วิธีเรียงลำดับคำตามตัวอักษรในภาษาไทย

จาก วิกิตำรา

วิธีเรียงลำดับคำตามตัวอักษรในภาษาไทย คือ การจัดลำดับก่อนหลังของคำต่างๆ ในภาษาไทยอย่างเป็นระบบ เพื่อก่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหาคำ การเรียงลำดับคำอย่างเป็นระบบนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยทั่วไป เช่น การทำพจนานุกรม การทำดัชนีของหนังสือ การเรียงรายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์เคลื่อนที่ การเรียงข้อมูลตามตัวอักษรในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นต้น โดยการเรียงลำดับคำจะมีกฎต่างๆ ที่นำมาใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบคำ

กฎลำดับอักขระ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

กฎลำดับอักขระ คือ กฎในการจัดเรียงลำดับก่อนหลังของอักขระในภาษาไทย ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องทราบเพื่อใช้ในขั้นตอนการเปรียบเทียบอักขระของคำ

กฎลำดับพยัญชนะ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จะเรียงลำดับพยัญชนะดังนี้ ก ข ฃ ค ฅ ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ฤๅ ล ฦ ฦๅ ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

ข้อสังเกต ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ไม่ใช่พยัญชนะ แต่ถูกนำมาพิจารณาร่วมกับพยัญชนะ

กฎลำดับสระ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จะเรียงลำดับรูปสระดังนี้ อะ อั อา อำ อิ อี อึ อื อุ อู เอ แอ โอ ใอ ไอ ( ะ   ั า  ำ  ิ  ี  ึ  ื  ุ  ู เ แ โ ใ ไ )

ข้อสังเกต การเรียงสระจะยึดตามรูปที่เขียนไม่ใช่เสียง สระผสมจะไม่นำมาจัดเรียงโดยตรง (เช่น เ- ีย, เ- ือ, เ-าะ, แ-ะ) แต่จะถูกแยกรูปพิจารณาเป็นอักขระเดี่ยว

กฎลำดับวรรณยุกต์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

จะเรียงลำดับดังนี้ ไม้ไต่คู้, ไม้เอก, ไม้โท, ไม้ตรี, ไม้จัตวา, ทัณฑฆาต (  ็  ่  ้  ๊  ๋  ์)

ข้อสังเกต ไม้ไต่คู้(  ็) กับทัณฑฆาต(  ์) ไม่ใช่วรรณยุกต์แต่ถูกนำมาพิจารณาร่วมกับวรรณยุกต์

วิธีพิจารณาลำดับของคำ[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

ในแต่ละคำให้พิจารณาพยัญชนะต้นก่อนสระและวรรณยุกต์เสมอ แม้ว่าจะมีสระเขียนไว้ด้านหน้า ด้านบน หรือด้านล่างของพยัญชนะต้น ก็ต้องพิจารณาดั่งสระนั้นถูกเขียนไว้หลังพยัญชนะต้นเสมอ จากนั้นจับคู่คำแล้วแยกเปรียบเทียบอักขระทีละคู่ไปตามลำดับในคำ จนกว่าจะพบตำแหน่งที่แตกต่าง แล้วจึงใช้กฎลำดับอักขระที่กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้ในการเรียง

