ประมวลคำภาษาบาลีและสันสกฤตที่ไทยนำมาใช้

จาก วิกิตำรา

ľ

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
กฐิน กฐิน กฐิน ผ้าที่ถวายพระที่จำพรรษาแล้ว
กฎ กฏ กฤต (ไทย) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องปฏิบัติตาม, ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ
กฏุมพี กุฏุมฺพี กุฎุมฺพินฺ คนมั่งมี. (ไทย) คนเลว
กนิษฐา กนิฏฺฐ กนิษฺฐ "ผู้น้อยที่สุด", น้อง; นิ้วก้อย
กบฏ กปฏ กปฏ ความทรยศ
กมล กมล กมล ดอกบัว; ใจ
กมลาสน์ (กะ-มะ-ลาด) กมล+อาสน กมล+อาสน ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง (หมายถึง พระพรหม). กมล ‘บัว’ + อาสน ‘ที่นั่ง’.
กร, กรณ์ กร กรณ กรณ ทำ
กรณีย์ กรณีย กรณีย (กิจ) ควรทำ
กรรดึก กตฺติกา กฺฤตฺติกา (เก่า) เดือนสิบสอง, ดาวลูกไก่
กรรม กมฺม กรฺมนฺ การกระทำ
กรรมการ กมฺมกโร กรฺมการ ผู้ทำการงาน. (ไทย) ผู้ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งเข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับมอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ
กระษาปณ์ กหาปณ กรฺษาปณ เหรียญ
กรินทร์ กรี+อินฺท กรี+อินฺทฺร ช้าง
กริยา กิริยา, กฺริยา กฺริยา ชนิดของคำที่แสดงการกระทำ อาการ
กรีฑา กีฬา กรีฑา เล่น. (ไทย) การแข่งขันประเภทลู่และประเภทลาน
กรุณา กรุณา กรุณา ความเห็นใจคิดช่วยให้พ้นทุกข์
กล กล กล การนับ, ส่วน. (ไทย) แบบ
กลึงค์ กลิงค์ กลิงฺค เรียกชาวอินเดียใต้พวกหนึ่งที่มีผิวดําว่า แขกกลิงค์ มาจากแคว้นกลิงคราษฎร์
กเลวระ กเฬวราก กเลวร กเลวฬ กเลพร กลเวร ร่างกาย, ซากศพ
กษัย ขย กฺษย ความเสื่อม สิ้น, โรคซูบผอม, กระษัย
กสิกรรม กสิ+กมฺม กฺฤษิ+กรฺม การทำนา, ทำไร่
กักขฬะ กกฺขล กกฺขฬ กฐร แข็ง, กระด้าง, หยาบ
กัจฉา กจฺฉา กกฺษ กกฺษฺยา รักแร้
กัญญา, กันยา กญฺญา กนฺยา กนฺยกา หญิงสาว
กัณฐ์ กณฺฐ กณฺฐ กรฺณ คอ
กัณฑ์ กณฺฑ กาณฺฑ ลูกธนู, ก้าน
กัณหา, กฤษณา กณฺห กฺฤษฺณ ดำ, ความชั่ว, บาป
กัป กัลป์ กปฺป กลฺป 1) กำหนดอายุของโลก. 2) กำหนดอายุของสัตว์ =อายุกัป เช่น 100 ปี
กัมปนาท กมฺป+นาท กมฺป+นาท เสียงกึกก้อง
กัมพล กมฺพล กมฺพล ผ้าขนสัตว์
กัมพู กมฺพุ กมฺพุ หอยสังข์
กัลบก กปฺปก ช่างตัดผม
กัลปาวศาน กปฺป+อวสาน กลฺป+อวศาน จุดจบ คือที่สุดแห่งระยะเวลากัลป์หนึ่ง คือ ช่วงเวลา 4.32 พันล้านปีมนุษย์
กากณึก กากณิกา กากิณิกา ชื่อมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด
กากบาท (กา-กะ-บาด) กาก+ปาท กาก+ปาท ตีนกา, เครื่องหมายเป็นรูปตีนกา (กาก=กา, ปาท=เท้า)
กาชาด - - เครื่องหมายรูปกากบาท ( + ) สีแดงชาดบนพื้นขาว. กา (ขีด) +ชาด (สีแดง)
กาญจน์, กาญจนา กาญฺจน กาญฺจน ทอง, ทองคำ
กาญจนบุรี กาญฺจน+ปุรี กาญฺจน+ปุรี เมืองทอง
กานดา กนฺตา กานฺตา งาม, ผู้หญิง, หญิงงาม
กาพย์ กพฺพ กาพฺย กาวฺย คำประพันธ์
กาม กาม กาม รัก, ใคร่, อยาก, ต้องการ.
การ การ การ การกระทำ, ผู้ทำ, หน้าที่
การบูร กปฺปุร กฺรบูร ต้นชนิดหนึ่ง กลั่นน้ำมันกลิ่นฉุนร้อน ใช้ทํายา
การเวก กรวิก กรวีก กรวีก นกการเวก
การุญ, การุนย์ การุญฺญ การุนฺย ความกรุณา
การุนยฆาต การุญฺญฆาต การุนฺยฆาต การฆ่าด้วยความกรุณา
กาลี กาลี กาฬี กาตี กาฏี ดำ, หญิงคนชั่ว, ปางหนึ่งของพระอุมาเทวี
กิจจะลักษณะ กิจฺจ+ลกฺขณ กิตฺย+ลกฺษณ (ไทย) เป็นการเป็นงาน, เป็นเรื่องเป็นราว. (บาลี ไม่มีที่ใช้ - ลักษณะของกิจ)
กิริยา กิริยา กฺริยา กฺริยา การกระทำ, อาการที่แสดงออกมาด้วยกายมารยาท
กีฬา กีฬา กฺรีฑา การเล่น. (ไทย) การเล่นออกกำลังกาย
กุญแจ กุญฺจิกา กุญฺจิกา ลูกกุญแจ
กุญชร กุญฺชร กุญฺชร ช้าง
กุมภ กุมฺภ กุมฺภ หม้อ
กุมภีล์ กุมฺภีล กุมฺภีร จระเข้
กุมาร กุมาร กุมาร เด็กชาย
กุมารี กุมารี กุมารี เด็กหญิง
กุลสตรี กุล+อิตฺถี กุล+สฺตรี หญิงแห่งสกุล
เกศ, เกศา เกส เกศ ผม
เกษตร เขตฺต เกฺษตฺร นา, ไร่
เกษตราธิการ เขตฺต+อธิการ เกฺษตฺร+อธิการ กษัตริย์
เกษม เขม เกฺษม ปลอดภัย, สุขสบาย
เกษียณ ขีณ กฺษีณ สิ้นไป เช่น เกษียณอายุราชการ
เกษียน - - เขียน (เขียน แผลงเป็น เกษียน เลียนแบบสันสกฤต)
เกษียร ขีร กฺษีร น้ำนม เช่น เกษียรสมุทร (ทะเลน้ำนม)
เกียรติ กิตฺติ กีรฺติ คำสรรเสริญ, คำเล่าลือ
โกกนุท โกกนท โกกนท บัวแดง
โกญจา โกญฺจ โกญฺจา เกราญฺจ นกกระเรียน
โกมล โกมล โกมล อ่อน, ละเอียด, อ่อนนุ่ม
โกมุท โกมุท, โกมุทฺท บัวแดง, แสงจันทร์
โกลาหล โกลาหล โกลาหล เสียงเอิกเกริก
โกสุม กุสุม กุสุม ดอกไม้
โกหก กุหก กุหก พูดเท็จ, พูดปด
ไกรลาส ไกลาศ ชื่อภูเขาในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์. สีขาวเหมือนเงินยวง. (ไทย) เติม ร.

