ข้ามไปเนื้อหา

ปาฐกถา

จาก วิกิตำรา
ว่าด้วยคำศัพท์ เรื่อง ปาฐกถา (กถา,คาถา)
ลำดับที่ คำศัพท์ อนุทินศัพท์ ความหมาย/หรือนิยามศัพท์
๑. อาคทนํ หรือ อาคโท ได้แก่ คำพูด คท(คะ-ดะ) และ คต(ตะตะ) แปลว่า คำพูด โดยแปลง ท เป็น ต เช่นที่ทำความสำเร็จแก่บทใน อาคโท อสฺสาติ ตถาคโต แล้วนั้น
๒. ปวทตํ แปลว่า บรรดาผู้แถลงคารม
๓. อปฺปภสฺสา ความว่า พูดแต่น้อย
๔. ภสฺสารามตา ได้แก่ ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วในการสนทนาด้วยคำอันเป็นดิรัจฉานกถา
๕. เอกวาจาย เทเสยฺย ความว่า ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจา อันเดียว อย่างนี้. . .
๖. - -

บรรยายสังเขป คำว่า “ปาฐกถา”

เรื่องชื่อว่า ปาฐกถา กำหนดความโดยสำนักราชบัณฑิตมาแต่ก่อนว่า หมายถึง บรรยายที่แสดงในที่ชุมนุมชน จะเห็นได้ว่าพบการเก็บบรรยายมาเป็นบทสารานุกรมอยู่บ้าง แต่กล่าวด้วยชื่อ กถา และคาถา จึงจะต้องหาแก้ทางซึ่งกระจายอยู่ซึ่งทำไว้เป็นการแยกออกเป็นหลายทาง ของคำอย่างเดียวกันนี้ ว่าควรจะมาจากคำชื่อว่า ปาฐกถา นี้เป็นต้น ด้วยกัน แต่ที่จะกล่าวว่าคาถานั้น หนึ่งๆว่าแล้วที่จะว่าเป็นคาถาได้ ในปัจจุบันนั้นเป็นที่ทราบกันว่า จะต้องให้หมายไปถึงความศักสิทธิ์ หรือที่จะต้องแปลกและที่จะต้องอาจปรากฏเป้นปาฏิหาริย์ได้ด้วย ที่ได้กล่าวทั่วในที่ชุมชน จึงได้เรียกคำนั้นๆ ว่า เป็นคาถา ซึ่งก็คือ กถา

บทความชื่อนี้เห็นควรจะต้องมาด้วยกับ คำว่า กถา และ คาถา ซึ่งคำหลักได้แสดงเป็นบทสารานุกรมได้พิศดารถึงความอัศจรรย์ก็เห็นจะยังไม่ได้มี เพราะว่าด้วยศาสนาพุทธอย่างหนึ่งแล้ว ให้ต้องมีมา และให้คำๆนี้เป็นคำลำดับสำคัญมาก่อนๆทุกๆอย่างเลยก็คือ เป็นมา(แท้)โดยคำว่า ปาฐะ หรือคือ มุข คือ มุขปาฐะ ว่าคือบท(บทยิ่ง)แห่งพระศาสนา เพราะแม้แต่ตำราอะไรที่สำคัญๆนั้น ก็ไม่สำคัญเท่ากะการสืบทอดศาสนากันต่อมาโดยมุขปาฐะ คือ ปาฐะซึ่งหมายถึงการท่องจำและการสวด (แล้วได้ประกาศบรรยาย(กถา)ตามนั้น)

คำว่า ปาฐกถา ยังไม่ได้จัดรวมลงในแก้กำกวม หรืออยู่ร่วมบทความกับคำว่า กถา และคาถา ซึ่งกล่าวแยกนัยกันมาว่า โดยคันถรจนาจารย์ และโดยผู้สาธยายในที่สาธยาย อันนี้กล่าวว่า กล่าวกถา หรือแสดงถึงบทที่มีมา(ที่เขียน) ว่าคือ คาถา

เพราะฉะนั้นแล้ว จึงสรุปดูไม่ใคร่ตรงใจคนเท่าใดนัก เพราะที่สุดนั้นควรจะว่าที่ชื่อ ปาฐกถา (เพราะเป็นหลักที่ว่าด้วย ปาฐะ!) ให้เป็นชื่อบทหลักแล้วค่อยว่าลงไปในบทความเดียวกัน ว่า กถา และคาถา (ให้คำว่ากถาและคาถานั้นเป็นคำเพิ่มค่าและไว้เป็นคำสำหรับขับคุณลักษณะของคำตั้งให้เฉิดฉายและเด่นชัดยิ่งขึ้น) เป็นดังนั้น เรื่องคำแยก หรือสรุปความนั้นจึงจะทำรวบยอดได้ ไม่มากความแล้วแยกหลายอย่าง แต่ได้กำหนดลงในรายละเอียดด้วยบทความเดียวกันด้วยชื่อบทความหลักชื่อเดียวกัน เฉพาะในที่นี้ก็คงจะเพียงแต่กล่าวแก้ความไว้พอเป็นข้อวินิจฉัยกันต่อๆไป

