วิธีคิดแบบนักวิทยาการคอมพิวเตอร์/Dictionaries
บทที่ 10 Dictionaries
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]Types ที่เกิดจากการรวมกัน คุณได้เรียนมาแล้วเกี่ยวกับ strings lists และ tuples ถ้าคุณพยายามใช้ types อื่นๆ ตาม index คุณจะได้ error
Dictionaries เหมือนกับการยอมรับการรวมกันของหลายๆ types ซึ่งมันสามารถใช้โดยไม่เปลี่ยนรูปแบบ types ตาม index ตัวอย่างเช่น พวกเราจะสร้างdictionaryที่แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาสเปน สำหรับdictionaryนี้ index คือ strings
ทางหนึ่งที่จะสร้าง dictionary คือ เริ่มจากdictionaryที่ว่างเปล่า และเพิ่มelementเข้าไป dictionaryที่ว่างเปล่าถูกระบุโดยเครื่องหมาย {}
>>> eng2sp = {}
>>> eng2sp['one'] = 'uno'
>>> eng2sp['two'] = 'dos'
สิ่งแรกคือ ให้เราตั้งชื่อของ dictionary ว่า eng2sp สิ่งที่ทำต่อมาคือ เพิ่มelementต่างๆ เข้าไปในdictionary พวกเราสามารถแสดงค่าของdictionaryออกมาตามปกติ
>>> print eng2sp
{'one': 'uno', 'two': 'dos'}
Elementของdictionaryจะปรากฏโดยเรียงต่อกันและมีคอมม่าป็นตัวแยกจากกัน แต่ละทางเข้าจะบรรจุ index และ ค่าที่ถูกแยกกันโดยโคลอน ในdictionary index ถูกเรียกว่า keys ดังนั้น element จึงถูกเรียกว่า key-value pairs
อีกทางที่จะสร้างdictionary คือ ใช้ key-value pairs ซึ่งรูปแบบเหมือนกับผลลัพธ์ที่ออกมาก่อนหน้านี้
>>> eng2sp = {'one': 'uno', 'two': 'dos', 'three': 'tres'}
ถ้า print ค่าของ eng2sp อีกครั้ง พวกเราจะประหลาดใจ
>>> print eng2sp
{'one': 'uno', 'three': 'tres', 'two': 'dos'}
key-value pairs ไม่เป็นไปตามลำดับ แต่โชคดีที่เราไม่สนใจในเรื่องลำดับ ตั้งแต่elementของdictionaryไม่เคยบ่งชี้ว่ามี index ที่สมบูรณ์ แทนที่โดยพวกเราใช้ keys ในการค้นหาค่าที่เหมือนกัน
>>> print eng2sp['two']
'dos'
key ‘two’ ให้ค่า ‘dos’ ถึงแม้ว่ามันจะปรากฏเป็นตัวที่สามของ key-value pair
10.1 Dictioinary operations
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]del statement คือ การลบ key-value pair ออกจากdictionary ตัวย่างเช่น dictionaryจะบรรจุ ชื่อผลไม้ไว้มากมาย และเก็บค่าจำนวนของผลไม้แต่ละชนิดในคลัง
>>> inventory = {'apples': 430, 'bananas': 312, 'oranges': 525,
'pears': 217}
>>> print inventory
{'oranges': 525, 'apples': 430, 'pears': 217, 'bananas': 312}
ถ้ามีคนซื้อลูกแพร์ทั้งหมด พวกเราสามารถที่จะลบข้อมูลที่ใส่ไปออกจาก dictionary
>>> del inventory['pears']
>>> print inventory
{'oranges': 525, 'apples': 430, 'bananas': 312}
หรือถ้าพวกเราคาดว่าลูกแพร์จะมาในไม่ช้า เราอาจจะเปลี่ยนค่าให้มีความเชื่อมโยงกันดังนี้
>>> inventory['pears'] = 0
>>> print inventory
{'oranges': 525, 'apples': 430, 'pears': 0, 'bananas': 312}
การทำงานของ len function บน dictionaries มันจะให้ค่าจำนวนของ key-value pairs ออกมา
>>> len(inventory)
4
10.2 Dictionary methods