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ขฑิกา ขฬิกา (khaḷikā) ขฑิกา (khaḍikā) ชอล์ค, ดินสอพอง
ขฑุ ขฬุ (khaḷu) ขฑุ (khaḍu) รถศพ
ขณะ ขณ (khaṇa) กฺษณ (kṣana) ชั่วเวลาหนึ่ง
ขนิษฐา ขนิฏฺฐ (khaniṭṭha) ขนิษฺฐ (khaniṣṭha) น้อง
ขมา ขมา กฺษมา อดทน, อดโทษ (ไม่เอาโทษ, ยกโทษ), ษมา, สมา
ขรรค์ ขคฺค (khagga) ขฑฺค (khaḍa) มีดปลาบเเหลมสองคม
ขฬิกา ขฬิกา (khaḷu) ขฑิกา (khaḍikā) ชอล์ค, ดินสอพอง
ขฬุ ขฬุ (khaḷikā) ขฑุ (khaḍu) รถศพ
ขัณฑ์ ขณฺฑ (khaṇḍa) ขณฺฑ (khaṇḍa) ภาค, ตอน, ท่อน, ส่วน, ก้อน, ชิ้น.
ขัณฑสกร ขณฺฑสกรา (khaṇḍasakarā) น้ำตาลกรวด
ขัณฑสีมา ขณฺฑ+สีมา ขณฺฑ+สีมา เขตแดน
ขัตติยะ, กษัตริย์ ขตฺติย (khattiya) กฺษตฺริย (kṣatriya) พระเจ้าแผ่นดิน
ขันที ขณฺฑี ขณฺฑี (ไทย) ชายที่ถูกตอน (ถูกตัดอวัยวะเพศ); "ผู้(มีอวัยวะเพศ)ขาด?".
ขันธ์, สกนธ์ ขนฺธ (khandha) สฺกนฺธ (skandha) สฺกนฺท (skanda) ร่างกาย
ขีดขินธ์ เสาหลักเมือง, เมืองขีดขินธ์ ชื่อเมืองของพาลีในเรื่องรามเกียรติ์, อีกชื่อว่า กิษกินธ์
เขฏะ เขฬ (kheḷa) เขฏ (theṭa) น้ำลาย
เขต เขตฺต (khetta) เกฺษตฺร (kṣetra) เขตแดน, ขอบเขต, ไร่, นา
เขฬะ เขฬ (kheḷa) เขฏ (kheṭa) น้ำลาย
เข้ารีต -จาริตฺต -จาริตฺร เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น, เช่นเปลี่ยนไปถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
คงคา คงฺคา คงฺคา แม่น้ำคงคา (Ganges). (ไทย) แม่น้ำ.
คงคาลัย คงฺคา+อาลย คงฺคา+อาลย แม่น้ำคงคา
คดี คติ คติ ที่ไป. (ไทย) ข้อสอนใจ, เรื่อง, มักใช้ประกอบศัพท์อื่น เช่น วรรณคดี สารคดี; เรื่องฟ้องร้องกันทางกฎหมาย คดีอาญา คดีปกครอง.
คนโท กุณฺฑ กุณฺฑ หม้อ, กระถาง. (ไทย) ภาชนะใส่น้ำดื่ม
คนธรรพ์ คนฺธพฺพ คนฺธรฺว เทพจำพวกหนึ่ง
ครรภ์ คพฺภ ครฺภ ท้อง, ลูกในท้อง
ครู ครุ คุรุ ครู. En. guru
คฤหัสถ์ คหฏฺฐ คฺฤหสฺถ ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส
คาถา คาถา (gāthā) คาถา (gāthā) คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ 4 บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง. (ไทย) คาถาอาคม, คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์.
คาม คาม คฺราม บ้าน, หมู่บ้าน
คาวี คาวี แม่วัว. En. cow
คำนวณ คุณ คุณ กะประมาณ, คิดหาผลลัพธ์โดยวิธีเลข.
คีต คีต คีต เพลงขับ, การขับร้อง
คีรี คิริ คิริ ภูเขา
คุณ คุณ คุณ ความดี, ชั้น; สายธนู. (ไทย) ความดี, คำนำหน้าชื่อ, อาถรรพ์, ชั้น (คูณ).
คูณ คุณ คุณ ชั้น. (ไทย) เพิ่มจํานวนเท่าตัวตามหน่วยที่ต้องการ.
คูหา คุหา คุหา ถ้ำ
เคราะห์ คห คฺรห การจับ ยึด บังคับ. (ไทย) สิ่งที่นำผลให้โดยมิได้คาดหมาย
เคารพ คารว เคารว ความเคารพ
โค โค โค วัว
โคดม โคตม โคตม พระโคตรของพระพุทธเจ้า (พระองค์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นพระองค์ที่ 4 ใน 5 พระองค์ ในภัทรกัปนี้), พ ระอาทิตย์
โคตร (โคด) โคตฺต โคตฺร วงศ์, สกุล, เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย เช่น โคตมโคตร
โคตรภู (โคด-ตฺระ-พู) โคตฺรภู โคตฺรภู บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับอริยมรรค คือกำลังก้าวล่วงพ้นความเป็นปุถุชน
เข้าสู่ความเป็นอริยะ = โคตรภูบุคคล; ภิกษุสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีวัตรปฎิบัติห่างจากธรรมวินัย แต่ยังมีเครื่องแสดงเพศภาวะอยู่ เช่น ผ้าเหลืองพันคอ (กาสาวกณฺฐา) เป็นต้น ถือตนว่ายังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์/โคตรภูภิกษุ, สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ฆราวาส ฆราวาส คฺฤห+อาวาส การอยู่ครองเรือน, ผู้อยู่ครองเรือน, คนทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่บรรพชิตหรือนักบวช
ฆาน ฆาน (ghāna) ฆฺราณ (ghrāṇa) จมูก
โฆษ โฆส (ghosanā) โฆษ (ghoṣa) เสียงดัง, เสียงกึกก้อง
โฆษณา โฆสนา (ghosanā) โฆษณา (ghoṣaṇā) โห่ร้อง, ป่าวร้อง, กึกก้อง. (ไทย) เผยแพร่ข้อความแก่สาธารณชน

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
จงกรม จงฺกม จงฺกฺรม เดินกลับไปกลับมา
จตุ-, จตุร- จตุ จตุร สี่
จตุรงค์ จตุร+องฺค จตุร+องฺค มีองค์ 4
จริต จริต จริต ความประพฤติ. (ไทย) บางทีใช้ในทางไม่ดี เช่น ดัดจริต มีจริต
จราจร จราจร จราจร การเคลื่อนที่ไปมา
จริยา จริย จรฺย ความประพฤติ
จลาจล จลาจล จลาจล ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ
จักร จกฺก จกฺร วงกลมมีเฟืองรอบ, ล้อ
จักรยาน จกฺกยาน จกฺรยาน ยานมีล้อ
จักรี | จกฺกี จกฺรินฺ ผู้มีจักร หมายถึงพระนารายณ์. (ไทย) พระราชา ตามที่เชื่อกันว่าเป็นพระนารายณ์อวตารลงมา.
จักรพรรดิ (จัก-กะ-พัด) จกฺกวตฺติ จกฺรวรฺตินฺ (พระราชา) ผู้ยังจักรให้เป็นไป, พระราชาจักรพรรดิ ผู้มีรัตนะ 7, จักรพรรดิราช. (ไทย) ประมุขของจักรวรรดิ = emperor.
จักรวรรดิ (จัก-กะ-หฺวัด) จกฺกวตฺติ จกฺรวรฺตินฺ (ไทย) รัฐหรือสหภาพของรัฐต่างๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมัน, อาณาเขตหรืออาณาจักรที่อยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตย การปกครองอันเดียวกัน เช่น จักรวรรดิอังกฤษ = empire.
จักษุ จกฺขุ จกฺษุ ตา
จัตวา จตุ จตุ (ไทย) [จตุ เอา อุ เป็น วฺ เป็น จตฺวา] สี่; เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรี ว่า ชั้นจัตวา; เครื่องหมายวรรณยุกต์รูป "+"
จัณฑ์ จณฺฑ จณฺฑ ดุร้าย. (ไทย) น้ำจัณฑ์ = เหล้า "กินแล้วดุ".
จัณฑาล จณฺฑาล จณฺฑาล ตํ่าช้า; ลูกที่เกิดจากคนต่างวรรณะกัน เช่น ลูกที่บิดาเป็นศูทร มารดาเป็นพราหมณ์
จันทน์ จนฺทน จนฺทน ต้นจันทน์, ผลจันทน์
จันทร์ จนฺท จนฺทฺร ดวงจันทร์, ดวงเดือน; ชื่อวันที่ 2 ของสัปดาห์
จาบัล, จาบัลย์ จาปลฺย จาปลฺย ความหวั่นไหว
จาม จมฺม จรฺมนฺ หนังสัตว์
จาริก จาริก จาริก เดินไป, เที่ยวไป
จารีต จาริตฺต จาริตฺร ความประพฤติ, ความสมสู่. (ไทย) ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน.
จิต, จินตนา, เจตนา จิต, จินฺต จิต, จินฺต คิด
จุณ จุณฺณ จูรฺณ ละเอียด
จุมพิต จุมฺพ จุมฺพ จูบ
จุล จุลฺล, จูล, จูฬ กฺษุลฺล น้อย
จุฬา, จุฑา จูฬา จูฑา จุกบนหัว
เจดีย์ เจติย ไจตฺย สิ่งซึ่งก่อเป็นรูปคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม บรรจุสิ่งที่นับถือมีพระธาตุเป็นต้น, สิ่งหรือบุคคลที่เคารพนับถือ
เจษฎา เชฏฺฐ เชฺยษฺฐ "ผู้ใหญ่ที่สุด", พี่
เจรจา (เจน-ระ-) จรฺจา พูด, พูดจากัน, พูดจากันเป็นทางการ, จำนรรจา
เจียร จิร จิร ช้านาน, ยืนนาน
แจตร์ ไจตฺร เดือนห้า
โจทย์ โจทน โจทฺย (ไทย) คําถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
โจร โจร โจร, เจาร โจร
โจรี โจรี โจรี โจรผู้หญิง