และได้มีเรื่องเก็บมาจากที่อื่นด้วย เพื่อเผื่อพิเคราะห์เป็นตำราในบทความในชื่อปาฐกถา ถึงแม้ว่าจะเป็นที่ให้เข้าใจไปในทางอื่นอยู่บ้าง แต่ตามที่เก็บมาก็นับว่าเป็นเรื่องเล่า และการสอนกล่าวพอเป็นที่น่าสนใจ เช่น มีว่าคำที่ออกเสียงคล้ายๆกันนั้น เป็น สัมปุณณา! ในที่นี้ท่านผู้รู้ดังนั้น ท่านเห็นจะพิเคราะห์ในข่ายแห่งปริยัติ (ว่าเป็นบุญแล้วหรือยู่ในข่ายแห่งบุญก็ควรนับเป็นบทยิ่งได้) ซึ่งเป็นแง่มุมของคำ ว่าดังนี้

กล่าวว่า สมฺปุณฺณา นั่นหล่ะ เป็นบทเรื่องของคาถา เพราะอันว่าคาถานี้ หนึ่งๆ ย่อมจะยังไม่เป็น ปทํ เสยฺโย (เป็น บทที่ดี) คือเป็น กถาปวตฺติ (เป็นบทที่ตกแต่ง) หรือเป็น กปฺปิ (น่ารัก และควร) ซะเพียงนั้นก่อน คือให้ไปนึกคิดในหลายที่หลายเหตุการณ์ได้ คือให้เป็นที่เรียนหรือเขียนด้วยบทที่ไม่สัมพันธ์กันก็ได้. คือเป็นคำคล้องเป็นคำตั้งมาอย่างหนึ่งแล้วนั่นเอง จึงกำหนดได้ถึงการสร้างไว้เบียดเอาวิพากษ์ก่อนๆ หรือเบียดเอาวิพากษ์อื่นๆที่มุ่งหวังอยากจะให้ห่างไกลจากกัน กะวิพากษ์ประการหนึ่งที่ตนเองตั้งไว้ (คนจึงใช้คำเดียวกัน แต่พูดหมาย พูดเกณฑ์นั้นเป็นอย่างอื่น ด้วยการดัดแปรนิดหน่อย:-ผู้เขียน) ที่จริงแล้วคำว่า คาถา นี้ อาจจะตีรวนและเป็นอัศจรรย์ได้หลายอย่างอีกมากก็ได้ เหมือนกับคำอันเป็นบทยิ่งอื่นๆ (ที่จัดไว้ ว่า เป็นกปฺปิยโวหาร) ที่อาจมีไวพจน์ คำเหมือน และคำคล้าย (ซึ่งเป็นทางเสียง หรือที่หมายถึงความหมาย:-ผู้เขียน) ต่างๆ อยู่อีกมาก

ในอนุทินศัพท์ ซึ่งประกอบเป็นคำบรรยายเพิ่มเติมนั้นว่าด้วยการสวดการท่องคาถา (ที่ต้องกระทำเป็นประจำ) ว่าดังนี้

การสวดคาถา เวลาสวดและระลึกตามไปจวบจนจบบทย่อมไม่เหมือนกับเวลาที่กำลังจำท่องอยู่ในระหว่างคาถานั้น และเวลาที่จะเริ่มบทนั้นๆ ย่อมจะไม่เหมือนกับอาการที่ท่องอยู่และไม่เหมือนกับเวลาที่ท่องจบแล้วนั้นด้วย ด้วยสวดระลึกท่องคาถาจนจบ ย่อมรวมมาที่เริ่มอีก หากสวดท่องหรือตั้งสาธยายอีกครั้ง

