มารยาทไทย/การมีสัมมาคารวะ

จาก วิกิตำรา

คือกิริยาวาจาต่างๆ เช่นการยืน การเดินรวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ

ความหมาย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สัมมาคารวะ หมายถึง ลักษณะของบุคคลที่แสดงถึงการใช้วาจาใจ และกาย ต่อบุคคลอื่นอย่างสุภาพและอ่อนน้อม การจัด การศึกษาให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ จำเป็นต้องมีการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีการพัฒนาการทั้งด้านปัญญา จิตใจ ร่าง กาย และสังคม การพัฒนาจิตใจจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ในสถานการณ์ของสังคมไทยปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้า มีการมุ่งเน้นการแข่งขันมากจนลืมว่า เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ต้องปลูกฝัง ขัดเกลา เนื่องจากเด็กวัยดังกล่าวเป็นวัยซึ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ประสบการณ์ต่างๆที่เด็กได้รับในช่วงอายุนี้ จะมีผลอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กในช่วงต่อไป ลักษณะของการอบรมเลี้ยงดู และให้การศึกษาแก่เด็กทุกด้านตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่เห็นได้ชัดนั้นคือ เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาด้านบุคลิกภาพมากที่สุด เป็นวัยอยากรู้อยากเห็น มีความสงสัยในสิ่งต่างๆ ชอบถามจนกว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน เด็กวัยนี้เริ่มแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมาให้เห็น เช่น การเลียนแบบพ่อแม่ ครู และเพื่อนในวัยเดียวกัน เด็กวัยนี้ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่สามารถเข้าใจความคิดเห็นของผู้อื่น จะคิดว่าสิ่งที่ตนรับรู้คนอื่นก็รับรู้ด้วย มักแสดงอารมณ์ออกมาอย่างเปิดเผยและเปลี่ยนแปลงอารมณ์ได้ง่ายๆ ดังนั้น ครูหรือผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กจะต้องเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของเด็ก เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ดีที่เป็นพฤติกรรมเชิงบวก มีหลายคุณลักษณะด้วยกัน ที่จะทำให้เด็กสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การมีสัมมาคารวะ เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ที่ควรส่งเสริมเพื่อให้เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน เพราะการปลูกฝังนี้จะทำให้เด็กเป็นที่รักและต้องการของสังคม และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และสามารถที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพได้ในสังคม

ลักษณะ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ตัวบ่งชี้คุณลักษณะว่ามีสัมมาคารวะ คือ การใช้วาจาสุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ การไม่พูดแทรกขณะผู้อื่นพูด การแต่งกายสุภาพเหมาะสมกับสถานที่ การแสดงกิริยาอ่อนน้อมต่อบุคคลอื่นได้เหมาะสมกับสถานะ ความถึงพร้อมด้วยความเคารพนับถือ ยกย่อง เทิดทูน บูชาและปฏิบัติตามคำสั่งสอน ที่บ่งบอกของคุณลักษณะ พฤติกรรมที่แสดงออกมาจากกิริยาท่าทาง ทางกาย ทางวาจา โดยมีใจเป็นตัวกำหนดสั่งการสั่งงานของลักษณะกิริยาท่าทางที่ออกมาทางกายและทางวาจา เช่น การกราบไหว้ การอภิวาท การทำความเคารพ การลุกขึ้นรับ รวมถึงกิริยาท่าทางอื่นๆ เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม และการกระ ทำ เป็นต้น เหล่านี้เรียกว่า กิริยาทางกาย การใช้สำนวนเสียง ภาษา ถูกต้องไพเราะอ่อนหวาน ฟังแล้วเพราะหู น่าชื่นชมยินดี ถูกต้องตามกาลเวลาหรือกาลเทศะ เป็นระเบียบมีวินัย เหล่านี้เรียกว่า กิริยาทางวาจา ส่วนสิ่งที่คิดวางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนโดยบุคคลอื่นไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นสิ่งที่รู้ด้วยตนเอง แต่บุคคลอื่นอาจสามารถรู้ได้ด้วยการสังเกตลักษณะอาการรูปร่างสันทัดสัณฐานภายนอก และพร้อมที่จะสั่งบังคับกิริยาที่บ่งออกจากภายนอก เพื่อที่จะปฏิบัติการกระทำทางกายและการกระ ทำทางวาจา เหล่านี้เรียกว่า อาการจากใจ หรือมโนกรรม คือ ใจเป็นผู้สั่งการกระทำออกมา หรือเป็นลักษณะที่แสดงออกของบุคคลที่มี กายอ่อนน้อม วาจาอ่อนหวาน และจิตใจอ่อนโยน หรือลักษณะของผู้ที่มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมถึงการแสดงกิริยามารยาทอย่างอื่น ด้วยความตั้งใจ ไม่มีความแข็งกระด้างกระเดื่อง ไม่ใช้คำพูดที่ไม่สุภาพและไม่เหมาะสมกับกาลเวลา บุคคล สถานที่ และคำสั่งสอน

ความสำคัญ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่หลั่งไหลเข้ามาในวิถีชีวิตคนไทยอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมในสังคมปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด รวมทั้งด้านความเจริญทางด้านวัตถุ โดยไม่คํานึงถึงคุณธรรม วัฒนธรรม และหลักการปฏิบัติที่ดีงามของไทย ในการปฏิบัติตามจริยธรรมทางสังคมนั้นมีเป้าหมาย คือการมีคุณธรรม จริยธรรมที่แสดงออกถึงการได้รับการอบรมที่ดี การมีสัมมาคารวะ ความเคารพ หรือมารยาทนั้น มุ่งที่การปฏิบัติทางกายและทางวาจาเป็นที่สำคัญ เพราะสองสิ่งนี้มองเห็นได้ง่าย สัมผัสได้ง่าย มารยาทและการวางตัวที่เหมาะสม จึงเป็นปราการด่านแรกที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้ผ่านการอบรมฝึกตนมาดี มีคุณสมบัติของผู้ดี มีวัฒนธรรมอันเจริญ นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงความเป็นผู้มีความเคารพ อ่อนน้อม ส่งผลให้เกิดความเคารพในสิ่งควรเคารพ และให้เกียรติสิ่งที่ไม่ได้นับถือ ในที่นี้จะกล่าวถึง มารยาทในสังคมไทยที่ใช้ในปัจจุบันอย่างที่คนทั่วไปมักต้องพบกับสถานการณ์ที่ต้องแสดงออกซึ่งมารยาทเหล่านี้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 จึงกำหนดไว้ในจุดหมายของหลักสูตรเป็นข้อแรก คือ ผู้เรียนเกิดคุณ ลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แก่ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ และกำหนดเป็นเกณฑ์การจบหลักสูตรข้อหนึ่งในทุกช่วงชั้น คือ ผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในส่วนของการมีสัมมาคารวะดังนี้

คุณลักษณะ :[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มีสัมมาคารวะ หมายถึง ลักษณะของบุคคลที่แสดงถึงการใช้วาจา ใจ และกาย ต่อบุคคลอื่นอย่างสุภาพและอ่อนน้อม

ตัวบ่งชี้คุณลักษณะ :[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

มีสัมมาคารวะ

ใช้เวลาสุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะ

ไม่พูดแทรกขณะผู้อื่นพูด

แต่งกายสุภาพเหมาะสมกับสถานที่

แสดงกิริยาอ่อนน้อมต่อบุคคลอื่นได้เหมาะสมกับสถานะ