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ชงฆ์ ชงฺฆา ชงฺฆา แข้ง
ชฎา ชฏา ชฎา เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย
ชน ชน ชน เกิด
ชนก ชนก ชนก พ่อ
ชนบท ชนปท ชนปท ประเทศ, จังหวัด, บ้านนอก, พลเมือง (ชาวชนบท). (ไทย) บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวง ออกไป.
ชมพู่ ชมฺพุ ชมฺพุ หว้า, ชมพู่
ชมพูนุท ชมฺพุนท ชามฺพุนท ทองคำเนื้อบริสุทธิ์
ชลี อญฺชลิ อญฺชุลิ อญฺชลิ กระพุ่มมือไหว้. (ไทย) อัญชลี ตัด อัญ, เป็น ชุลี บ้าง.
ชวาล, ชาล ชาล ชาล ข่าย ชันษา (ชัน-นะ-) ชนวสฺส ชนฺมวรฺษ ชนมพรรษา [ชน-มะ-พัน-สา] อายุ. ขวบปีที่เกิดมา. (ไทย) ลบ ม
ชัย ชย ชย ชนะ
ชาคริต ชาคริต ชาคริตวตฺ ผู้ตื่น
ชาตา ชาต ชาต เกิด. (ไทย) เวลาเกิดของคน เป็นต้น ที่โหรคำนวณไว้, ชะตา ก็ว่า.
ชาติ ชาติ ชาติ การเกิด. (ไทย) การเกิด; ชนิด, จําพวก; ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ,
ชานุ ชานุ ชานุ เข่า
ชิวหา ชิวฺหา ชิวฺหา ลิ้น
ต้นนาม เป็นเครื่องหมายแห่งความยกย่อง.
ชีวประวัติ ชีว+ปวตฺติ ชีว+ปฺรวฤตฺติ ประวัติของชีวิต
เชษฐา เชฏฺฐ เชฺยษฺฐ "ผู้ใหญ่ที่สุด", พี่
เชตุพน เชตุ+วน เชตุ+วน สวนเจ้าเชต, (ไทย) วัดพระเชตุพน
โชดึก โชติก โชฺยติก ผู้มีความรุ่งเรือง
โชติ โชติ โทฺยติสฺ โชฺยติสฺ ความรุ่งเรือง, ความสว่าง
ไชย เชยฺย เชฺยย ชฺยายสฺ ดีกว่า, เจริญกว่า

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ฌลา ฌลา (jhalā) ฌลา (jhalā) เด็กหญิง, ลูกสาว, แสงอาทิตย์, แสงแวววาว
ฌัตวา ฌติวา (jhativa) ฌตฺวา (jhatva) ไหม้แล้ว

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ฐลา ฐลา (ṭhalā) ฐลา (ṭhalā) รถบรรทุก, โกดัง
ฐัตวา ฐติวา (ṭhativā) ฐตฺวา (ṭhatvā) ตั้งอยู่แล้ว, ยืนอยู่แล้ว

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ดนตรี ตนฺติ ตนฺตฺรินฺ แบบแผน, ระเบียบ, สาย, เส้นด้าย, แผ่ไป, สายพิณ, พุทธวจนะ, แถว, บาลี. (ไทย) ลำดับเสียงอันไพเราะ.
ดนยา ตนยา ตนยา ลูกสาว
ดนัย ตนย ตนย ลูกชาย
ดนู ตนุ ตนุ น้อย
ดรรชนี, ดัชนี ตชฺชนี ตรฺชนี นิ้วชี้, บัญชีคําเรียงตามลําดับอักษรที่พิมพ์ไว้ส่วนท้ายของหนังสือ (index)
ดรุณ ตรุณ ตรุณ หนุ่ม
ดรุณี ตรุณี ตรุณี สาว, อ่อน, รุ่น
ดัสกร ตกฺกร ตสฺกร โจร, ขโมย. (ไทย) ข้าศึก, ศัตรู.
ดาบส ตาปส ตาปส นักบวช
ดารา ตารา สฺตาร ดาว. En. star
ดาวดึงส์ ตาวตึส ตฺรยสฺตฺรึศตฺ ชื่อสวรรค์ชั้นที่สอง
ดิถี ติถิ ติถิ การนับวันตามจันทรคติ
ดิเรก อติเรก อติเรก เกินหนึ่ง (ใหญ่ยิ่ง, มาก, พิเศษ). (ไทย) อดิเรก ตัด อ.
ดีบุก ติปุ ตฺรปุ ดีบุก (tin)
ตุ๊ สาธุ สาธุ (ไทย) คำสำหรับเรียกพระภิกษุ ทางภาคเหนือ กร่อนมาจาก สาธุ
ดุรงค์ ตุรงฺค ตุรงฺค ม้า "ไปเร็ว"
ดุลย์ ตุลย ตุลฺย คล้าย, เช่นกัน
ดุษฎี ตุฏฺฐิ ตุษฺฏิ ความยินดี, ความชื่นชม. (ไทย) ดุษฎีบัณฑิต ปริญญาเอก, ผู้ได้รับปริญญาเอก
ดุษณี ตุณฺหี ตุษฺณีมฺ อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ไทย) โดยดุษณีภาพ
ดุสิต ตุสิต (Tusita) ตุษิต (Tuṣita) สวรรค์ชั้นดุสิต
เดช, เดโช เตช เตช อำนาจ, ไฟ, ความร้อน
เดรัจฉาน ติรจฺฉาน ติรศฺจีน "ผู้เป็นไปโดยขวาง", สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย. เดียรัจฉาน
เดียงสา เดียง+ภาสา +ภาษา รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติสามัญ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เด็กยังไม่รู้เดียงสา.

เดียง ‘รู้’ (คำเขมร - ฎึง) +ภาสา ‘ภาษา’ = รู้ภาษา (ลบ ภา)

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ตติยะ ตติย ตฺฤตีย ที่สาม
ตถาคต ตถาคต ตถาคต ผู้ไปแล้วอย่างนั้น (พระพุทธเจ้า)
ตน ตนุ ตนุ เบาบาง, น้อย, ห่าง; ละเอียด; ตน. (ไทย) ตน.
ตบะ ตป ตปสฺ ความร้อน, ธรรมเครื่องเผาบาป
ตมะ ตม ตมสฺ มืด
ตรรก ตกฺก ตกฺร คิด, ตรึก
ตระกูล กุล กุล วงศ์, เชื้อสาย. (ไทย) เติม ตระ-
ตรัยตรึงศ์ เตตฺตึส ตฺรยสฺตฺรึศตฺ สามสิบสาม
ตรี ติ ตฺริ สาม
ตรีภูมิ ติ+ภูมิ ตฺริ+ภูมิ ภูมิสาม
ตรีโลก ติ+โลก ตฺริ+โลก โลกสาม
ตฤณ, ติณ ติณ ตฤณ หญ้า
ตฤษณา ตณฺหา ตฺฤษฺณา ความยาก
ตักษัย ชีวิตกฺขย ชีวิตกฺษย สิ้นชีวิต, ตาย. (ไทย) ตัดพยางค์ ชีวิ ออก.
ตัณหา ตณฺหา ตฺฤษฺณา ความยาก
ตาล ตาล ตาล ลูกตาล, ลูกกุญแจ
ตาว ตาว ตาวตฺ เพียงนั้น
ตุลา ตุลา ตุลา คันชั่ง
เตโช เตช เตช อำนาจ, ไฟ, ความร้อน
ไตร ติ, เต ตฺริ ไตฺร ตฺรย สาม. En. three, tri(cycle)
ไตรยางศ์ ติ+อํส ตฺริ+อํส, ตฺรยํศ ประกอบ 3 อย่าง, มี 3 ส่วน
ไตรสรณคมน์, -าคมน์ ติ+สรณ+คมน ไตฺร+สรณ+คมน การถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ถัญ ถญฺญ (thañña) ถฺนย (thanya) น้ำนม
ถัน ถน (thana) สฺตน (stana) นม (อวัยวะ), เต้านม
ถันย์ ถญฺญ (thañña) ถนฺย (thanya) น้ำนม
ถาวร, สถาพร ถาวร (thāvara) สฺถาวร (sthāvara) มั่นคง, แข็งแรง. En. stand
ถุส, ถุษ ถุส (thusa) ถุษ (thuṣa) แกลบ, เปลือก, เปลือกข้าว.
เถน เถน (thena) เสตฺน (stena) ลัก, ขโมย; สมัยก่อน คนไทยใช้เป็นคำอุทาน/ด่า เช่น ไอ้เถน!
เถระ, เถรี เถร (thera), เถรี (their) สฺถวิร (sthavira), สฺถวิรา (stavirā) คนแก่, ผู้เฒ่า, ผู้มั่นคง, พระที่มีพรรษา 10 ขึ้นไป

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ทรกรรม ทุร-+กมฺม ทุสฺ-+กรฺม การทำให้ลำบาก
ทรชน ทุรชน ทุร- + ชน ทุสฺ-+ชน คนชั่ว
ทรพิษ ทุร-+วิส ทุสฺ-+วิษ "พิษชั่ว", ชื่อโรคระบาด มักขึ้นตามตัว เป็นเม็ดเล็กๆ ดาษทั่วไป เรียกว่า ไข้ทรพิษ, ฝีดาษ ก็ว่า.
ทรยศ ทุรยศ ทุร- + ยส ทุสฺ-+ยศสฺ เกียรติชั่ว (กบฏ)
ทรยุค ทุร- +ยุค ทุสฺ- +ยุค ยุคชั่ว
ทรราช ทุรราช ทุร- + ราช ทุสฺ- +ราชนฺ พระราชาชั่ว, ผู้ปกครองชั่ว. En. tyrant. การปกครองเช่นนั้น เรียกว่า (ระบบ) ทรราชย์. En. tyranny.