  1. หากคำที่เปรียบเทียบ ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะต่างกัน ให้ใช้กฎลำดับพยัญชนะได้ทันที เช่น
    • กลอน จะมาก่อน คลอน เพราะต่างกันที่อักขระแรก ก มาก่อน ค
    • ศาลา จะมาก่อน สาระ เพราะต่างกันที่อักขระแรก ศ มาก่อน ส
  2. หากคำที่เปรียบเทียบ ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเดียวกัน ให้พิจารณาอักขระถัดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบอักขระที่ไม่เหมือนกัน เช่น
    • จักรพรรณ(จ-  ั-ก-ร-พ-ร-ร-ณ) จะมาก่อน จักรพรรดิ(จ-  ั-ก-ร-พ-ร-ร-ด-  ิ) เพราะต่างกันที่อักขระคู่ที่ 8 โดย ณ มาก่อน ด
  3. หากมีคำที่เปรียบเทียบ ขึ้นต้นด้วยสระหน้า (เ แ โ ใ ไ ) ไม่ว่าจะเป็นสระเดียวกันหรือไม่ก็ตาม จะต้องข้ามไปพิจารณาพยัญชนะต้นก่อนเสมอ และให้พิจารณาดั่งสระหน้านั้นถูกเขียนอยู่หลังพยัญชนะต้นหนึ่งตำแหน่ง เช่น
    • แกลบ(ก-แ-ล-บ) จะมาก่อน ครอง(ค-ร-อ-ง) เพราะพยัญชนะต้นต่างกันคือ ก กับ ค
    • ไกล(ก-ไ-ล) จะมาก่อน เพลง(พ-เ-ล-ง) เพราะพยัญชนะต้นต่างกันคือ ก กับ พ
    • เกวียน(ก-เ-ว-  ี-ย-น) จะมาก่อน เกิน(ก-เ-  ิ-น) เพราะอักขระคู่ที่ 3 ต่างกัน คือ ว มาก่อน สระอิ
    • เกวียน(ก-เ-ว-  ี-ย-น) จะมาก่อน ไกล(ก-ไ-ล) เพราะอักขระคู่ที่ 2 ต่างกัน คือ เ มาก่อน ไ
    • เกม(ก-เ-ม) จะมาก่อน แกง(ก-แ-ง) เพราะพยัญชนะต้นเหมือนกันคือ ก จึงต้องเปรียบเทียบคู่ เ กับ แ
    • เกเร(ก-เ-ร-เ) จะมาก่อน เกลอ(ก-เ-ล-อ) เพราะอักขระคู่ที่ 3 ต่างกัน คือ ร มาก่อน ล
    • สีแดง(ส-  ี-ด-แ-ง) จะมาก่อน แสดง(ส-แ-ด-ง) มีพยัญชนะต้นเป็น ส เหมือนกัน แต่ สระอี มาก่อน แ
  4. ไม่พิจารณาวรรณยุกต์และเครื่องหมายในตอนแรก ยกเว้นกรณีคำที่เปรียบเทียบต่างกันเฉพาะที่วรรณยุกต์หรือเครื่องหมาย ก็ให้ใช้กฎลำดับวรรณยุกต์ เช่น
    • เก็ง, เก่ง, เก้ง, เก๋ง (ก-เ-ง) โดยทั้ง 4 คำนี้ต่างกันเฉพาะเครื่องหมายวรรณยุกต์โดยที่ตำแหน่งไม่ต่างกัน จึงใช้กฎลำดับวรรณยุกต์ได้ทันที
    • แป้ง(ป-แ-ง) จะมาก่อน แปล๋น(ป-แ-ล-น) เพราะ ง มาก่อน ล โดยไม่ต้องพิจารณาวรรณยุกต์
    • เก็บ(ก-เ-บ) จะมาก่อน เกม(ก-เ-ม) เพราะ บ มาก่อน ม โดยไม่ต้องพิจารณาเครื่องหมายไม้ไต่คู้
    • เกร็ง(ก-เ-ร-ง) จะมาก่อน เกเร(ก-เ-ร-เ) เพราะอักขระคู่ที่ 4 คือ ง มาก่อน เ โดยไม่ต้องพิจารณาเครื่องหมายไม้ไต่คู้
    • ไส้ไก่(ส-ไ-ก-ไ) จะมาก่อน ไสยาสน์(ส-ไ-ย-า-ส-น) เพราะอักขระคู่ที่ 3 คือ ก มาก่อน ย โดยไม่ต้องพิจารณาวรรณยุกต์
  5. หากคำที่เปรียบเทียบต่างกันเฉพาะตำแหน่งของวรรณยุกต์เท่านั้น ถึงแม้ตัววรรณยุกต์จะต่างกัน ให้ถือว่าพยัญชนะที่ไม่มีวรรณยุกต์กำกับมาก่อนตัวที่มีวรรณยุกต์กำกับเสมอ เช่น
    • แหง่(ห-แ-ง่) จะมาก่อน แห่ง(ห่-แ-ง) เพราะจุดต่างแรกคือตัว ห โดยในคำว่า แหง่ ไม่มีวรรณยุกต์กำกับ
    • แหง้(ห-แ-ง้) จะมาก่อน แห่ง(ห่-แ-ง) เพราะแม้วรรณยุกต์ต่างกัน แต่จุดต่างแรกคือตัว ห โดยในคำว่า แหง้ ไม่มีวรรณยุกต์กำกับ (คำว่า แหง้ เป็นคำสมมติที่ไม่มีความหมาย ใช้เพื่อประกอบการอธิบายเท่านั้น)

