ระบอบการปกครอง

จาก วิกิตำรา

ระบอบการปกครอง (Form of Government) หมายถึง ระเบียบในการปกครองสถาบันทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลของรัฐได้จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้อำนาจในการปกครองประเทศ คำนี้ยังนิยามรวมไปถึงรัฐบาลที่ไม่ประสบความสำเร็จในการใช้อำนาจปกครองประเทศด้วยในปัจจุบันหลังความขัแแย้งรุนแรงในปี2545นั้นทำให้หลายประเทศหันมาสนใจเรื่องประชาธิปไตยในระบบของ พระมหาธรรมราชาสิทธิราช หรือการปกครองระบบราชาธิปไตยโดยมีพระมหาธรรมราชาที่ได้รับเลือกจากประเทศที่ เข้าร่วมและทรงมีบางอย่างที่คนปกติทำไม่ได้ และมีความรู้ความสามารถที่ให้คำปรึกษาในทุกประเทศพร้อมทั้งธรรมมาสิทธิราชหรือการเข้าใจและเข้าถึงสิทธิของคนทุกรูปแบบ และมีวิสัยทัศน์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในวิถีปฎิบัติจนเกิดความสุขใหหมู่คน ทุกที่ทั่วแผ่นดิน้

ประเภทของระบอบการปกครอง[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การแบ่งประเภทของระบอบการปกครองสามารถใช้เกณฑ์ในการแบ่งได้ออกเป็น 8 เกณฑ์ด้วยกัน คือ

  1. อำนาจอธิปไตย
  2. ประมุขของรัฐ
  3. การเลือกตั้งรัฐบาล
  4. รูปแบบของรัฐบาล
  5. รูปแบบของรัฐตามประมุขของรัฐ
  6. ระบบในการปกครอง
  7. จำนวนรัฐที่ปกครอง
  8. ความเป็นเอกราชของรัฐ

แบ่งตามอำนาจอธิปไตย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ระบอบการปกครองในโลก หากแบ่งตามอำนาจอธิปไตยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ระบอบประชาธิปไตย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การปกครองระบอบประชาธิปไตย (Democracy) เป็นระบอบที่มีการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยประชาชนอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกเข้าไปใช้อำนาจแทนก็ได้ โดยการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ

  1. การปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยตรง (Direct Democracy) หรือ ระบอบประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (Pure Democracy)
  2. การปกครองระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยม (Liberal Democracy)
  3. การปกครองระบอบกึ่งประชาธิปไตย หรือ ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ (Semi-democracy)

โดยระบบที่ใช้ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เป็นระบอบที่ประชาชนจะใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกเข้าไปใช้อำนาจแทนผ่านทางรัฐสภา มีทั้งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยประมุขของรัฐจะไม่ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง โดยจะให้ประมุขฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน โดยประมุขของรัฐจะมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ
    1. แบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) โดยพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นประมุขของรัฐ ทรงเป็นกลางทางการเมือง การใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
    2. แบบประธานาธิบดี (Parliamentary Republic) เป็นการปกครองในลักษณะสาธารณะรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือการเลือกทางอ้อมของรัฐสภา แต่จะไม่ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง เพราะจะมีนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประมุขฝ่ายบริหารทำหน้าที่รับผิดชอบทางการเมืองแทน
  2. การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบประธานาธิบดี (Presidential System) เป็นระบอบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐและประมุขฝ่ายบริหารในเวลาเดียวกันที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน แต่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา มีรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยในการดำเนินการด้านต่าง ๆ
  3. การปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา (Semi-presidential System) เป็นระบอบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งจะร่วมบริหารประเทศกับคณะรัฐมนตรีในฐานะประธานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งเท่ากับเป็นประมุขฝ่ายบริหารอีกตำแหน่งหนึ่ง แต่จะไม่ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อรัฐสภา เนื่องจากเป็นผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายทางการเมืองในด้านต่าง ๆ ให้กับคณะรัฐมนตรี

ระบอบอัตตาธิปไตย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

การปกครองระบอบอัตตาธิปไตย (Autocracy) เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจสูงสุดรวมศูนย์อยู่ในมือของบุคคลคนเดียว ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างไม่จำกัดโดยกฎหมายหรือกลไกการควบคุมที่ประชาชนตั้งขึ้น (อาจยกเว้นเมื่อคุกคามโดยปริยายด้วยรัฐประหารหรือการก่อการกำเริบของมวลชน)