(ไทย) ทุ เมื่ออยู่หน้าอักษรต่ำ แปลง ทุ- เป็น ทร- ทุร-

ทรลักษณ์ ทุร- + ลกฺขณ ทุสฺ- +ลกฺษณ ลักษณะชั่ว, เครื่องหมายชั่ว
ทรหน ทุร- + ทุสฺ- + ทางลำบาก, ทางกันดาร
ทรัพย์ ทพฺพ ทฺรวฺย ของมีค่า
ทฤษฎี ทิฏฺฐิ ทฺฤษฺฏิ ความเห็น. (ไทย) หลักที่นักปราชญ์วางไว้.
ทวาร ทฺวาร ทฺวาร ประตู (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d). En. door
ทวีป ทีป ทฺวีป เกาะ
ทหาร ทหร ทหร คนหนุ่ม. (ไทย) ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ (จากอาหม)
ทักษิณ ทกฺขิณ ทกฺษิณ ทิศใต้, ขวา.
ทั้งเพ + สพฺเพ (สพฺพ) + สรฺเว (สรฺว) (ปักษ์ใต้) ทั้งปวง, ทั้งหมด. (ทั้ง + สัพเพ).
ทัณฑ์ ทณฺฑ ทณฺฑ ไม้ตะบอง, ไม้เท้า; การลงอาญา, การลงโทษ. (ไทย) การลงอาญา, การลงโทษ..
ทัณฑฆาต ทณฺฑ+ฆาต ทณฺฑ+ฆาต ชื่อเครื่องหมาย
ทนต์ ทนฺต ทนฺต ฟัน (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d) En. dental
ทวิ- ทฺวิ, ทิ, ทุ, โท ทฺวิ สอง. En. two, twice
ทศ- ทส ทศ สิบ. En. ten; decimal
ทัศนะ, ทรรศนะ ทสฺสน ทรฺศน ความคิดเห็น
ทัศนีย์ ทสฺสนีย ทรฺศนีย, ทฺฤศฺ ควรดู, น่าดู
ทาน ทาน ทาน การให้
ทาน ปทาน ปฺรทาน กิน (ไทย ภาษาพูด) กร่อนมาจากคำว่า รับประทาน. . (ไม่ควรใช้ในภาษาเขียน และยังไปพ้องกับคำว่า ทาน ที่แปลว่าการให้)
ทายก ทายก ทายก ผู้ให้
ทารก ทารก ทารก เด็กผู้ชาย
ทาริกา ทาริกา ทาริกา เด็กหญิง
ทิฐิ ทิฏฺฐิ ทฺฤษฺฏิ ความเห็น. (ไทย) ความดื้อรั้นในความเห็น; ความถือดี =มานะ. En. theory
ทิด ปณฺฑิต ปณฺฑิต คํานําหน้าชื่อผู้ที่สึกจากพระ เช่น ทิดบุญ ทิดเกิด. อาจจะกร่อนจากคำว่า (บัณ)ฑิต
ทิพย์ ทิพฺพ (dibba) ทิวฺย (divya) เป็นของเทวดา, ดีหรือวิเศษอย่างเทวดา
ทิพโลก ทิพฺพโลก ทิพฺยโลก โลกสวรรค์
ทิพากร ทิวากร ทิวากร ผู้กระทำหน้าที่กลางวัน, ทำ "วัน", พระอาทิตย์
ทิวงคต ทิวงฺคต ทิวมฺคต ไปสู่สวรรค์ (ตาย)
ทิวากร ทิวา+กร ทิวา+กร ผู้กระทำหน้าที่กลางวัน, ทำ "วัน", พระอาทิตย์
ทิวากาล ทิวากาล ทิวา+กาล (เวลา) กลางวัน
ทิวาราตรี ทิวารตฺติ ทิวาราตฺรมฺ กลางวันและกลางคืน
ทีป ทีป ทีป แสงไฟ
ทีปังกร ทีปงฺกร ทฺวีป+กร ผู้ที่ทำที่พึ่ง, พระนามของพระพุทธเจ้า
ทุคติ ทุคฺคติ (ทุ- + คติ) ทุสฺ-/ทุรฺ- +คติ (ทุรฺคติ) ที่ไปชั่ว, ที่ไปไม่ดี (เปรต นรก อสุรกาย เดรัจฉาน). (มักเขียนผิดเป็น ทุกข์คติ)
ทุจริต ทุจฺจริต (ทุ- + จริต) ทุสฺ-/ทุศฺ- +จริต (ทุศฺจริต) ประพฤติชั่ว
ทุติยะ ทุติย ทฺวิตีย ที่สอง
ทุนนิมิต ทุนฺนิมิต (ทุ- + นิมิต) ทุสฺ-/ทุรฺ- +นิรฺมิต (ทุรฺนิรฺมิต) ฝันร้าย, นิมิตไม่ดี
ทุพพล ทุรพล ทุพฺพล (ทุ- + พล) ทุสฺ-/ทุรฺ- +พล (ทุรฺพล) มีกำลังน้อย
ทุพภิกขภัย ทุพฺภิกฺขภย (ทุ- + ภิกฺข + ภย) ทุสฺ-/ทุรฺ- +ภิกฺษา+ภย (ทุรฺภิกฺษภย) ภัยจากอาหารหายาก
ทุรชล ทุรชล (ทุร- + ชล) ทุสฺ-/ทุรฺ- +ชล (ทุรฺชล) น้ำร้าย
ทุรชาติ ทุรชาติ (ทุร- + ชาติ) ทุสฺ-/ทุรฺ- +ชาติ (ทุรฺชาติ) ชาติชั่ว
ทุรนิมิต ทุนฺนิมิต (ทุ- + นิมิต) ทุสฺ-/ทุรฺ- +นิรฺมิต (ทุรฺนิรฺมิต) ลางร้าย
ทุรมาน, ทรมาน ทุรมาน ทุสฺ+มาน ไม่มีการถือตัว
ทุรวาท ทุรวาท (ทุร- + วาท) ทุสฺ-/ทุรฺ-+วาท (ทุรฺวาท) คำชั่ว
ทูต ทูต ทูต ผู้นําข้อความไปแจ้งทั้ง 2 ฝ่าย. (มักเขียนผิดเป็น ฑูต)
เทพินทร์ เทวี+อินฺท เทวี+อินฺทฺร จอมเทพี
เทวโลก เทวโลก เทวโลก สวรรค์
เทวษ โทส เทฺวษ เศร้าโศกเสียใจ
เทวะ เทว เทว ฝน; เทพ, เทวดา; ราชา (สมมติเทพ). (ท ในภาษาบาลี ออกเสียงเหมือน d) En. divine
เทวินทร์ เทว+อินฺท เทว+อินฺทฺร จอมเทพ
เทวี เทวี เทวี พระเจ้าแผ่นดินผู้หญิง
เท่ห์ เทห เทห ร่างกาย
เทาะห์ ฑห ทห เผา
แทตย์ ไทตฺย ยักษ์
โท [ทฺวิ ทิ ทุ] [ทฺวิ] สอง. (ฮินดี) โท. En. two
โทรศัพท์ ทูร+สทฺท ทูร+ศพฺท โทรศัพท์. ทูร-tele (ไกล) + สทฺท-sound (เสียง) En. tele-
โทษ โทส โทษ ความไม่ดี, ความผิด
โทสะ โทส โทษ ความโกรธ
ไทย- เทยฺย (deyya) ไทย (daiya) ควรให้
ไทยธรรม เทยฺยธมฺม (deyyadhamma) เทยธรฺม (daiyadharma) "ของที่ควรให้", ของทําบุญต่างๆ, ของถวายพระ.
ไทยทาน เทยฺยทาน (deyyadāna) ไทยทาน (daiyadāna) ของอันพึงให้

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ผฑุ ผฬุ (phaḷu) ผฑุ (phaḍu) ข้อ, ข้อไม้, ปล้อง
ผลิตผล ผลิต+ผล ผลิต+ผล ผลที่ผลิตออกมาแล้ว
ผลึก ผลิก (phalika), ผลิกา (phalikā) สฺผฎิก (spha ika) ชื่อแก้วอย่างหนึ่งมีสีขาวใส
ผฬุ ผฬุ (phaḷu) ผฑุ (phaḍu) ข้อ, ข้อไม้, ปล้อง
ผัสสะ ผสฺส (phases) การกระทบ, การถูกต้อง
ผาณิต ผาณิต (phāṇita) ผาณิต (phāṇita) น้ำอ้อย, (น้ำตาล), น้ำอ้อยงบ
ผาล ผาล (phāla) ผาล (phāla) ผาล ชื่อเหล็กสำหรับสวมหัวหมูเครื่องไถ
ผาสุก ผาสุ (phāsu), ผาสุก (phāsuka) ความอิ่มใจ