การเรียงลำดับคำและวิธีเก็บคำ (ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]


๑. ตัวพยัญชนะลำดับไว้ตามตัวอักษร คือ ก ข ฃ ค ฯลฯ จนถึง อ ฮ ไม่ได้ลำดับตามเสียง
 เช่น จะค้นคำ ทราบ ต้องไปหาในหมวดตัว ท จะค้นคำ เหมา ต้องไปหาในหมวดตัว ห ส่วน ฤ ฤๅ ลำดับ
ไว้หลังตัว ร และ ฦ ฦๅ ลำดับไว้หลังตัว ล

๒. สระไม่ได้ลำดับไว้ตามเสียง แต่ลำดับไว้ตามรูปดังนี้ ะ              รูปสระที่ประสมกัน
หลายรูปจะจัดเรียงตามลำดับรูปสระที่อยู่ก่อนและหลังตามลำดับข้างต้นดังได้ลำดับให้ดูต่อไปนี้

  1. ) 
  2. )  ั (กัน)
  3. )  ั ะ (ผัวะ)
  4. ) 
  5. ) 
  6. ) 
  7. ) 
  8. ) 
  9. ) 
  10. ) 
  11. ) 
  12. ) 
  13. ) เ ะ (เกะ)
  14. ) เ า (เขา)
  15. ) เ าะ (เจาะ)
  16. ) เ ิ(เกิน)
  17. ) เ ี (เสีย)
  18. ) เ ีะ (เดียะ)
  19. ) เ ื (เสือ)
  20. ) เ ื ะ (เกือะ)
  21. ) 
  22. ) แ ะ (แพะ)
  23. ) 
  24. ) โ ะ (โป๊ะ)
  25. ) 
  26. ) 


สำหรับตัว ย ว อ นับลำดับอยู่ในพยัญชนะเสมอ

๓. การเรียงลำดับคำ จะลำดับตามพยัญชนะก่อนเป็นสำคัญ แล้วจึงลำดับตามรูปสระ ดังนั้น
คำที่ไม่มีสระปรากฏเป็นรูปประสมอยู่ด้วย จึงอยู่ข้างหน้า เช่น กก อยู่หน้า กะ หรือ ขลา อยู่หน้า ขะข่ำ
ส่วนคำที่มีพยัญชนะกับสระปรากฏเป็นรูปประสมกันก็ใช้หลักการลำดับคำข้างต้นเช่นเดียวกัน เช่น จริก
จริม จรี จรึง จรุก และโดยปรกติจะไม่ลำดับตามวรรณยุกต์ เช่น ไต้ก๋ง ไต้ฝุ่น ไต่ไม้ แต่จะจัดวรรณยุกต์
เข้าในลำดับต่อเมื่อคำนั้นเป็นคำที่มีตัวสะกดการันต์เหมือนกัน เช่น ไต ไต่ ไต้ ไต๋ หรือ กระตุ่น กระตุ้น
คำที่มี ็ (ไม้ไต่คู้) จะลำดับอยู่ก่อนวรรณยุกต์ เช่น เก็ง เก่ง เก้ง เก๋ง

๔. จำพวกคำที่นำด้วย กระ- บางพวกใช้แต่ กระ- อย่างเดียว บางพวกใช้เป็น กะ- ก็ได้
ประเภทที่ใช้เป็น กะ- ได้นั้น ได้เก็บมารวมพวกไว้ที่ กะ- อีกครั้งหนึ่ง แต่เก็บเฉพาะคำโดยไม่มีบทนิยาม
ดังนั้น ถ้าพบคำที่ขึ้นต้นด้วย กะ ในจำพวกนั้น ให้ดูบทนิยามที่ กระ- เช่น กระทะ กระเปาะ เว้นไว้แต่ที่
ใช้ได้ทั้ง ๒ อย่างโดยความหมายต่างกัน เช่น กระแจะ-กะแจะ กระด้าง-กะด้าง จึงจะมีบทนิยามไว้ทั้ง
๒ แห่ง