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]method จะเหมือนกับฟังก์ชันๆหนึ่ง มันจะรับค่าพารามิเตอร์เข้าไปและคืนค่ากลับมา แต่ syntax แตกต่างกัน สำหรับตัวอย่าง keys method รับค่า dictionary เข้าไปและคืนค่า keys ออกมาตามที่ปรากฏ แต่แทนที่ด้วยฟังก์ชัน syntax keys(eng2sp) พวกเราใช้ method syntax end2sp.keys()
>>> eng2sp.keys()
['one', 'three', 'two']
เครื่องหมายจุดของรูปแบบนี้ระบุถึงชื่อของฟังก์ชัน คือ keys และชื่อของ object ที่ประยุกต์ในฟังก์ชัน คือ eng2sp วงเล็บแสดงว่า method นี้ไม่ได้ใส่ค่าพารามิเตอร์
การเรียก method จะถูกเรียกว่า invocation ในลักษณะนี้เราจะพูดถึงการเริ่มต้นของ keys บน object eng2sp
ค่าของ method เหมือนกัน มันจะคืนค่าโดย list ค่าในdictionary ออกมา
>>> eng2sp.values()
['uno', 'tres', 'dos']
item method จะคืนค่าทั้งคู่ ในรูปแบบของ list แบบ tuples
>>> eng2sp.items()
[('one','uno'), ('three', 'tres'), ('two', 'dos')]
วงเล็บ [ ] แสดงว่านี้คือ list ส่วนวงเล็บ ( ) แสดงถึงelementของ list ซึ่งคือ tuples
ถ้า method มี argument มันใช้เหมือนกับ syntax เช่นเดียวกับการเรียกฟังก์ชัน ตัวอย่างเช่น method has_key ใส่ key และจะคืนค่าความจริงกลับมา ถ้า key ปรากฏใน dictionary
>>> eng2sp.has_key('one')
True
>>> eng2sp.has_key('deux')
False
ถ้าคุณลองเรียก method โดยไม่ได้ระบุถึง object คุณจะได้ error ในcase นี้ ข้อความ error ไม่มีข้อความช่วยเหลือให้มาก
>>> has_key('one')
NameError: has_key
10.3 Aliasing and copying
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]เพราะว่า dictionary มีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อตัวแปร 2 ตัว อ้างอิงถึง object ที่เหมือนกัน การเปลี่ยนอันหนึ่งจะมีผลกับอีกอันหนึ่ง
ถ้าคุณต้องการแก้ไข dictionary และเก็บรักษาต้นฉบับของการ copy ใช้ copy method ตัวอย่างเช่น oppsites คือ dictionary ที่เก็บคำศัพท์ที่เป็นคำตรงข้ามกันไว้เป็นคู่
>>> opposites = {'up': 'down', 'right': 'wrong', 'true': 'false'}
>>> alias = opposites
>>> copy = opposites.copy()
alias และ opposites จะอ้างถึง object ที่เหมือนกัน การ copy dictionary ที่เหมือนกันขึ้นมาใหม่อีกอันหนึ่ง ถ้าพวกเราแก้ไข alias , opposites จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย
>>> alias['right'] = 'left'
>>> opposites['right']
'left'
ถ้าพวกเราแก้ไข copy , opposites จะไม่เปลี่ยนแปลง
>>> copy['right'] = 'privilege'
>>> opposites['right']
'left'
10.4 Sparse matrices
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ในหัวข้อ 8.14 พวกเราใช้ list แสดงตัวอย่างเกี่ยวกับ matrix เป็นทางเลือกที่ดีมากถ้า matrix ส่วนใหญ่ไม่มีค่า 0 แต่เมื่อพิจารณาแล้วมีน้อยมาก ดูได้จาก matrix นี้
list นี้แสดงถึงว่ามี 0 อยู่ใน matrix นี่จำนวนมาก
matrix = [ [0,0,0,1,0],
[0,0,0,0,0],
[0,2,0,0,0],
[0,0,0,0,0],
[0,0,0,3,0] ]
