พุทธนิมิต

จาก วิกิตำรา
ว่าด้วยคำศัพท์ เรื่อง พุทธนิมิต (เครื่องหมาย)
ลำดับที่ คำศัพท์ อนุทินศัพท์ ความหมาย/หรือนิยามศัพท์
๑. สรีรภาเค แปลว่า นิมิตแห่งส่วนของพระสรีระ
๒. รูปนิมิตฺตํ มนสิกโรมิ ความว่า เราใส่ใจถึงรูปที่เป็นอารมณ์เท่านั้น ด้วยทิพยจักษุ
๓. สพฺพนิมิตฺตานํ ได้แก่ นิมิตที่ปรุงแต่งแล้วมีรูปเป็นต้น
๔. สรีรํ ได้แก่ พระธาตุที่เป็นพระสรีระ สรีรกิจฺจํ กตฺวาน ความว่า การทำกิจคือการเผาด้วยไฟ คือ การจุดไฟ
๕. - -

บรรยายสังเขป คำว่า “พุทธนิมิต คือพระพุทธรูป”

เรื่องพุทธนิมิตนั้น ถือหาสาเหตุกล่าวกันโดยเครื่องหมาย ฉะนั้น เรื่องที่กล่าวโดยเครื่องหมายอาจไม่นับคุณค่าตามตรง ต้องกล่าวเป็นสัพพะธัมมานัง ไปตลอดเรื่อยๆก่อน ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่ว่าด้วยได้ยาก หรือไม่เคยมี ทั้งวัตถุ เรื่องราว สิ่งต่างๆ บุคคล เรียกว่าเป็นคำศัพท์หรือเฉพาะแค่ตัวคำศัพท์ก็ได้ คือเป็นนิมิตเพศ เป็นนิมิตวัตถุ เป็นนิมิตแสดงว่านี่คือวัตถุ! ส่วนที่เรียกว่า ไม่เคยมี ก็คงอย่างสมัยนี้กำหนดว่า ของท่านทำด้วยแฮนด์เมด เป็นของไม่เคยมี หรืออย่างไรอย่างหนึ่งประมาณอย่างนั้น ที่จะกระทำซ้ำด้วยเรื่องราวอย่างนั้นก็ไม่ได้ และ หรือเมื่อเกิดจากหัวหน้าศิลปิน หรือบุคคลที่ให้นับถือและนิยมมาก รูปนิมิตเครื่องหมายตามการจดจำนั้นก็ยิ่งมีมูลค่าสูงมากตามไปด้วย เช่นพระรูปองค์จริงของพระพุทธชินราช แล พระแก้วมรกตเป็นต้น

ที่นี้เป็นเรื่องทางภาษามาก่อน ที่กำหนด ที่นิมิตทำเครื่องหมายกัน แล้วก็สร้างขึ้น บาปเคราะห์ บุญวิบากดี-ร้ายอะไร ก็ปรากฏรูปด้วยกิจที่ทำนั้น ตามความสามารถของผู้เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมา แต่ทีนี้เขาถือเป็น นิมิตทางภาษา คือคำศัพท์ คำว่า พุทธนิมิต หรือพุทธรูป อย่างนั้น เช่นคำที่เรียกกันว่า เธอ ฉัน คุณสมบูรณ์ อะไรอย่างนี้ แต่! ว่าให้สร้างรูป สร้างเป็นวัตถุข้าวของออกมา ถึงมีสักการะบูชา หรือไม่มีสักการะบูชา ก็คงยังเรียกว่าพระพุทธรูปอยู่ดี เป็นศิลปวัตถุอย่างที่โลกกำหนดให้มาอยู่ในกลุ่มของงานปติมากรรม ซึ่งอาจจะเกิดจากอารมณ์การพักผ่อนของนายช่างที่ปั้นถ้วยชามรามไห ในขณะนั้นแล้วได้กล่าว หรือทำขีดเขียนพุทธนิมิต (หมายถึงเป็น คำศัพท์) จึงสร้างอนุสรณ์ไว้เป็นเครื่องกำหนดตามสัททลักษณ์ที่ตนพิเคราะห์ ใช้ความสามารถทางงานปั้นของตนเองประกอบ เป็นสุนทรียรส สุนทรียภาพในการใช้ชีวิตของบุคคลคนนั้น คงไม่ได้กำหนดสู่การกระจายตัว ว่าจะต้องให้มีบท มีเกณฑ์ในทางสัททลักษณ์ศัพท์ดังว่านี้ ว่าสิ่งเช่นนี้แหละควรจะต้องปรากฏเป็นถาวรแก่สังคม แต่ว่าเหตุการณ์ซึ่ง ประชาชนในผู้ที่จะร้องจะเรียกหาวัตถุที่จะเอามาสร้างไว้แทนรูปลักษณ์อย่างสำคัญยิ่ง อย่างยิ่ง (ในทางนิมิต) เพราะชนเช่นดังว่านั้น ในสังคมมีอยู่ จึงได้มีการไปสืบเสาะต่อเติมหรือสืบหาแล้วทำกำหนดนับเนื่องให้กระทำ เสร็จแล้วนำกลับมา เมื่อถึงที่ ก็กำหนดเร้าใจกันว่า ได้ยาก! อย่างนี้แล้ว เราสามัคคีเถิด เกิดสามัคคีแล้ว เรานับเริ่มต้นกัน ไปกันจากรูปลักษณ์รูปใหญ่นี้ ว่าเอาเป็นสักการไว้เป็นที่รวมกัน อย่างไรแล้วให้มาตรงนี้ ที่ๆเราได้รวบรวมเรี่ยวแรงและกำลังหาตั้งวิธีหารายได้ และหารายก่อสร้างมากระทำไว้อย่างนี้แล้ว ก็จงได้นับการเป็นประธานแห่งสักการะเริ่มต้นสำคัญกันตรงนี้ ว่าพอไว้เป็นที่ประชุมสันติ