  1. การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) เป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ พระจักรพรรดิ หรือ สมมติเทพ ทรงเป็นประมุขของรัฐ และมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ โดยคำสั่งและความต้องการต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ล้วนมีผลเป็นกฎหมายทั้งสิ้น พระมหากษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและประชาชนโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะสามารถห้ามปรามได้ และจะมีการใช้วิธีการสืบสันตติวงศ์ เพื่อสืบทอดตำแหน่งประมุขของรัฐต่อไป
    1. การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อันทรงภูมิธรรม (Enlightened Absolutism) เป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ พระจักรพรรดิ หรือ สมมติเทพ ทรงเป็นประมุขของรัฐ ซึ่งจะเรียกว่า ประมุขผู้ทรงภูมิธรรม (Enlightened despots) ซึ่งระบอบนี้เป็นระบอบที่ได้รับอิทธิพลจากยุคเรืองปัญญา โดยพระมหากษัตริย์มีแนวโน้มที่จะมีพระบรมราชานุญาตให้มีหลักขันติธรรมทางศาสนาและเสรีภาพ รวมถึงสิทธิ์ของประชาชนทั่วไปในการครอบครองทรัพย์สิน อันเป็นการช่วยสร้างความเจริญก้าวหน้าทางศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์และการศึกษา
  2. การปกครองระบอบเผด็จการ (Dictatorship) เป็นรูปแบบการปกครองแบบอัตตาธิปไตย ซึ่งรัฐบาลอยู่ภายใต้การบริหารของบุคคลเพียงคนเดียว หรือ ผู้เผด็จการ โดยไม่มีการสืบทอดตำแหน่งตามสายเลือด แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

แบ่งตามการเลือกตั้งรัฐบาล[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  1. แบบประชาธิปไตย ที่มีอำนาจเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ซึ่งแบ่งเป็น 2 คือ
    1. แบบตรง ประชาชนมีสิทธิ์ลงคะแนนโหวตทุกคนทั้ง..ออกกฎหมาย บริหาร และตุลาการ โดยเรียกว่า "ลงประชามติ" เหมาะสำหรับนครรัฐที่มีประชากรไม่กี่แสนคน
    2. แบบอ้อม ประชาชนจะเลือกตัวแทนตนเอง เข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองใน 3 อำนาจหลัก

อำนาจอธิปไตย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

สามอำนาจหลักในการปกครองที่ประชาชนตัวแทนไปทำหน้าที่ คือ

1. Legislative Power นิติบัญญัติ เลือกตัวแทนประชาชนเข้าไปโหวตออกกฎหมายในสภา แบ่งเป็น

1.1 สภาล่าง (Lower House) มีหน้าที่ตราร่างออกฎหมาย เรียกว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

1.2 สภาบน (Upper House) มีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย เรียกว่า วุฒิสมาชิก (ส.ว.)

2.Executive Power เลือกตัวแทนประชาชนไปบริหารเงินภาษีใช้บำรุงพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เรียกว่ารัฐบาล มีทั้งส่วนกลาง เช่นเลือกนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีไปเลือกคณะรัฐมนตรี และส่วนท้องถิ่น เช่นเลือกผู้ว่าราชการ และนายอำเภอ

3.Judicial Power ตุลาการ ประชาชนเลือกตัวแทนไปเป็นคณะลูกขุนมีหน้าที่ตัดสินคดีความ ส่วนศาลหรือผู้พิพากษาที่แต่งตั้งโดยรัฐมีหน้าที่ชี้แนะข้อกฎหมายแต่ไม่มีอำนาจตัดสิน

ระยะเวลาหรือเทอมในการให้อำนาจตัวแทนประชาชน มีเวลาจำกัด ระหว่าง 4-5 ปี และให้ตำแหน่งฝ่ายบริหารจำกัดไม่เกิน 2 สมัย หรือมากกว่าแล้วแต่ประเทศ เพื่อป้องกันการผูกขาดอำนาจ

3.Socialist สังคมนิยม คือวิวัฒนาการมาจากระบอบคอมมูนิสต์ หรือยอมรับพรรคหรือความคิดแบบคอมมูนิสต์ได้ แบ่งเป็น 2 แบบคือ

3.1 สังคมนิยมเผด็จการ ปกครองด้วยพรรคเดียวเช่นพรรคคอมมูนิสต์พรรคเดียว แต่แบ่งให้เอกชนหรือประชาชนถือครองทรัพย์สินและทำธุรกิจแทนรัฐได้บางส่วน

3.2 สังคมนิยมประชาธิปไตย มีหลักปกครองเช่นเดียวกับประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง แต่รัฐถือครองหรือทำธุรกิจบางส่วน ที่เรียกว่า "รัฐวิสาหกิจ" บางส่วนให้ประชาชนประกอบธุรกิจและถือครองทรัพย์สินได้ บางประเทศยังมีพรรคคอมมูนิสต์ บางประเทศไม่มีพรรคคอมมูนิสต์เหลืออยู่ บางประเทศรัฐไม่ประประกอบธุรกิจแต่มีพรรคคอมมูนิสต์อยู่

ประเทศที่รัฐไม่ประกอบธุรกิจ..จะเรียกว่า Capitalist หรือ "ระบอบทุนนิยม" ซึ่งตรงข้ามกับ Communist ที่รัฐเท่านั้นที่ประกอบธุรกิจ ประชาชนไม่สามรถถือครองทรัพย์สินได้ แต่คอมมูนิสต์ได้ล่มสลายไปหมดแล้วส่วนใหญ่จะกลายเป็นแบบ "รัฐสังคมนิยมเผด็จการ" เช่น รัสเซีย จีน เวียดนาม

การปกครองจึงแบ่งตามอำนาจที่ใช้ปกครองประเทศ และการถือครองทรัพย์สินระหว่างรัฐและเอกชน