ทางเลือกคือใช้ dictionary สำหรับ keys พวกเราสามารถใช้ tuples ซึ่งใส่ค่าตัวเลขในแถว และ คอลัมภ์ นี้คือ dictionary ที่แสดงถึงความเหมือนกันกับ matrix
matrix = {(0,3): 1, (2, 1): 2, (4, 3): 3}
พวกเราต้องการเพียง 3 key – value pairs แต่ละอันelementของ matrix ต้องไม่ใช่ 0 ทั้งหมด แต่ละ key คือ 1 tuple และแต่ละค่าเป็น integer
การเข้าไปยังelementของ matrix เราสามารถใช้เครื่องหมาย [ ]
matrix[0,3]
1
สังเกตว่า syntax ของ dictionary มีความต่างกับ syntax ของ nested list แทนที่ด้วย 2 integer index พวกเราใช้ 1 index ซึ่งคือ tuple ของ integers
มีอยู่ปัญหาหนึ่ง ถ้าเราระบุ element ว่าเป็น 0 พวกเราจะได้ error เพรามะว่าไม่มีค่านี้ที่ตรงกับ key ใน dictionary
>>> matrix[1,3]
KeyError: (1, 3)
Get method คือวิธีการแก้ปัญหานี้
>>> matrix.get((0,3), 0)
1
argument คือ key argument ที่สอง คือ ค่าที่ควรจะได้ออกมาถ้า key ไม่อยู่ใน dictionary
>>> matrix.get((1,3), 0)
0
10.5 Hints
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ถ้าคุณได้เล่นเกี่ยวกับฟังก์ชัน fibonacci จากหัวข้อ 5.7 คุณอาจจะสังเกตว่า เป็น argument ที่ใหญ่กว่าที่คุณได้เตรียมไว้ เป็นฟังก์ชันที่ยาวกว่าเวลานำไป run นอกจากนี้ run time ยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนึ่งในเครื่องของพวกเรา fibonacci(20) จะเสร็จอย่างรวดเร็ว fibonacci(30) จะเป็นอันดับสอง และ fibonacci(40) จะเสร็จอย่างอยากลำบากตลอด
เรียกกราฟที่แสดงว่าเป็นกลุ่มของฟังก์ชันที่อยู่เป็นเฟรม โดยจะมีเส้นเชื่อมต่อแต่ละเฟรมเข้าด้วยกันเป็นฟังก์ชัน ด้านบนสุดของกราฟ คือ fibonacci มี n = 4 จะมาจาก fibonacci มี n = 3 และ n = 2 ในทางย้อนกลับ fibonacci มี n = 3 มาจาก fibonacci มี n = 2 และ n = 1
การนับจำนวนของ fibonacci(0) และ fibonacci(1) ที่ถูกเรียก นี้คือวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้ argument มีขนาดที่ใหญ่กว่า
previous = {0:1, 1:1}
def fibonacci(n):
if previous.has_key(n):
return previous[n]
else:
newValue = fibonacci(n-1) + fibonacci(n-2)
previous[n] = newValue
return newValue
ชื่อของ dictionary ก่อนหน้านี้ถูกเก็บไว้ที่ track ของตัวเลข fibonacci โดยเราจะเริ่มเพียง 2 คู่ คือ 0 ไปยัง 1 และ 1 ไปยัง 1
เมื่อ fibonacci ถูกเรียก มันจะตรวจสอบ dictionary เพื่อค้นหาถ้ามันเก็บค่าผลลัพธ์ไว้ ถ้ามันอยู่ที่นี่ ฟังก์ชันสามารถแสดงค่าออกมาได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียก recursive แต่ถ้าไม่ มันจะคำนวณค่าใหม่ออกมา ค่าใหม่จะถูกเพิ่มเข้าไปใน dictionary ก่อนฟังก์ชันจะแสดงค่า
การใช้ fibonacci เวอร์ชันนี้ เครื่องพวกเราสามารถคำนวณ fibonacci(40) ภายในพริบตา แต่เมื่อเราลองคำนวณ fibonacci(50) พวกเราจะเห็นดังนี้
>>> fibonacci(50)
20365011074L
L ด้านหลังผลลัพธ์แสดงให้รู้ว่าคำตอบมีขนาดที่ใหญ่เกินไปสำหรับ integer ใน python
Python จะเปลี่ยนผลลัพธ์ที่ได้เป็น long integer โดยอัตโนมัติ