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
พงศาวดาร (พงศ- + อวดาร) วํส + อวตาร (วํสาวตาร) วํศ + อวตาร (วํศาวตาร) (ไทย) เรื่องราวของเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศหรือกษัตริย์ ในเชิงตำนาน
พจนีย์ วจนีย วจนีย ที่ตั้งแห่งการพูด, ควรพูด, น่าสรรเสริญ
พธู วธู วธู หญิงสาว
พนัสบดี วนปฺปติ วนสฺปติ ไม้ใหญ่ที่สุดในป่า
พยัคฆ์ วฺยคฺฆ วฺยาฆฺร เสือ, เสือโคร่ง
พยัญชนะ วฺยญฺชน, พฺยญฺชน วฺยญฺชน ตัวหนังสือ
พยากรณ์ พฺยากรณ วฺยากรณ การแก้, การเฉลย, "ทำให้แจ้ง". (ไทย) ทำนาย
พยาธิ พฺยาธิ, วฺยาธิ วฺยาธิ (พะ-ยา-ทิ) ความเจ็บไข้ เช่น โรคาพยาธิ. (ไทย) (พะ-ยาด) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น พยาธิไส้เดือน
พยาบาท พฺยาปาท วฺยาปาท ผูกใจเจ็บ
พยาบาล วฺยา+ปาล วฺยา+ปาล (ไทย) ดูแลรักษาผู้ป่วย
พยายาม วายาม วฺยายาม พยายาม, ความเพียร
พยุหยาตฺรา พฺยูหยาตฺรา วฺยูหยาตฺรา การเดินไปเป็นหมู่, การเดินทัพ
พยูห-, พยู่ห์ วฺยูห, พฺยูห วฺยูห กระบวน, หมู่, ประชุม, กองทัพ
พร วร วร คำแสดงความปรารถนาดี, สิ่งที่ขอเลือกเองตามประสงค์
พรรษา วสฺส วรฺษ ฝน
พรหมจรรย์ พฺรหฺมจริย พฺรหฺมจรฺย ความประพฤติอันประเสริฐ, การถือพรตบางอย่าง เช่นเว้นเมถุนเป็นต้น
พรหมจารี พฺรหฺมจารี, พฺรหฺมจาริณี พฺรหฺมนฺ+จารินฺ ผู้มีความประพฤติอันประเสริฐ. (ไทย) หญิงที่ยังบริสุทธิ์ ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น.
พฤกษ์ รุกฺข วฺฤกฺษ ต้นไม้
พฤศจิกายน วิจฺฉิก+อายน วฺฤศฺจิก+อายน (ไทย) ชื่อเดือนที่ดวงอาทิตย์มาสู่ราศีแมงป่อง
พฤษภาคม อุสภ+อาคม วฺฤษภ+อาคม (ไทย) ชื่อเดือนที่ดวงอาทิตย์มาสู่ราศีวัว
พฤหัสบดี วิหปฺปติ วฺฤหสฺปติ ดาวพฤหัสบดี; ชื่อวันที่ 5 ของสัปดาห์.
พละ พล พล กำลัง, (ไทย) กำลังทหาร, ทหาร
พสุธา วสุธา วสุธา แผ่นดิน
พหุ, พหู พหุ พหุ มาก
พหูสูต พหุสฺสุต พหุ+ศฺรุต ฟังมามาก
พักตร์ วตฺต วกฺตร หน้า, ปาก
พัฒนา วฑฺฒน วรฺธน การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ก้าวหน้าไปในทางที่ดี
พันธะ พนฺธ พนฺธ การผูก, มัด, รัด. En. bond
พัสตรา วตฺถ วสฺตฺร ผ้า
พาชี วาชี วาชี ม้า
พาณิช วาณิช วาณิช พ่อค้า
พาที วาที วาทินฺ พูดจา
พายุ วาย วายุ วายุ ลม. (ไทย) ลมที่พัดรุนแรง
พาล พาล พาล อ่อน เขลา. (ไทย) คนชั่วร้าย, คนเกเร.
พ่าห์ พาหะ วาห วาห ผู้แบก, ผู้ถือ, ผู้ทรงไว้; ตัวนำ(โรค)
พาหนะ วาหน วาหน เครื่องพาไป
พาหา พาหา พาหา แขน
พาหุรัด ภารต (ไทย) ชื่อถนนในกรุงเทพฯ ที่มีชาวอินเดียมาอาศัยอยู่มาก เข้าใจว่า เสียงเพี้ยนมาจากคำว่า ภารต (Bharata อินเดีย); เครื่องประดับที่ใช้สวมรัดต้นแขน=ทองต้นแขน.
พาเหียร พาหิร พาหิรา พหฺย พหิสฺ ภายนอก
พิกุล วกุล วกุล ดอกพิกุล
พิจารณา วิจารณ วิจารณา วิจารณา ตรวจตรา, ตริตรอง, สอบสวน
พิชิต วิชิต วิชิต ปราบให้แพ้, ชนะแล้ว
พิณ วีณา วีณา เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง
พิทักษ์ วิ+ทกฺข วิ+ทกฺษ ทักษะ, ขยัน, มีฝีมือ, ฉลาด, ชำนาญ. (ไทย) ดูแลคุ้มครอง.
พิธี วิธิ วิธิ งานที่จัดขึ้นตามลัทธิเพื่อความขลัง
พิมาน วิมาน วิมาน ที่อยู่ของเทวดา
พิมพ์ พิมฺพ พิมฺพ แบบ (รูป), รูปดวงจันทร์; รูปเปรียบ. (ไทย) ถ่ายแบบ เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่างๆ หรือทําให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใดๆ.
พิรุณ วรุณ วรุณ ฝน
พิศวาส วิสฺสาส วิศฺวาส ความคุ้นเคย, ความวางใจ, ความรักใคร่
พิเศษ วิเสส วิเศษ ยิ่งกว่าปกติ, แปลกกว่าสามัญ
พิษ วิส (visa) วิษ (viṣa) สิ่งร้ายที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
พิสดาร วิตฺถาร วิสฺตาร กว้างขวาง, ละเอียด
พิสุทธิ์ วิสุทฺธิ วิศุทฺธิ สะอาด, บริสุทธิ์, ใส, ขาว
พืช พีช พีช พืช, พันธุ์ไม้
พุทธ พุทฺธ (Buddha) พุทฺธ (Buddha) ผู้รู้, ผู้ตรัสรู้
พุธ พุธ พุธ ผู้รู้; ดาวพุธ; พุธวาร ชื่อวันที่ 4 แห่งสัปดาห์.
พุทธันดร พุทฺธ+อนฺตร พุทฺธ+อนฺตร ในระหว่าง(สมัย, กาล ของ)พระพุทธเจ้า(พระองค์หนึ่งๆ)
พุทธางกูร พุทฺธ+องฺกุร พุทฺธ+องฺกุร เชื้อสายของพระพุทธเจ้า (องฺกุร หน่อ, หน่อเนื้อเชื้อไข, เชื้อสาย)
พุทรา (พุด-ซา) พทร พทร ผลไม้ชนิดหนึ่ง. (ไทย) เติมสระอุ (และสระอา)
เพชฌฆาต วชฺฌ+ฆาต ผู้ประหารชีวิตนักโทษ
เพชร วชิร วชฺร เพชร
เพดาน วิตาน วิตาน สิ่งที่ดาดเบื้องบนในห้อง
เพ็ดทูล วจน+ทูล วจน+ทูล คำบอก (แก่พระเจ้าแผ่นดิน). วจน 'คำ' > ปึ๊จ (สำเนียงเขมร) + ทูล 'บอก' (เขมร)
เพลา เวลา เวลา เวลา. (ไทย) แกนที่สอดในดุมล้อรถ/เกวียน ให้หมุนได้; เบาลง, เบาพอประมาณ.
แพทย์ เวชฺช ไวทฺย หมอ
แพศย์ เวสฺส ไวศฺย พ่อค้า; วรรณะพ่อค้า (ในวรรณะ 4)
แพศยา เวสิยา เวศฺยา โสเภณี
โพธิ์ โพธิ โพธิ รู้
ไพฑูรย์ เวฬุริย ไวฑูรฺย แก้วชนิดหนึ่ง
ไพบูลย์ เวปุลฺลํ ไวปุลฺย ความเต็มเปี่ยม, ความกว้างขวาง
ไพรี, ไพริน เวรี ไวรินฺ ผู้มีเวร, ศัตรู
ไพศาล วิสาล วิศาล กว้างวิเศษ (กว้างขวาง)

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ภัณฑ์ ภณฺฑ (bhaṇḍa) ภณฺฑ (bhaṇḍa) สิ่งของ, เครื่องใช้

คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
ศก สก ศก ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปีๆ โดยถือเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น เช่น รัตนโกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปีหนึ่งๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย 1 2 ... หรือ 0 เช่น ถ้าลงท้ายด้วย 1 เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย 2 เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย 0 เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ภาษาพูด) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก.
ศพ สว ศว ร่างคนตาย
ศรี สิริ, สิรี ศฺรี สิริ, สิริมงคล
ศรีสะเกษ สีส/สิรส+เกส ศิรฺษ+เกศ ชื่อจังหวัด. เดิมชื่อจังหวัดขุขันธ์ เปลี่ยนเป็น ศีร์ษะเกษ (ศรีษะ+ผม) แล้วกลายมาเป็น ศรีสะเกษ.

