบธรรม ในคหบดีที่หนึ่งนั้นๆ เขาได้จองไว้แล้ว แสดงแขวนด้วยธงรูปตะขาบนี้ ว่าให้รู้ว่า มีเกณฑ์กองจองกฐินไว้เป็นที่เรียบร้อยแน่นอนแล้ว มิพึงชักช้า มิพึงถาม เกณฑ์ผ่านเวลานาน ให้เลยผ่านไปจองกฐินวัดอื่นๆ ได้เลย และต่อเมื่อแขวนหรือปลดธงนั้น. ว่า พหุปฺปทา ธชาหฏ สาธุํ ปูชายิทํ ผลํ (ผ้ารูปตะขาบที่เขาจัดให้เป็นธง สำเร็จผลแก่การบูชาแล้ว)

การตั้งสักการะ ถวายบูชาพระธาตุ, พระพุทธรูป

[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
ตัวอย่าง การตั้งสักการะถวายบูชา แบบ ๗ แท่น

การจัดแท่นหมู่บูชาถวายสักการะ นั้น เมื่อตั้งโต๊ะทั้ง ๗ โต๊ะบนพื้นแท่นหลัก หรือบนผืนพรมแล้ว จากนั้น ให้อาราธนาประดิษฐานซึ่ง พระธาตุ หรือพุทธนิมิตประการอื่น ๆ แบบต่าง ๆ ตามแต่ที่ตน และคณะของตนจะศรัทธา มาที่ซึ่งการประดิษฐาน ณ ตำแหน่งโต๊ะกลางสูงทางด้านหลังในสุด ลำดับที่ ๑ พร้อมด้วยเครื่องประดับแจกันหรือพานพุ่มดอกไม้ และในลำดับต่างๆ นั้น เป็นดังต่อไปนี้

  • โต๊ะตัวลำดับที่ ๒ ตัวสูงกลาง ด้านหน้า ตั้งประดับแจกันดอกไม้ หรือพานพุ่มดอกไม้
  • โต๊ะลำดับตัวที่ ๓ ที่ ๔ ด้านข้างตั้งประดับแจกันดอกไม้ หรือพานพุ่มดอกไม้
  • โต๊ะลำดับที่ ๕ ตัวพื้นฐานด้านล่างตำแหน่งหน้าสุด ให้ตั้งประดับสักการะด้วย ธูป ๓ เทียน ๒ รวมเป็น ๕ ประการแล้ว อาจวางบูชาด้วยพวงมาลัย หรือดอกไม้ด้วยก็ได้ (ความหมาย ธูป นั้น แทนพระสังฆรัตนะ ที่ถึงแก่พระพุทธคุณทั้ง ๓ ประการ และเทียนเป็นเครื่องระลึกแทนพระธรรม และพระวินัย)
  • โต๊ะตัวสูงกลางด้านข้าง ตัวที่ ๖ ที่ ๗ ให้ตั้งประดับด้วยพานพุ่มดอกไม้ สำคัญที่ว่า ตำแหน่งที่ ๓ และที่ ๔ นั้น จะตั้งประดับเป็นพานพุ่มอย่างลำดับที่ ๖ ที่ ๗ ก็ได้

การประดับหรือการประดับแก่อนุสวรีย์ทางศาสนาหรือพระบรมธาตุ และพระพุทธรูปแบบประดิษฐานถาวร นั้น ให้เป็นไปตามประกาศที่เป็นปัจจุบันของทางราชการเป็นผู้กำหนด หรือสอบถามด้วยกับหน่วยงานของราชการในท้องที่ หรือท้องถิ่นนั้นๆ ถึงการจัดตั้งโต๊ะสักการะเพื่อถวายบูชา ถึงวิธีประดับธงและการตั้งแสดงสถานที่บูชาแบบถูกต้อง