10.6 Long integers
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]python จะเรียก long มาใช้เพื่อจัดการกับขนาดของ integer มี 2 ทาง คือ สร้าง long value โดยเขียน integer ที่มี L อยู่ด้านหลัง
>>> type(1L)
<type 'long'>
อีกอันคือใช้ long function เพื่อเปลี่ยนค่า long long สามารถยอมรับชนิดที่เป็นตัวเลข และตัวเลขที่เป็น strings
>>> long(1)
1L
>>> long(3.9)
3L
>>> long('57')
57L
การคำนวณทางคณิตศาสตร์จะทำงานบน longs โดยทั่วไปการทำงานของ integer กับ long integer ทำงานด้วยกัน แต่เวลาการคำนวณและค่าที่ออกมามีขนาดที่ใหญ่เกินไป python จะตรวจสอบและแสดงผลลัพธ์ออกมาเป็น long integer ดังตัวอย่าง
>>> 1000 * 1000
1000000
>>> 100000 * 100000
10000000000L
ใน case แรก ผลลัพธ์จะเป็น int ส่วนใน case ที่สองผลลัพธ์เป็น long
10.7 Counting letters
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]ในบทที่ 7 พวกเราเขียนฟังก์ชันการนับจำนวนตัวเลขของตัวอักษรใน string เวอร์ชันทั่วไปของปัญหานี้คือ รูปแบบของกราฟซึ่งแสดงความถี่ของตัวอักษรใน string คือนานเท่าไหร่ที่แต่ละตัวอักษรจะปรากฏ
เช่นกราฟอาจจะใช้ประโยชน์สำหรับการบีบอัดไฟล์ที่เป็นตัวอักษร เพราะตัวอักษรจะปรากฏในความถี่ที่ต่างกัน พวกเราสามารถบีบอัดไฟล์ โดยการใช้โค้ดสั้นๆ สำหรับ ตัวอักษรที่ใช้บ่อยๆ และ โค้ดที่ยาวสำหรับตัวอักษรที่ไม่ค่อยปรากฏบ่อย
>>> letterCounts = {}
>>> for letter in "Mississippi":
... letterCounts[letter] = letterCounts.get (letter, 0) + 1
... >>> letterCounts
{'M': 1, 's': 4, 'p': 2, 'i': 4}
พวกเราจะเริ่มจาก dictionary ที่ว่างเปล่า สำหรับตัวอักษรแต่ละตัวใน string พวกเราหาการนับตอนปัจจุบันและการเพิ่มขึ้นของมัน ในที่สุด dictionary จะบรรจุคู่ของตัวอักษรและความบ่อยที่ปรากฏออกมา
มันอาจจะน่าสนใจกว่าถ้าให้แสดงกราฟออกมาโดยสั่งให้เรียงตามลำดับตัวอักษร พวกเรสามารถทำโดยใช้ item และ sort methods
>>> letterItems = letterCounts.items()
>>> letterItems.sort()
>>> print letterItems
[('M', 1), ('i', 4), ('p', 2), ('s', 4)]
คุณจะเห็น item method ก่อน แต่ sort จะเป็น method แรกที่คุณได้เจอกับการประยุกต์ของ list มี list methods อื่นๆ มากมาย รวมถึง append, extend และ reverse
10.8 Glossary
[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]dictionary: A collection of key-value pairs that maps from keys to values. The keys can be any immutable type, and the values can be any type.
key: A value that is used to look up an entry in a dictionary.
key-value pair: One of the items in a dictionary.
method: A kind of function that is called with a different syntax and invoked “on” an object.
invoke: To call a method.
hint: Temporary storage of a precomputed value to avoid redundant computation.
overfow: A numerical result that is too large to be represented in a numerical format.