บ้างว่ามาจาก ศรีสระเกศ (สระน้ำ) ศรีสะเกษ (สระผม) (พระ)ศรีอารยเมตไตรย || สิริอริยเมตฺเตยฺย || ศฺรีอารฺยเมไตรฺย || เมตเตยยะ พระนามพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จอุบัติเป็นพระองค์ที่ 5 ต่อจากพระพุทธเจ้าโคตมะของเรา ในภัททกัปนี้. (ปาก) พระศรีอารย์. ศักดานุภาพ || สตฺติ+อานุภาว || ศกฺติ+อานุภาว || อานุภาพแห่งอำนาจ

ศักดิ์ ศักดา สตฺติ ศกฺติ หอก, อำนาจ
ศักย์, ศักยะ สกฺก ศกฺย, ศกฺต อาจ; สมควร, เหมาะสม. (ไทย ไฟฟ้า) พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์.
ศัพท์ สทฺท ศพฺท เสียง. En. sound
ศัลย- สลฺล ศลฺย เหล็กแหลม
ศัสตรา (สัด-ตฺรา) ศัสตราวุธ สตฺถ ศสฺตฺร มีด, หอก, อาวุธ.
ศาขา สาขา (sākhā) ศาขา (śākhā) กิ่งไม้, กิ่งก้าน; แขนง, ส่วนย่อย, ส่วนรอง.
ศาลา สาลา ศาลา โรง, เรือน, ศาลา. (ไทย) อาคารทรงไทย ปล่อยโถง ไม่กั้นฝา ใช้เป็นที่พักหรืออื่นๆ.
ศาสดา สตฺถา [สตฺถุ] ศาสฺตา ศาสตฺฤ ผู้สอน, ครู; ผู้ตั้งลัทธิศาสนา เช่น ศาสดาทั้ง 6 (สตฺถาโร), คำเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระบรมศาสดา (สตฺถา).
ศาสตร์ สตฺถ ศาสฺตฺร หนังสือ, คัมภีร์, ตำรา. (ไทย) ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์.
ศาสตรา (สาด-ตฺรา) สตฺถ ศสฺตฺร มีด, หอก, อาวุธ.
ศาสตราจารย์ (สาด-ตฺรา-, สาด-สะ-ตฺรา-) สตฺถาจริย ศาสตฺราจารฺย อาจารย์ผู้มีความรู้ในคัมภีร์ ตำรา ศาสตร์. (ไทย บัญญัติ.) ตําแหน่งทางวิชาการชั้นสูงสุดของสถาบันระดับอุดมศึกษา. (มักออกเสียงผิดเป็น สาด-สะ-ดา-จาน)
ศาสน- ศาสนา สาสน ศาสน คำสอน, คำสั่งสอน; (ไทย) ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์.
ศาสนิก สาสนิก ศาสนิก ผู้นับถือศาสนา
ศิถิล สิถิล (sithila) ศิถิล (śithila) เบา, เสียงเบา
ศิระ สิร ศิรสฺ ศีรษะ, หัว
ศิโรราบ สิร+"ราบ" ศิรสฺ+"ราบ" (ไทย) กราบกราน, ยอมอ่อนน้อม, ยอมแพ้และอยู่ใต้อำนาจ, "หัวก้มราบลงไป".
ศิโรเวฐน์ สิร+เวฐน ศิรสฺ+เวษฺฏฺ ผ้าโพกหัว
ศิลปะ สิปฺป ศิลฺป ฝีมือทางช่าง
ศิษย์ สิสฺส ศิษฺย ผู้เรียนด้วย
ศีรษะ สีส ศีรฺษ หัว, สีสะ
ศีลธรรม สีล+ธมฺม ศีล+ธรฺม (ไทย) ความประพฤติที่ดีที่ชอบ.
ศึกษา สิกฺขา ศิกฺษา การฝึกฝนอบรม, สิกขา. (ไทย) การเล่าเรียน.
ศุกร์ สุกฺก ศุกฺร ดาวศุกร์; ชื่อวันที่ 6 ของสัปดาห์
ศูนย์ สุญฺญ ศูนฺย ว่าง, ว่างเปล่า (จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง). (ไทย) เลขศูนย์, ใจกลาง, แหล่งกลาง, แหล่งรวม
เศรษฐี เสฏฺฐี เศฺรษฐี คนมีเงิน(มาก), "ผู้ประเสริฐ/เลิศ(ด้วยทรัพย์สินเงินทอง)"
เศรษฐกิจ เสฏฺฐ+กิจฺจ เศฺรษฺฐ+กฺฤตฺย (ไทย) การผลิตการบริโภค
เศวต เสต เศฺวต ขาว, สีขาว
เศวตคช, คชเศวต เสตคช, คชเสต เศฺวตจฺคช ช้างสีขาว, ช้างเผือก
เศวตฉัตร เสตฉตฺต เศฺวตจฺฉตฺร ร่มสีขาว, ฉัตรขาว
เศียร สิร ศิรสฺ หัว
โศก โสก โศก ความทุกข์, ความเศร้า. (ไทย) ต้นอโศก ตัดพยางค์หน้า เป็น โศก, สีเขียวอ่อนอย่างสีใบอโศกอ่อน เรียกว่า สีโศก.

สักการะ || สกฺการ || สตฺการ || "กระทำโดยเคารพ", บูชา
คำไทย บาลี สันสกฤต ความหมาย
สกนธ์ ขนฺธ สฺกนฺธ ขันธ์; คอ; ตัว, กาย
สกุณา สกุณ ศกุน นก
สกุล กุล กุล วงศ์, เชื้อสาย, เชื้อชาติผู้ดี
สงกร, สังกร สงฺกร สํกร "ทำพร้อม" (การปะปน, การคาบเกี่ยว)
สงกรานต์ สงฺกนฺต สงฺกฺรานฺติ วันเคลื่อนย้ายราศีของดวงอาทิตย์. เทศกาลขึ้นปีใหม่อย่างเก่า กำหนดตามสุริยคติ
สงกา สงฺกา ศงฺกา สงสัย
สงฆ์ สงฺฆ สํฆ หมู่
สงสัย สํสย สํศย สงสัย
สงสาร สํสาร สํสาร การวนเวียน(ตายเวียนเกิด), การท่องเที่ยว(ตายเกิดในภพ 3). (ไทย) เห็นใจ ในความเดือดร้อนความทุกข์ของผู้อื่น=กรุณา.
สงเคราะห์ สงฺคห สํคฺรห สงเคราะห์, อนุเคราะห์, ช่วยเหลือ; "ถือพร้อม", รวบรวม, ย่อ. (เทียบ วิเคราะห์ "ถือแยก" แยกให้เห็นชัด)
สดมภ์ ถมฺภ สฺตมฺพ สฺตมฺภ เสา, หลัก. (สะดม เขมร =การปล้นโดยวางยาให้หลับ)
สดุดี ถุติ สฺตุติ การยกย่อง, สรรเสริญ
สตรี อิตฺถี สฺตรี หญิง, เพศหญิง, คู่กับ บุรุษ
สตางค์ สต+องฺค ศต+องฺค ประกอบด้วยร้อย. En. centi+
สติ, สมฤดี (สม-รึ-) สติ สฺมฺฤติ ความระลึกได้. (ไทย) เติม ป เป็น สมปฤดี บ้าง.
สถล ถล สฺถล, สฺถลี ทางบก
สถาบัน ฐาปน สฺถาปน (ไทย สังคม) สิ่งซึ่งสังคมจัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นว่ามีประโยชน์ และจําเป็นแก่วิถีชีวิต เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา.
สถาปนา ฐาปน สฺถาปน การตั้งไว้
สถิติ ฐิติ สฺถิติ การตั้งอยู่. (ไทย) หลักฐานที่รวบรวมเป็นตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบ
สถุล ถูล สฺถูล อ้วน, หยาบ. (ไทย ใช้เป็นคำด่า เช่น ถ่อยสถุล)
สถูป ถูป สฺตูป สิ่งก่อสร้างที่มีรูปโอคว่ำซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เป็นต้น
สนเทศ, สันเทศ สนฺเทส สนฺเทศ แสดง. (ไทย) คำสั่ง, ข่าวสาร, ใบบอก.
สนเท่ห์ สนฺเทห สนฺเทห ความฉงน, ความไม่แน่ใจ, ความสงสัย, สนเท่ห์.
สนธยา สนฺธฺยา เวลาโพล้เพล้พลบคํ่า, เวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก
สนธิ สนฺธิ สนฺธิ การต่อ
สนิท สินิทฺธ สฺนิคฺธ ใกล้ชิด
สบถ สปถ ศปถ คำด่า คำแช่ง
สบาย
สมญา สมญฺญา สมาชฺญา ชื่อ. ดู สมัญญา. (ไทย) สมัญญา ตัด ญฺ
สมณเพศ สมณเวส ศฺรมณเวศ เพศสมณะ
สมณศักดิ์ สมณสกฺก สมณศกฺย (ไทย บัญญ้ติ) ยศของพระ
สมถะ สมถ ศมถ การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. (ไทย) มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย
สมบัติ สมฺปตฺติ สมฺปตฺติ ความถึงพร้อม, เต็มที่. (ไทย) ของที่มีค่า หมายถึง ทรัพย์สิน เงินทอง ของใช้ เป็นต้น ที่มีอยู่
สมพงศ์ สํ+วํส สมฺ+วํศ ร่วมวงศ์
สมเพช (-เพด) สํเวชน สํเวชน ดู สังเวช. (ไทย) สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร หรือหดหู่; (ปาก) กล่าวถึงการกระทำของผู้อื่นในเชิงเย้ยหยัน ดูหมิ่นดูแคลน ว่าไม่น่าทำเช่นนั้น เช่น น่าสมเพชจัง! ทำตัวแบบนี้.
สมร สมร สมร การรบ, สงคราม.
สมร สมร สฺมร (กามเทพ) หญิงงาม, นางงามซึ่งเป็นที่รัก
สมัคร สมคฺค สมคฺร ผู้พร้อมเพรียง. (ไทย) เต็มใจ, ปลงใจ, ยินยอมเข้าด้วย
สมัชชา สมชฺชา สมชฺยา การประชุม
สมัญญา สมญฺญา สมาชฺญา ชื่อเครื่องรู้เสมอ, นาม, ชื่อ; ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

