พระบรมธาตุ

จาก วิกิตำรา

ในคำว่า พระบรมอัฏฐิ หรือพระบรมธาตุนี้ คำแยกหรือบทที่มีแก่คำกำกวมแรกๆ นั้นเห็นจะได้แก่คำว่า อัฏฐิ นั้นเอง ซึ่งตำราที่สถิตแก่สถานะอย่างโลกตั้งไว้ มักใช้กำหนดประกาศอย่างราชบัณฑิต จึงใช้แต่คำว่า อัฐิ นั้นมาแต่โดยมาก ซึ่งก็แปลกบ้าง ที่ ฏ พินทุนั้นถูกทำให้เลือน ลบออกและให้สะกดรวมลงที่ อิ ปัจจัยเลยที่เดียว แต่คัมภีร์ในพระศาสนานั้น เห็นจะใช้ศํพท์นี้ในรูปคำ ว่า อัฏฐิ อยู่ แม้ในอรรถกถาก็นิยมอยู่มาก มากกว่าแบบที่ใช้ตามกำหนดแห่งราชบัณฑิต ฉะนั้นจึงให้ควรเห็นแก่การแก้คำชนิดนี้ก่อน ถึงแม้ว่าทั่วไปจะไม่ค่อยได้ใช้ตามตรงแล้ว เพราะเดี๋ยวนี้ เรียกเลย(คำว่า อัฏฐิ)ไปเลย เรียกว่า เป็นพระบรมธาตุ หรือพระมหาธาตุ(เจดีย์)ไปเสียทั้งหมด และการณ์เดียวกันนี้ให้อยากจะเห็นบ้างว่ามีใช้อยู่ตรงไหนบ้าง(ว่า ยังไม่เห็น) ดังนั้นจึงยกมาให้เห็นด้วยว่ามี ได้ยกมาด้วยบทหนึ่งประโยคหนึ่ง ว่าดังนี้

นาคาวโลกิตํ ความว่า เหมือนอย่างว่ากระดูกของมหาชนเอาปลายจดปลายตั้งอยู่เหมือนอัฏฐิของพระปัจเจกพุทธเจ้า ที่เกี่ยวกันเหมือนขอช้าง ฉันใด อัฏฐิของพระพุทธเจ้าหาเหมือนฉันนั้นไม่. ด้วยว่าอัฏฐิของพระพุทธเจ้าติดเป็นอันเดียวกัน ...

ในประโยคกล่าวถึง พระบรมอัฏฐิ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นประเพณีที่มีมาแต่ในศาสนาพุทธเท่านั้น และพระพุทธเจ้า ก็โดยพระองค์เองในที่ซึ่งตรัสแก่ภิกษุสงฆ์ว่าให้ฌาปนกิจ กำหนดแก่สรีระเมื่อคราวปรินิพพานของภิกษุสงฆ์ผู้เป็นอรหันต์ กระทำแล้ว จากนั้นให้ได้ทำสถูปเจติยสถานประกอบไว้พร้อมด้วย ชื่อว่าสรีระที่ชำระแล้วด้วยเตโชธาตุ เมื่อนั้น ให้เรียกว่าพระบรมอัฏฐิ ถึงที่เป็นของควรเคารพ เป็นบวร อยู่ในสถานะที่ควรแก่การสักการะบูชาเสมอไป เรื่องสรีระของพระอรหันต์ที่ได้รับการชำระ(โดยเตโชธาตุ)ด้วยเป็นพระพุทธประสงค์เป็นกำหนด มีปรากฏแล้ว อยู่ในพระไตรฎกนั้นแล ซึ่งข้อที่ควรทราบนั้นๆ ก็ให้ถือเข้าใจเรื่องราวและเหตุผลตามธรรมดานี้ก่อน

ความรู้ และข้อมูล เกี่ยวแก่พระบรมธาตุ พระบรมอัฏฐิ ที่มีมาในรูปของตำราปัจจุบัน[1]มีดังนี้.

  1. ความหมายของคำว่าพระบรมสารีริกธาตุ
  2. พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่าง ๆ
  3. พระธาตุลอยน้ำ
  4. ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ
  5. มหาปรินิพพานสูตร
  6. ตำนานธาตุปรินิพพาน
  7. พุทธเจดีย์
  8. บุคคลที่สมควรสร้างสถูปไว้บูชา (ถูปารหบุคคล)
  9. พระธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร
  10. พระธาตุเจดีย์ประจำวัน
  11. พระธาตุพุทธสาวก
  12. บูชาพระธาตุ
  13. สรงน้ำพระธาตุ
  14. พระธาตุปาฏิหาริย์
  15. ลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ
  16. พระอรหันตธาตุสมัยพุทธกาล


  1. รหัส ISBN 978-974-7539-30-1
    รวบรวมโดย ดร.สุธี แก้วเขียว