สัททลักษณ์ อสังขตธรรมกำหนดย่อมนับไม่ได้ ไม่มีที่จะต้องเนื่องด้วยรูปอะไร คงจะต้องให้ละเว้นไปหมด เพราะธรรมไม่อาจจะนับให้สืบทราบสอบถามตามกันได้เลยว่า คืออย่างไร? ฉะนั้น จึงได้หาทางสาสมใจ (กันในทางสันติ) ในทางโลกวงกลมหมุนเวียน ว่าจงหาได้ใคร่ดีไปตามกลมวนเวียนไหว้นี้กันก่อน ฉะนั้นแหละ ที่สาสมใจดีแล้วนั้นก็คงจะรู้แจ้งจบกระบวนดี กันแล้วทุกๆคน ว่าพระพุทธดำรัสตรัสฎีกาที่สุด เป็นกระทงความที่เลิกไม่ได้เป็นต้องมีอยู่! อย่างที่ถือตามกันด้วยดีตลอดนับบรรพกาลมา ว่า มโน ปุพพังคะมา ธัมมา.. ฉะนั้นแล ก็ให้ถึงบทเช่นนี้ด้วย และใครๆจะเลิกนับเลิกถือไปก่อนๆที่จะได้ใคร่นิยม (วัตถุ) ตามนั้น เห็นจะไม่ได้! เพราะว่าใจเป็นสรรพสิ่งแล้ว ก็จึงต้องพลอยถึงที่วัตถุตามรายวิธีนั้นไปด้วย ด้วยใจ

ตัวอย่างการใช้งาน คำว่า พุทธนิมิต นั้น มีมาในพระไตรปิฎก. เช่น ... พุทธนิมิต ๓๒ ประการ ในภพ สุดท้ายปรากฏแล้ว, พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า, กิริยาอาการของพุทธนิมิตนี้ จงมีอย่างนี้, พุทธนิมิต แล้วทรง เข้าฌานมีอภิญญาเป็นบาท, เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพุทธนิมิต ไม่มีความต่าง... และ อัศจรรย์ ดาบสแสดงพระพุทธนิมิตเหล่านั้นแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย ... คำว่าพุทธนิมิต จึงน่ากำหนดเป็น คำนาม ที่ได้มีความหมายโดยสรุปว่า เครื่องหมายแห่งการปรากฏของพระสรีระ และอาการของพระพุทธเจ้า.