สมาคม สํ+อาคม สมฺ+อาคม การมาพร้อมกัน
สมาทาน สมาทาน สมาทาน การถือเอาพร้อม (การถือ, การตั้งใจ)
สมาน สมาน สมาน เสมอกัน, เท่ากัน. (ไทย) [สะ-หฺมาน] เชื่อม, ผูกพัน
สมานฉันท์ สมาน+ฉนฺท สมาน+ฉนฺทส ความพอใจร่วมกัน หรือความเห็นพ้องกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ที่ประชุมมีความเห็นเป็นสมานฉันท์ในการเพิ่มค่าแรงคนงาน. (ไทย) ช่วงหลังความหมายของคำเริ่มถูกกลืนหายไปรวมในคำว่า "ปรองดอง สามัคคี สมานฉันท์" ความจริง ความปรองดองสามัคคี ไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกัน (สมานฉันท์) ในทุกเรื่อง (ก็ยังรักสามัคคีกันได้อยู่)
สมาบัติ สมาปตฺติ สมาปตฺติ การถึงพร้อม, การเข้า (ฌาน)
สมุทัย สมุทย สมุทย เกิดขึ้นพร้อม (ต้นเหตุ, ที่เกิด)
สยมภู, สยัมภู สยมฺภู สฺวยมฺภู พระผู้เป็นเอง (พระอิศวร, พระพุทธเจ้า)
สยัมพร, สยุมพร สยํวร สยํวร การเลือกคู่เอาเอง
สยาม สาม ศฺยาม ดำ, (สี)น้ำตาล
สรรพาวุธ สพฺพ+อาวุธ สฺรว+อายุธ อาวุธทุกชนิด
สโรช สโรช สโรช ดอกบัว "เกิดในสระ"
สวรรค์ (สะ-หฺวัน) สคฺค สฺวรฺค โลกของเทวดา
สวัสดี โสตฺถิ (สุ+อตฺถิ) สฺวสฺติ (สุ+อสฺติ) "มี (สิ่ง)ดี ดีงาม". (ไทย) คำทักทาย
สวัสติกะ (โสตฺถิก) สฺวสฺติกา [สะ-หฺวัด-ติ-กะ] สัญลักษณ์รูปกากบาทปลายหักมุมเวียนขวา ใช้เป็นเครื่องหมายแสดงความสุขสวัสดีมาแต่โบราณ สันนิษฐานกันว่าเป็นรูปดวงอาทิตย์โคจรเวียนขวา เช่น ที่รู้จักกัน เป็นสัญลักษณ์สวัสติกะของฝ่ายนาซีเยอรมัน ต่างจากแห่งอื่นเพราะเอียง 45 องศา
สวาท สาทุ สฺวาทุ น่าใคร่, น่าปรารถนา, หวาน, อร่อย. En. sweet
สวาหะ สฺวาห (สุ+อาห) สฺวาห (สุ+อาห) กล่าวดีแล้ว (บทสุดท้ายของคำเสกเป่า)
สหชาติ สหชาติ สหชาติ เกิดร่วมกัน
สหประชาชาติ สห+ปชา+ชาติ สห+ปฺรชา+ชาติ รวมชาติต่างๆ
สหศึกษา สห+สิกฺขา สห+ศิกฺษา ศึกษาร่วมกัน. (ไทย) โรงเรียนที่นักเรียนชายหญิง เรียนร่วมกัน
สังกัป สงฺกปฺป สํกลฺป คิด. (ไทย) วิตก.
สังเกต สงฺเกต สํเกต กำหนดพร้อม (กำหนดไว้, หมายไว้)
สังขยา สงฺขฺยา สํขฺยา การนับ, การคำนวณ. (ไทย) ชื่อขนม.
สังขาร สงฺขาร สํสฺการ ร่างกาย, สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารทรุดโทรม; ความคิด เป็นขันธ์ 1 ในขันธ์ 5.
สังเขป สงฺเขป สํเกฺษป รวบรวม, โดยย่อ
สังคม สงฺคม สํคม ไปพร้อม, ไปร่วมกัน, ไปด้วยกัน (สมาคมกัน)
สังคหะ, สังเคราะห์ สงฺคห สํคฺรห การรวบรวม, การย่อ, "ถือพร้อม". (ไทย) สังเคราะห์, (เคมี) ทําให้ธาตุมีปฏิกิริยาเคมีกันเป็นสารประกอบ
สังคีต สงฺคีต สํคีต ขับร้อง
สังโยค สํโยค สํโยค ประกอบกัน, "ประกอบพร้อม", การสะกดตัวหนังสือ
สังวร สํวร สํวร ระวัง, สำรวม "กั้นพร้อม"
สังเวช สํเวชน สํเวชน ความกระตุ้นให้คิด, ความรู้สึกเตือนสำนึก; ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้ และนึกถึงสิ่งที่ดีงาม ไม่ประมาท เพียรทำความดี หากสลดใจ แล้วจิตหดหู่ ไม่ใช่ความสังเวช. (ไทย) สลดใจ ทำให้เกิดความสงสาร หรือหดหู่
สังสรรค์ สํสคฺค สํสรฺค คลุกคลี. (ไทย) พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม.
สังหรณ์ สํหรณ สํหรณ นำไปพร้อม. (ไทย) ดลใจ
สังหาร สํหาร สํหาร นำไปพร้อม, การรวบรวม, ย่อ. (ไทย) ทำลาย, ฆ่า, ล้างผลาญ. (สมฺปหาร การสู้รบกัน)
สัจ, สัตย์ สจฺจ สตฺย ความจริง
สัญจร สญฺจร สญฺจร ผ่านไปมา
สัญชาติ สญฺชาติ สํชาติ เกิดพร้อม, เกิดดี
สัญญา สญฺญา สํชฺญา ความจำ "รู้พร้อม", 1 ในขันธ์ 5. (ไทย) ข้อตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายขึ้นไป
สัญญี สญฺญี สํชฺญินฺ มีความรู้สึก
สัณฑ์ สณฺฑ ษณฺฑ แนว
สัตบุรุษ สัปปุรุษ สปฺปุริส สตฺปุรุษฺ คนดี
สันดาน สนฺตาน สํตาน สืบต่อ, อุปนิสัยที่สืบต่อมาหลายภพชาติ. (ไทย) อุปนิสัยที่มีมาแต่กําเนิด มักใช้ไปในทางไม่ดี.
สันดาป สนฺตาป สํตาป การเผาไหม้, ความเร่าร้อน
สันโดษ สนฺโตส สํโตษ ความยินดีพร้อม (ยินดีในของของตน - ที่หาได้มาโดยสุจริต)
สันถวไมตรี สนฺถวมิตฺต สูสฺตว+มิตฺร ไมตรีอันดีต่อกัน
สันธาน สนฺธาน สนฺธาน การต่อพร้อม (การเกี่ยว, การเชื่อม)
สันนิบาต สนฺนิปาต สนฺนิปาต ที่ประชุม
สันนิวาส สนฺนิวาส สนฺนิวาส การอยู่ร่วมกัน
สันนิษฐาน สนฺนิฏฺฐาน สํ+นิ+สฺถาน คาดเดา, คาดคะเน
สับปะรด สพฺพรส สรฺวรศ "รสทุกอย่าง". (ไทย) ผลไม้ชนิดหนึ่ง
สัปดาห์ สตฺตาห สปฺตาห เจ็ดวัน
สัพเพเหระ สพฺพ- สรฺว (ไทย ภาษาพูด) ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ
สัมปทา สมฺปทา สมฺปทา ความถึงพร้อม
สัมปทาน สมฺปทาน สมฺปทาน การมอบให้
สัมผัส สมฺผสฺส สํสฺปรฺศ แตะต้อง
สัมพันธ์ สมฺพนฺธ สํ+พนฺธ สัมพันธ์
สัมพุทธ สมฺพุทฺธ สมฺพุทฺธ ผู้รู้พร้อม
สัมภวะ, สมภพ สมฺภว สมฺภว การเกิด
สัมภเวสี สมฺภเวสี สมฺภเวษินฺ ผู้แสวงหาที่เกิด
สัมมา สมฺมา สมฺยกฺ จริง, แท้โดยชอบ
สัมโมทนียกถา สมฺโมทนียกถา สมฺโมทนีย+กถา ถ้อยคำเป็นที่บันเทิงใจ
สัมฤทธิ์ สมิทฺธิ สมฺฤทฺธิ ความสำเร็จ. (ไทย) โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์หรือ ทองบรอนซ์ (bronze) ก็เรียก, โบราณเขียนว่า สำริด.
สากล สกล สกล ทั่วไป, ทั้งหมด, เป็นที่นิยมของมนุษย์
สาไถย สาเถยฺย ศาฐย แสร้งทำให้หลงเข้าใจผิด
สาโท สาท สฺวาท หวาน, อร่อย. (ไทย) น้ำเมาที่ได้จากการหมัก ยังไม่ได้กลั่น เช่น น้ำขาว อุ กะแช่.
สาธยาย สชฺฌาย สฺวาธฺยาย สวด, ท่อง
สาธารณ์, สาธารณะ สาธารณ สาธารณ ทั่วไป. (ไทย) เพื่อประชาชนทั่วไป; ต่ำ, เลว.
สาธารณูปโภค สาธารณ+อุปโภค สาธารณ+อุปโภค เครื่องใช้สอยทั่วไป
สาธิต สาธิต ให้สําเร็จ. (ไทย) แสดงเป็นตัวอย่าง
สาธุ สาธุ สาธุ ดีแล้ว, ชอบแล้ว; ความดี, คนดี
สานุศิษย์ สิสฺสานุสิสฺส ศิษฺยานุศิษฺย ศิษย์น้อยใหญ่ (ศิษย์+อนุศิษย์). (ไทย) ลบ สิส- พยางค์หน้าออก.
สาบาน สปน ศปน ด่า, แช่ง. (ไทย) กล่าวคําปฏิญาณโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นพยาน
สาป สาป ศาป ด่า, แช่ง.
สามเณร สามเณร ศฺรามเณร เหล่ากอ เชื้อสาย ลูกหลาน แห่งสมณะ
สามัญ สามญฺญ สามานฺย ปกติ, ธรรมดา
สามานย์ สามญฺญ สามานฺย ปกติ, ธรรมดา. (ไทย) ชั่วช้า เลวทราม
สามารถ สมตฺถ สมรฺถ ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้
สายัณห์ สายณฺห สายาหฺน เวลาเย็น
สาร สาร สาร สาระ, แก่น, เนื้อแท้, สำคัญ เช่น แก่นสาร; กำลัง เช่น ช้างสาร. (ไทย) ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น ส่งสาร, สื่อสาร, นิตยสาร; ข้าวที่เอาเปลือกออกแล้ว (ข้าวสาน)
สารพัด สพฺพ สรฺว ทั้งปวง, ทุกแห่ง, ทั้งหมด, ทุกอย่าง
สารวัตร - สรฺว+ ผู้ตรวจงานทั่วไป/ทุกอย่าง
สาโรช สโรช สโรช ดอกบัว "เกิดในสระ"
สาลิกา สาลิกา ศาริกา นกสาลิกา
สาโลหิต สาโลหิต ส+โลหิต ผู้มีสายเลือดร่วมกัน (ร่วมท้อง). มักพูดเคลื่อนเป็น สายโลหิต
สาวก สาวก ศฺราวก ผู้ฟัง, ศิษย์ของศาสดา
สาสน-, สาสน์ (สาด) สาสน ศาสน คำสั่งสอน เช่น สาสนธรรม, พุทธสาสน์
สาสน์ (สาน), สาสน์ (สาด) สาสน จดหมายของประมุขของประเทศหรือประมุขสงฆ์ที่ใช้ในการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เช่น พระ

