รอบรู้เรื่องนกกระจอกเทศ/กายวิภาคศาสตร์ของนกกระจอกเทศ

จาก วิกิตำรา

กายวิภาคศาสตร์ของนกกระจอกเทศ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

นกกระจอกเทศมีแผ่นอกที่ใหญ่ ซึ่งปิดบริเวณทรวงอกไว้เพื่อป้องกันหัวใจและตับ มันไม่มีกระดูกทรวงอก ดังนั้นจึงไม่มีตำแหน่ง ให้กล้ามเนื้อที่ใช้สำหรับยึดติด มีหัวใจ ปอด และตับอยู่ในช่องทรวงอก ทางเดินอาหารของนกกระจอกเทศนั้นยาวมาก นกกระจอกเทศโตเต็มที่จะมีทางเดินอาหารที่ยาวประมาณ 26 ฟุต และมี caeca ขนาดใหญ่คู่หนึ่ง มีลำไส้ (colon) ความยาวประมาณ 60 % ของความยาวทั้งหมด

ระบบย่อยอาหาร[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

นกกระจอกเทศเป็นสัตว์กินพืช (Herbivorous) กระเพาะของนกจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นกระเพาะบด (Gizzard) เหมือนไก่แต่ไม่มีกระเพาะพัก (Crop) และส่วนที่สองเป็นกระเพาะแท้ (Provenpriculus) เหมือนสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant) บางชนิดเช่น โคและกระบือ เป็นต้น นกกระจอกเทศจึงสามารถย่อยอาหารที่มีกากใยได้ดี อาหารของนกกระจอกเทศจึงเป็นพืช ผัก หญ้า และสัตว์ตัวเล็ก เช่น ลูกกบ จิ้งจก หรือแมลงต่างๆ นอกจากนี้ นกกระจอกเทศยังจิกกินก็เห็นเล็กๆ เพื่อช่วยในการบดย่อยอาหารที่บริเวณกระเพาะบดด้วย เนื่องจากลำไส้ของนกกระจอกเทศมีความยาวมาก เวลาใช้ในการย่อยจึงนานถึง 36 ชั่วโมง

ระบบทางเดินหายใจ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ระบบทางเดินหายใจของนกกระจอกเทศก็เช่นเดียวกับนกทั่วไป ซึ่งประกอบไปด้วยปอดและระบบถุงลมที่มีอยู่ในทรวงอก และขยายเข้าไปโพรงกระดูก กระดูกทุกซี่ไม่ได้เป็นโพรงทั้งหมดบางซี่ซึ่งรวมถึงขาท่อนล่างจะมีเปลือกนอกที่หนา นกกระจอกเทศสามารถใช้ระบบถุงลม เพื่อลดความร้อนของร่างกายได้โดยการหอบ อัตราการหายใจปกติของนกอยู่ระหว่าง 7-12 ครั้งต่อวินาที

ระบบสืบพันธ์ุ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

อวัยวะสืบพันธุ์ของนกกระจอกเทศเพศผู้ประกอบด้วย 2 อัณฑะ อยู่ในventral cloaca แต่ไม่เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม นกกระจอกเทศไม่มีท่อปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียประกอบด้วยรังไข่ 1 อัน และมีปุ่มคลิตอริส(clitoris) เล็กๆอยู่บน ventral cloaca