นโยายสาธารณะ/กระบวนการนโยบายสาธารณะ

จาก วิกิตำรา

กระบวนการ (Dror เสนอ)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. กำหนดนโยบาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ความหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

Dror กล่าวว่า การกำหนดนโยบาย คือ การตัดสินใจนโยบายของรัฐที่จะตอบสนอต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน

Linblom กล่าวว่า การกำหนดนโยบาย คือ กระบวนการทางการเมืองที่เป็นการต่อสู้ของกลุ่มที่มีความคิดขัดแย้งกัน

ก่อตัวนโยบาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กิจกรรมที่สำคัญ

  1. ระบุปัญหา (ปัญหาสาธารณะ)
  2. การให้องค์กร บุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องในการเสนอปัญหา (กระทรวง กรม กอง)
  3. การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหา (แม่นตรง เชื่อถือได้)
  4. การวิเคราะห์ปัญหา (จัดลำดับสำคัญปัญหา / พิจารณาปัญหาจาก การยอมรับร่วมกันในสังคม + ความเร่งด่วนปัญหา + ความเสียหายที่เกิดขึ้น)
  5. การใช้เครื่องมือ เทคนิค วิเคราะห์ปัญหา เช่น การระดมสมอง

เตรียมเสนอร่างนโยบาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กิจกรรมที่สำคัญ

  1. วางข้อกำหนดเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายนโยบาย (เตรียมเสนอร่างนโยบายโดยกำหนดให้ชัดเจน ครอบคลุม สามารถวัดได้)
  2. เสนอทางเลือก (เลือกทางเลือกที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด)
  3. จัดทำร่างนโยบาย (เขียนหลักการและเหตุผล วิธีการ ผู้รับผิดชอบ)

อนุมัติและประกาศเป็นนโยบาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กิจกรรมที่สำคัญ

  1. คัดเลือกนโยบาย (ผู้บริหารตัดสินใจเลือกนโยบายที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด)
  2. สร้างเสียงสนับสนุนทางการเมือง (หาเสียงสนับสนุนทางการเมือง)
  3. ประกาศใช้นโยบาย

2. นำนโยบายไปปฏิบัติ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ความหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

Rondinelli กล่าวว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติ คือ การนำนโยบาย แผนงาน หรือโครงการไปปฏิบัติให้บรรลุสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของนโยบาย

ระดับ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มหภาค (ส่วนกลาง)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  1. แปลงนโยบายเป็นแผนงานและโครงการ
  2. ยอมรับนโยบาย (ให้หน่วยงานกระทรวง กรม กอง ยอมรับนโยบาย โดยอาจมีการจูงใจ)
จุลภาค[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]
  1. ระดมพลัง (ร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมลงปฏิบัติงาน)
  2. ปฏิบัติ
  3. สร้างความเป็นปึกแผ่น ความต่อเนื่อง

3. การประเมินผลนโยบาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ความหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ กล่าวว่า เป็นกระบวนการที่มุ่งแสวงหาคำตอบว่า นโยบาย แผน โ๕รงการ บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่

จุดมุ่งหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. เพื่อทราบความก้าวหน้าของการปฏิบัติงาน
  2. เพื่อทราบข้อบกพร่องของนโยบาย