ราชสาส์น/พระราชสาสน์, สมณสาสน์ ฯลฯ

สิกขาบท สิกฺขาปท ศิกฺษาปท ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติในพระวินัยที่พึงศึกษาปฏิบัติ. (คำว่า ลาสิกขา มักใช้ผิด เป็น ลาสิกขาบท)
สิงขร สิขร ศิขร จอม, ยอด, หงอน; ยอดเขา. (ไทย) เพิ่ม ง.
สิงห์ สีห สิงฺห สิงโต, ราชสีห์
สิญจน์ สิญฺจน การรดน้ำ
สิทธัตถะ สิทฺธตฺถ สิทฺธารฺถ "ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว", พระราชกุมารนามว่าสิทธัตถะ (ทรงสถานะเป็นพระมหาโพธิสัตว์ก่อนตรัสรู้, จึงไม่ควรใช้คำว่า "พระพุทธเจ้าน้อย" หากถือเคร่งครัด) ผู้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในภายหลัง; เมล็ดพันธุ์ผักกาด (สาสป).
สินธพ สินฺธว ไสนฺธว ม้า
เสโท เสท เสฺวท เหงื่อ. En. sweat
สิริลักษณ์ สิริ+ลกฺขณ ศฺรี+ลกฺษณ ลักษณะสวย, คุณภาพดี
สีกา อุปาสิกา (ภาษาพูด) คําที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้หญิง, คู่กับ ประสก.
สุกร สุกร, สูกร สุกร หมู, "(ถูกเขา)ทำได้ง่าย, ผู้มีมือ(เท้า)งาม"
สุขี สุขี ศุขินฺ มีความสุข
สุขุม สุขุม สูกฺษม ละเอียด, ประณีต, ฉลาด. (ไทย) ละเอียดประณีตทางความคิด.
สุโขทัย สุข+อุทย สุข+อุทยฺ การตั้งขึ้นแห่งความสุข
สุคต สุคต สุคต ไปดีแล้ว
สุคติ สุคติ สุคติ ที่ไปดี (นอกจากอบาย). (ไทย) สวรรค์. (มักเขียนผิดเป็น สุขคติ)
สุคนธ์ สุคนฺธ สุคนฺธ (มี)กลิ่นหอม
สุจริต สุจริต สุจริต (มีความ)ประพฤติดี
สุจิต สุ+จิต สุ+จิตฺต มีจิตดี, มีการสั่งสมดี
สุชน สุชน สุชน คนดี
สุชาติ สุชาติ สุชาติ มีกำเนิดดี
สุณิสา สุณิสา สฺนุษา สะใภ้
สุดา สุตา ลูกสาว (สุต ลูกชาย). (ไทย) ผู้หญิง.
สุทโธทนะ สุทฺธ+โอทน ศุทฺธ+โอทน ชื่อพระบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ "ข้าวสุกหมดจด"
สุทรรศน์ สุทสฺสน สุทรฺศน การเห็นดี (สวย, งาม)
สุธารส สุธา+รส สุธา+รส รสอันสะอาด บริสุทธิ์. (ไทย) น้ำดื่ม
สุนทรพจน์ สุนฺทรวจน สุนฺทรวจน คำพูดที่ไพเราะ
สุนัข สุนข ศุนก หมา, "มีเล็บงาม"
สุนันท์ สุนนฺท สุนนฺท บันเทิงดี
สุบรรณ สุปณฺณ สุปรฺณ ครุฑ "ผู้มีปีกงาม"
สุบิน สุปิน สฺวปฺน ความฝัน
สุปาณี สุปาณี สุปาณี ฝีมือดี
สุพจน์ สุ+วจน สุ+วจน (ผู้มี)ถ้อยคำอันดี
สุพรรณ สุวณฺณ สุวรฺณ ผิวดี, ทองคำ
สุพรรณราช สุวณฺณ+ราช สุวรฺณ+ราชนฺ "ราชาแห่งทอง". (ไทย ราชา.) กระโถนใหญ่, "ทองของพระราชา?"
สุพรรณศรี สุวณฺณ+สิริ สุวรฺณ+ศฺรี "สิริแห่งทอง". (ไทย ราชา.) กระโถนเล็ก, "ศรีของพระราชา?"
สุภาพ สุภาว สุภาว ภาวะอันดี. (ไทย) เรียบร้อย, อ่อนโยน, ละมุนละม่อม.
สุภาษิต สุภาสิต สุภาษิต คำพูดดี
สุเมธ สุเมธ สุเมธสฺ ผู้มีปัญญาดี, นักปราชญ์
สุรา สุรา สุรา เหล้า
สุรางค์ สุร+องฺค สุร+องฺค ประกอบด้วยความกล้า
สุวรรณ สุวณฺณ สุวรฺณ ทอง "มีสีงาม"
สุวาน สา สฺวาน, สุวาน ศฺวน หมา
สุสาน สุสาน ศฺมศาน ป่าช้า
สุริย สุริย สูรฺย พระอาทิตย์, สูรย์, สุรีย์, สุริยัน, สุริยน. En. sol, solar
สูญ สุญฺญ ศูนฺย ว่าง, ว่างเปล่า (จากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง). (ไทย) หายสิ้นไป, ทําให้หายสิ้นไป. En. zero
เสถียร ถิร สฺถิร ยั่งยืน, มั่นคง
เสน่ห์ สิเนห, เสฺนห เสฺนห ความรัก. (ไทย) ลักษณะที่ชวนให้รัก เช่น เธอเป็นคนมีเสน่ห์;

วิธีการทางไสยศาสตร์ที่ทำให้คนอื่นรัก เช่น เขาถูกเสน่ห์. เสน่ห์ปลายจวัก (สำ) น. เสน่ห์ที่เกิดจากฝีมือปรุงอาหารให้โอชารส.

เสนา เสนา เสนา กองทัพ, ทหาร
เสนีย์ เสนา+อิย ผู้อยู่ในกองทัพ, ทหาร
เสมหะ เสมฺห เศฺลษฺมนฺ เสลด
เสมา สีมา สีมา เครื่องหมายบอกเขตสำหรับสงฆ์ทำสังฆกรรม
แสนยานุภาพ เสนา+อานุภาว ไสนฺย+อานุภาว อํานาจทางทหาร.
เสาวคนธ์ สุคนฺธ สุคนฺธ กลิ่นดี, กลิ่นหอม.
เสารภย์, เสาวรภย์ สุรภี เสาวรภฺย ยินดีด้วยดี (กลิ่นหอม, เครื่องหอม)
เสาร์ โสร โสร ชื่อวันที่ 7 ของสัปดาห์; ดาวเสาร์
เสาวภา โสภา เสาวภา สวย, งาม "มีรัศมีดี"
เสาวภาคย์ โสภคฺค เสาวภาคฺย ความเจริญดี, โชคดี
เสาวรส สุรส สุรส รสดี (รสอร่อย)
เสาวลักษณ์ สุลกฺขณ สุลกฺษณ ลักษณะดี, ลักษณะงาม
โสตถิ โสตถี โสตฺถิ, สุวตฺถิ สฺวสฺติ ความเจริญ, มีดี (ความสวัสดี, ความเจริญ)
โสภา โสภา งาม
โสมนัส โสมนสฺส เสามนสฺย ใจดี
โสรจ (โสด) โสจ เศาจ อาบ, สรง, ชําระ, ทําให้สะอาด. (เขมร โสฺรจ)
ไสยา เสยฺยาสน ศยฺยา การนอน
ไสยาสน์ เสยฺยาสน ศยฺยาสน ที่นอน, (ไทย) การนอน