๕. คำที่เพิ่มพยางค์หน้าซึ่งใช้ในคำประพันธ์โบราณ เช่น มี่ เป็น มะมี่ ริก เป็น ระริก ครื้น
เป็น คะครื้น หรือ คระครื้น แย้ม เป็น ยะแย้ม ฯลฯ อันเป็นวิธีที่ภาษาบาลีเรียกว่า อัพภาส และภาษา
สันสกฤตเรียกว่า อัภยาส แปลว่า วิธีซ้อนตัวอักษร เช่น ททาติ ททามิ นั้น คำเหล่านี้มีจำนวนมาก บาง
แห่งเก็บรวมไว้ที่คำขึ้นต้น เช่น คะครื้น เก็บที่ คะ แล้วบอกว่า ใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ค มีความแปล
อย่างเดียวกับคำเดิมนั้น บางแห่งเก็บกระจายเรียงไปตามลำดับคำ เช่น มะมี่ แต่ก็คงจะเก็บไม่หมด ฉะนั้น
ถ้าคำใดค้นไม่พบที่ลำดับคำ ให้ไปดูคำที่เป็นต้นเดิม เช่น ยะแย้ม ดูที่ แย้ม

๖. ภาษาถิ่นบางถิ่นพูดสั้น ๆ เช่น กะดะ พูดแต่เพียง ดะ (ไม่มี กะ) กะง้อนกะแง้น พูด
แต่เพียง ง้อนแง้น (ไม่มี กะ) แต่ความหมายของคำเหมือนกันกับคำที่มี กะ นำหน้า คำเช่นนี้เก็บไว้ที่ กะ
แห่งเดียว

๗. คำที่มีเสียงกลับกัน เช่น ตะกรุด เป็น กะตรุด ตะกร้อ เป็น กะตร้อ ตะกรับ เป็น กะตรับ
โดยปรกติเก็บไว้ทั้งที่อักษร ก และ ต แต่ถ้าค้นไม่พบที่อักษร ก ก็ให้ค้นที่อักษณ ต

๘. คำต่อไปนี้ซึ่งเป็นคำที่ใช้มากในบทกลอน คือ
ก. คำที่เติม อา อี หรือ อิน ข้างท้าย เช่น กายา กายี กายิน
ข. คำที่เติม เอศ ข้างท้าย (ตามภาษากวีเรียกว่า ศ เข้าลิลิต ทำคำที่เรียกว่าคำสุภาพ
ให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลง) เช่น กมเลศ มยุเรศ
ค. คำที่เติม อาการ ข้างท้าย เช่น จินตนาการ คมนาการ ทัศนาการ
ฆ. คำที่เติม ชาติ ข้างท้าย เช่น กิมิชาติ คชาชาติ
คำเหล่านี้มักมีความหมายไม่ต่างไปจากเดิม ได้รวบรวมเก็บไว้ในพจนานุกรมนี้ด้วย
แต่อาจไม่หมดเพราะมีจำนวนมาก ถ้าค้นไม่พบในรูปคำนั้น ๆ ให้ดูที่คำเดิม เช่น กายา กายี เมื่อค้นที่คำ
กายา กายี ไม่พบ ให้ดูที่คำ กาย คำ กาย มีความหมายอย่างไร กายา กายี ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน
คำอื่น ๆ ให้ค้นดูในทำนองนี้

๙. ศัพท์ที่มีมูลรากอย่างเดียวกัน แต่แปลงรูปไปได้หลายอย่าง เช่น หิมวัต แปลงรูปเป็น
หิมวันต์ หิมวา หิมวาต หิมวาน หิมพาน โดยความหมายไม่เปลี่ยนไป ได้ให้บทนิยามไว้ที่ศัพท์เดิมคือที่
หิมวัต แต่แห่งเดียว ส่วนศัพท์ที่แปลงรูปไปจากศัพท์เดิมก็เก็บไว้ต่างหาก แต่บ่งให้ไปดูที่ศัพท์เดิม เช่น
หิมวันต์, หิมวา, หิมวาต, หิมวาน [หิมมะ]- น. หิมวัต.

