พระมหากษัตริย์ไทย/พระมหากษัตริย์ในสมัยต่างๆ/พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา

จาก วิกิตำรา

พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา

เมื่อสิ้นกรุงสุโขทัย พระเจ้าอู่ทองได้สร้างกรุงศรีอยุธยา ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีบทบาทอย่างมากโดยอิทธิพลของขอมและละโว้ ซึ่งถือว่ากษัตริย์คือพระผู้เป็นเจ้าอวตารมาเกิด พระเจ้าอู่ทองก็กลายเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ รูปแบบของสถาบันพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาแตกต่างจากสมัยสุโขทัยอย่างมากระบอบการปกครองของอยุธยาเป็นระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจเป็นล้นพ้น

สังคมในสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งต่างกับสมัยสุโขทัยที่พระมหากษัตริย์ทรงปกครองราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร แต่ในสมัยอยุธยาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเจ้ากับข้าโดยแท้ ตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นตำแหน่งที่ช่วงชิงกันด้วยอำนาจทางทหาร แนวความคิดเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทวราชและทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะที่ทรงเป็นสมมติเทพ กฎเกณฑ์ตลอดจนขนบประเพณีต่างๆ ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรักษาฐานะเทวราชของพระมหากษัตริย์ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอาจเป็นล้นพ้น

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]