ในบทระลึกไปกับอักขระพยัญชนะ ท่านกล่าวไว้ว่า หากกระทำไปโดยเร็วหรือเร่งด่วนรีบร้อนเอากับที่ระลึกสาธยายนั้น ความชัดเจนแจ่มแจ้งในญาณที่ได้นั้นย่อมจะไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งไปด้วยกะความเร่งด่วน เปรียบเหมือนกับขี่รถเร็ว จึงเป็นสักแต่ว่าจะมาและไปให้ถึง แล้วก็จึงจบไป ญาณย่อมไม่สัมปยุตในที่กับที่อยู่ในระหว่างกลาง (ที่ท่อง) ทางนั้น อาการด้วยบทนั้นย่อมจะไม่ชัดเจนและไม่แจ่มแจ้ง เหมือนกับไป-มาโดยเร็วฉันนั้น ไม่แจ่มแจ้งกับอะไรที่มาเกี่ยวข้องเลยสักอย่าง ไม่ทำให้ได้ความอันที่จะประกอบเป็นญาณทางภายใน

ทีนี้ ในผู้ที่ยืดยาดไม่ค่อยท่อง หรือท่องเอาแต่ช้าๆ หรือไม่สวดภาวนาไว้อยู่เรื่อยๆทุกวัน ท่องบ้างไม่ท่องบ้าง ทำความภาวนาแบบติดต่อไม่ได้ ปล่อยจังหวะยืดยาวว่างเว้นขณะเป็นเนิ่นนาน หลายวัน หลายเดือน หลายปี แล้วถึงลืมไปเลย ย่อมเปรียบเหมือนคนขี่รถแล้วแวะอยู่ข้างทาง เที่ยวออกชายทุ่งชายป่าท่าน้ำ เที่ยวออกไปทั่ว (นอกบท) ไม่ไปถึงจุดหมาย ญาณสัมปยุตย่อมฟุ้งกระพือไปในที่ผิด อัญญาณ (รู้) จะได้นั้น ย่อมกลับเป็นอัญญถา (อัน-ยะ-ถา) ญาณ เกลือกกลั้วให้เสียไป ไม่เป็นประโยชน์แก่กถา และอันที่เกี่ยวแก่กถานั้นแล้ว แล้วกลายเป็นประการอื่นๆ

ดังนี้ฉะนั้น จึงไปเป็นบทสารานุกรมไม่ได้ เพราะให้อ่านได้เข้าใจแต่โดยเร็วอย่างบทสารานุกรมนั้นไม่ได้ ตรงตามแบบที่ต้องเป็นสารานุกรมนั้นก็จึงคงควรจะยากอยู่ และถึงให้ทำตามชื่อบทความว่า “ปาฐกถา” ก็ดูจะไม่ค่อยตรงนัก ข้อนี้ไม่รู้ว่า ควรจะต้องกล่าวว่าอย่างไร! เพราะโดยมากแล้วแต่ละคนก็ยังคงให้รู้สึกว่า การปราศัยอย่างหนึ่งนั้นเอง ที่เป็นปาฐกถา และกถา หรือ คาถาในเดี๋ยวนี้นั้น ย่อมไม่นับถือว่าคืออย่างเดียวกันกะปาฐกถาที่รับฟังอยู่

ดังนั้นแล้ว แต่!คำชื่อบทความว่า ปาฐกถานั้นน่าจะเป็นได้บ้าง คือทำได้อยู่บ้างหากนับนัยด้วยบทสารานุกรมอย่างหนึ่ง ถ้าหากว่า กล่าวแยกกันในทางศาสนามาก่อน เพราะว่า เพลงสวด การสวดภาวนา และบทสรรเสริญ ทั่วไปแล้วยังไม่ได้กล่าวว่าเป็นบทยิ่ง หรืออาจจะกล่าวว่าเป็นบทยิ่งอยู่บ้าง จากที่กล่าวรวมลงในความหมายของคำว่าคาถา แต่ความหมายตามนี้ ปาฐกถานั้นจะต้องหมายถึง การแสดงสารัตถะบรรยายในที่ประชุมชนต่างๆทั่วไปเท่านั้น และให้เป็นที่สังเกตด้วยตามความประกอบกันนั้น ด้วยคำที่เป็นบทยิ่งนี้ด้วย จากทั้งสองคำ ด้วยสองคำประจวบ (ปาฐะ+กถา(คาถา)) รวมกัน แล้วให้ได้เป็นคำที่มีบทประมาณในทางธรรมดาลงกว่าที่เป็นบทยิ่งนั้น ที่นี้ให้เปรียบเทียบการรวมบทความนั้นลงเป็นชื่อเดียว ว่าถึงอย่างไรแล้วก็ยังคงจะต้องยากอยู่ หรือแม้หากว่ารวมได้แล้ว แต่ก็อาจกลับกลายว่า เป็นบทความที่ไม่ดี และกลับได้เป็นบทความที่แย่ลงกว่าเก่า