๑๐. การเรียงลำดับคำที่เป็นนามย่อย เช่น ตะนอย ช่อน คา ไม่ได้เรียงรวมกับตัวสามานยนาม
อย่างที่ใช้พูด เป็น มดตะนอย ปลาช่อน หญ้าคา แต่ได้เรียงสามานยนาม มด ปลา หญ้า ไว้แห่งหนึ่งตาม
ตัวอักษร และเรียงนามย่อย ตะนอย ช่อน คา ไว้ต่างหากตามตัวอักษรนั้น ๆ เว้นแต่คำซึ่งแยกออกไม่ได้
เพราะเป็นชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งคำ เช่น แมลงภู่ ซึ่งเป็นชื่อของหอยหรือปลาบางชนิด จะเรียงรวมไว้ด้วยกัน
ที่อักษร ม หรือ ปลากริม ซึ่งเป็นชื่อขนม ไม่ใช่ปลา จะเรียงรวมไว้ด้วยกันที่อักษร ป ถึงกระนั้นก็มีคำบางคำ
ที่ไม่อาจเรียงตามหลักนี้ได้ ฉะนั้น คำในทำนองนี้เมื่อค้นไม่พบในที่ที่เป็นนามย่อยก็ให้ค้นต่อไปในที่ที่เป็น
สามานยนาม เช่นคำ น้ำตาลกรวด เมื่อค้นที่ กรวด ไม่พบ ก็ให้ไปค้นที่คำ น้ำตาล

๑๑. คำ ๒ คำเมื่อประสมกันแล้ว โดยคำแรกเป็นคำเดียวกับแม่คำหรือคำตั้ง และมีความ
หมายเกี่ยวเนื่องกับคำตั้ง จะเก็บเป็นอนุพจน์ คือ ลูกคำของคำตั้งนั้น ๆ เช่น กดขี่ กดคอ กดหัว เก็บเป็น
ลูกคำของคำ กด เว้นแต่คำที่ประสมกันนั้นจะมีความหมายเป็นอิสระหรือต่างไปจากคำตั้ง จึงจะแยกเป็น
คำตั้งต่างหาก เช่น ขวัญอ่อน ที่หมายถึงผู้ตกใจง่าย คือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ เก็บเป็น
ลูกคำของคำ ขวัญ ส่วน ขวัญอ่อน ที่เป็นชื่อเพลงร้องรำชนิดหนึ่ง จะแยกเป็นคำตั้งเพราะมีความหมาย
ต่างออกไป คำลักษณะนี้จะใส่เลขกำกับไว้ด้วย เป็น ขวัญอ่อน ๑ และ ขวัญอ่อน ๒ ส่วนคำที่นำมาประสม
กันแล้ว มีความหมายไม่ต่างจากคำเดิม แปลได้คำต่อคำ จะไม่เก็บ เช่น ข้าวผัด ไม่เก็บเป็นลูกคำของ ข้าว
เพราะมีความหมายเท่าคำเดิมแต่ละคำ

๑๒. คำคำเดียวกันซึ่งอาจประสมอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังคำอื่น ๆ เช่น น้ำ ประสมอยู่ในคำ
ต่าง ๆ เป็น แม่น้ำ ลูกน้ำ น้ำใจ น้ำต้อย ถ้าคำที่อยู่ข้างหน้าคำ น้ำ เป็นอักษรตัวอื่น จะลำดับไว้ที่อักษร
นั้น ๆ อย่างคำ แม่น้ำ ลำดับไว้ที่อักษร ม ลูกน้ำ ลำดับไว้ที่อักษร ล ไม่ลำดับไว้ที่อักษร น แต่ถ้าคำ น้ำ
อยู่ข้างหน้า ก็ลำดับไว้ที่อักษร น โดยเป็นลูกคำของคำ น้ำ เช่น น้ำกรด น้ำแข็ง น้ำย่อย