เพราะโบราณนั้นเองท่านก็คงถือกันว่า หากเมื่อใจเป็นสรรพสิ่งแล้ว เป็นติดข้องติดขัดอยู่ด้วยวัตถุ (วัตถุ เป็นชื่อแทนสรรพสิ่ง) ก็เห็นว่าคงยังจะไม่ใช่ใจตามความหมายแห่งพุทธพจน์ (มโน ปุพพํ) เพราะหากว่าสิ่งจัดสิ่งทำนั้น จัดเป็นสังขตธรรม กระทำถึงแต่สัพพะภูเต อยู่เนื่องในนั้น (รูป) อย่างไรอย่างหนึ่งตลอดโดยไม่ทราบแล้ว ฉะนั้นจึงได้แต่ขัดข้องเคืองใจอยู่เสมอ ควรจะให้ถือกำหนดแต่เหตุว่า สัพเพ โลเก ให้ได้เสียก่อน (โลกเป็นสรรพสิ่ง) ก่อนที่จะว่าเอาความขัดข้องตามอาการที่ประชุมและสถานที่ๆได้ประชุมซึ่งกระทำเป็นกำหนดหมายให้เป็นที่ประชุมกันด้วยสันติ อยู่อย่างนั้น พอเมื่อใจไม่พร้อมด้วยกับสรรพสิ่งก็จึงขัดข้องอยู่นั้น ไม่ได้ดีไปด้วยและคงไม่อาจคิดติดตามบทแห่งพระปาติโมกข์ให้สมจุดหมายได้ คงคิดได้อยู่แค่ว่าจะกราบใครที่นี้ที่นั้น!ก็ในที่นี้ที่นั้นหนอ อย่างไรก็ไม่เห็นควรทั้งสิ้น เกณฑ์จะให้ถึงต้องกราบพระพุทธรูปอันเป็นตามนิมิตศัพท์ก็ยิ่งไปกันใหญ่ (เรา) ย่อมไม่อาจจะถึงที่ๆจะให้กราบลง (รูปเคารพ) ได้ เมื่อเป็นอย่างนั้นก็ควรต้องเลี่ยง เพราะหาให้หาทราบ หาให้กราบอย่างไรก็คงจะกราบไม่ลง ฉะนั้นควร หาเหตุให้พูดแต่วิธีทั่วไปของการพิธีไปก่อน จะได้เกณฑ์ให้เป็นคนประเภทเดียวกันทุกคนไม่ได้

เอาแต่ในคนที่หมายสิ่งไรก็เป็นสรรพสิ่ง (คน ก็วัตถุ) ไปเสียทั้งหมดแล้ว อาการนอบน้อมกล่อมให้ดี มีอยู่ในตนเองเท่าไหร่ ก็ย่อมปรากฏออกมาไม่จบสิ้น กราบได้ทั้งหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ยั้งอยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีประการอะไรให้ต้องติดขัด สรวมประโยชน์ตนเป็นมุขนายกไปทั่วทุกๆที่ ทั้งหมด กำหนดพุทธนิมิต (ว่า พุท-โธ) นั้น ก็เห็นเป็นประธานด้วยดี ไม่ใคร่ไม่นับไม่ถือชวนสืบสวนความลึกล้ำรำคาญตอบ คงว่าที่แท้แต่ในใจว่า จะต้องทำอย่างไรแก่งานประติมาสมโภชตามหมายกำหนดที่มาแล้วนั้น

คำว่าพุทธนิมิตตรงบรรยายนี้จึงยังไม่ใช่คำศัพท์ แต่ที่เป็นแล้วก็เป็นด้วยสานต่อคิดเท่านั้น เมื่อคิดตามนิมิตหมายนั้นมาเนิ่นนาน เมื่อคิดตามนั้นมานาน ราว ๔ ร้อยปีแล้ว ในมนุษย์เรา ในคนเราจึงได้สร้างภิรมณ์สมหมายก่อเป็นสังสัคคะแก่โลกได้แก่งานประติมากรรม ปรากฏแต่นั้นมาจนถึงเดี๋ยวนี้ เรียกชื่อพระพุทธรูปมาอย่างกล่าวนั้น ที่ใครที่ถือด้วยคุณตามวิเศษนาม ที่เขาไม่ขัดนั้น (กราบไหว้พุทธนิมิต) ก็คงเพราะเขาไม่ขัดด้วยคำที่ตรัสไว้ว่า เป็นสรรพสิ่งอย่างนั้น รวมความลงแล้วก็ถือตั้งต้นแต่คุณแห่งวิเศษนามนั้นเป็นที่ไป อะไรจะอยู่ด้วยในนั้น (อัฐ หิน ดิน ทรายรูปปั้น) ก็ให้ถือแต่พุทธคุณ (ใจ)ไว้เป็นที่พึ่ง (รูปสักการะอะไรก็ช่าง) เป็นเจ้าของหรือไม่เป็นเจ้าของก็ตาม แต่ก็นับว่าเป็นพอ